ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 ปูยีได้เข้าเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาการเมืองแป่งชาติ ตั้งแต่ปี 1964 กระทั่งสวรรคตเยี่ยงสามัญชนในปี 1967
ผู่อี๋ สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี โดยผู่อี๋เป็นโอรสองค์โตของเจ้าชายชุนที่ 2 ซึ่งเป็นโอรสของ อี้ซวน เจ้าชายชุนที่ 1 ฌเยเจ้าชายชุนและพระสนมของพระองค์ ท่านผู้หญิงหลิงกิยาเมื่อเป็นสนมของ เจ้ชายชุนที่1 เพราะฉพนั้นไจเชง เจ้าชายชุนที่ 2 จึงเป็นพี่น้องร่วมชนกเดียวกับสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่และเป็นทายาทสืบราชบัลลังก์ที่อยู่ในลำดับแรก
ผู่อี๋เป็นราชสกุล อ้ายซิเจว๋หลัวในสายที่ผูกพันกันแน่นกับเผ่าเย่เหอนาลาของพระนางซูสีไทเฮา นัดดาของพระนางซูสีไทเฮา คือ สมเด็จพระพันปีหลวงหลงยู่ ก็เป็นพระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี
พระอนุชาของผู่อี๋คือ เจ้าชายผู่เจี๋ย ซึ่งต่อมาได้สมรสกับพระญาติของจัรพรรดิโชวะ คือ เจ้าหญิงฮิโระ ซะงะ ซึ่งกฎมณเทียรบาลในเรื่องการสืบราชสมบัตินั้นให้ผู่เจี๋ยสืบราชบัลลังก์จากผู่อี๋ซึ่งไม่มีบุตรได้
ผู่เริ่นพี่น้องของผู่อี๋เพียงคนเดียวที่ยังทีชีวิตอยู่ และปัจจุยันได้เปลี่ยไปเป็นชื่อจีน คือ จิน โหย่วจือ ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศจีน จินโหยว่จือได้ยืนฟ้องดำเนินต่อศาลเกี่ยวกับสิทธิในรูปของผู่อี๋และความเป็นส่วนตัว โดยได้กล่าวว่าสิทธิของเขาได้ถูกละเมิดจากงานจัดแสดง “จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายและราชวงศ์”
ผู่อี๋ ถูกเลื่อนให้เป็นจักรพรรดิโดยพระนางซูสีไทเฮา ในขณะที่ปรชวรหนักอยู่บนพระแท่นบรรทม ผู่อี๋ขึ้นเป็นจักรพรรดิในขณะที่มีพระชนมายุ ได้ 2 พรรษากับอีก 10 เดือน พระบิดาของพระองค์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการในระหว่งพิธีราชาภิเษกที่พระที่นั่งไท่เหอ พระบิดาได้อุ้มจักรพรรดิที่ยังทรงเยาว์ขึ้นไปยังบนบัลลังก์ พระองค์ทรงร้องไห้ พระราชบิดาทำสิ่งใดไม่ได้เพียงพูดปลอบใจว่า “อย่างร้องไห้ เดี๋ยวก็เสร็จแล้ว”
แม่นมของปูยี เหวิน เฉาหว่าง เป็นเพียงคนเดียวที่สามารถควบคุมพระองค์ได้ เพราะฉะนั้นเธอจึงได้ตามพระองค์เข้าพระราชวังต้องห้าม แต่เธอก็ออกจากพระราชวังต้องห้ามเมื่อพระอง์มีพระชนมายุได้ 8 พรรษา
การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนนผู่อี๋เป็นไปด้วยความยากในการเลี้ยงดูให้พระองค์เป็นผู้มีสุขภาพที่ดีเช่นเด็กปกติ พระองค์ถูกเลี้ยงดูดังเทพเจ้าและไม่สามารถที่จะประพฤติตัวได้อย่างเด็ก ชีวิตวัยผู้ใหญ่ของพระองค์ ยกเว้นแม่นมของพระองค์ ล้วนเป็นคนแปลกหน้าทั้งหมด เป็นเหมือนญาติห่าง ๆ ไม่ค้นเคยและหม่สามารถทีจะอบรมพระองค์ได้ ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จที่ใด จะมีคนคุกเข่าคำนับให้กับพระองค์จนกระทั่งเห็นพระองค์เดินไปจนลับสายตา ในไม่ช้าพระองค์ในวัยเยาว์ก็ทรงค้นพบว่าพระองค์ทรงมีอำนาจเป็นล้นพ้น
พระบิดาของผู่อี๋ เจ้าชายชุนที่ 2 ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมื่อสมเด็จพระพันปีหลวงหลงยู่เข้าควบคุมอำนาจเพื่อที่จะเผชิญกับเหตุกาณ์การปฏิบัติซินไฮ่(การปฏิวัติจีน เป็นการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิง เพื่อสถาปนาสาธารณรัฐจีน)
พระพันปีหลวงหลงยู่เป็นผู้ลงพระปรมาภิไธยใน “พระบรมราชโองการสลาราชสมบัติของสมเด็จพระจักพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง ภายใจ้การต่อรองโดยขุนศึกหยวน ซื่อไข่ นายพลแห่งกองทัพเป่ยหยาง กับสมาชิกราชวงศ์ในปักกิ่ง และกลุ่มสาธารณรัฐในทางใต้ โดยมีการลงนามเพื่อก่อตั้ง สาธารณรัฐจากพิธีสารซึ่งจะถือว่าจะปกิบัตพระองค์ให้เท่าเทียมกับกษัตริยของต่างประเทศ ผู่อี๋และสมาชิก
ราชวงศ์ยังได้รับการอนุญาติให้พำนักอยู่ในส่วนเหนือของพระราชวงต้องห้าม และในพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน เงินช่วยเหลือสนับสนุนราชวงศ์มีจำนวนสูงถึง 4 ล้านเหรียญและจ่ายโดยรัฐบาลสาธารณรัฐให้แก่สามชิกราชวงศ์ แต่ว่าเงินจำนวนนี้ทางวังไม่เคยได้รับเต็มจำนวนและถูกยกเลิกในเวลาต่อมาเพียงไม่นาน
ในการฟื้นฟูราชวงศ์ไม่ประสบความสำเร็จเกิดการต่อต้านจากทั่งประเทศและมีการแทรกแซงจากพวกขุนศึก ผู่อี๋ถูกขับออกจากพระราชวังต้องห้าม ผู้อี๋ใช้เวลาสองสามวันอยู่ที่ตำหนักของพระบิดา หลังจากนั้นก็ไปอาศัยอยู่ที่สถานทูตญี่ปุ่นเป็นการชั่วคราว ประมาณ 1 ปีต่มาได้ย้ายไปยังเขตปกครองของญี่ปุ่นในเทียนจิน
ผู่อี๋และบรรดาที่ปรึกษาได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับการฟื้นฟูเขาเป็นจักรพรรดิ โดยเจิงและโหลได้เสนอให้ของความช่วยเลือจากภายนอก แต่เฉินไม่เห็นด้วย ผู่อี๋ส่งจดหมายถึง จิโร่ มินะมิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงครามของญี่ปุ่น บ่งบอกความภายในว่าเขาต้องการที่จะกลับมาเป็นจักรพรรดิ เขายังไปเยี่ยม เคนจิ โดอิฮะระ หัวหน้าจารกรรมของกองทัพกวนตง ผู้ซึ่งมีความปรารถนาจะให้ปูยีเป็นผู้นำแห่งแมนจูกัว ผู่อี๋และ เจิง เสี่ยวซูเดินทางไปยังแมนจูเรียเพื่อตกลงเกียวกับแผนการตั้งรัฐแมนจูกัวให้สำเร็จรัฐบาลจีนออกคำสั่งจับผู่อี๋ข้อหาเป็นกบฏแต่ไม่สามารถที่จะฝ่าการค้มครองของญี่ปุ่นไปได้
ผู่อี๋ได้เป็นผู้บริหารสูงสุดของแมนจูกัว ซึ่งกอ่ตั้งโดยญี่ปุ่น ส่วนใหญเห้นว่าเป็นัฐที่เป็นหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น ผู่อี๋ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นต้าถ่ง เป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูกัวโดยมีพระบรมนามาภิไธยวา ตังเต๋อ ผู่อี๋ต้องการทีจะฟืนฟูราชวงศ์ชิง เขาขึ้นรับตำแหน่างที่หอสัการะฟ้าเทียนถันด้วยชุดเครื่องแบบทหารแบบตะวันตกและสวมเสื้อคลุมมังกรสำหรับการประกาศการขึ้นครองราช
ราชวงศ์จีนเข้ากับญี่ปุ่น ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังเติบโต และเจียง ไค เชค ประกาศสงครามกับญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 ธันวาคม ปี 1941 และยังประกาศสงครามกับเยอรมันีและอิตาลีด้วยสาเหตุทางการเมืองมากกว่าจะเป็นการส่งทหารไปสู้รบ
หลังจากประกาศสงครามอย่างเป็นทางการกับหลุ่มอักษะเรียบร้อยแล้วกองทัพจีนเคลื่อทัพไปทางชายแดนพม่าทันที เพราะว่าถนนพม่าเป็นเส้นทางทางบกทางเดียวเท่านั้นที่ฝ่ายพันธมิตรสามารถใช้เป็นเส้นทางจัดส่งเสบียงสัมภาระไปให้จีน เจียงไคเชคไดรับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพพันธมิตรในสมรภูมิรบที่ประเทศจีน นับตั้งแต่ญี่ปุ่นโจมตี เพิร์ล ฮาร์เบิร์ลได้ 8 สัปดาห์ จีนประทสบความสำเร็จในการรบครั้งสำคัญ กองทหารจีนสารถขับไล่กองทหารญี่ปุ่นออกไปได้ เมือ่ญี่ปุบุกเข้าโจมตีเส้นทางสายรไฟกวางต้ง - ฮานโกว์
เจียง ไค เชค และสติลเวลล์ คอยสกันกั้นญี่ปุนในพม่าเรื่อยมา กองทัพอังกฤษและอินเดียถึงแม้จะต่อสู้กับญี่ปุ่นอย่างดุเดือดในพม่าก็ต้องล่าถอยเพราะญี่ปุ่นมีกำลังทหารทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศเหนือกว่ามาก ในช่วงกลางเดือนเมษายนกองทหารจีนอีกหน่วยหนึ่งเข้ามาช่วยกองทหารอังกฤษป้องกันเมืองยีนังยองบนฝั่งแม่น้ำอิรวดีไว้ทัน และสามารถผลักดันกองทัพญี่ปุ่นให้ถอยกลับไป แต่ในเดือนเมษาญี่ปุ่นเดินทัพเข้ายึดลาชิโอซึ่งเป็นจุดรวมทางใต้ของถนนพม่า เพื่อตัดเส้นทางขนส่งของฝ่ายพันธมิตรไปยังประเทศจีน ต่อมาจานั้นญี่ปุ่นเพิ่มความกดดันอย่างหนักจนกระทั่งในเดือนต่อมากองทหารอังกฤษและอินเดียต้องถอยทัพผ่านกาเลวา เข้าไปยังอิมฟาลตรงเลยชายแดนอินเดียเข้าไป ในขณะที่กองทหารอังกฤษ อินเดียถอยทัพหนีญี่ปุ่นเข้าไปในพรมแดนอินเดีย กองทหารจีนส่วนใหญ่หนีข้ามแม่น้ำสาละวินกลับเข้าไปยังประเทศจีน มีทหารบางหน่วยถอยทัพเข้าไปยังอินเดีย
หลังจากที่สหรัฐสามารถควบคุมน่านน้ำภาคพื้นแปซิฟิคได้เป็นส่วนใหญ่แล้วในปี 1944 ภายหลังการยึดครองหมู่เกาะมาเเชลล์ ญี่ปุ่นจึงหันมารุกทางภาคพื้นทวีป โดยกองทัพญี่ปุ่นรุกเข้าอินเดีย เกิดสงครามรอบๆ Imphal ญี่ปุ่นถอนกำลังออกจากพม่ารุกรานเข้าที่ราบ Imphal โดยฝ่ายอังกฤษไม่สามารถต้านทานได้ ทัพญี่ปุนเคลื่อพลเข้าสู่แผ่นดินจีนตอนกลางและมุ่งหน้าลงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนซึ่งเป็นฐานทัพอากาศขนาดใหญ่ทีทัพอเมริกาตั้งมั่นอยู่
กองทัพอังกฤษตีฝ่าออกจาก Imphal ไปยังโคฮิมาในอินเดียได้ กองทัพจีนจำนวนมากยุพลเข้ารุกรานตอนเหนือของพม่า ก่อนการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่นถอนทัพออกจาก Imphal โดยได้รับความสูญเสียอย่างหนักการรุกรานอินเดียเป็นอันสิ้นสุดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น