วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

WWII:Ukraine

       ห่างจากเคียฟไปทางตะวันตกแปดสิบไมล์ กองทัพแพนเซอร์ที่  4 ซึ่งเชื่อวากองทัพแดงกำลังอ่อนแรงและสามารถโต้ตอลฉับพลันเป็นผลสำเร็จโดยการโจมตีจากด้านข้างอยางห้ายหาญ ยุทธการครั้งนี้กองทัพกลุ่มใต้ยึดโครอสเตนคืนได้ และมีเวลาหยุดพัก อย่างไรก็ดีมีการล่าถอนเริ่มขึ้นอีกครั้งในแนวรบยูเครนที่หนึ่ง โซเวียตเคลื่อนทัพดำเนินต่อไปกระทั่งถึงพรมแดนโปแลนด์-โซเวียต ช่วงต้นปี 1944 แนวรบยูเครนที่สองข้ามแม่น้ำนีเปอร์และบุกต่อไปทางตะวันตก แนวรบยูเครนที่สองเลี้ยวไปทางเหนือบรรจบกับกำลังรถถังของวาตูติน ซึ่งแกว่งลงใต้จากการตีฝ่าเข้าสู่โปแลนด์และล้อมกองทัพเยอรมันสิบกองพลทค่คอร์ชุน-เชเวนตะวันตกของเชียร์คัสชี
     การยืนกรานให้รักษาแนวนีเปอร์ของฮิตเลอร์ โดยเขาเชื่อมั่นวาสามารถตีฝ่าออกไปได้ และรุกไปยังเคียฟได้ด้วย กองทหารเยอรมันที่ถูกล้อม ซึ่งมีกองพลแพนเซอร์ SS ที่ 5 วีคิงรวมอยู่ด้วยตีฝ่าวงล้อมข้ามแม่น้ำได้อย่างปลอดภัย แม้จะเสียกำลังพลไปถึงครึ่งและยุทโธปกร์ทั้งหมดก็ตามพวกเขาสันนิษฐานว่าพวกโซเวียตจะไม่เข้าตีอีก
     มีนาคม 1944 แนวรบโซเวียตยูเครนเปลี่ยนไปรุกเมือโดเดียวไครเมียแล้ว กำลังรัศเซียรุกข้ามปลักโครนไปยังพรมแดนโรมาเนีย จึงเป็นอันยุติการทัพในทางใต้ หลังจากการรุกกว่า 500 ไมล์
     แพนเซือร์ที่  1 ตีฝ่าวงล้อมรัสเซียด้วยความสูญเสียเพียงเล็กน้อย เมษายน กองทัพแดงยึดโอเดสซาคืนได้ ตามด้วยการทัพของแนวรบยูเครนที่ 4 ในการฟื้นฟู การควบคุมไครเมียจึงสิ้นสุดลงในเดื่อนพฤษภา
    แนวรบของกองทัพกลุ่มเหนือ กองกำลังเยอรมันถูกผลักดันจากแนวฮาเกนอย่างช้าๆ โดยยึดดินแดนได้ค่อนข้างเล็กน้อย แต่การเสียเบีรนสก์และสโมเลนสก์สำคัญกว่าในเดือนธันวา 1943 ทำให้เยอรมันเสียหลักประกันของระบบการป้องกันเยรอมันทั้งระบบ บนแนวรบของกองทัพกลุ่มเหนือมีการต่อสู้เพียงเล็กน้อย กระทั่งต้นปี 1944 เมื่อแนวรบวอลฮอฟและแนวรบบอลติกที่สองโจมตีอย่างไม่คาดฝัน ฝ่ายเยอรมันถูกผลักดันจากเลนินกราด และนอฟโกรอดถูกกองกำลังโซเวียตยึดคืน กองทัพแดงถึงพรมแดนเอนโตเนียหลังการบุก 75 ไมล์ทะเลบอลติกเหนือจะเป็นเส้นทางเร็วที่สุดที่จะนำการสู้รบสู่แผ่นดินเยอรมันในปรัสเซียตะวันออกและยึดคุมฟินแลนด์สำหรับสตาลิน
     ฮิตเลอร์เตรียมการรับข้าศึกจึงต้องรวบรวมกำลังเพื่อตั้งรับ ฝ่ายโซเวียตมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเช่นกัน นั่นคือ การขยายผลของแปนสู่ตะวันตก ที่ก่อนอื่นจะต้องขับไล่กองทัพนาซีออกไปให้หมดเสียกอ่น ซึ่งหมายถึงการที่จะต้องเข้ากระจายกำลังบนทุกพื้นที่ที่กว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายและเสี่ยงต่อการถูกซุ่มโจมตี
    แม่ทัพรัสเซียรวมทั้งสตาลิน จึงได้คิดแผนการขับไล่นาซี ดังนี้

แผน คูทูซอฟ เข้าจัดการที่ Briansk Orel และ Central Front
แผน รูเมียทเซฟ เข้าจัดการที่ Voronezh Steppeและต่อไปทางใต้
แผน ซูฌวรอฟ เข้าจัดการที่ สโมเลนสค์
     เยอรมันสู้ไปถอยไปในทุกพื้นที่ อย่างไม่เป็นระเบียบนัก ในการขับไล่นาซีครั้งนี้ซูคอฟต้องการที่จะจัดการกับกองทัพเยอรมันขนาดใหญ่ แต่สตาลินไม่เห็นด้วย สตาลินมองว่า การทำศึกใหญ่อีกอาจจะมีความเสี่ยง ในกรณีที่ปิดล้อมไม่สำเร็จ ดังนั้น จงได้แต่ขับไล่กองทัพเยอมันให้ออกไปอยู่แนวชายแดนที่เคียฟ
     ครุสเซฟดำรงตำแหน่างเป็นประธานสภาแดงที่ยูเครน ที่ควบคุมดูแลเคียฟอยู่ด้วย ครุสเชฟเสนอสตาลินว่าการขับไล่กองทัพเยอรมันที่เคียฟควรให้เป็นหน้าที่ของแม่ทัพ วาทูติน เพราะดูและเเนวหน้าฝั่นนี้อยู่ ซึ่งสตาลินก็อนุญาติ
      เมษายนเหล่าแม่ทัพภายใต้การนำจอมพลซูคอฟ ทำการขับไล่นาซีเยอรมันออกไปจากยูเคนจนหมดสิ้น เป็นชัยชนะซึ่งสตาลินถึงกับสั่งยิงสลุดคารวะต่อทหารหาญในกรุงมอสควาเป็นครั้งที่สอง หลังจากยุทธการสตาลินกราด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...