วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Nuremberg trials

     การพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก เป็นชุดการพิจารณาคดีทางทหาร ที่จัดขึ้นโดยฝ่ายสัมนธมิตรผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการฟ้องสมาชิกชั้นผู้ใหญ่ในคณะผู้นำทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจของนาซีเยอมัน ซึ่งพ่ายสงคราม
     การพิจราณาทั้งนี้มีขึ้น ณ ตำหนักยุติธรรม เมืองเนือร์นแบร์ก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอมัน โดยลุดแรกเป็ฯ “การพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามกลุ่มหลัก” ในศาลทหารระหว่งผระเทศ เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน 1945 และเป็นการพิจารณาอันเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดด้วย จำเลยในชุดนี้ประกอบด้วยผู้นำคนสำคัญที่สุดยี่สิบสี่คนของนาซีเยอรมันรซึ่งถูกจับมาได้ ทว่า บุคคลสำคัญหลาย ๆ คน ที่ชักใยอยู่เบื้องหลังสงครามอาทิ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เฮนริค ฮิมม์เลอร์ และโจเซฟ เกิเบลส์นั้น กระทำอัตวินิบาตกรรมไปก่อนหน้าแล้ว การพิจารณาชุดแรกนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 1 ตุลาคม 1946
     ส่วนชุดที่สอง เป็นการพิจารณาผู้กระทำความผิดอาญาสงครามซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่าจำเลยหลุ่มแรก ดำเนินการโดย คณะตุลาการทหารเนือร์นแบร์ก
     เอกสารของคณะรัฐมนตรีสงครามแห่งอังกฤษ ระบุว่า ในเดือนธันวาคม 1944 คณะรัฐมนตีได้อภิปรายถึงนโบยกาลงโทษผู้นำนาซีทีถูกจบตัวได้ วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษได้สนับสนุนให้มีการประหารชีวิตอยางรวบรัดในบางพฤติการณ์ โดยใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยกบฏ เพื่อหลักเลี่ยงอุปสรรคทางกฎหมายบางประการอย่างไรก็ดี เมือได้พูดคุยกับสหรัฐอมเริกาภายหลังสงครามยุติแล้ว สหรัฐอเมริกาได้ปรามเขามิให้ใช้นโยบายนี้ ครั้น
ปลายปี ค.ศ. 1943 โจเซฟ สตาลิน เสนอใหประหารชีวิตนายทหารชาวเยอรมันร่าว ๆ ห้าหมืนถึงหนึ่งแสนคน โรสเวลต์ กล่าวติดตลกว่า เอาแค่สีหมื่อนเกาก็พอ และเชอร์ชิลติเตียนแนวคิด “ประหารชีวิตตเหล่าทหารที่สู้รบเพื่อประเทศของตนให้ตายเสียอยางเลือดเย็น” แต่เขายืนยันว่า ผู้กระทำความผิดอาญาสงครามต้องชดใช้ความผิดของตนและตามปฏิญามอสโกที่เขาเขียนขึ้นเองนั้น เขายังว่า บุคคลเหล่านั้นจักต้องถูกพิจรรณา ณ สถานที่ที่ความผิดอาญาได้กรทะลง เชอร์ชิลลล์ต่อต้านการประหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองอย่างแข็งขัน  ตามรายงานประชุมระหว่างโรสเวลต์-สตาลินในการประชุมยอลตา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 1945 ประธานาธิบดีโรสเวลต์ “กล่าวว่า ขอบเขตการทำลายล้างของหทหารเยอรมันในไครเมียนั้นสร้างความตระหนกให้แก่เขาเป็นอัน
มาก และเพราะฉะนั้น เขาจึงกรหายเลือดต่อชาวเยอรมันมากยิ่งกว่าปีก่อน และเขาหวังว่าจอมพลสตาลินจะเสนอแผนการประหารชีวิตนายทหารจำนวนห้าหมื่อนคนของกองทัพบกเยอรมันอีกครั้ง
     เฮนรี่ มอร์เกนเธา จูเนียร์ รัฐมนตรีวาการกระทรวงการคลังแห่งสหรัฐอเมริกา เสอนแผนการให้ทำลายความเป็นนาซีจากเยอรมันอย่างสมบูรณ์ แผนการดังกล่าวเรียกกันว่า “แผนการมอร์เกนเธา”นี้เนื้อหาสนับสนุนการบังคับให้เยอรมันสูญเสียอำนาจทางอุตสาหกรรมของตน ในเบื้องต้น โรสเวลต์สนับสนุนแผนการนี้ และโน้มน้าวให้เชอร์ชิลล์สนับสนุนในรูปแบบที่เบาบางฃงจึงละทิ้ง
แผนการดังกล่าว ความที่แผนการมอร์เกนเธาถึงจุดจลบเช่นนี้ ก็
บังเกิดความจำเป้นจะต้องหาวะธีสำรองสำหรับรับมือกับเหล่าผู้นำนาซีขึ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกา เฮนรี แอล.สติมสัน จึงยกร่างแผนการสำหรับ “พิจารณาชาวยุโรปผู้กระทำความผิดอาญาสงคราม”ต่อมาในเดือนเมษายน 1945 เมื่อโรสเวลต์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว แฮร์รี เอส.ทรูแมน ประธานาธิบดีคนใหม่ แสดงความเห็ด้วยอย่างแรงกล้าในอันที่จะให้มีกระบวนการยุติธรรม และหลังสหราชอาณาจักร,สหรัฐอเมริกา,สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส ได้เจรจากันหลายยกหลายคราว ก็ได้ข้อสรุปเป็ฯรายละเอียดของการพิจารณาคดี โดยเริ่มพิจารณาเมือวันที่ 20 พฤศจิกายน 1945 ณ เมืองเนื่อร์นแบร์ก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมัน
     อาชญากรรมสงคราม คือ การละเมิดฝ่าฝืนจารีตประเพณีหรือกฎหในการยุทธซึ่งหมายรวมถึงพฤติการณ์ดังต่อไปนี่แต่มีได้จำกัดอยู่เท่านี้ คือ การฆ่าคน ทุเวชปฏิบัติ การเนรเทศหรือการเทครัวของพลเรือแห่งดินแดนที่สามารถยึดได้ไปเป็นทาสคนงาน หรือกรรมการเป็นต้นตลอดจนการฆ่าหรือการทุเวชปฏิบัติซึ่งเชลยศึกการสังหารตัวประกัน  การทำลายล้างบ้านเรือน ไร่นา เรือกสวน เป็ฯต้น โดยขาดความยับยั้งกับทั้งการทำให้เสียหายอย่างรุนแรงซึ่งอาวุธยุทธภันฑ์ ก่อนหน้าจะมีการประดิษฐ์และนิยามคำ “อาชญากรรมสงคราม” ขึ้นอย่างเป็นทางการมีการใช้คำหลายคำเรียกพฤติการณ์ในลักษณะนี้ เช่น คำว่า “ความสับปรับ” ซึ่งนิยมใช้กันมากกว่าหลายทศวรรษ เป็นต้น “อาชญากรรมสงคราม”นั้นวิวัฒนามาจากกรณีหายนะที่เนือร์นแบร์กโดยปรากฏในธรรมนูญกรุงลอนดอนว่าด้วยคณะตุลาการทหารระหว่างประเทศ
     ค่าปฏิกรรมสงคราม หมายถึง ของมีค่าที่ต้องจ่ายเป็นค่าชดเชยเพื่อให้ครอบคลุมความเสียหายระหวางสงคราม ดดยทั่งไปแล้ว ค่าปฏิกรรมสงคราม หมายถึงเงินหรือสินค้าเปลี่ยนมือ มากกว่าการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ อย่างเช่น การผนวกดินแดน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...