ระบบสังคมนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากความคิดของผู้คนที่ต้องการที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจที่ พยายามลวล้างข้อด้อยของทุนนิยม โดยช่วงแรก ๆ ยังเป็นเพียงแค่ในจินตนาการเพราะการปฏิบัติทำได้ยากมาก กระทั่ง ระบบสังคมนิยมเกิดขึ้นอย่างเป็นวิทยาศาสตร์แบบแผนครั้งแรกที่สหภาพสาธารณาฐสังคมนิยมโซเวียต โดยโค่นรัฐบาลที่โค่นราชวงศ์โรมานอฟ เมื่อปี 1917 โดยกานำของ วลาดิมีร์ เลนิน
ระบบสังคมนิยมในจินตนาการตั้งอยู่บนความคิดที่ต้องการให้ระบบเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยุติธรรมโดยไม่ต้องมีระบบงิน ทุกคนรวมกันทำงานเพื่อสร้างผลผลิตส่วนรวม และได้รับรัฐสวัสดิการที่ทำได้ยาก เช่นมีโรงอาหารให้รับประทานอาหารฟรี แต่ระบบสังคมนิยมที่เป็นวิทยาศาสตร์จะพยายามกระจายรายได้โดยรัฐให้ประชาชนให้ทั่วถึงทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีรัฐสวัสดิการที่ควรมีอยู่พอสมควร ระบบสังคมนิยมไม่จำเป็นที่จะภายใต้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการหรือระบอบใดระบอบหนึ่งแต่สามรถอยู่ได้ทุกระบอบเพราะเป็นเพียงระบบเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ใช่ระบอบการปกครอง
ประเภทของสังคมนิยม
สังคมนิยมแบบบังคับ เป็นรัฐควบคุมกิจการของเอกชนในประเทศทั้งหมดโดยจะใช้ในประเทศกลุ่มควอมมิวนิสต์ ได้แก่ จีน เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว คิวบา
สังคมนิยมเสรี เป็นการที่รัฐให้อิสระในการบริหารของเอกชน แต่จะผูกขาดกิจการรัฐวิสาหกิจภายในแระเทศโดยจะใช้ในประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียและบางประเทศในยุโรป
ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมบังคัย ระบบเศรษฐกิจคอมมิวนิสต์ จะมีการวางแผนจากส่วนกลาง ประเทศแม่แบบคือสหภาพโซเวียต
ลักษณะเด่นของระบบ กลไกราคามิได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ การวางเป้าหมายการผลิตถูกกำหนดทางปริมาษโดยตรง กระบวนการแจกจ่ายทรัพยากรเป็นไปตามการวางแผนส่วนกลาง กระบวนการทางเศรษฐกิจเป็นไปตามแผนส่วนกลาง เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม อำนาจอธิปไตยการบริโภค ถูกควบคุมโอกาสเพียงเลือกการบริโภค
ภายใต้ระบบสังคมนิยมแบบบังคับ ไม่ส่งเสริมอำนาจอธปไตยผู้บริโภค กรณี่อุปสงค์ส่วนรวมในสินค้าบริโภคเพิ่มสูงขึ้น รัฐจะเข้าควบคุมปริมาณผลิตให้คงอยู่ ณ ระดับคงเดิม ระดับระคาเพ่มขึ้นแต่เพียงด้านเดียว รัฐบาลจะใช้มาตการเพ่มภาษ๊การเปลี่ยนมือในสินค้า ซึ่งจะทำให้ความพอใจของผู้บริโภคลดลง รัฐบาลกลางเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด จุดมุ่งหมายการผลิตมิไดมุ่กำรสูงสุด เน้นปริมาณการผลิตปริมาณมากที่สุด
ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเสรี สังคมนิยมประชาธิปไตย มีลักษณะเฉพาะระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมเสรีมีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของระบบคือ รัฐบาละข้าควบคุมและเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตขนาดใหญ่ ด้วยเหตุผลคือต้องการให้ระบเศรษฐกิจมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมกัน บทบาทของรัฐจะเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจด้านกำหนดราคาสินค้า ส่งเสริมการลงทุน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างม่ประสิทธิภาพการตัดสินใจที่จะทำการผลิต ตลอดถึงการจ้างงานในระบบ
เศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวมทั้งสิ้น รัฐถือว่าบรรดากิจกรรมการลงทุน และสะสมทุนทั้งหมดจะต้องตกเป็นของรัฐอยางสินเชิง ผลกำรอันเกิดจากกิจการผูกขาดในธุรกิจใหญ่โตจะต้อตกเป็นของรัฐทั้งสิ้น ไม่เปิดโอกาสให้มีธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะไปมีบทบาทที่สำคัญด้านการให้เงินกู้ลงทุนเท่านั้นเอง รัฐบาลจะทำหน้าที่ด้านนี้เอง ภายใต้ระบบนี้เปิดโอกาศให้ผู้บริโภคมีอำนาจอธิไตยการบริโภค
ระบบนี้ส่งเสริมให้มีอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคจึงทำให้เกิด
ความแตกต่างกับระบบสังคมนิยมแบบบังคับ การที่ระบบเษรษฐกิจใด ประชาชนภายใต้ระบบจะเกิดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระบบกลไกราคา เข้ามามีโอกาสการกำหนดราคามากน้อยเพียงใด ต้องมีสถาบันธุรกิจเอกชนเปิดโอกาสแข่งขันนหน่วยผลิตเป็นตัวส่งเสริมการแข่งขัน แต่สภาพที่ปรากฎเข้าควบคุมการผลิตขนาดใหญ่ ปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ ภายในระบบยังขาดสถาบันธุรกิจเอกชน อันได้แก่กรรมสิทธิในปัจจัยกาผลิต กระบวนการแข่งขันการผลิต ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ใช้เป็นกลไกเพื่อส่งเสริมให้เกิดอำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค ทั้งสิ้น จึงเป็นข้อสังเกตว่าระบบนี้สามารถบรรลุได้มาเพียงใด
ระบบทุนนิยม ทุนนิยมจะกล่าวถึง ทุนและที่ดินเป็นสมบัติส่วนบุคคล การตัดสินใจทางเศรษฐกิจเป็นกิจกรรมส่วนบุคคลไม่ใช่การควบคุมบริหารโดยรัฐ และตลาดเสรีหรือเกือบเสรีจะเป็นตัวกำหนดราคา ควบคุมและระบุทิศทางการผลิต รวมถึงเป็นที่สร้างรายรับ บางคนกล่าวว่าระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันของโลกตะวันตกคือระบบุนนิยม ในขณะที่หลายคนมองว่าในบางประเทศก็มีระบบเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจแบบผสมกล่าวคือมีลักษณะเฉพาะของทั้งทุนนิยมและรัฐนิยม
ระบบธุรกิจเอกชน ถ้าจะศึกษาจุดเริ่มต้นของระบบทุนนิยม เริ่มเกิดปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ระหว่างปี 1770-1840 อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาเทคโนโยใหม่มาใช้ในการผลิต ต่อจากนั้นได้เกิดมีการตื่นตัวที่จะมีความรู้สึกชาตินิยม จะมารวมตัวกันในรูป “รัฐชาติ”ขึ้นในแถบประเทศยุโรป ตังนั้น อาจกล่าวได้ว่าผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดการพฒนาระบบตลาด
เท่าที่ผ่านมาระบบทุนนิยมักจะประสบปัญกาด้านพื้นฐานทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่หลังสังครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปัญกาคือ จะผลิตสินค้าอะไร ผลิตอย่างไร ผลิตเพื่อใครเดิมอาศัยกลไกราคามาเป็นตัวหลักในการแก้ไข ต่มารัฐบาลมีบทบาทเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจ
ลักษณะเด่นของระบบ ตำเนินกลไกเศรษฐกิจโดยอาศัย “กลไกราคา”เป็นตัวจักรสำคัญสร้าง “แรงจูงใจ”ให้เกิดขึ้นภายในระบบเศรษฐกิจ ปราศจากการควบคุมจากส่วนกลางการจะแจกจ่ายปัจจัยการผลิตสิ่งใดและปริมาณเท่าใดอาศัย
อุปสงค์และอุปทานในตลาดเป็นตัวกำหนด การตัดสินใจการบริโภคขึ้ยอยู่กับความพังพอใจสูงสุดเป็นหลักโดยอาศัยอรรถประโยชน์ เป็นเกณฑ์การตัดสินใจ ยินยอมให้มีการถือกรรมสิมธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัว การให้มีกรรมสิทธิในปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินการตัดสินใจในการผลิต การออม การลงทุน เปิดโอกาสให้มีอิสรภาพในการทำงาน ระบบเศรษฐฏิจดำเนินไปตามกลไกราคา โดยใช้แรงจูงใจด้วยกำไร มาเป็นตัวกำหนดการผลิต ระบบตลาดโดยมีอุปสงค์และอุปทานเข้ามาเป็นตัวกำหนด ยอมรับความสำคัญอำนาจอธิปไตยของผุ้บริโภคผุ้บระโภคมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าใดก็ได้ตามใจชอบภายใต้การผลิตดำเนินในรูปแบบของการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ ลักษณะการผลิตมุ่งประสิทธิภาพการปลิตไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การปรับปรุงประสทิธิภาพการผลิตมุ่งประสิทธิภาพการผลิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ก่อใกดการแจกจ่ายทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมลังคับ ซึ่งมีความสอดคล้องกับเผด็จการ หรือระบบเศรษฐกิจแบบฟาสซิสม์ รูปแบบเศรษฐกิจยังคงเปิดโอกาสให้เอกชนมีกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคลการดำเนินกลไกเศรษฐกิจมิได้เป็นไปตามกลไกราคา อาศัยการวางแผนส่วนกลาง จากรัฐบาลเป็นตัวแทนการแจกจ่ายรัพยาก เพื่อนำมาใช้ในการผลิตตามแผนที่ได้วางไว้
ลักษณะเด่นของระบบ รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติให้บรรลุผลสำเร็จในระยะสั้น เป็ฯรูปแบบเศรษฐกิจดำเนินในยามสงครา ซึ่งเยอรมันและอิตาลีนำมาใช้ระหว่าสงครามโลกครั้งที่สอง การดำเนินกลไกทางเศรษฐกิจตงข้ามกับลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยเหตุนี้พวกนายทุนและชนชั้นกลางจึงให้การสนับสนุนระบบเศรษฐกิจธุรกิจเอกชนบังคับไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันการผลิต ลักษณะตลาดดำเนินในปแบบผูกขาด ดำเนินกจิการผูกขาดโดยนายทุนขนาดใหญ่ ลักษณะการผลิตเป็นการรวมกลุ่มเป็น “คาร์เทล” อำนาจอธิปไตยของผู้บริโภค ถูกละเลย การดำเนินการผลิตควบคุมโดยหน่วยงานวางแผนจากส่วยกลาง เสรีภาพการเลือกบริโภคถูกจำกัดจาการควบคุมปริมาณการผลิต เสรีภาพของการเลือกอาชีพ ถูกจำกัด เพราะรัฐบาลจะเข้าควบคุมวางแยนการใช้แรงงานในโรงงานแต่ละประเภท แต่การผลิตและการตัดสินใจเลือกใช้ปัจจัยการผลิตยังคงควบคุมอย่างใกล้ชิดและคำสั่งจากรัฐโดยอาศัยคำสั่ง เรียได้ว่าเป็นระบบเผด็จการทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ลัทธิชาตินิยมเป็นจุดเด่นของระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม มักเกิดกับประเทศกำลังพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะสำคัญยังคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล แต่รัฐบาลกลางจะเข้ามามรส่วนในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต นับเป็นบทบาทที่สำคัญของรัฐบาล ที่เข้ามารยุ่งเกี่ยวในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศทุนนิยม
มูลเหตุแห่งการดำเนินระบบเศรษฐกิจแบบผสม ต้องการสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ โดยอาศัยกลไกราคามาเป็นตัวช่วย อีกประการหนึ่งง ประเทศเหล่านี้ประบปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านกระจายรายได้ บ่อยครั้งที่การควบคุมจากฝ่ายรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพไม่สามารถดำเนินให้ลุล่วงไปได้ ราคาสินค้าในท้องตลดไม่สามรถที่จะบรรลุเป้าหมายไปได้
ลักษณะเศรษฐกิจแบบผสม
- การจัดสรรปัจจัยการผลติ อาศัยกลไกราคา
- ราคาสินค้าถูกควบคุมโดยรัฐบาล
- มีการวางแผนจากส่วนกลาง
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยังคงถูกควบคุมโดยรัฐบาล
- รัฐบาลจะมีบทบาสำคัญในการตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมีการเน้นบทบาทรัฐมากกว่าทุนนิยมก้าวหน้า ระบบเศรษกิจแบบผสมเป็นการดำเนินการระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบตลาดควบคู่กันไปกับการวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น