วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

The Communist Manifesto

     ลัทธิมาร์กซิสม์เป็นผลงานร่วมกันของยุคคล 2 คน คือ คาร์ล มาร์กซ์ และฟรีดริช แองเกลส์

คาร์ล มาร์กซ์ เป็นบุตรทนายชาวยิว เกิดที่เมืองแตร์ ประเทศเยอรมันและในระยะต่อมาได้เปลี่ยนศษสนามานับถือศาสนาคริสต์ ขณะที่เป็นักศึกษาในมหาวิทยาลัยในเยอรมันได้ทำงานเป็นักหนังสือพิมพ์ และแสดงข้อคิดเห็นในแง่ที่เร่งเร้าให้ทำการปฏิวัติโจมตีลักาณะการปกครองในขณะนั้ เขาจึงถูกเนรเทศออกจากเยอรมันและไปใช้ชีวิตระยะหนึ่งในฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม ในที่สุดไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังฏษ เขาได้ใช้เวลาทั้งหมดในการศึกษาค้นคว้าและขียนหนัสือ บทความที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของแนวความคิดสังคมนิยม และขบวนการสหพันธ์กรรมกรในศตวรรษที่ 19
ฟริตริช แองเกลส์ เป็นชาวอังกฤษเกิดในตระกูลชนชั้นกลางที่มีฐานะมั่งคั่งเขาเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมทอผ้าและโรงงานทอผ้าหลายแหงในประเทศอังกฤษ แองเกิส์เป็นผู้หนึ่งที่สนใจในแนวความคิดแบบสังคมนิยม เป็นผู้ที่ให้เงินอุดหนุนและถุปถัมภ์มาร์กซ์ตลอดเวลาและยังได้ร่วมมือในการเขียนหนังสือกับมาร์กซ์ด้วย
ผลงานที่ทั้งสองเขียนด้วยกันคือ แถลงการณ์คอมมิวนิสต์ ตีพิมพ์ในปี 1848 จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นหนึ่งที่มีอิทิพลต่อลัทธิสัคมนิยมมากที่สุด แต่ส่วนใหญ่มุ่งในการโฆษณาในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิวัติ โครงสร้างของลัทธิเศรษฐกิจของมาร์กซ์อธิบายอย่างละเอียดในหนังสือ  The Capital ซึ่งมีทั้งหมด 3 เล่ม จัดพิมพ์โดยแองเกลส์ในปี 1867,1893,และ1894 แนวคิดของมาร์กซ์อาจจะสรุปออกเป็นน 4 ด้าน คือ
-ปรัชญาทั่วไป ของปรากฎการณ์ทุกประการ
-ทฤษฏีประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
-การวิจารณ์ระบบนายทุน
-การทำนายพัฒนาการสังคมของมนุษย์ในอนาคตที่จะไปสู่ความสมบูรณ์แบบที่แท้จริง
     อุดมการณ์ของลัทธิมาร์กซิสม์ มีดังนี้
- ประชาชนต้องทำงานเพื่อสังคมตามคามสามรถของตน และควรได้รับการตอบแทนด้วยผลผลิตแห่งงานของตนตามความจำเป็นของตน
- เอกชนไม่ควรมีกรรมสิทธ์ในทรัพย์สิน
- เพื่อประโยชน์ของลัทธิคอมมิวนิสต์นี้ งานสมองก็ด งานฝีมือก็ดี ถือว่ามีความสำคัญในระดับเดียวกัน
     ตามปรัชญาของมาร์กซ์ ถือว่าเศรษฐกิจเป็นเครื่องกำหนดความรู้สึกนึกคิดและสภาวะความเป็นอยู่ของมนุษย์ นั่งคือเศรษฐกิจเป็นเครื่องกำหนด ซึ่งรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นปรากฎการณ์ของมนุษยชาติ ก็คือการต่อสู่ของชนชั้น ความขัดแย้งระหว่างผู้เอารัดเอาเปรียบและผู้ถูกเอาเปรียบในทุกสังคม
      ตามทฤษฏีพัฒนาการเศรษฐกิจของมาร์กซ์ ระบบเศรษฐกิจและสังคมในประวัติศาสตร์อาจแบ่งออกเป็น 5 พน่
1 สังคมแรกเริ่ม เป้นสังคมที่บุคคลในสังคมจะถูกบังคับให้อยู่ร่วมกัน เป็นเจ้าของร่วมกัน ทำมาหากินร่วมกัน
2 สังคมที่มีการใช้ทาส สังคมนี้วิวัฒนาการมาจากสังคมแรกเริ่ม เป็นสังคมทาส การผลิตมีลักษณะเป็นการประกอบการส่วนตัว มีทั้งการทำงานดดยตนเองและโดยการใช้ทาส คนในสังคมแบ่งเป็น 2 ชั้น คือ เจ้าของทุนและทาส การขัดแย้งระหว่าบุคคลสองชั้นเป็นจุดอ่อนของสังคม และสังคมนี้สิ้นสุดลงเพราะการต่อสู้ระหว่าชน 2 ชั้นนี้
3 สังคมระบบศักดินา ที่ดินเป็นหลักสำคัญของสังคมแบบนี้ ชาวนาเป็นผู้ผลิต ผู้เป็นเจ้าของคือพวกขุนนางเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง ยิ่งกว่านั้นความเจริญทางด้านการผลิตได้ก้าวหน้าไปอย่ารวดเร็วเพราะมีการปฏิวัติอตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 และ 19 จึงเกิดมีเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นใหม่ในสังคมและถือว่าเป็นนายทุนในสังคมนี้จึงมีการต่อสู้ระหว่างนายทุนหรือพวกขุนนางกับคนงานหรือพวกไพร่ จึงเป็นเหตุให้สังคมนี้เปลี่ยนไปเป็นสังคมนายทุนเร็วขึ้น
4 สังคมนายทุนหรือระบบทุนนิยม ในสังคมนี้มีชน 2 ชั้น คือชนชั้นกรรมาชีพ และชนชั้นนายทุน นายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ชนชั้นกรรมาชีพคือคนงานที่ทำงานเพื่อรับค่าจ้างโดยขายแรงงาน ทุนจะอยู่ในมือของคนส่วนน้อยคือนายทุน ผลประโยชน์ของนายทุนคือกำไร ซึ่งพวกสังคมนิยมถือว่าเป็นการขูดรีดดังนั้นในสงคมนี้จะเกิดการต่อสู่ระหว่างชน 2 ชั้นอย่างรุนแรง
5 ลัทธิสังคมนิยม คลุมไปถึงลัทธิคอมมิวนิสม์ ผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่องมือในการผลิตคือสังคม ชนชันปกครองคือสังคมซึ่งหมายถึงประชาชนทั้งหมด ในงคมนี้ชนชั้นที่ทำงานทั้งหลายจะโค่นระบบนายทุน และพวกรรมกรขึ้นปกครอง ไม่มีการต่อสู้ระหวางชนชั้นเพราะไม่มีชนชันอีกต่อไป
     ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสม์ซึ่งเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดท้าย เพราะไม่มีการต่อสู้ระหว่างชนชั้น  เป็นระบบที่ไม่มีชนชั้น แต่อย่างไรก็ตามก่อนการเปลี่ยนแปลงจากระบบนายทุนเป็นสังคมนิยม การ์กซ์เห็นว่าควรมีความเจรญในทางอุตสาหกรรมก่อน เพราะการอุตสาหกรรมจะช่วยให้กรรมกรและคนงานรวมตัวกันได้มันคงและภายใต้ระบบทุนนิยม สุดท้ายกลำกการดำเนินงานของระบบทุนนิยมเองจะเป็นสิ่งที่ทำลายระบบทุนนิยม
      ทฤษฏีทางเศรษฐกิจ ที่มาร์กใช้นำมาอธิบายว่าระบบนายทุนทำลายตนเอง ก็คือทฤษฏีมูลค่าส่วนเกิน และทฤษฏีมูลค่าของแรงงาน ในความคิดของมาร์กซ์เห็นว่าสิ่งของจะมีค่าหรือไม่ขึ้นอยู่กับ 2 ประการคือ
     1 ของนั้นมีประโยชนหรือไม่ เป็นิ่งที่ต้องการหรือเปล่า
     2 ของนั้นต้องใช้แรงงานในการผลิตหรือไม่
ทฤษฏีเศรษฐกิจของมาร์กซ์ ย้ำว่าคุณค่าของสิ่งของและสินค้าต่าง ๆ เกิดขึ้นจากแรงงาน และระบบเศรษฐกิจในเวลาหนึ่ง ๆ สามรถผลิตได้มูลค่าเกินกว่าความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของคนงานและมูลค่าของวัตถุดิบและทุนที่ในการผลิตนั้น ๆ มาร์กซ์เรียกส่วนเกินนี้ว่า surplus value หรือมูลค่าที่ผลิตได้เกิน ซึ่งส่สนนี้จะตกเป็นของนายทุน นอกไปจากนี้การแข่งขันกันเองทไห้นายทุนต้องสะสมทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันการสะสมทุนมากขึ้นทำให้ทุนมารวมกันอยู่ในมือนายทุนไม่กี่คน นายทุนซึ่งแข่งขันสู้ไม่ได้ก็จะสลายตัวกลายเป็นชนชันกรรมาชีพไปนอกจากนี้จากการนำเอาเทคนิคใหม่ ๆ หรือเครื่องจักรมาใช้ ทำใหใช้แรงงานน้อยลก่อนให้เกิดคนว่างงานมากขึ้น นายทุนก็สามารถต่อรองลดค่าจ้างของกรรมกรลงไปอีก ทำให้กรรมกรได้รับความทุกข์ยาก เมื่อถึงจุดหนึ่งพวกกรรมกรก็จะรวมกันโค่นพวกนายทุน
     จากแนวคิดดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มาร์กซ์ได้อธิบายถึงการดำเนินการเศรษฐกิจในรูปแบบทีเรียกว่าเศรษฐกิจสังคมนิยม โดยเพ่งเล็งถึงการขัดแย้งภายในของระบบนายทุน ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่จุดจบและแทนที่ด้วยสังคมนิยมอันเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดขององค์กรทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามมาร์กซ์ก็ไม่ได้สาธิตระบบหรือแบบของสังคมนิยมที่เขาเห็นว่าดีเยียมไว้อย่างชัดแจ้ง รวมทั้งวิธีการที่จะจัดการกับระบบเศรษฐกิจดังกล่าวนี้
     อันที่จริงแล้วสภาพของรัศเซียนั้นแตกต่างจากทฤษฏีของมาร์กซ์ มาร์กซ์เองก็ไม่เคยคิดว่ารัสเซียจะเป็นประเทศที่ทำการปฏิวัติโค่นล้มระบบนายทุน เพราะรัสเซียยังไม่ก้าวเข้าสู่สังคมนายทุนอย่างสมบูรณ์ และการปฏิวัติบอลเชวิคในปี ค.ศ. 1917 ก็เป็นการปฏิวัติของชนชั้นกลาง ไม่ใช่การปฏิวัติของพวกกรรมกร เพราะว่าในขณะนั้นกรรมกรของรัสเซียยังคงมีน้อย ประชาชนส่วนใหญ๋ของประเทศคือชาวนา ซึ่งเป็นผู้ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
     ลัทธิมาร์กซ์เข้าสู่รัสเซียโดยผ่านทางนักศึกษาและปัญญาชนที่๔กเนรเทศออกจากรัสเซีย และตีพิมพ์แถลงการณ์คอมมิวนิสต์ออกเป็นภาษารัสเซีย ในปี 1860 และ The Capital ในปี 1872 .. ด้วยเหตุนี้ลัทธิมาร์กซ์จึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในศเว๊ยในปลายศตวรรษที่ 19 นั้นเอง ประกอบกับสถานการณ์ในรัสเซียส่งเสริมให้ความนิยมในมาร์กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการที่อุตสาหรรมขยายตัว จำนนคนงานที่ทำงานในโรงงานเพ่มขึ้น การโฆษณาจึงได้ผล
    ช่วงเริ่มแรกก่อนการปฏิวัติในรัฐเซียมีการเคลื่อนไหวจากคน 3 กลุ่ม คือกล่มแรกนั้นส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและเห็นว่า ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมเท่านั้นที่เหมาะกับรัสเซีย รัสเซียสามารถพัฒนาโดยผ่านขั้นตอนศักดินาเข้าสูระบบสังคมนิยมที่เดียว แนวคิดของพวก “นารอดนิค”เกียวกับสังคมนิยม จะเห็นว่าตรงข้ากับความคิดของมาร์กซ์และพวกนักสังคมนิยมในรัสเซียขณะนั้น ซึ่งมีความเนว่าการปฏิวัติไปสู่ระบบสังคมนิยมนั้นจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน และผ่านพัฒนาการของระบบนายทุนเสียก่อน ด้วยเตนี้บรรดานักปปฏิวัติในรัสเซียในทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 จึงพยายามรวมกลุ่มกรรมกรกอ่น

   กลุ่มที่ 2 เพลคานอฟ นับว่าเป็นบิดาของมาร์กซิสม์ในรัสเซีย เขาไม่เห็นด้วยกับพวกนารอดนิค เพนืองจากชาวนนาเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมของสังคมพื้นฐานอยู่ห่างไกลจากชนชั้นกลางและกรรมกร การปฏิวัติที่จะเกิดขึ้นในรัสเซียระยะแรกจะต้องเป็นการปฏิวัติของพวกนายทุนชนชั้นกลาง ดังนั้นสิ่งสำคัญจะตองทำลายระบบศักดินา และกระตุ้นให้มีการพัฒราอุตสาหกรรม เมื่อสังคมนายทุนพัฒนาไปแล้วก็จะถึงเวลาสำหรับการปฏิวัติของกรรมกร เพลคานอฟเห็นว่ารัสเซียจะต้องผ่านระบบนายทุนก่อนและคนงานอุตาสหกรรมหรือชนชั้นกรรมาชีพ จะเป็นผู้ที่มีบทบาทที่สำคัญมิใช่ชาวนา การต่อสู้จะต้องกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพทางการเมือง และกรรมกรจะพอใจแต่การต่อสู้ทางเศรษฐกิจอย่างเดียวมิได้ นั้นคือจะต้องทำการปฏิวัตินายทุนในรัสเซียเสียก่อนเมื่อระบบทุนนิยมพัฒนาแล้ว จงจะมีการปฏิวัติสังคมนิยมหรือการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และเพลคานอฟ ก็เป็นผู้จัดตั้งหรือเป็นผุ้นำกลุ่มองค์การปลดปล่อยกรรมกร
     บุคคลสำคัญอีกท่านหนึ่งที่เห็นด้วยกับเพลคานอฟคือ วลาดิมีร์ อิลลิช อุลิยานอฟ หรือ “เลนิน” ผู้ซึ่งต่อมาเป็นผู้นไของบอลเชวิค เขาได้เข้าร่วมมือกับมาร์ตอฟ จัดตั้ง “สหภาพการต่อสู้เพื่อการปลดแอกชนชั้นคนงานแห่งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก”เพื่อเผยแพร่แนวความคิดของมร์กซ์ในหมู่กรรมกร ในที่สุดเขาถูกเนรเทศไปอยู่ไซบีเรีย ในช่วงเวลานี้เขาใช้เวลารวบรวมเอกสารต่าง ๆ เขียนหนังสือการพัฒนาระบบนายทุนในรัสเซีย ซึ่งเป็นหนังสือที่โจมตีพวกปอปปูลิสต์และยืนยันว่านายทุนตามแบบยุโรปตะวันตกได้เกิดขึ้นแล้วในรัสเซียอันเป็นสภาวะการณ์ที่สำคัญของการพัฒนาทางสังคมที่มาร์กซ์ได้ทำนายไว้
       สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เลนินได้ขยายเพ่มเติมลัทธิมาร์กซืและมีอิทธพลต่อสังคมนิยมรัสเซียในปัจจุบันคือ แนวความคิดของเขาในจุลสารที่ระบุว่าประมาณ ปี 1900 ระบบนายทุนในยุโรปและอเมริกาจะเข้าสู่ก้าวใหม่นั้คือระบบจักรวรรดินิยม หรือการผูกขาดของระบบนายทุน ซึ่งจะเข้าแทนที่ระบบการแข่งขันดดยเสรีที่ดำเนินอยู่ ผลิตผลจะมีจำนวนมากขึ้น และอยู่ในกำมือของผุ้ลทุนที่มีเงินทุนมากจำนวนไม่กี่ราซึงจะก่อให้เกิดระบอบคณาธิปไตยทางการเงนิ ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมวิธีการ การดำเนินงานตลอดทั้งโครงสร้างของผลผลิตต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจอันสลับซับซ้อน โดยผ่านทางการเข้าควบคุมธนคารซึ่งเป็นผู้กษาและเป็นผุ้ตัดสินใจในการจัดจหน่ายเงินทุนและสินเชื่อที่ยอมให้เพาะผุ้ผลิตบางคน และอาจจะปกิเสธกับบางคน ซึ่งเมื่อถึงขึ้นนี้แล้วก็เป็นการแยกให้เห็นชัดว่าเป็นผู้ที่มีเงินทุนและผู้ที่ไม่มีเงินทุน…
     แนวคิดของเลนินเกี่ยวกับการจัดการเศรษฐกิจภายในของรัฐสังคมนิยมเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และจัดว่าเป็นระยะเริ่มต้นของระบอบคอมมิวนิสต์ที่ถือว่า ประชาชนทุกคนจะต้องเปลี่ยนไปเป็นลูกจ้างและคนงานของรัฐในรูปของ ซินดิเคท ซึ่งถือว่ากรรมกรเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมของประเทศรวมทั้งการกระจายรายได้และการบริโภค ซึ่งในรูปนี้ทุกคนจะทำงานเท่ากันและทำงานในส่วนของตนเป็นประจำและรับค่าจ้าเท่ากัน วิธีการจัดระบบเศรษฐกิจแบบนี้เป็นหลักการที่ดำเนินในสหภาพโซเวียตภายหลังจากการปฏิวัติในปี 1917
……

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...