วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Thirteen Colonies

     มลรัฐ 13 แห่งได้ยอมรับเป็นหลักในการปกครองในเดือนมีนาคม 1781 มีข้อบกพร่อง นั่นคือการปกครองระบบนี้เป็นเพียง “การรวมกันฉันมิตร”ไม่มีระบบบริหารของชาติอย่างงแท้จริง  มีสภาคอนติเนนตัลเพียงสภาเดียงซึ่งขาดอำนาจในการเหก็บภาษี เกณฑ์ทหาร ลงโทษผู้ละเมิดกฎหมาย หรือบังคับให้มลรัฐต่าง ๆ ปฏิติตามสนธิสัญญาที่สภาทำกับต่างประเทศ รวมถึงาภาไม่อาจเรียกเก็บเงินสำหรับใช้จายในภารกิจต่าง ๆ ของรัฐบาลกลาง หรือชะระดอกเบี้ยหนี้สินของประเทศได้ อย่างไรก็ตามแม้บทบัญญัตินี้จะไม่สามรถแก้ไขปัญหาการปกครองร่วมกันได้ แต่ก็เป็นแนวทางนำไปสู่กาตกลงที่สำคัญเกียกับการแบ่งปยกอำนาตทั่งไป และอำนาจท้องถ่นอันเหมาะสม บทบัญญัติสมาพันธ์เป็นหลักการดำเนินงานขั้นสำคัญ และที่จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงจากความเป็นอสระของมลรัฐต่าง ๆ ซึ่งไม่ขึ้นต่อกัน มาสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในรูปการปกครองแบบสหพันธรัฐในปี 1789
      ไม่เพียงแต่ประเทศจะขาดรัฐบาลกลางที่เข้มแข็งเท่านั้น มลรัฐทั้ง 13 แห่งก็ยังปราศจากระเบียบการปกครองอันมั่นคงด้วย ธอมัน เพน ได้เสนอให้มี “การประชุมภาคพื้นทวีปเพื่อรางกฏบัตรการปกครองใหม่” ข้อเสนอดังกล่าวนี้ได้ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อมีการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาทางการค้า ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีลักษณะเข้าแข็งมั่นคงเป็นพิเศษ จึงได้ถูกราขึ้นในที่สุด
     การดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญได้เริ่มขึ้นเมื่ออเล็กซานเดอร์ แฮมิลตันเสนอให้มลรัฐต่าง ๆ แต่งตั้งผู้แทนไปประชุมกันที่เมืองฟิลาเดลเฟียในเดือนพฤษภาคม 1787 เพื่อพิจารณาสถานกาณ์โดยทั่งไปของสหรัฐอเมริกา และ “กำหนดเงื่อไขเท่าที่จำเป็นในอันที่จะยังให้ธรรมนูญแห่งรัฐบาลสหพันธ์เป็นหลักในการปกครองอันเพียงพอแก่ความจำเป็นเร่งด่วนของหภาพมลรัฐทุก ๆ รัฐยกเว้นโรดไอแลนด์ได้ดำเนินการเลือตั้งผู้แทนเข้าร่วมประชุมโดยสภานิติบัญญัติของมลรัฐทำหน้าที่เลื่อกผู้แทนที่จะเข้าประชุม และวอชิงตันได้รัเลือกจาผู้แทนทั้งหมดให้เป็นประธานการประชุมด้วย ผู้แทนเหล่านี้ได้เตรียมร่างหลักการใหม่ซึ่งต่อมาคือรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และได้ใช้เป็นแนวการพิจารณามากกว่าการยึดตามบทบัญญัติสมาพันธ์เดิม
     หลักการโดยทั่งไปของการจัดตังรูปแบบการปกครองของชาติ คือ แบ่งการปกครองเป็น 3 สาขา แต่ละสาขามีอำนาจเท่าเทียมกันและประสานงานกับสาขาอื่นๆ สาขาทั้งสาม คือ นิติบัญญํติ บริหาร และตุลาการ จะต้องรัดกุมและสอดคล้องกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเหมาะสมกลมเกลียวกัน แต่ในเวลาเดียวกันก็จะต้องถ่วงดุลอำนาจกันอย่างดี ในลักษณะที่ไม่ให้ผลประโยชน์ของฝ่ายใดล่วงล้ำกำเกินฝ่ายอื่นได้ บรรดาผู้แทนเห็นชอบให้กำหนดว่า สาขานิตดบัญญัติควรประกอบด้วยสภา 2 สภา คือสภาเซเนต และสภาผู้แทนราษฎร โดยมีข้อยุติคือ มลรัฐเล็กจะมีเสียงในสภาเซเนตเท่ากับมลรัฐใหญ่ แต่ในสภาผู้แทนราษฎรให้กำหนดจำนวนผุ้แทนตามส่วยประชากรของมลรัฐ ในสาขาบริหาร การกำหนดวิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดีได้ข้อสรุปว่า ให้มีการจัดตั้งคณะผู้แทนของมลรัฐเพื่ออกเสียเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ละมลรัฐมีจำนวนผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีก็มิได้เป็นไปตามเจตนาของผุ้ร่างรัฐธรรมนูญทั้งนี้เพราะไม่มีผู้ใดคาดคิดล่วงหน้าว่า พรรคการเมืองจะวิวัฒนาการขึ้นตั้งแต่เริ่มแรก ส่วนอำนาจสาขาที่สาม คือสาขาตุลาการ ประธานาธิบดีเป็นผุ้แต่งตั้งผู้พิพากษาศาลสูงสุด โดยคำแนะนำและด้วยความยินยอมของสภาเซเนต ให้ดำรงตำแหน่งตลอดชีวิตตราบเท่าที่มีควาประพฤติดี
     ความสุขุมและแยบยลในการกำหนดหลักการดำเนินงานของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ได้จัดตั้งระบอบการปกครองที่สลับซับซ้อนที่สุดแต่มั่นคงที่สุดเท่าที่มนุษย์ได้จัดตั้งมา อำนาจแต่ละสาขาเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกันประสานงานกันแต่ก็ยับยั้งควบคุมซึ่งกันแลกัน ร่างกฏหมายของสภาคองเกรสจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมือได้รับการับรองของประธานาธิบดี ในทำนองเดียวกัน ประธานาธิบดีต้องเสนอการแต่งตั้งข้าราชการดำนงตำแหน่างสำคัญ ๆ และสนองสนธิสัญญาทั่งปวงที่ทำขึ้น ต่อสภาเซเนตเพื่อของความเห็นชอบ อนึ่ง สภาคองเกรสยังอาจพิจารณาไต่สวนประธานธิบดีในข้อหาใช้อำนาจในทางที่ผิด และถอดถอนจากตำแน่งได้ด้วย สาขาตุลาการมีอำนาจพิจารณาคดีความทั้งปวงตามตัวบทกฎหมายมูลฐานและกฏหมายที่ออกโดยสภานิตดบัญญัติ แต่ผู้พิพากษาซึ่งประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งและได้รับความเห็นชอบของสภเซเนต ก็อาจจะถูกสภาคองเกรสพิจารณาและถอดถอนจากตำแหน่งได้เช่นกัน โดยที่วุฒิสมาชิกของสภาเซเนตเป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยสภานิติบัญญัติแห่งมลรัฐ ให้ปฏิบัติหน้าที่คราวละ 6 ปี ส่วนปรธานาธิบดีได้รัเลือกตั้งโดยสภานิติบัญญัติของมลรัฐ และผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นข้ารัฐการพวกเดียวที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
     หลังสงครามกลางเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะหลังปี 1894 สาขาอุตสาหกรรมได้ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทนที่สาขาการเกษตร ในบางอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาการผลิตขึ้นเป็นการผลิตขนาดใหญ่ นั้นคือเมื่อระบบทุนนิยมพัฒนาไป จะมีการรวมหน่วยธุรกิจเข้าเป็นหน่วนใหญ่ เป้าหมายเพื่อควบคุมตลาดและขจัดการแข่งขัน พยายามเป้นผู้ผูกขาดในตลาด ในกรณ๊เยอรมันเกิดระบบคาร์เตลและกรณีญี่ปุ่นเกิดระบบไซบัตซึ ส่วนในกรณีของสหรัฐอเมริกาปรากฏการณ์นี้เป็นไปอย่างรุนแรงที่สุด การรวมกลุ่มผูกขาดมีขนาดใหญ๋มาก รวมทั้งมีอำนาจทางเศรษฐกิจมากด้วย
     การผลิตส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการจำนวนน้อย หมายถึงว่า กิจการเพียงกลุ่มน้อยจะเป็นกลุ่มอิทธิพลครอบงำอุสาหกรรมส่วนใหญ่เอาไว้ และการที่ในอุตสาหกรรมหนึ่งมีกิจการขนาดใหญ่อยู่เพียงไม่กี่กิจการ หากมีการแข่งขันระหว่างกิจการใหญ่ ๆ ด้วยกันด้านราคาก็อาจนำปสู่สงครามราคา แข่งขันตัดราคากันจนอาจนำไปสุ่การล้มละลายของกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่กิจการใหญ่ ๆ พยายามหลีกเลียงการแข่งขันแบบนี้ ด้วยการหันไปตกลงและรวมตัวกันในแบบต่าง ๆ ซึงวิธีการแบบนี้ไม่เพียงหลีกเลียงการแข่งขันกันตัดราคาเท่านั้น ในบางโอกาสยังทำให้สามารถขึ้นราคาและเพิ่มกำไรได้ด้วย
     การรวมกลุ่มผูกขาดนี้ ปรากฎในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ทศวรรษ 1890 การรวมกิจการเพื่อผูกขาดทำกัน 3 วิธี โดยมีการพัฒนาตั้งแต่วิธีแรก เรียกว่า การตกลงรวมตัว วิธีที่ 2 คือการก่อตั้งทรัสต์ และวิธีสุดท้ายคือการก่อตั้งบริษัทถือครองหุ้น
      เมื่อถึงปี 1905 ประมาณ สองในห้าของอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาถูกควบคุมด้วยบริษัทใหญ่มากเพียง 300 บริษัทเท่านั้น และด้วยเงินทุนรวมกว่า 7 พันล้านเหรียญทุนผูกขาดครอบำกิจการรถไฟ เนื้อบรรจุหีบห่อ เหล็กกล้า ทองแดงฯ ตระกูลมอแกนซึ่งคบลคุมธนาคารเพื่อการลงทุน เป็นกรรมการบริษัท 112 แห่ง ซึ่มีสินทรัพย์กว่า 22 พันล้านเหรียญ หมายึวามว่าคนเพียงไม่กี่คน มีอำนาจเศรษฐกิจมากล้น เนื่องจากการรวมทุนเป็นทุนผูกขาด
การควบคุมโดยรัฐบาลกลาง
      โดยทั่วไปการที่รัฐบาลกลางจะเข้าควบคุมการดำเนินธุรกิจนั้น มักจะเป็นในช่วงที่เกิดภาวะสงครามหรือเกิดภาวะความปั่นป่วนของตลอดเงินหรือของระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งการเรียกร้องให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ การเช้าแทรกแซงรของรัฐบาลอาจทำให้รูปของการออกกฎหมายเศรษกิจหลักๆ และการจัดตั้งอง์กรควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจจากการศึกษาระบบเศรษฐกิจอเมริกันชี้ให้เห็นว่า ระดับการออกกฎหมายควบคุมธุรกิจ และการจัดตั้งองค์กรควบคุมต่อทศวรรษ มีวงจรคล้ายกับการขยายตัวของปริมาณเงินและอัตราเงินเฟ้อนั่นก็คือ  มีอัตราการเพิ่มที่พุ่งขึ้นถึงจุดสุงสุดในทุก ๆ 3 ทศวรรษ ยกเว้นในช่วงหลังสงครามกลางเมือง
     “ระเบียบกฎหมาย” อาจนิยามได้ว่า คือ การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงในกระบวนการตัดสินใจของเอกขน ตัวอย่งเช่น การออกกฎหมายหรือรัฐบัญญัติกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ มาตรฐานคุณภาพสินค้า รัฐบัญญัติว่าด้วยการห้ามกีดกันการว่าจ้างแรงงานเป็ฯต้น เมื่ออกกฏหมายขึ้นใช้บังคับกิจการใดกิจการหนึ่งแล้ว ก็จะต้องจัดตั้งองค์กรส่วนกลางขึ้นเพื่อควบคุมดูแลให้ปฏิบัติตามกฏหมายนั้น ๆ
     การวัดระดับการควบคุมธุรกิจอาจทำได้ 2 วิธี คือ
- พิจารณาจำนวนองค์กรใหม่ๆ ที่ตั้งขึ้นมาควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจในแต่ละทศวรรษ หากมีจำนวนมากแสดงวาระดับการควบคุมธุรกิจในช่วงนั้นมีมาก
- พิจารณาจากจำนวนร่างรัฐบัญญัติหรือกฏหมายทางเศรษฐกิจหลัก ๆ ที่สภาคองเกรสฝ่านให้ประกาศใช้เป็นรัฐบัญญัติได้ หากมีจำนวนมากแสดงว่าการแทรกแซงของรัฐบาลมีมากขึ้น ซึ่งการควบคุมธุรกิจก็คือ การที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงการดำเนินงานของตลาดนั้นเอง
     ดังนั้นเมื่อระบบเศรษฐกิจขยายตัว มาตรการที่จะนำมาใช้ควบคุมธุรกิจย่อมเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าระบบเศรษฐกิจขยายตัวแต่องค์กรที่ควบคุมดูแลไม่ได้เพิ่มขึ้น แสดงว่าระดัยการควบคุมต่อธุรกิจลดลงหรือเรียกว่า “ดิเรกกูเรชั่น”สำหรับร่างรัฐบัญญัติเศรษฐกิจหลัก ๆ ก็เช่นเดียวกัน ฉะนั้นในระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัว มาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมธุรกิจก็คือ จำนวนขององค์กรควบคุมที่ตั้งขึ้นใหม่ หรือจำนวนรัฐบัญญัติเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ประกาศใช้บังคับเพ่มขึ้นในแต่ละทศวรรษ อย่างไรก็ตามก็ควรจะคำนึงถึงองค์กรหรือรัฐบัญญัติที่เลิกล้มหรือเลิกใช้แล้วด้วย
     องค์กรควบคุมที่ได้เกิดขึ้นต่อทศวรรษรัฐบาลกลางเริ่มก่อตั้งองค์กรควบคุมส่วนกลางในปี 1836 และในทศวรรษที่ 1860 มีการตั้งองค์กรใหม่ 2 องค์กร ภายหลังสงครามกลางเมืองวงจรได้ชะงักไปและกลับเข้าสูงวงจรปกติโดยพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดในทศวรรษที่ 1910,1940และ1970 จึงสรุปได้ว่า จากวงจรที่ 1 การขยายตัวขององค์กรควบคุมธุรกิจดำเนินไปเป็นวงจรโดยพุ่งถึงจุดสูงสุดในทุก ๆ 3 รอบทศวรรษ ยกเว้นภายหลังสงครามกลางเมือง
     การบัญญัติกฏหมายเกียวกับเศรษฐกิจของรัฐ ฉบับสำคัญๆ ที่ผ่านออกมาต่อทศวรรษ แม้วาก่อนหน้าทศวรรษ 1830 ยังไม่มีการก่อตั้งองค์กรควบคุมธุรกิจแต่สภาคองเกรสได้ผ่านร่างรัฐบัญญัติเศรษฐกิจหลัก ๆ แล้ว นับตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ ซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอเมริกันอย่างชัดแจ้ง  การออกกฏหมายเศรษฐกิจเพื่อควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ ขึ้นถึงจุดสูงสุดในทุก ๆ 3 ทศวรรษ ยกเว้นช่วงหลังสงครามกลางเมือง เพราะฉะนั้นในช่วงกลางระหว่างจุดสูงสุดเหล่นี้ ก็แสดงถึงระดับของการยกเลิกฏหมายด้วย เนื่องจากรัฐบัญญัติที่ประกาศใช้ในระหว่างสงคราม จะถูกยกเลิกไปเมือสงครามยุติลง จำนวนของรัฐบัญญํติท่ตราขึ้นระหว่างช่วง 10 ปีก็อาจเป็นได้ว่าอัตราเพิ่มของรัฐบัญญัติจะติดลบ เมื่อคำนึกถึงข้อเท็จจริงดังนี้แล้วจะเห็นว่าทศวรรษหลังสงคราม คือ ทศวรรษ 1780,1870,1920และ 1950 เป็นทศวรรษที่แสดงว่าระดับของการยกเลิกกฎหมาย หรือรัฐบัญญัติขึ้ถึงจุดสูสุด ดังนั้นระดับการการยกเลิกกฏหมายจะขึ้นถึงจุดสูงสุดในทุก ๆ  3 ทศวรรษเช่นกัน นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศเรื่อยมา(ยกเว้นช่วงสงครามกลางเมือง)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...