Southeast Asian Writers Award ( I )

รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์)
    เิริ่มก่อตั้งเมือปี พ.ศ.2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่นักเขียน ใน 10 ประเทศสาชิกแห่ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
รางวัลซีไรต์ มีความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และเชิดชู นักเขึยนในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ
  " รางวัลซีำไรต์" เป็นรางวัลเดียวในโลกที่มอบรางวัลทางวรรณกรรมให้แก่นักเขียนจากหลากหลายประเทศภายในภูมิภาคเป็นรางวัลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยกย่องในแวดวงวณณกรรมทั่วโลกด้วยเกียรติภูมิที่ "รางวัลซีไรต์"ได้สั่งสมและสืบทอดอย่างงดงามมานานกว่า 30 ปี ในปัจจุบันจังเป็นรางวัมทางวรรณกรรมประจำปีที่ประชาคมวรรณกรรมไทยและภูมิภาคอาเซียนเฝ้าคอยอย่างจดจ่อ สื่อมวลชนห้ความสนใจอย่างกว้างขวาง นักอ่านชื่นชม ทั้งยังนำพาให้เกิดนักเขียนคุณภาพรุ่นใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย


จเ็ด็จ กำจรเดช ผู้ได้รับรางวัลซีำไรต์ ปี 2554
"ร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ"
เป็นรวมเรื่องสั้น 12 เรื่องที่ทำให้เรามองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยสายตาที่เปลี่ยนไป เรื่องสั้นเหล่านี้แม้จะดูหนักหน่วงมีมิติที่ทับซ้อนมีมุมมองที่แปลกต่าง แต่มีความหมายที่น่าพินิจนักเขียนเน้นการเล่าเรื่องอย่างมีชั้น มีเชิง อย่างซ่อนเงื่อนซ่อนปม กำกับบทบาทความคิดอย่างมีศิลปะในการเรียงร้อยและจัดวางถ้อยคำและข้อความ...


ซะการ์รียา อมาตยา
รางวัลซีไรต์ ปี 2553
"ไม่มีหญิงสาวในบทกวี


เป็นชาวอ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ศึกษาที่อินเดียสาขาอิสลามศาสตร์ ภาษาและวรณคดีอาหรับเป็นเวลาเป็นเวลา 5 ปี ต่อมาเมืองกลับสูแผ่นดินไทยเข้าเรียนต่อสาขาศาสนาเปรียบเที่ยบมหาวิทยาลัยมหิดล..

   

อุทิศ เหมะมูล
รางวัลซีไรต์ ปี 2552
"ลับแล แก่งคอย"

เป็นคนอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี จบการศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยะเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีม เรียนด้านศิลปกรรม และศักษาต่อคณะ จิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวัทยาลัยศิลปากร


                                                                     
ลับแล แก่งคอย เป็นนวนิยายความยาว 444 หน้า บอกเล่าเรื่องราวชีวิต 3 ชั่วอายุคน นับจากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่อยมาจนถึงกลางทศวรรษ2530 ของสามัญชนครอบครัวหนึ่งซึ่งมีชีวิตทั้งในด้านถูก ผิด ดี เลว อย่างกลมกลึง...
   เป็นเรื่องราวของกลุ่มคนที่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตของสามัญชนจำนวนมากในสังคมไทย เพราะเป็นเรื่องวนเวียนอยู่กับครอบครัวที่มีหัวหน้าครอบครัวซึ่งพ่อเป็นคนเชื้อสายจีนที่ไม่สามรถไต่เต้าขึ้นไปมีสถานะเป็นเจ้าสัวผู้ยิ่งหใญแม้ในระดับท้องถิ่น ทว่าเป็นเพียงผู้ใช้แรงงานที่ขยับตนเองจากการเป็นแรงงานภาคเกษตรมาในภาคเหนือตอนล่างมาสู่การเป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสระบุรี ขณะที่ฝ่ายแม่ก็เป็นหญิงชาวอีสานที่อ่านหนังสือไม่ออก บ้าหวย และเชื่อผี ซึ่งเดินทางมาแสวงหาชีวติที่ดีกว่าในสระบุรีก่อนจะย้อนกลับไปยังอีสาน
    สามารถกล่าวได้ว่าเป็น"ประวัติศาสตร์"ของสามัญชนกลุ่มเล็กๆ ประวัติศาสตร์ที่เป็น "เรื่องเล่า"เรื่องหนึ่งอันเปรียบเสมือนส่วนเสี้ยวเล็กน้อยที่ถูกประกอบไปในประวัติศาสตร์สังคมไทยในภาพใหญ่ ซึ่งมิอาจถูกยึดกุมด้วย "เรื่องเล่าหลักเรื่องเดียวเรื่องเดิม"....
     
         คณะกรรมการ "ผู้เขียนสามารถเสนอมิติอันซับซ้ิอนของมนุษย์ที่แยกไม่ออกจากรากเหง้าและชาติพันธ์ผ่านกลวิธีอันแยบยล สร้างตัวละคร ฉาก บรรยากาศได้อย่างสมจริงและมีชีวิตชีวา ใช้ภาษาที่เรียบง่ายแต่ทรงพลัง แสดงถึงจินตภาพอันกระจ่างและงดงาม
                                 " การเล่าเรื่องของครอบครัว แต่สะท้อนประวัติศาสตร์ของชุมชนและท้องถ่ิน โดยผู้เขียนให้ตัวละครเล่าเรื่องผ่านสายตาของตัวเองซึ่งมีการมองโลกและวิธีคิดที่น่าสนใจ"
                                 " นอกจากกลวิธีการเล่าเรื่องแล้ว การสร้างตัวละครก็โดดเด่น เพราะเรื่องนี้มีตัวละครทั้งที่มีความสมจริงอย่างมนุษย์ มีเลือดเนื้อจิตใจ และตัวละครที่ไม่มีตัวตน เกิดจากจิตใต้สำนึก ซึ่งสร้างได้อย่างมีชีวิตจนผู้อ่านไม่รู้ถึงนัยยะของการมีอยู่ของตัวละครลัษณะนี้เลย หากไม่เฉลยในช่วงท้ายของเรื่อง ถือเป็นเรื่องสร้างสรรค์อย่างยิ่งในการเขียนนวนิยายชีวิต"


"เราหลงลืมอะไรบ้างอย่าง"

   วัชชระ สัจจะสารสิน เป็นนามปากกาของ "วัชระ เพชรพรหมศร"เจ้าของรางวัลซีำไรต์ ปี พ.ศ. 2551  จบการศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท คณะและที่มหาลัยเดียวกัน ต่อจากนั้น เรียนปริญญาตรีนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์เมื่อปี 2545.. รับราชการสังกัดสำนักงานศาลปกครอง และเขียนเรื่องสั้นเป็นงานอดิเรก...
 "เราหลงลืมอะไรบ้างอย่าง" เป็นเรื่่องสั้นสิบสองเรื่องที่กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมแลุความเป็นไปของเหตุการณ์บ้านเมืองที่ทันสมัยในเชิงให้รายละเอียด เน้นความเปลี่่ยนแปลงทางความรู้สึกของผู้คนทั้งในสังคมชนบทและัสังคมเมือง ที่ถูกกลายกลืนด้วยความเจริญของสังคมเมือง จากความละเมียดละไม่ไปสู่ความหยาบกระด้าง และในที่สุดสังคมเมืองความรู้สึกแบบสังคมเมืองก็ครอบคลุมสภาพจิตใจของชนบทไว้ได้อย่างสิ้นเชิง ความโดดเด่นเฉพาะตัวคือการตั้งคำถามกับปัญหาในลักษณะที่เป็นปัญญาชน นำเสนอสัญลักษณ์ในเชิงเปรียบเทียบ เว้นจากการสรุปหรือแนะทางออกด้วยการเปิดปลายให้ผู้อ่านขบคิดต่อคำถามเลห่านั้น...







มนตรี ศรียงค์ รางวัลซีไรต์ปี พ.ศ.2550
"โลกในดวงตาของข้าเจ้า"

มนตรี ศรียงค์ (กวีหมี่เป็ด)เป็นชาวอ.หาดใหญ่ จ.สงขลาอาศัยอยู่ย่างใจกลางเมือง เริ่มเขียนบทกวีในช่วงพฤษภาทมิฬที่มาของฉายา กวีหมี่เป็ด เพราะเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว หมีเป็นเป็นอาชีพหลักเป็นนักเขียนหนึ่งในขุนพล "หลุดโลกบอร์ด
หลังจากจบมัธยมปลายที่สงคลาจึงเข้าเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยลัยรามคำแหง แต่เรียนไม่จบทางบ้านเรียกกลับไปช่วยงานที่บ้าน...
  "มนต์รักการก"
โลกทั้่งโลกถูกย่อเท่ามอนิเตอร์
เรากะเทอร์เจอกันในวันหนึ่ง
ชีวิตในอินเตอร์เนตนี้ก็จึง
หวานนำ้ผึ้งสุขสมสีชมพู
โย่วโย่วเทอร์อยู่ทีหนายอ่า?
ทำงานแ้ร้วรึว่าบังเรียนอยู่?
รูปเทอร์สวยอ่าเหมือนหมาจู
งุงิงุงิน่าเอ็นดูน่าดูแคม
โชว์วิวเปิดแคมแพลมแพลมสิ
อะคริอะคริมะก้าแหงม
เสื่อสีสวยแสบมันแว้บแวม
ชั้นในแพรลับล่อยี่ห้อไร?
เินินนมขาวจังคงทั้งเต้า
กำเดาเลือนลิ่มจะปริ่มไหล
แคมเทอร์สวยออกทั้งนอกใน
แคมใหญ่เต็มปลั่งกะลังดี
หน้าบ้านเรารถถึงกะลังวิ่ง                                                                        
ปวิวัติกันจิงจิงหรือนี่?
บ้านเทอณ์มีปะ-รึมะมี?
อี๋อี๋บ้านน้อกบ้านนอกจัง
555555555
เรารักเทอร์น้าเด็กโง่งั่ง
เด๋วส่งMp3ปะห้ายฟัง
แร้ววันหลังส่งคลิปปะห้ายดู
ถ่ายก่อนเลิกกะแฟนโรงแรมหรู
ADSL เราใช้ TRUE
อัพโหลดคู่สองคลิปได้ฉะบาย
เรารักเทอร์น้าเด็กโง่
(คลิกอีโมฯรูปหัวเราะงอหงาย)
หนึ่งปริ๊ดแระอิอิขอบจาย
จุ็บจุบบะบายชัดดาวน์แร้วววว....
.............................
ปล.รถถังมาทามมาย?
เด๋วไปถ่ายรูปก่อง-บลาบลาบลา

                                                           14 ตุลาคม 2549






 งามพรรณ เวชชาชีวะ ซีไรต์ปี 2549
      "ความสุขของกะทิ"
เป็นนวนิยายขนาดสั้น เล่าเรื่องราวของกะทิ เด็กหญิงวัย 9 ขวบที่ต้องผ่านประสบการณ์การสูญเสียครั้งสำคัญที่สุด เมื่อแม่ต้องจากไปก่อนวัยอันควร กะทิได้ผ่านขั้นตอนความสุขและทุกข์ ความผูกพันและการพลัดพราก ความสมหวังและความสูญเสีย ถึงกระนั้นกะทิได้เรียนรู้ความทุกข์จากการสูญเสียไม่อาจพรากความสุขจากความรักและความผูกพันของแม่กับเธอได้ เด็กน้อยเติบโตขึ้นจากประสบการณ์นี้ด้วยความเชื่อมั่นและกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปจากบุคคลใกล้ชิด ผู้ที่เธอรักและรักเธอ


    คณะกรรมการ "ความสุขของกะทิ เป็นงานศิลปะที่สร้างสรรค์องค์ประกอบอย่างหมดจดงดงาม สื่อแนวคิดซึ่งเป็นที่เข้ัาใจได้สำหรับคนอ่านหลากหลายไม่ว่าอยู่ในวัยและวัฒนธรรมใด เสน่ห์ของนวนิยายเรื่องนี้อยู่ที่กลวิธีการเล่าเรื่องที่ค่อย ๆ เผยปมปัญหาที่ละน้อย ๆ ผ่านมุมมองของตัวละครเอก ด้วยภาษารื่อนรมย์แฝงอารมณ์ขัน สอดแทรกความเข้าใจชีวติที่ตัวละครได้เรียนรู้ไปตามประสบการณ์ ความสะเทือนอารมณ์จะค่อย ๆ พัฒนาและดิ่งลึกในห้วงนึกคิดของผุ้อ่าน นำพาให้ผู้อ่านอ่ิมเอมกับรสแห่งความโศกอันเกษมที่ได้สัมผัสประสบการณ์ของชีวิตเล็กๆ ของเืพ่อมนุษย์คนหนึ่ง"











บินหลา รางวัลซีไรปี พ.ศ.2548
"เจ้าหงิญ"

 บินหลาเป็นนามปากกาของ วุฒิชาติ ชุ่มสนิท เกิดที่ จ. ชุมพร เข้าเรียนที่ คณะวิทยการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานคลินทร์ และ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ไม่จบการศึกษา ทำงานหนังสือมาตลอด
   "เจ้าหงิญ" ประกอบด้วยรื่องสั้น 8 เรื่องที่ใช้กลวิธีแบบการเล่านิทานมาช่วยเนริมเติมแต่งเนื้อเรื่องเรียงร้อยเข้าด้วยกัน โดยมีตัวละครที่เป็นเจ้าหญิงปรากฎอยู่เรื่อง แน่นอนว่านี้คงไม่จัดว่าเป็นนิทานเรื่องเล่าสำหรับเยาชนเท่านั้น เพราะมีแง่มุมที่ซ่อนเร้นแอบแฝงในสไตล์เรื่องที่มีการใช้วรรณศิลป์ที่รุ่มรวยแสนสละสลวย งดงามผสมมุกขำๆ เป็นระยะของผู้แต่งเป็นอย่างดี ซึ่งสามารถมองผ่านตัวละครที่เป็นเจ้าหญิงในแต่ละตอน อาทิ


ชายเดียดายแห่งภูเขาภาคเหนือ ที่เล่าถึงความเหงา ปล่าวเปลี่ยวของชายที่ต้องอยู่ตามลำพงมีเพียงหายกำหนดการเดินทางไปฉลองวันเกิดของเจ้าหญิงตัวน้อยๆของเขาเท่านั้น ที่เป็นดั่งแสงสว่างปก่งชีวิตอันเดียวดาย ซึ่งเพียงเรื่องแรกเทคนิคแบบวรรณศิลป์ก็ประเดิมให้อยากอ่านดังประโยคนี้
"ในวันหนึ่งปลายฤดูร้อน เมล็ดผนจำนวนมากรูลงจาก้อนเมฆ เหมือนเด็กตัวเล็กๆ วิ่งสุดฝีเท้ากลับบ้านในวันที่ครูใหญ่ประกาศประกาศปิดเทอม สายฝนพร่างพรายราวสายทองในแสงสีเงิน"
  หรืออย่างในเรื่องที่ 3 หญิงเสียงเศร้าแห่งดาวดวงที่สี
"เจ้าหญิงมิได้โศกเศร้ากับความตาย ในเมื่อความจริงคือมนุษย์ทุกคนล้วนต้องตาย หากทรงเศร้ากับการมีชีวิตอยู่...อยู่โดยไม่มีใครรู้ว่ามีชีวิต"
หรืออย่างในเรื่องสุดท้าย " โลก ของเจ้าหญิงบินหลายและเจ้าชายบินหา" ที่อ้างอิงถึงการเลี้ยงดู(ฟักไข่)ในโลกของนก และเป็นบทสรุปส่งท้ายที่ชวนติดตามถึงสายใยเชื่อมโยงของการสือสารด้วยนิทานที่เรียงร้อยกลับไปสู่เนื้อหาทั้งหมดของ "เจ้าหงิญ"ทุกเรื่อง
เจ้าหญิงที่กลายเป็นทั้ง ความหวัง (ชายเดียวดาย) การรอคอย(แดฟโฟดิลแดนไกล)ความเศร้า(เจ้าหญิงเสียงเศร้า)คนที่...ใช่(เก้าอี้ดนตรี) การเติบใหญ่และการเรียนรู้ (สีที่แปดของรุ้งกินน้ำ) จุดมุ่งหมาย(นักเดินทางผู้ยิ่งใหญ่) เหยื่อผู้น่ารัก(ลูกหามกับสามสหาย)และการสื่อสารความรักของแม่กับลูก(โลกของเจ้าหญิงบินหลาย)
  โดยรวมคือเรื่องของพ่อแม่ที่แยกทางกัน ต้องไปอยู่กับพ่อที่แม่ที จนมีนิสัยที่เอาแต่ใจตัวเอง ส่วนพ่อแม่คอยแต่ตามใจ หากเล่าเรื่องตามปกติธรรมดาพล็อตเรื่องก็แสนจะจือชืด วรรณศิลป์ทางภาษาชัดเจนขึ้นมาทันทีทันใด








                                                                     เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์  ซีไรต์ปี 2547
                                                                                "แม่น้ำรำลึก"


เป็นชาวต.วังลึก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่่ 6 ปัจจุบันดำเนินชีวติเป็นเกษตรกรธรรมชาติที่บ้านเกิด
    แม่น้ำรำลึกน้ำเสนอเรื่องราวของการย้อนทวนความคิดของชายชรา กลับไปสู่ชีวิตช่วงวัยเยาว์ บทกวีสี่สิบบทโดยประมาณเล่าถึงเรื่องราวของความผัน ความสุข และความรู้สึกสะทกสะเทือนที่จบในตัว เหมือนหยิบภาพแต่ละภาพมาต่อกัน จนเป็นภาพใหญ่ของชีวติ เรื่องราวทั้งหมดปรากฎอยู่ในภาค "ปฐมบท" และสรุปปิดฉากในภาค"ปัจฉิมบท" ซึ่งเป็นภาพของชายชราบนเก้าอี่้โยกริมระเบียง ที่บ้านชายน้ำในเวลาพลบค่ำ ย้อนพินิจไปถึงเรื่องราวกึ่งสุขกึ่งเศร้าเหล่านั้น แล้วทิ้งค้างไว้ให้ ผุ้อ่านได้จินตนาการต่อไป



 กลับสู่วัยเยาว์
รุ้ง หลังฝน เราท่อง ละอองฟ้า
ลุยน้ำเวิ้งนาหลังหน้าเกี่ยว
ทุ่งทางฉ่ำสดดูคดเคี้ยว                                                                                
ข้าวรวงหลงเคียวเราเคี้ยวกิน
เมล็ดร่วงเฝ้ารอจึงก่อเรียว
ใสเขียวกลมกลืนดังฝืนซิ่น
โค้งเรียวเกี่ยวฟ้ามาสู่ดิน
ฝนรินดินฟูไปสู่ฟ้า


    


เดือนวาด พิมวนา รางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2546
"ช่างสำราญ"
เดือนวาด พิมวนา คือนามปากกาของ พิมพ์ใจ จูกลิ่น เป็นชาวจ.ชลบุรี เกิดในครอบครัวชาวไร่ ทำงานหนังสื่อพิมพ์ท้องถิ่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วจึงออกมาเขียนหนังสืออย่างจริงจัง




              "ช่างสำราญ"เป็นนวนิยานที่แสดงภาพชีวิตของเด็กบ้านแตก คือ เด็กชายกำพล ช่างสำราญ ที่ทำให้ผู้อ่านต้องคาดเดาว่า เนื้อเรื่องจะเป็นอย่างไร โดยเริ่มจากการเปิดเรื่องด้วยเหตุการณ์ที่รุนแรง ทั้งการกล่าวถึงแม่เด็กที่มีชู้ และพ่อเด็กที่ไม่มีเงินเช่าบ้าน ต้องหอบหิ้วเด็กไปอาศัยในสังคมใหม่ ที่มีชาวบ้านชอบยุ่งเรื่องของเพื่อนบ้าน แม้ว่าเหมือนจะทำให้เรื่องราวยุ่งยาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะนี้เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของไทยการยุ่งสอดรู้สอดเห็น แต่ก็แฝงไปด้วยความเอื้ออาทรที่มีต่อเด็กชายคนนี้ ซึ่งในแง่นี้ก็คือ ผู้เขียนใช้รากเหง้าทางวัฒนธรรมและความเื้อื้ออาทรในหมู่ชาวบ้ามมาช่วยเด็กชายคนนี้นั่นเอง "







ปราบดา  หยุ่น ซีไรต์ ปี 2545 "ความน่าจะเป็น"

ปราบดา หยุ่น เป็นบุตรของสทุธิชัยหยุ่น บรรณาธการเครือเนชั้น
สำเร็จการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นผู้บริหาร และนักเขียน
   เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี 45 เรื่องสั้นทั้ง 13 เรื่อง ดังนี้ ความน่าจะเป็น ด้วยตาเปล่า ตามตาต้องใจ อะไรในอากาศ นักเว้นวรรค เหตุการณ์กรรมซ้ำเล่า กรมอุตุนิยมวิทยา บรรยากาศเป็นกันเอง อุปกรณ์ประกอบฉาก ตื้น-ลึก-หนา-บาง คนนอนคม มารุตมองทะเล และเจอ แต่ละเรื่องสะท้อนแนวคิดให้เห็นถึงความเป็นจริงของมนุษย์ อาทิเช่น
  ตามตาต้องใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องของเด็กหญิงต้องใจ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เธอเป็นเด็กที่มีความคิดตางจากเพื่อนๆ วัยเดียวกัน เธอไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพราะเธอไม่เข้าใจว่าทำไมหนึ่งบวหนึ่งต้องเท่ากับสอง เพราะในความเข้าใจของเธอหนึ่งบวกหนึ่งน่าจะเท่ากับสามหรือมากกว่าสามเธอไม่เข้าใจหลักการที่ครูอธิบาย ทุกครั้งที่เธอตอบคำถามครูเธอจะตอบตามเพื่อน แต่ในความคิดของเธอนั้นขัดแย้งอยู่เสมอ การที่เธอต้องตอบตามความคิดของครุแลุะเพื่อนๆ นั้น เพราะเธอคิดว่าสิ้งนั้นจะทำให้เธออยู่เสมอ การที่เธอต้องตอบตามความคิดของครูและเพื่อนไ นั้น เพราะเธอคิดว่าสิ่งนั้นจะทำให้เธออยู่ในสังคมได้ยอ่างปกติสุข ไม่แปลกไปจากสังคมเท่านั้นเอง

  ด้วยตาเปล่า เป็นเรื่่องของชายหนุ่มชื่อปราชญ์ เปรื่องธรรม นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 3 วันหนึ่งขฯะที่เขาตั้งใจจะไปออกกำลังกายที่สวนลุมพินี เขาก็ได้พบกับชายชื่อปลง ชายคนนี้มีลักษณะแปลกและน่าสนใจ เพราะเขามักจะมานั่งสังเกตพฤติกรรมของคนที่มาเดินในสวนสาธารณะแห่งนี้ปราชญ์ได้พบกับปลงทุกครั้งที่มาออกกำลังกาย แต่ละครั้งทั้งสองได้พูดคุยกันปลงได้แสดงความคิดให้ปราชญ์ได้รับรู้ว่า "คนะราไม่ควรตัดสินอะไรจากสิ่งที่เรามองเห็นโดยพิจารณา เพราะนั่้นอาจจะทำให้เราไม่ได้พบกับความเป็นจริงได้ "ปราชญ์มักจะมานั่งพูดคุยกับปลงเป็นประจำ เพราะปลงทำให้เขารู้จักมุมมองใหม่ ๆ 


โชคชัย บัณฑิต' รางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2544
"บ้านเก่า"
  โชคชัย บัณฑิต' เป็นชาวอ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ จบการศึกษา ปริญญาตรีที่มหาลัยเชียงใหม่ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และระดับปริญญาโท คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยอยู่ที่ ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี จ.สมุทรปราการ
 "บ้านเก่า"เป็นหนังสือรวมบทกวีนิพนธ์สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนในชนบทที่กำลัง เปลี่ยนแปลงไปพร้อมกระแสบริโภคนิยม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท คุณค่าท่างจิตใจและคุณค่าทางวัตถุ ที่กำลังเป็นปัญหาหลักที่สำคัญ...

"น้ำ"
บัดนี้มีเขื่อนมาเฉือนป่า
ลมฟ้าอากาศเรื่ิมพลาดผิด
ปัจจัยหลายหลากเริ่มฝากพิษ
เพิ่มความวิปริตอีกนิดแล้ว
ดุ่มดุ่มเดินกรุงฟุ่งไอเสีย
ลิ้นแห้งละเหี่ยเพลียใจแป้ว
"เคยขอนำ้ขันนั่นนานแล้ว
บันนี้น้ำแก้วต้องซื้อกิน"

"สองหู"
ฟากนี้มีศพสงบสงัด
อีกฟากของวัดจัดเลี้ยงอาหาร
ฉลองบวชนาคมากมายรายการ
เบิกบานงานบวชเคล้าสวดงานตาย
ระนาดตะโพนเผ่นโผนเปิงมาง
สองหูสองข้างสองทางสองสาย
ลูกทุ่งกระหึมกันตรึมกระจาย
แยกขวาแยกซ้ายงานตางานเป็น
เป็นนาคมนุษย์ที่สุดเป็นพระ
แสนสมถะหมายจะพบเห็น
อีกฟากงานตายสัมปรายร่มเย็น
รอลวกไปเมรุเป็นเถ้าธุรี
พระสวดเสียงค่อยหยาดย้อยปีพาทย์
อย่าหมายประมาทไใ่อาจหลีกหนี
เครื่องไฟเสียงลั่นประชันดนตรี
พรุ่งนี้ห่มผ้ากาสาวพัสตร์
นั่งในงานศพสงบในทุกข์
สนุกในเพลงครัดเคร่งข้องขัด
ใช้หูข้างไหนฟังได้แจ่มชัด
สงบสงัดในอลเวง








วิมล ไทรนิ่มนวล ซีไรต์ปี 2543
"อมตะ"

วิมล ไทรนิ่มนวล เป็นชาวอำเภอบางเลน จ.นครปฐม จบการศึกษาปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร


 อมตะ นวนิยายสะท้อนสังคม ที่ความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์ เทคโนโลยี และความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ ที่ต้องการจะเอาชนะธรรมชาติและทำลายสัจธรรมของชีวิต คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยการนำเอาเทคโยโลยีทางวทิยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งก็คือการโคลนนิ่งมนุษย์ และการเปลี่ยถ่ายอวัยวะ เป็ฯการ เปรียบเที่ยบ ระหว่าง ศาสนากับ วิทยาศาสตร์ หรือคุณค่าความเป็นมนุษย์กับคุณค่าทางวัตถุ ผ่านตัวละคร คือ พรหมมินทร์ อรชุน และชีวัน ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน พรหมมินทร์ คือตัวแทนของวิทยาศาสตร์ อรชุน และ ชีวันเป็นตัวแทนของศาสนา โดยพรหมมินทร์ นำการโคลนนิ่งมาโคลนฯชีวันและอรชุน เพื่อเปลี่ยนถ่ายอวัยวะเพื่อทำให้ตนเป็นอมตะ ชีวันและอรชุนต่างพยายามดิ้นรมเพื่อความอยู่รอดในชีัวิตของตนเอง







  วินทร์ เลียววาริณ รางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2540
   "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน"

   และปี พ.ศ. 2542
    " สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน"


ชื่อเกิดคือ สมชัย เลี้ยววาริณ เป็นชาวอ.หาดใหญ๋ สงขลา โดยก่อนหน้าจะมาเป็นนักเขียน ทำงานด้านออกแบบภาย ออกแบบกราฟ จบปริญญาตรี สถ.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ  และปริญญาโทด้านการตลาดจามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

"สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน"เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นที่สะท้อนสัญชาติญาณความเป็นคนออกมาได้ดี ทั้งในแง่ความต้องการทางกายภาพ ความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์พื้นฐานของคน
 เป็นการผสมผสานบทความ 17 บทควมและเรื่องสั้น 17 เรื่องผู้เขียนใช้บทความอธิบายความคิด ประเด็นทางปรัชญา และเป็นตัวเรื่องสั้นแต่ละเรืาองให้ผู้อ่านไปถึงจุดหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ บทความและเรื่องสั้นจึงมีความสัมพันธ์กันเป็นคู่ๆ ซึ่งเป็นกลวิธีการสร้างสรรค์เรื่องสั้นที่น่าสนใจ
    ด้วยการนำเสนอที่น่าสนใจในด้านกลวิธี ในเรื่อง"โลกสามใบของราษฎร์เอกเทศ" ที่ผู้เขียนนำเสนอเรื่องเล่าจากมุมมองของตัวละคร 3 ตัว คือ จิตรกร ทหาร และ แมงดา รวมทั้งตัวผู้เล่าเื่รื่องคือ "ผม"เรื่องเล่าจากมุมมองที่ต่างกันแม้จะมีรายบะเอียดของเหตุการณ์ที่เหมือนกันคือเป็นเหตุการณ์ที่นักศึกาษาหนีการกวาดล้างของทหารและเจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ผสมผสามกับเหตุการณ์ 6 ตุลา และพฤษภาทมิฬ ซึ่งล้วนเป็ฯความรุนแรงที่หลอกหลอนตัวละครทุกตัว ในทีสุดความหวาดกลัวที่มีอยู่ในตัวละครทุกตัวหรือในสิ่งมีชัวิตที่เรีกว่าคนก็มารวมกันอยู่ในห้องเดียวกันของ"ผม"และหลังจากที่ตัวละครทุกตัวพยายามฆ่าตัวตาย(แต่ไม่ตาย)"ผม"ก็ได้เกิดใหม่อีกครั้ง เมื่้อได้ตระหนักวา "คนเราหนีความกลัวไม่พ้น เพราะมันก็คือเงามือของตัวเราเองแต่เราสามารถเลือกที่จะเดินเข้าหาแสงสว่างเพื่อให้เงาดำกลับไปอยู่บ้างหลังได้" ความหวาดกลัวหายไปเมื่อเขาสำนึกได้ว่า "ตอนนี้ ผมไม่ได้กลิ่นคาวเลือดแล้ว มองฟ้าที่เริ่มสาง ความมอดไม่เคยคงอยู่นิรันดร์ ทางเดียวยที่จะช่วยนมาคลีกลับมาสู่ตัวตนที่แท้จริงก็ด้วยความรักเท่านั้น และมนุษย์เราทุกคนก็มีอัตตาแห่งความดีงามและความรักซ่อนอยู่ในตัวด้วยกันทุกคน การให้อภัยแก่ตนเองหรือผู้อื่นก็คือความรักชนิดหนึ่ง....

 "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน" นวนิยายแนวการเมือง หรือนวนิยายอ้างอิงประวัติศาสตร์ทางการเมืองของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-พ.ศ.2535 โดยตัวละครเอกสองคนคือ พล.ต.ท. ตุ้ย พันเข็ม และ เสือย้อย หรือหลวงกฤษดาวินิจ เป็นตัวดำเนินเรื่อง ซึ่งตังละครสองตัวนี้มีลักษณะนิสัยหรือบุคคลิกที่คล้ายกัน แต่อยู่บนอุดมการณ์ที่ต่างกัน พล.ต.ท.ตุ้ย พันเข็ม เป็นตำรวจและปกป้องประชาธิปไตยในแบบของตำรวจ ส่วน เสือย้อย หรือ หลวงกฤษดาวินิจ เป็นทหารเก่าผู้ล้มเหลวจากการปฏิวัติ แต่ก็ยังต่อสู้เพื่อระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง
      และด้วยอุดมการณ์ที่ต่างกัน จึงเป็นที่มาของประชาธิปไตยบนเส้นขนานของตัวละครสองตัวนี้ และรวมถึงเส้นขนานในระบบประชาธิปไตยของไทยด้วย

 บทสนทนา:
      ....รัฐประหารที่ไม่สำเร็จแต่ละครั้งทิ้งรอยแผลเป็นไว้กับแพะรับบาปเสมอ...
"วงการเมืองไม่มีอะไรแน่นอน วงการเมืองยิ่งไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร เมือ่สถานการณ์เปลี่ยน มิตรศัตรูก็ยิ่งเปลี่ยน"
" อำนาจไม่เคยเป็นของจีรัง เมือน้ำลด ตอก็ผุด การเมืองเปลี่ยนแปลไปทุกๆ นาที มีการแย่งอำนาจ มีการพยายามรักษาอำนาจและมีการเสื่อมอำนาจ ทุกบททุกตอนเคยปรากฎมาแล้วซำ้ซากในประวัติศาสตร์ บางคนรับบทเหยื่อ บางคนรับบทคนทรยศ บางคนรับบทนักฉกฉวยโอกาศ บางครรับบทวีรบุรุษจอมปลอม"
" เมื่อราวสีสิบปีก่อน ใครคนหนึ่งเคยเอ่ยกับเขาว่า เราทั้งสองกำลังยืนอยู่คนละฝ่ายคนละอุดมการณื ยืนอยู่บนเส้นขนาน ไม่มีอะไรผิด ไม่มีอะไรถูำก ไม่มีสีขาว ไม่มีสีดำ...."



แรคำ ประโดยคำ รางวัลซีไรต์ ปี พ.ศ. 2541
"ในเวลา"
แีรคำ ประโดยคำ เป็นนามปากกาของคุณสุพรรณ ทองคล้อย เป็นคนจ.จันทบุรี จบปริญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปริญญาโทสางาวรรณคดีไทยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางด้านวรรณคดีไทยอยู่ที่คณะมนุษย์ศาสตร์ มหวิทยาลัยเชี่ยงใหม่
เมื่อครั้งทำงานอยู่กับองค์การสหประชาชาติ ในตำแหน่างอาจารย์ภาษาไทยที่มหาวิทยาลัย Pasau ในเมืองบาบาเรีย ประเทศเยอรมัน และเป็นที่ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการเขียน"ในเวลา"





"... ได้มานั้นหรือคือได้มี
ได้ดังหวังที่
ทนรอมา
อิ่มทรวงเกษมเปรมอิริยา
ได้นาฬิกา
มาผูกพัน
เนิ่นนามคอยรอต่อคืนวัน
ข่มใจใฝ่ฝัน
ข่มใจเฝ้าคอย
รอถึงเวลาอย่างเลื่อนลอย
ทรมานไม่น้อย
จึงได้มา
.....
ได้มีนั้นหรือคือได้มา
เล่นเล่ห์เวลา
น่าคร้ามเกรง
หมุนข้อมือดูอยู่วังเวง
นาฬิกาตัวเอง
คร่ำเครงเดิน
สายผูกผูกมั่นเสียเหลือเกิน
ผูกพันเผชิญ
ทุกช่วงไป
สร้างเงื่อนเวลามาผูกใจ
ผูกทุกสิ่งไว้
ในเวลา..."









                     
                     กนกพงศ์  สงสมพันธุ์ รางวัลซีำไรต์ ปี พ.ศ. 2539
                      "แผ่นดินอื่น"

กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เป็นชาวอ.ควงขนุน จ.พัทลุง เป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มนาคร เคยเป็นบรรณธการหนังสือ ไรเตอร์ แมกกาซีน ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว
   กนกพง เกิดและเติบโตในยุคที่มีความขัดแย้งทางการเมืองในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉาพะแถบเทือกเขาบรรทัดอันเป็นถิ่นกำเินิด เป็นความขัดแย้งระหว่างกองกำลังของรัฐบาลและกองกำลังปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นความขัดแย้งอย่าางรุนแรง จากการปราบปรามแบบเหวี่ยงแหและมาตราการในการกำจัดแบบตัดรากถอนโคนและการทารุณกรรมของฝ่ายรัฐบาลที่เรียกว่า "ถังแดง"และการตัดใบหูของศพเพื่อแลกกับเงินรางวัลของกองกำลังพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่เกิดขึ้นเพื่อปราบปรามผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ ก่อนที่จะมีนโยบายการเมืองนำการทหารตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีเรื่องราวเหล่านี้จึงปรากฎอยู่ในงานเขียนของเขา

แผ่นดินอื่้่นเป็นรวมเรื่องสั้น ซึ่่งประกอบด้วยเรื่องสั้น 8 เรื่องที่สะท้อนปัญหาของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคม นำเสนอ ชีวิต หลากหลาย ด้วยแนวธรรมชาตินิยม สะท้อนความคิด ความเชื่อ คุณค่าและคตินิยมพื้นถิ่นอย่างลึกซึ้งและแหลมคมให้เห็นว่าแม้ในสังคมที่ต่างวัฒนธรรม ต่างความเชื่อ มนุษย์ก็สามารถอยู่รวมกันได้ด้วยไมตรีสัมพันธ์

   กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ดำเนินเรื่องโดยกลวิธีการเขียนที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านให้ใคร่รู้ใคร่ติดตามและนำไปสู่จุดหมายที่เป็นเอกภาพ โดยไม่ละเลยที่จะสอดแทรกปัญหาและแง่มุมของชีวิต ทั้งปัญหาภายในจิตใจ และปัญหาของปัจจัยภายนอก บันทึกความขัดแย้งของสังคมในอดีตทั้งในแง่การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม รวมถึงปัญหาของสังคมร่วมสมัย คือ การเผลิญหน้ากันระหว่างพัฒนาการของเมืองกับคุณค่ามด้านนุษยธรรม


ไพวรินทร์ ขาวงาม รางวัลซีไรต์ปี พ.ศ. 2538
"ม้าก้านกล้วย"
เกิดในครอบครัวชาวนาจังหวัดร้อยเอ็ด บวชเรียจนจบมัธยมปลาย ที่มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต มหามกุฎราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย อยุทธยาเมื่อจบแล้วอยู่ช่วยสอน เืพื่อตอบแทนคุณสถาบันระยะหนึ่งจึงลาสิกขา
 จากนั้นทำงานหนังสือพิมพ์เล็กๆ ที่เชียงใหม่ และ เข้ากรุเทพฯ ต่อสู้ชีวิตทุกรูปแบบ ปัจจุบันเป็นคอลัมนิสต์อิสระ

ม้าก้านกล้วย  จากบางส่วนใน"ไหมแท้ที่แม่ทอ"
    แม่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมตั้งใจนัก
เรี่ยวแรงรักแม่ใช้เพื่อใฝ่ฝัน
อีกสาวไหมด้วยมือซื่อสัตย์นั้น
ทั้งทอมันละเมียดละไมใช้เวลา
    สื่อวิญญาณผ่านมือสู่เส้นไหม
ถักเส้นใยแต่ละเส้นเป็นเนื้อผ้า
ตีนที่ใช้กระตุกกี่คือชีวา
มือที่คว้ากระสวยวาดคือชีวิต
    ผ้าขาวม้าผืนใหม่แม่ให้ลูก
รักพันผูกทุกใยไหมวิจิตร
ใยไหมโยงใจแม่เนรมิต
ไหมอุทิศ แม่่ก็ทอ ต่อตำนาน
   ลูกก็ถือผ้าทอที่แม่ให้
เป็นเยื่อใยไหมและแม่ที่กล้าหาญ
ผ้าทั้งผืนมีชีวิตจิตวิญญาณ
ถักประสานสอดสร้างอบย่างแยบยล
   มือน้อน้อยของแม่ดูแค่นี้
เคยเฆี่ยนตีลูกบ้างในบางหน
แต่มือเดียกัน นี้แหละสู้ทน
ประคองลูกให้พ้นภยันตราย
....



        ชาติ กอบจิตติ
       "คำพิพากษา"    "เวลา"

ชาติ กอบจิตติ เป็นชาวสมุทรสาคร ระแวกคลองสุนัขหอน เรียนต่อม.1 ที่ร.ร. ปทุมคงคาโดยอาศัยอยู่กับพระที่วัด ทัศนารุณ มักกะสัน  และสอบเข้าทำการศึกษาที่เพาะช่างสาขาช่างพิมพ์
   ชาติ กอบจิตติ เขียนเพื่อเลี้ยงชีพเพียงอย่างเดียว เขามีความละเอียดพิถีพิถันกับงานเขียนโดยเฉพาะนวนิยายอย่างมาก ชาติเป็นนักเขียนที่ต้องการสร้างนักอ่านเขาจึงไม่ต้องการให้ราคาหนังสือเป็ฯอุปสรรคต่อผู้รักการอ่านวรรณกรรมไทย ดังนั้นเขายืนยันให้สำนักพิมพ์ ใช้กระดาษปรู็่๊๊ฟซึ่งไม่มีสำนักพิมพ์ไหนนิยมใช้กันแล้ว เพราะไม่สวย แต่ชาติต้องการให้หนังสือราคาถูกมากกว่าสวยงาม เพื่อจะได้กระจายไปสู่คนอ่านในวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนนักศคกษาที่ยังไม่มีรายได้
  นวนิยาย ของชาติ กอบจิตติ แสดงถึงพัฒรการของนวนิยายไทยที่มีลักษณะร่วมกับวรรณกรรมสากล  "คำพิพากษา" โศกนาฎกรรมสามัญชน" ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียกับโศกนาฎกรรมของกรีก นักวิจารณ์บางท่านเห็นว่าชาตินำเอปรัชญาเอ็กซิสเทนเชียลลิสิม(ปรัชญาอัติภาวะนิยม คือการคิดอยา่งปรัชญา ตระหนักปัญหาด้วยตัวเอง ตัดสินใจยึดถือคำตอบด้วยการตัดสินใจด้วยตัวเอง นักปรัชญาที่แท้ จะต้อง ขบคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตระหนัก เชื่อมั่นในความคิดและเหตุผลของตน ฌอง ปอล ชาร์ต)มาประยุกต์ใช้ใหม่อย่างน่าชมเชย นักวิจารณ์บางท่านยังเห้นว่า นวนิยายเรื่องเวลาเป็นพัฒนาการของนวนิยายไทยที่มีลักษณะเป็น "นว-นวนิยาย"(nouveau  roman) ซึ่งมีลักษณะร่วมกับวรรณกรรมสากล จึงมีความสำคัญต่อการนำวรรณกรรมไทยเข้าร่วมกระแสวรรกรรมสากล...

 "คำพิพากษา"
เนื้อหาประกอบด้วยสอบภาค คือ ภาคแรก "ในร่างแห"และภาคหลัง "สู่อิสระ"ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับตัวเอกที่ชื่อว่าฟักซึ่งเป็นลูกชายของเด็กวัดที่พักอาศัยอยู่ในเขตวัดโดยฟักได้บวชเรียนเป็ฯสามเณรและศึกษาพระธรรมจนฟ่านการสอบฟ่านนักธรรมตรี โท เอกได้รับการยกย่องและคาดหวังจากชาวบ้านว่าจะเจริญในทางธรรมต่อไปแ่ฟักจำต้องลาสิกขาบทเนื่องจากเป็ฯห่วงพ่อ และหลังจากที่พ่อตายตัวเขาตกอยู่ในข้อสงสัยเรื่องความสัมพันธ์กับสมทรงภรรยาทายสาวของพ่อที่เสียสติทำให้ตนตองอยู่ในสภาวะทีตกอยู่ "ใน่างแห" และในสภาวะดับกล่าวเขามีเพียงสัปเหร่อเพียงคนเดียวเท่านนั้นที่เป็นเพื่อน  โดยตัวเขาเลือกเหล้าเป็นตัวที่ทำให้พ้นจากทุกข์นอกจานี้ ตัวเขายังตกอยู่ในข้อกล่าวหาว่า ยกเมฆเรื่องครูใหญ่โกงเงินที่เขาฝากเอาไว้แต่ไม่มีผู้ใดเชื่อคำกลาวของเขาจนท้ายที่สุดเขาต้องถูกจับกุมและต้องกระอักเลือดจนถึงแก่ความตาย

"เวลา"
   เป็นเรื่องราวของผู้กำกับภาพยนตร์คนหนึ่งที่สูญเสียภรรยาและลูกสาวไปใด้กับการทำงานของตนเอง ที่เข้าไปดูละครเวทีของนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังลาโรง โดยได้รับคำวิจารณ์ว่า เป็นละครเวทีที่น่าเพื่อที่สุดในรอบปีและเป็ฯละครเวทีที่เกี่ยวกับคนแก่ในบ้านพักคนชรา ทั้งๆ ที่กลุ่มผู้สร้างเป็นเพียงนักศึกษา
   เวลา ใช้วิธการเล่าเรื่องโดยสมมติให้ผู้อ่านเป็นผู้กำกับภาพยนตร์คนนี้ที่กำลังดูละครเวทีเกี่ยวกับชีวิตคนแก่อยู่ ในบางช่วงให้ตัวผู้กำกับนี้สนทนากับผู้อ่านและตัดสลับกับมุมกล้อง โดยดำเนินเรื่องผ่านช่วงเวลาในแต่ละชั่วโมงตั้งแต่เช้าจนเย็น
 โดยตัวละครผู้เล่ารื่องนั้นก็บรรยายถึงลักษณะและความรู้สึกต่าง ๆ ในการแสดงไปเรื่อง ๆ จนการแสดงบนเวทีได้ปรากฎขึ้นเป็นเรื่องราวของสถานสงเคราะห์คนชรา เป็นการดำเนินชีวิตคนชราที่อาศัยอยุ่ที่นั้นโดยมีเรื่องราวต่าง ๆ เกิดขึ้น มีปัญหาเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็ฯปัญหาเงินมีการต่อปากต่อคำกันของตัวละคร มีเสียง "ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ" จากห้องประศนามาเป็นระยะและยังเป็ฯปมปริศนาให้กับผู้อ่านเป็นระยะว่าห้องนั้นมีอะไร จนวันหนึ่งที่มีคนมาเลี่ยงข้าวที่โรงพักฟื้นจึงทำให้รู้ว่าในน้องนั้นมีอะไร..  ในเรื่องนี้ตัวละครที่เล่าเรื่องก็จะนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนเวทีมาสะท้อนกับชีวิตตัวเองว่า ถ้าชีวิตตัวเองเป็นแบบนี้จะทำอย่างไร ถ้าเป็นละครที่ตัวเองกำกับฉากนี้จะทำอย่างไรให้น่าสนใจ เรื่องราวก็ดำเนินชีวิตของคนชราต่อไปเรื่อยๆ จนมีตัวละครที่เป็นคนชราคนหนึ่งตายซึ่งก็คือตัวละครที่นำทางมาถึงจุดจบ เป็นการเฉลยห้องปริศนานั้นให้กับผู้ชมที่ดูละครเวทีและผู้อ่านได้รู้ว่าในนั้นมีอะไร แต่เมือเปิดห้องนั้นดูก็ไม่พบอะไร เป็นห้องว่างป่าว การจบเรื่องแบบให้ผู้อ่านได้คิดเองว่าห้องว่างป่าวนั้นคืออะไร





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)