วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Taming The Bull

รูปภาพถูกใส่ลงไปแล้ว
รูปภาพถูกใส่ลงไปแล้วรูปภาพถูกใส่ลงไปแล้วรูปภาพถูกใส่ลงไปแล้วรูปภาพถูกใส่ลงไปแล้ว







In my mind

     ทรรศนะทางพุทธปรชญาเถรวาท สรุปธรรมชาติของจิตดังนี้
- ภาวะเดิมของจิตผ่องใน แต่เศร้าหมองเพราะกิเลสต่าง ๆ
- ภาวะของจิตขณะที่รับอารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนอารมณ์อยู่เสมอ
- จิตไม่มีรูปร่าง การเกิดของจิตเป็นที่ละขณะเมื่อถึงคราวดับก็ดับไปที่ละขณะ จิตสามารถรับอารมณ์แม้จะอยู่ในที่ไกล อาศัยอยุ่ในเรื่อนกายมนุษย์และสัตว์
     ความหมายของจิต สิ่งที่วิจิตรทั้งหลายในโลก เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตต้นคิด ตัวจิตเองเป็นธรรมชาติอันวิจิตรรวมอยุ่ด้วย ภูมิ อารมณ์ ทั้งที่เลว ประณีต และปานกลาง มีวิบาก(กรรมและกิเลสที่เก็บสังสมไว้ )พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเก็บสังสมไว้คือสันดานของตนและเกิดขึ้นเป็นวิถีจิต จิตนั้นรับอารมณ์มากมายไม่มีที่สิ้นสุด จิตจะเว้นจากอารมณ์ไม่ได้
     ลักษณะของจิตแบ่งออกเป็น
- จิตเป็นสภาพธรรมที่รุ้แจ้งอารมณ์
- จิตสั่งสมสันดานของตนด้วยการเสพอารมณ์
- จิตเป็นสภาพธรรมอันประกอบด้วยกิเลสสั่งสมวิบากผล
- จิตทุกดวงเป็นธรรมชาติวิจิตร
       หน้าที่ของจิต
- ทำหน้าที่สืบต่อภพ จากอดีตภพเรียกว่ ปฏิสนธิจิต(เกิด)
- ทำหน้าทีรักษาภพของบุคคล เช่น เกิดปฏิสนธิจิตมาด้วจิตใดก็ไห้จิตนั้นเป็นไปตลอดชีวิตในภพหนึ่ง เรียกว่า ภวังคจิต
- ทำหน้าท่ีพิจารณาอารมณ์จากทวารทั้ง 6 เรียกว่า
- ทำหน้าที่เห็นรูป
- ทำหน้าที่ได้ยินเสียง
- ทำหน้าที่ดมกลิ่น
- ทำหน้าที่ลิ้มรส
- ทำหน้าที่สัมผัสทางกาย
- ทำหน้าที่รับอารมณ์ทั้ง 6
- จิตที่ทำหน้าที่ตรจสอบอารมณ์ทั้ง 6
- ทำหน้าที่ตัดสินอารมณ์
- ทำหน้าที่เสพอารมณ์
- ทำหน้าที่ยึดหน่วงอารมณ์
- ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพ จากปัจจุบัน จุติจิต
     จากลัดษณะหน้าที่ของจิต โดยปกติจิตจะอยู่ภายใน10 ฐาน แต่จะกล่าวเพียง 3 ฐาน คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ทั้ง 3 ฐานเป็นจิตที่พ้นวิถีจิตที่ทำหน้าที่ไม่รับอารมณ์จากภายนอก ซึ่งมีปฏิสนธิ ภวัคจิต และจุติจิต จะมีหน้าที่เกี่ยวสัมพันธ์กันหรือทำงานร่วมกันกับภวัคจิตในการสืบต่อดังนี้
     ปฏิสนธิจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่สืบต่อภพมีอยู่ 1 ฐาน คือปฏิสนธิจิตจะอยู่ระหว่างจุติจิต(ดับ)กับภวังคจิตผเก็บสั่งสมกรรมเก่า)
     ภวังคจิต เป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพการเกิดในภพปัจจุบันหรือภพใหม่ ของบุคคลให้เป็นไปโดยำม่ให้เป็นอย่างอื่น
      จุติจิตเป็นจิตที่ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพหรือการดับของจิตมีอยู่ฐานคือ
ระหว่างเสพอารมณ์กับสืบต่อภพใหม่, ระหว่างรับอารมณ์ต่อจากชวนจิตกับสือต่อภพใหม่และระหว่างรักษาภพชาติกับสืบต่อภพใหม่

     ภวังคจิต  คือจิตขณะหนึ่งในจำนวน 17 ขณะที่จัดเป็นปกติจิตหรือปกติมโนธรรมชาติเป็นอัพยากฟต คือไม่เป้นบุญไม่เป็นบาป หรือไม่เป็นผลของอะไร แต่มีบทบาทสำคัญในฐานะเป้นองค์ของธรรมชาติหรือเป้นที่เก็บสังสมนิสัยสันดาน
     ภวังคจิตแม้จะเกิดติดต่อนับไม่ถ้วย แต่ขณะที่จิตรับอารมณ์มีภวังคจิตเกิดขึ้นเพียง 2 ขณะ(ดวง)เท่านั้น คือ ขณะก่อนรับอารมณ์และขณะที่รับอารมณ์เสร็จแล้ว และมีอีนัยหนึ่งคือ มนะ(ใจปภายในมดนทวาร)


      ภวังคจิต คือจิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์ของภพ หมายถึง รักษากรรมวิบากของรูปนามสืบต่อจากปติสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกรรมรูปให้ดำรงอยู่ในภพนั้น ๆตราบเท่าอำนาจของกรรมที่ทำให้เกิด จะส่งผลให้เป็นไปเท่าอายุสังขารที่ดำรง
อยู่ได้ ..
      บ่อเกิด
      ภวังคจิตจะเก็บสั่งสมอารมณ์ หรือเจตนาของอารมณ์ไว้และสืบต่อสู่วิถีจิต ทวารทั้ง 6 คือวิถีจิตรับอารมณ์แล้วภวังคจิตซึ่งเหมือนคลังพัสดุจะเก็บอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ที่ผ่านช่องทวารทั้ง 6 แดนภวังคจิตนี้เป็นจิตที่นอนนิ่งอยุ่ในบ้านของตนที่เป็นศูนย์กลางรับผลการกระทำของวิถีจิต จะไม่ข้ึนสุ่วิถีจิตรับอารมณ์ภายนอกใดๆ ทั้งสิ้นเพราะมีกำลังอ่อนแต่จะเกิดดับรับอารมณ์อยู่ภายในอย่างปกติ
      ภวังคจิตที่อยู่ในแดนมโนทวาร คือ ภวังคจิตขึ้นสู่วิถีจิต แต่ยังไม่ได้ออกมารับอารมณ์ภายนอก(วิถีจิต)ซึ่งจะมารับอารมณ์ภายในแดนมโนทวาร ธรรมารมณ์ อาการเย่างนี้จะเกิดมโนภาพและจิตนาการต่างๆที่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้ในนโมทวาร ภวังคจิตที่ทำให้บุคคลเกิดความคิดคำนึงถึงอดีต หรือคิดนึกอย่างลึกซึ้งในอนาคต และเกิดความคิดนึกในขณะทำสมาธิ เป็นต้นหรือมีพฤติกรรมแสดงออกในชีวิตประจำวัน
       ภวังคจิตที่ตื่นจากภวังค์ออกมาแสดงพหติกรรทมี่ภวังคจิตเก็บสั่งสมไว้จากทางทวารทั้ง 5 คือ ตา หู จมุก ลิ้น กาย เมือ่ภวังคิตมีกำลังมากหรือมีเตนามากก็จะแสดงพฟติกรรมออกจากทวารทั้ง 5 ภวังคจิตจะอยู่ในภาวะตื่นเต็มที่ เรียกว่า วิถีจิตทำให้ไม่รู้สึกตัวในการแสดงพฤติกรรมอะไรไปตามที่ภวังคจิตได้เก็บสั่งสมไว้ภายในที่จะพบมี 4 ประเด็น คือ ช่วงรอยต่อก่อนหลับ, ช่วงรอยต่อก่อนตื่น, ระหว่างเข้าถึงอัปปนาสมาธิ, เวลาหลับสนิทไม่ฝัน ลักษณะทั้ง 4 อย่างเป็นช่วงที่มีกิริยาอาการย่อมไม่รู้ตัวมากก่อนหรือไม่รู้สึกตัวหมายถึงเป็นภาวะที่จิตอยู่ในช่วงการตกลงสู่ภวังค์ในกระแสจิตนั้นเอง
     จะเห็นได้ว่าบ่อเกิดของภวังคจิตจะเกิดจากกระแสวิถีจิต นั้นหมายความว่าถ้ากระแสวิถีจิตมีการดับลงเกิดขึ้น การเก็บสั่งสมอารมณ์ของภวังคจิตก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
     กระบวนการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต โดยธรรมชาติแล้วภวังคจิตจะมีกระบวนการรับรู้อามรณ์อยู่ 2 ลักาณะคือ ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต และภาวะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
      ลักษณะการรับรู้อารมณ์ของภวังคจิต
      อารมณ์ หมายถึง สิ่งที่รับรู้โดยทางอายตนะ ภายในคือ ตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์ ที่เรียกรวมกันว่าอายตนะภายนอก
     อารมณ์หมายถึง สิ่งที่จิตรับรู้และสิ่งที่ "ถูกจิตรู้" จิตเป็นผู้รู้ ส่วนอารมณ์เป็นตัวถูกรู้
     อารมณ์ คือ สิ่งที่เป็นที่ยึดหน่วงของจิตและเจตสิกหรือเป็นสิ่งที่ยินดีของจิตและเจตสิกคืออารมณ์ 6


     ส่วนหนึ่งจากวิทยานิพนธ์ "การศึกษาเปรียบเที่ยภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทกับจิตใต้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์"
     

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Life Continuum

ภวังคจิต ภวังคะ หรือ ภะ-วัง-คะ ภว+องฺคะ แปลตามพยัญชนะว่า "องค์ของภพ" มักใช้รวมกับจิต เป็นภวังคจิต ในทางพระพุทธศาสนา ถือว่า จิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสืบต่อสันตติของจิต ย่อมอาศัยการถ่ายทอดข้อมูลจากภวังคจิตจิตดวงเดิม ไปสู่จิตดวงใหม่ ด้วยกระบวนการของการทำงานของภวังคจิต เพราะเหตุว่าภวังคจิตเป็นเหตุให้สร้างจิตดวงใหม่ตลอดเวลาก่อนจิตดวงเก่าจะดับไป จึงชื่อว่าเป็นเหตุแห่ง "ภพ" หรือเป็นเหตุสร้าง"ภพ"
จิต ในทางศาสนาพุทธแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ 1.วิถีจิต จิตสำนึก 2.ภวังคจิต จิตใต้สำนึก
ภวังคจิต คือจิตใต้สำนึกในทางศาสนาพุทธหมายถึงเป็นกระบวนการทำงานแบบอัตตโนมัติของจิต จิตใต้สำนึกในความหมายของภวังคจิตนี้จึงอาจแตกต่างจากทางจิตวิทยา
ภวังคจิต มี 3 อย่าง คือ
  1. ภวังคบาท คือภวังคจิตที่ทรงอารมณ์เก่า อันเป็นอารมณ์ที่ได้มาจากภพหรือจิตดวงก่อน และกำลังกระทบอารมณ์ใหม่
  2. ภวังคจลนะ คือ เป็นภวังคจิตที่ไหวตัว เพราะเหตุที่มีอารมณ์ใหม่ มากระทบ จึงน้อมไปในอารมณ์ใหม่(สร้างและถ่ายทอดข้อมูลสู่จิตดวงใหม่)
  3. ภวังคปัจเฉทะ คือเป็นภวังคจิตที่ตัดกระแสภวังค คือ ปล่อยอารมณ์เก่า วางอารมณ์เก่า เพื่อรับอยู่กับอารมณ์ใหม่หรือจิตดวงใหม่
ภวังคจิต เป็น วิบากจิต คือ จิตใต้สำนึกส่วนลึกที่สุดของจิตเป็นที่สั่งสมอารมณ์จนกลายเป็นอุปนิสัย
ภวังคจิต จะเกิดคั่นระหว่างวิถีจิตในแต่ละวาระ ทำหน้าที่สืบต่อและดำรงภพชาติ
ภวังคจิต จะเกิดขึ้นเมื่อวิถีจิตดับ และเมื่อเกิดวิถีจิตภวังคจิตจะดับลง เมื่อวิถีจิตดับลงภวังคจิตจะเกิดขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีภวังคจิต พอขาดวิถีจิต จิตจะไม่มีการสืบต่อสันตติก็เท่ากับสิ้นชีวิต
ภวังคจิต ในขณะที่เปลี่ยนภพจุติใหม่สู่ชาติใหม่ จะใช้ชื่อว่า ปฏิสนธิจิตแทน ซึ่งเป็นขณะจิตแรกของแต่ละชาติ ภวังคจิตจึงสืบต่อภพในระดับเปลี่ยนชาติด้วย
ภวังคจิต คือมโนทวารเป็นอายตนะที่ ๖ อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพปกติ เมื่อยังไม่ขึ้นสู่วิถีจิตรับรู้อารมณ์ จะเป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ เมื่อรับอารมณ์คือเจตสิก จะกลายเป็นมโนวิญญาณ
มีพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา" จิตที่ประภัสสรในที่นี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่าหมายถึงภวังคจิต

     
      ภวังคจิต หมายถึง เป็นชื่อเรียกจิตขณะหนึ่งใน 17 ขณะ ภวังคจิต คือปกติจิตมีธรรมชาติเป็นอัพยากฤตมีบทบาทสำคัญ คือเป็นฐานแห่งองค์ภพชาติหรือเก็บสั่งสมสันดาน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือจิตที่ไม่ได้ขึ้นวิถีรับอารมณ์ แต่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา มีหน้าที่รักษาปัจจุบันรูปนามให้คงอยู่ไปจนถึงอายุขัย เช่น ขณะที่นอหลับสนิ และไม่ฝันเป็นต้น และรวบตวมกรรม(การกระทำ) ที่ยังไม่ได้ให้ผลเก็บไว้แผงอยู่ในภวังคจิตและปล่อยสู่วิถีจิตต่อไป
      จิตใต้สำนึก หมายถึง ภาวะของจิตที่ไม่อาจรู้สึกได้เพราะอยู่ในส่วนของจิตหรือความรู้สึกนึกคิดหรือุปนิสัยใจคอที่ฝังอยู่ในส่วนของจิตมาแต่เกิด (คำว่าจิตใต้สำนึกนี้เป็นศัพท์ที่นักจิตวิทยารุ่นใหม่นิยมกัน)
      จิตไร้สำนึก หมายถึงความคิด ความรู้สึก และแรงผลักดันซึ่งถูกกดเก็บไว้ภายในจิตใจโดยไม่รู้ตัว แม้จะพยามนึกอย่างไรก็นึกไม่ออก(ซิกมัน ฟรอยด์ใช้ควำว่าจิตไร้สำนึก)
       จิตสำนึก หมายถึง ภาวะที่จิตตื่อนและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ รุป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่สัมผัสได้ทางกาย และธรรมมารมณ์อยู่ตลอดเวลา
      จิตกึ่งสำนึก หรือจิตก่อนสำนึก หมายถึง เป็นกระบวนทางจิตที่มีได้อยู่ในระดับจิตสำนึก คือภาวะจิตไม่ค่อยรู้สึกตัวเมือปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้นแต่ไม่รู้ตัวเต็มที่และพร้อมที่คืนสู่ระดับจิตนี้ได้โดยอาศัยความพยายามเพียงเล็กน้อย

      ภวังคจิต การเข้าใจเรื่องภวังคจิตของพุทธปรัชญาเถรวาทจะต้องมีความรู้พื้นฐานเรื่องจิตในพุทธปรชญาเถรวาท เพราะภวังคจิตก็อยู่ในกระแสจิตที่มีกระบวนการเกิดดับอยู่ 17 ขณะจิต หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือภวังคจิตอยู่ในกระแสจิตที่มีการเกิดดับ ๆ โดยหนึ่งกระแสจิตจะมีองค์ประกอบการทำงานที่แตกต่างกันตามลักษณะหมายถึง จิตหนึ่งกระแสจะมีองค์แระกอบการทำงายอยู่ 4 อย่าง คือ ปฏิสนธิจิต ภวัคจิต จุติจิต วิถีจิต เรียกกระบวนการทั้งหมดนี้ว่าจิต ดังที่คำกล่าวไว้ว่า "ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต ก็เป็นอย่างเดียวกันนั้นเอง และมีอารมณ์อย่งเดียวกัน ในชาติหนึ่งเหมือนอย่างนั้แล ในทางอภิธรรมของพุทธปรัชญาเถรวาท ได้มีการแบ่งจิตออกไว้ 89 ดวง คำว่าจิตในถุทธปรัชญาเถรวาทนั้นจะประกอบไปด้วยเจตสิกอยู่ด้วยเสมอ จิตและเจตสักเป็นนามธรรมโดยที่จิตจะเป็นประธานในการับรู้อารมณ์ ส่นเจตสิกมีหน้าที่ในการเกิดร่วมกับจิตโดยการปรุงแต่งจิตให้มีอามณ์เป็นไปต่าง ๆ ซึ่งจะมีอาการของเจตสิกหรือลักษณะของเจตสิกอยู่ 4 ประการ คือ เกิดพร้อมกับจิตหนึ่ง ดับพร้อมกับจิตหนึ่ง มีอามร์เดียวกับจิตหนึ่ง อาศัยอยู่ในสถานที่เดียวกับจิตหนึ่ง จะเห็นได้ว่าจิตมิได้เกิดขึ้นเพียงลำพังแต่เป็นธรรมชาติของจิตที่มีเตจสิกเข้ามาประกอบ่าวมด้วยเสมอๆ ที่จะทำให้จิตมีความสามารถจะรับรู้อารมณ์ได้ยอ่างละเอียดประณต หรือสามารถที่จะแบ่งแยกอารมณ์ต่างๆ ออกได้ โดยปกติจิตจะสามารถบังคับควบคุมเจตสิกได้

Structuralism

           วิลแฮม  วุ้นด์ : จุดเริ่มต้นของโครงสร้างทางจิต
            วุ้นด์ เป็นผู้ "แยก" จิตวิทยาออกจากปรัชญาและนำจิตวิทยาเข้าสู่การทดลอง วุ้นด์ให้ความสำคัญกับสรีรจิตวิทยาดังนั้นจึงใช้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ทางสรีรวิทยา วุ้นด์มีคามตั้งใจที่จะศึกษาเรื่องของ "จิต"(mind)หรือ "จิตสำนึก" (consciousness)และในการนี้วิธีการที่ใช้จะรวมเรื่องของการทดลองและการสำรวจทางจิต ผลสรุปที่ได้จากห้องทดลองในด้านต้านต่างๆ ดังนี้
      การสัมผัสและการรับรู้ จัดเป็นหัวใจสำคัญของการทดลอง การมองเห็นและการได้ยินเป็นวิธีการทางสรีรจิตวิทยาที่สำคัญในการที่จะศึกษาAbsolute และ Difference Threshold นอกจานี้แล้วยังศึกษาเรื่องของความแตกต่างของสี การผสมสี การเคลื่อไหวของดวงตา รวมทั้งเรื่องของมโนภาพและการสัมพัส
      ปฏิกิริยาตอบสนอง ได้ถูกศึกษาโดยเฮมโฮลล์และดอนเดอร์ แต่สำหรับวุ้นด์นั้นได้พัฒนาการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์การรับรู้ที่สลับซับซ้อนขึ้นนปฏิกิริยาตอบสนองทั่วไปนั้นจะมีปฏิกิริยาใกนากรตอบสนองให้เร็วที่สุดกับส่ิงเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาตอบสนองทั่วๆ ไปนั้นจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองให้เร็วที่สุดกับสิ้งเร้าเพียงอย่างเดียว แต่ในปฏิกิริยาการตอบสนองที่สลับซับซ้อนขึ้นนั้นกระบวนการทางจิตจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อาจให้ดูแสงสี 2 สี เขียวกับแดง จะต้องมีปฏิกิริยากับสีแดงเท่านั้น วุ้นด์คิดว่าทีการรับรู้ครั้งแรกกับสีแดงนั้นเป็น "การรับรู้"และตามด้วย "การไม่รับรู้" ในสีเขียว นั้นคือการแยกระหว่างสีแดงและสีเขียวและสุดท้ายจะมีการตอบสนองต่อคำสั่ง
      ความตั้งใจ วุ้นด์คิดว่าความตั้งใจเป้นเรื่องของการรับรู้ที่เจาะจงในระดับของิตสำนึก โดยที่ความตั้งใจจะแยกจากส่วนของจิตสำนึกอื่นๆ ระยะเวลาและการเกิดของความตั้งใจเป็นสิ่งที่ควรศึกษาคาเทลได้ศึกษาเรื่องของระยะเวลาของความตั้งใจ ระยะเวลาและการเกิดของความตั้งใจเป็นสิ่งที่ควรศึกษาคาเทลได้ศึกษาเรื่องของระยะเวลาของความตั้งใจ โดยพยายามจะศึกษาให้เป็นหน่วยต่างๆ โดยดูจากตัวเลข ตัวอักษร คำ และจุดซึ่งจะเป็นสิ่งที่จะช่วยเข้าใจสิ่งเร้าได้ดี
      ความรู้สึก ถูกศึกษาโดยวิธีการใหนการเปรียบเทียบ ผู้ทดลองต้องเปรีบเทียบส่ิงเร้ากับอนุกรมขชองสิ่งนั้ เช่น ถ้าต้องการเปรียบเทียบกับเสียงที่ทำให้เกิดความสุข ผู้ทอลองจะต้องเปรีบบเทียบในแต่ละครั้งของการเปรียบเทียบผู้ทอลองจะต้องบอกว่าเสียงใดที่ให้ความ รู้สึกทีดีกับหูมากที่สุด
      จิตวิทยาเป็นการศึกษาจิตสำนึก วุ้นด์มองดูจิตสำนึกเหมือนกับเป็นองค์ประกอบของธาตุหรืออะตอม ซึ่งมี 2 ระดับ คือ ประสาทสัมผัส และความรู้สึก ประสาทสัมผัสเป็นเหมือนกับ ออฟเจค คอนเทนส์ของจิตสำนึก และความรู้สึกเป็น ซับเจคทีบ เพราะฉะนั้นจิตสำนึกจังเป็นผลของการรวมกันขององค์ประกอบเหล่านัน องค์ประกอบองประสาทสัมผัสจะผ่านทางประสาทสัมผัสไม่ว่าเป็นการมองเห็น ได้ยิน สัมผัส รส กลิ่น หรืออื่น ๆ ในส่วนของความรู้สึกมี 3 องค์ประกอบคือ ตื่นเต้น  สงบ สนุกสนาน ไม่สนุกสนาน ตึงเครียด ผ่อนคลาย ซึ่งความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ตั้งอยู่ 3 ลักษณะ
      ทั้งการับสัมผัสและความรู้สึกมี 2 ลักษณะ คือ  ความเข้าความสว่างของสี ความดังของเสียง หรือจำนวนของการกดลงของการสัมพัส
     คุณภาพของความรู้สึกที่มีต่อเฉพาะเสียง รส หรือความอุ่นร้อน วุ้นด์กล่าวว่าความรู้สึกเป็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนและลำบากในการทีจีชี้บ่ง และเมือประสาทสัมผัสและความรู้รวมกันผลจะออกมาเป็น psychical compound ดังนั้น คอมพลาวด์ อาจจะเป็นเรื่องเฉพาะประสาทสัมผัสหรือความรู้สึกหรืออาจเป็นผลรวมของทั้ง 2 อย่าง ความคิดหรือ ไอเดีย อาจเป็นส่วนหนึ่งของ คอมพลาว์ด หนึ่ง เช่น่วนที่เกี่ยวกับดอกกุหลาบอาจจะเห็น (ด้วยประสาทสัมผัส) เป็นสีชมพู หรือสีเขียว นุ่มนวลในการสัมผัส มีกลิ่นห่อมและไใ้ความรู้สึกของความรื่นรมย์
      ในส่วนที่สอง คือ การมณ์ อารมณ์เป็นผลรวมที่สลับซับซ้อนของความรู้สึกที่ต่าง ๆ กันออกไปและถ้าความรู้สึกเกิดขึ้นมากจะเกิดความปรรถนาตามมา คสเราอาจจะมี
      ความตั้งใจ หมายถึงเรื่องของจิตสำนึก ซึ่งเน้นถึงจิตสำนึกในส่วนที่เฉพาะเจาะจงเมืองกระบวนการของจิตสำนึกเปลี่ยนไปรูปแบบของความตั้งใจจะเปลี่ยนรูปไป และเกิดเป็นรูปแบบใหม่เกิดขึ้นโดยอาจจะเข้าไปสู่จิตสำนึกบางส่วนและอาจจะหายไป ผลรวมของแต่ละส่วนคือทั้งหมดในขณะนั้น
       กฏการเชื่อโยง ทางหนึ่งของการเชื่อมโยงของจิต คื อ"ความสัมพันธ์เชื่อโยง" ความสัมพันธ์เชื่อมโยงจะเป็นตัวเชื่อมจิตสำนึกเข้าด้วยกัน วุ้นด์มองไกลกว่านั้นโดยได้รวมเอากฎของ "creative synthesis" ซึ่งเหมือนกับที่จอห์น มิลล์กล่าวถึง "mental chemistry" ซึ่ง
        เกมือนกับกฎทางเคมีอื่น ๆ ที่พูดถึงธาตุ 2 ชนิดหรือมากกว่านั้นจะทำให้เกิดธาตุใหม่ ซึ่งผลที่ได้ออามาอาจจะมากกว่าเป็นผลของธาตุนั้นเท่านั้น วุ้นด์ยังพูดถึงกฎของ "Psychic relation" ซึ่งกฎนี้จะให้ความสนใจกับปัญหาหรือนัยสำคัญของเหตุการณ์เฉพาะอยาง วุ้นด์ไม่เคยพูดถึงเรื่องของปัญหาแต่ยังคงอยู่และทิชเนอร์นำมาพูดใน Context Theory
         ในเรื่องของการเรียนรู้สำหรับวุ้นด์แล้ววุ้นด์ไม่ได้กล่าวถึงมากพอฟ กับที่กลุ่มประจักษ์นิยมกล่วไว้ คือ เรื่องการเชื่อมโยงความคิดในเวลาและโอกาสที่เหมาสม นั้นคือการที่ประสาทสัมผัสเป็นผู้ทำให้เกิดมโนภาพ และว้นด์ได้เพิ่มเรื่องของ "Law of Psychic Fusion" ซึ่งกล่าวถึงเรื่องเรื่องประสบการณ์ใหม่อาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัวก็ไ นอกจากนี้แล้ววุ้นด์เห็นว่าความจำเป็นเรื่องของการถูกกระทำแต่ความคิดเป็นผุ้กระทำ นั่นคือ ประะสบการณ์เป็นสถานการณ์แต่ความจำไม่ใช่การกลับมาของความคิด ความจำเป็นการกระทำของความตั้งใจซึ่งจะมีระยะจากขอบในจนถึงส่วนกลางของจิตสำนึก

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Conduct Disorder

ความตั้งใจบกพร่อง และพฤิตกรรมบกพร่อง
      ความตั้งใจบกพร่อง การไม่อยู่นิ่ง มีอาการขาดสมาธิ ไม่อยู่นิ่ง ควบคุมตนเงไม่ได้ หุนหันพลันแล่น ซึ่งเป็นนานต่อกันกว่า 6 เดือน จนถึงระดับที่ไม่อาจปรับตัวได้และไม่เข้ากับระดับพัฒนาการ
      การขาดสมาธิ คือการที่ไม่สามารถจดจ่อกับรายละเอียด เลินเล่อต่อกิจกรรมต่างๆ ขาดสมาธิในการฟัง การประกอบการงาน ไม่สามารถทำตามคำสั่ง ทั้งงานที่โรงเรียน บ้าน หรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ขาดความใส่ใจพยายาม ขาดความรับผิดชอบ เช่น ทำของที่จำเป็นหาย วอกแวก และหลงลืม นอกจากนี้ยังมีอาการ ไม่อยู่นิ่ง หยุกหยิก นั่งไม่ติดที่ วิ่ง ปีนป่าย อย่างมาก ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความยาก ลำบากในการทำงานอย่า่งเงียบๆ พูดมาก ขาดความอดทน เช่น มักชิงตอบคำถามก่อนจะถามจบ รอคอยไม่ได้ มักแทรกขึ้นระหว่างการสนทนา หรือระหว่างกิจกรรมต่างๆ อาการมักเกิดก่อนอายุ 7 ปี และมักพบว่าบกพร่องในสถานการที่บ้าน และที่โรงเรียน
      พฤติกรรมต่อต้านสังคม มีพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิพื้นฐานของคนอื่น โดยมีแบบแผนพฤติกรรมที่เป็นซ้ำๆ และคงอยู่ตลอด โดยไม่เคารพกฎบรรทัดฐานที่สำคญของวันนั้น อันได้แก่ ก้าวร้าวต่อคน หรือสัตว์ ทำลายทรัพย์สิน ฉ้อโกง หรือขโมย มีการก้าวร้าวแบบเผชิญหน้า รวมทั้ง ข่มขืน การทำลาย ทรัพย์สิน จงใจวางเพลิง งัดแงะ บ้าน รถ พูดปลิ้นปล้อน หลอกลวง เลี่ยงกฎเกณฑ์ ขโมยของมีค่าแบบไม่เผชิญหน้า เช่น แอบหยิบของมีค่าจากร้าน
       การละเมิดกฎอย่างรุนแรง มักเร่ิมตั้งแต่ก่อนอายุ 13 ปี โดยมีพฤติกรรมออกจากบ้านกลางคืน โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ้างคืน โดยไม่บอกผู้ดูแลและมักหนีโรงเรียน
       พฤติกรรมดังกล่าวทำให้กิจกรรมด้านการศึกษา สังคม งานบกพร่องลง อาจเริ่มมีอาการอย่างน้อย 1 อย่าง ในวัยอายุก่อน 10 หรืออาจมีอาการในวัยรุ่นก็ได้
       พฤติกรรมที่แสดงออกถ้าเป็นระดับไม่รุนแรงมักเป็นพฤติกรรมทีไม่เผชิญหน้า ก่อผลเสียหาย เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นระดับรุนแรงมักก่อผลเสียต่อผู้อื่นมาก และมีพฤติกรรมแบบเผชิญหน้า เช่น ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน เป็นต้น
       พฤติการดื้อ ต่อต้าน
       มีพฤติกรรม ก้าวร้าว ต่อต้าน โมโห เถียงผู้ใหญ่ ปฏิเสธระเบียบอย่งมากจงใจทำให้ผู้อื่นรำคาญ อารมณ์โกรธขุ่นเคืองอยู่เป็นนิจ อารมณ์เสียง่าย พยาบาทและใช้วิธีโทษผู้อื่น มีอารการเหล่านี้ต้องเป็นติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน สาเหตุ
            ด้านพันธุกรรม จากการศึกษาวิจัยพบว่า ลักษณะโครโมโซมเพศที่มีxyy มีผลต่อพฤติกรรมก้าวร้าวได้ เป็นต้น
            ด้านจิตสังคม จากการศึกษกรณีทางจิตเวช พบว่าเด็กที่ไม่ได้รับการยอมรับ ขาดพื้นฐานการไว้ใจผู้อื่น เช่น มาจากครอบครัวที่ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ ปล่อยปละละเลย ขาดแม่ตั้งแต่วัยต้น โดยไม่มีผู้ดูที่ทอแทนแม่ได้ หรือการที่เด็กอยู่กับพ่อแม่ แต่เป็นเด็กเลี่ยงยากมาตั้งแต่เกิด ทำให้การเลี่้ยงดูเป็นลักษณะทางลบมากกว่าบวก หรือในรายที่มีปัญหาพฤติกรรมที่มีสาเหตุมาจากความบกพร่องทางสมองมาก่อน เช่น อยู่ไม่สุก วอกแวก ขาดความอดทนฯ สิ่งเหล่นนี้อาจทำให้ขาดการยอมรับจากคนรอบข้างถูกลงโทษฯ เด็กจะเก็บความรู้สึกที่ว่าตรเองไม่ดี ขณะเดียวกันก็รู้สึกว่าคนรอบข้างสังคมไม่ดีเช่นกันเด็กจึงเกิดการต่อต้าน และทำง่ายมากกว่าจะสร้างสรรค์
      นอกจากนี้การเลี้ยงดูแบบลำเอียง เช่น ช่วงมีน้องใหม่เด็กอิจฉาน้อง แล้วไม่ได้รับการดูแลเรื่องความรู้สึกนี้ ก็อาจทำให้เกิดการต่อต้าน ก้าวร้าวได้ เมื่อก้าวร้าวถูกทำโทษ เด็กก็จะเพิ่มความรู้สึก เกลี่ยดชัดผู้อื่นมากขึ้น และรู้สึกตนเองด้อยก็เพิ่มขึ้นด้วย ก็ยิ่งมีพฤติกรรมที่ไม่ดี โดยไม่รู้สึกผิด ไม่แคร์ความรู้สึกผู้อื่น และเป็นเหตุให้ตกอยู่ในวงจรนี้ไปเรื่อยๆ การป้องกันจึงควรทำก่อนที่เด็กจะรู้สึกตนเองไม่ดีและคนอื่นไม่ดี ควรใช้วิธีทางบวกและสื่อสารในทางบวกมากกว่าลบ ไม่ควรตำหนิที่ตัวเด็ก แต่ให้พูดถึงพฤติกรรมที่เราไม่ชอบ ที่ชอบเป็นอย่างไร และให้ความรักเด็กโดยแสดงออกทั้งคำพูดและท่าทาง
      พฤติกรรมที่เป็นปัญหา ซึ่งพบบ่อยในเด็กและวัยรุ่น
      ปัญหาการแยกจาก มีความกังวลเกินควรที่จะต้องห่างบ้าน ห่างคนที่รู้สึกผูกพันด้วย ในวัยรุ่นมักพบว่ามีอาการกังวลกลัวเรื่องการสูญเสีย กลัวคนที่ผูกพันจะเกิดอันตราย มักคิดถึงเหตุการณ์ร้าย ๆ กับคนที่ตนรัก และกลัวจะเกิดขึ้นจริง มักมีอาการฝันร้ายซ้ำๆ เรื่องการพลัดพราก บางครั้งไม่อยากอยู่คนเดียว ไม่อยากนอนคนเดียว ถ้าไปนอนค้างนอกบ้านจะลังเลอย่างมาก หรือปฏิเสธถ้าไม่มีคนที่ผูกพันสนิทอยู่ด้วย นอกนี้อาจมีอาการทางกายร่วมด้วย... ซึงสาหตุมาจากการเลี้ยงดูทีปกป้องมากเกินไป จนทำให้เด็กเกิดความผูกพันจนแยกไม่ออกระหว่างตนเองกับผู้อืน เด็กถูกวางเงื่อนไขว่าสถานการณ์ต่างๆ ไม่น่าปลอดภัย ไม่น่าไว้วางใจ เด็กไม่ได้ถูกฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง ไม่เรียนรู้ความเป็นตัวของตัวเอง ทำให้อยากพึงพิงผู้อื่นอยู่รำ่ไป เมื่อโตขึ้น รู้สึกขาดที่พึ่งไม่ได้ ไม่สามารถยืนได้ด้วยตนเอง และอาจเรียนรู้เรื่องการคิดทางลบ ขี้กังวล เครียดง่าย จากคนรอบข้าง
      พฤติกรรมขาดประสิทธิภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามลักษณะดังนี้
      การบิดเบือนความจริง การพัฒนาพฤติกรรมปรับตัวที่มีประสิทธิภาพที่สำคัญคือ ความสามารถที่จะรับรู้ความจริงอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง บุคคลจะต้องแยกใหได้ระหว่างความจริงกับส่ิงที่เขาจินตนาการไปเอง ระหว่งแรงจูงใจในระดับจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ผู้ที่แยกระหว่างความจริงกับการเพ้อฝันไม่ได้ คือ พวกที่เป็นโรคจิต พวกที่มีความวิตกกังวลเป็นตัวผลักดันให้กระทำในสิ่งที่ขาตเหตุผลจะมาอธิบาย คือ อาการโรคประสาท ในพวกโรคจิตสูญเสียความจริงไปทั้งหมด ในพวกโรคประสาทเป็นการหลีกหนีความเป็นจริงโดยการเก็บกด
       นอกจานี้จะพบว่า ยังมีพวกที่พฤติกรรมการปรับตัวไม่เหมาะสมที่มีระดับการต่อสู้กับตนเองน้อยกว่าแบบอื่น พวกนี้ก่อความยุ่งยากให้กับคนอื่นมากว่าตนเอง คนอื่นมักตกเป็นเหยื่อของพวกนี้ ซึ่งมีลักษณะบิดเบือนความจริงให้สนองความต้องการของตน มีการปรับตัวทางสังคมไม่ดี ไม่มีความรู้สึกขัดแย้ง วิตกกังวล หรือสำนึกบาป มักก่อปัญหาให้ผู้อื่น
       เป็นผลมาจากการพัฒนาบุคลิกภาพแบบผิดๆ เรียนรู้การแสดงพฟติกรรมบางอย่างเมื่อเกิดความขัดแย้งแทนการพยายามปรับตัวด้วยการเก็บกดความปรารถนาที่ไม่เป็นที่ยอมรับมีลักษณะที่สำคัญ ือ การแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมเป็นแบบฉบับประจำตัว จะปรกกฎอาการให้เห็นในระยะวัยรุ่น พฤติกรรมดังกล่าวจะก่อกวนความสัมพันธ์กับผุ้คนมากกว่าการเรียนหรือการทำงาน ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
       ลักษณะบุคลิกถาพผิดปกติ
       การผลัดผ่อน การประวิงเวลาถือเป็นการแสดงความมุ่งร้ายที่ซ่อนอยู่ภายในพวกนี้เกิดความรู้สึกว่าคนจะตำหนิสิ่งที่ยังไม่ได้ทำน้อยกว่าสิ่งที่ปฏิบัติแล้ว ในขณะที่ผลัดผ่อนไปเรื่อยๆ จะแสดงออกว่าตนจริงใจ ทำตัวมีเสน่ห์ และเห็นชอบด้วย
        บุคลิกภาพระแวง ลักษณะที่สำคัญอย่างยิ่งของผุ้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้คือ ความริษยาแบบโง่ๆ ความริษยาเกิดจากความไม่ไว้วางใจ ชอบล่อหลอกหาทางจับผิดผู้อื่น ชอบถามซอกแซกเพื่อรู้เรื่องราวของคนอื่น แรกๆ ผู้คนจะรู้สึกว่าพวกนี้เอาใจใส่ผู้อื่น แต่หนักๆ เข้าจะรู้จะรู้สึกรำคาญ พวกนี้ไวต่อความรู้สึกไปหมดทุกเรื่อง มักอ้าวว่าการกระทำต่างๆ ของตนเองเป็นไปเพราะความรัก
        บุคลิกภาพเจ้าระเบียบ ลักษณะที่มักแสดงออกคือ การเคร่งครัดต่อกฎระเบียบ ระมัดระัง เป็นพวกพิถีพิถัน ละเอียดถี่ถ้วนมักจะครุ่นคิดในเรื่องความสะอาดและอนามัย ทุกอย่างต้องประณีตมีระเบียบ ใช้เวลามากมายกับเรื่องรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
       การหลีกเลี่ยงความจริง
       คำพูดที่ว่า "พ้นสายตาก็จะจางไปจากใจ" คงไม่จริงเมือเราพบว่าปัญหาไม่ได้พ้นไปจากใจง่าย ๆ บางคนดูเหมือจะไม่สามารถจัดการกับปัญหาเลยตลอดีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้อาจนำไปสู่พฟติกรรมปรับตัวที่ไม่ดี คู่สมาสที่มีปัญหาแก้ไม่ตกจะพัฒนาความรู้สึกไม่มั่นงปลอดภัยและมีปมด้อยขึ้นมาได้ ความบ้มเหลวจะทำให้บุคคลตำหนิตนเองและดำเนินชีวิตตามแบบที่ตนเองเห็นว่าไม่เข้าท่า คนที่กลัวการปฏิเสธจากผู้อื่นอาจทำตัวให้ถูกปฏิบเสธหนักเข้าไปอีก
       การหนีความจริง
       แม้พฤติกรรมการปรับตัวของเราและเทคนิคต่าง ๆ จะเป็นสิ่งที่ได้รับจากวัยเด็ก แต่จะมาแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพแค่ไหนในระยะวัยรุ่น การยอมรับตนเองเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนามโนภาพต่อตนเองที่บริบูรณ์ และการบรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์ พฤติกรรมของการหนีความจริง ได้แก่ การติดสุรา การติดยาเสพติด และอาการโรคจิต
      

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

aggressive

    คำจำกัดความของความก้าวร้าวตามแนวคิดนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาเรื่องความก้าวร้าง คือ บารอน Baron ได้กล่าวถึงนิยามความก้าวร้าวไว้ว่า คือ "พฤติกรรมใดก็ตาม ที่มีจุดมุ่งหมายในการทำร้าย หรือทำให้เกิดการบาดเจ็บแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยทีสิ่งมีชีวิตนั้น พยายามหลีกหนีจากการถูกทำร้ายนั้นๆ"
     คำจำกัดความนี้จะเห็นว่าความก้าวร้าวเป็นพฤติกรรมทางสัังคมที่มีความเกี่ยวข้องทางสังคมหลายระดับ เช่น ระหว่างมีชีวิตอย่างน้อย 2 สิ่ง คือ ผู้รุกราน และเหยื่อ นอกจานี้ก็มีความเกี่ยวข้องทางแรงขับเข้ามาประกอบ คือแรงขับที่จะทำร้ายผู้อื่น และแรงขับที่จะหลีกหนีการถูกทำร้ายนั้น ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกันก็คือ พลังอำนาจของผู้รุก และผู้ต้าน จะต้องแตกต่างกัน การทำร้ายผู้อื่นได้นั้นจะต้องหมายความว่าผู้รุกจะต้องมีพลังอำนาจพอที่จะเอาชนะการต่อต้านของฝ่ายตรงข้ามได้ ตัวแปรสุดท้ายของความเกี่ยวข้องกันก็คือ สภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา กล่าวคือ ผู้รุกราน และเหยื่อจะต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่การรุกจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้รุกอยู่ขั้วโลกเหนือ และเหยื่ออยู่ขั้วโลกได้ การรุกรานอาจทำได้โดยไม่สะดวกนักเป็นต้น
     ทฤษำีที่เกี่ยวกับความก้าวร้าว แบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม ดังนี้
     - กลุ่มที่เน้นเรื่องสัญชาติญาณ
     - กลุ่มที่เน้นเรื่องแรงขับ
     - กลุ่มที่เน้นการเรียนรู้
ทฤษฎีทางสัญชาติญานและชีววิทยา ตามแนวคิดของฟรอย และทฤษฎีจิตวิเคราะห์นั้นได้รากฐานมาจากความเชื่อทางสรีวิทยา กล่าวคือ มนุษย์มีความต้องการทางสรีรวิทยาอยู่เสมอ และเมื่อมีความต้องการเกิดขึ้นก็ได้ก่อให้เกิดความกระวนกระวายใจ และความกดดันขึ้นแก่บุคคลกลายเป็นพลังงานที่ร่างกายจะต้องขับออกไปด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้นพลังงานความก้าวร้าวนี้จึงเป็นส่ิงที่เกิดจากการสะสมของความต้องกาทางร่างกายนี้เอง เป็นสัญชาติญาณส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต
     นักสัตว์ศาสตร์มีความสนใจศึกษาแบบแผนพฤติกรรมทางสัญชาติญาณของสิ่งมีชีวิต นักสัตว์ศาสตร์มักจะศึกษาพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต ในสภาพธรรมชาิตเพื่อแสวงหาความเข้าใจในแบบแผนทางพฤติกรรมของสัตว์เหล่านั้นอย่างชัดเจนและนำมาประยุกต์ในการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้อีกด้วย
     ในเรื่องของความก้าวร้าวนี้ นักสัตว์ศาสตร์มีความเห็นใกล้เคียงกับพวกนักจิตวิเคราะห์มาก กล่าวคือพวกนี้มีความเชื่อว่าการแสดงออกของพฤติกรรมก้าวร้าวนั้น กำเนดจากการที่พลังงานได้ถูกเก็บสะสมเอาไว้มากๆ แต่กลุ่มนี้มีความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ในการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการแสดงความก้าวร้าวจะเกิดโดดๆ ไม่ได้ จะต้องมีสิ่งกระตุ้นเกิดขึ้นเป็นตัวลือพฤติกรรมก้าวร้าวจึงปรกกฎตามมา กลุ่มนี้จึงย้ำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของตัวล่อกับพฤติกรรมก้าวร้าวว่าจะต้องเกิดร่วมกันเสมอ
     กล่าวโดยสรุป ทั้งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทฤษฎีทางชีววิทยานี้ ต่างก็มองความก้าวร้าวว่าเกิดจากพัลังงานที่ร่างกายเก็บสะสมเอาไว้ และมาแสดงออกในลักษณะของความก้าวร้าวแต่ทฤษฎีทางชีววิทยานี้ได้เปรียบกว่าทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์อยู่ตรงที่ ได้นำปัจจัยหรือตัวกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาสัมพันธ์กับการแสดงความก้าวร้าวด้วย แต่ทั้ง 2 ทฤษฎีต่างก็เชื่อในเรื่องของสัญชาติญาณความก้าวร้าวเป็นสวนที่กำเนิขึ้นเองภายในบุคคลและสัตว์ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบ
     ทฤษฎีแรงขับ
     สมมุติว่า ท่านมีธุระจะต้องไปขึ้นรถไฟให้ทัน ปรากฎว่ารถที่นั่งไปยางเกิดแตกโดยที่ในรถไม่ียางอะไหล่ และเป็ฯถนนเปลี่ยวที่ไม่ใคร่มีรถวิ่งผ่าน ท่านจะรู้สึกอย่างไร..โมโห..ฉุนเฉียว..มนุษย์ทุกคนคงเคยประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องหัวเสีย หงุดหงิด โกระแค้นกันแทบทั้งสิ้น  และแต่ละคนก็คงมีปฏิกริยาตอบโต้ต่ความหงุดหงิดในลักษณะที่แตกต่างกันทฤษฎีแรงขับมีความเชื่อว่า ความก้าวร้าวจะมีสาเหตุโดยตรงมาจากมาจากความคับข้องใจ
     ดอลลาร์ดและเพื่อนเขามีความเห็นว่าความคับข้องใจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปฏิกริยาก้าวร้าวเสมอ ถ้าแปลตรงตัวตามทฤษฎีนี้ก็จะหมายความว่า ความคับข้องใจนั้นไม่ว่าจะเกิดจำนวนสักน้อยนิดหรือมากมายเพียงใดก็ตาม ย่อมจะต้องนำไปสู่การแสดงออกถึงความก้าวร้าวเสมอ
     เบอร์โกวิท ได้ทำการปรับปรุงทฤษฎีแรงขับ ความเห็นของเขามีดังนี้
- สภาพอารมณ์ที่ถูกปิดกั้น ไม่ให้ไปถึงจุดหมายที่ต้องการจะเป็นปัจจัยทำให้บุคคลโกรธ
- ความโกรธจะไม่นำไปสู่ความก้าวร้าวในทันที แต่อารมณ์โกรธจะทำให้บุคคลเตรียมพร้อมที่จะก้าวร้าว
- ความก้าวร้าวจะเกิดได้ต้องมีตัวกระตุ้นที่เหมาะสม ตัวกรุตุ้นนี้อาจเป็นสิ่งในสถานการณ์อดีต ปัจจุบันก็ได้  อาจเป็นสิ่งที่อยู่นอกหรือในตัวลุคคลผู้นั้นถ้าโกรธมีปริมาณรุนแรงมากพอ
- การแสดงความก้าวร้าวบ่อยๆ จะก่อให้เกิดเป็นอุปนิสัยก้าวร้าว แม้ในระยะหลังปราศจากความคับข้องใจ ก็อาจแสดงความก้าวร้าวออกมาได้เช่นกัน
     สถานภาพความคับข้องใจหรือสภาพอารมณ์โกรธจะนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือความก้าวร้าวนั้นมีสาเหตุประการหนึ่งมาจากอารมณ์โกรธที่เป็นความคับข้องใจนั้นเอง
     ทฤษฎีการเรียนรู้
     ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า มนุษย์เรียนรู้โดยการเลียนแบบ สังเกต และจดจำจากแม่แบบ โดยเฉพาะการเียนรู้จากแม่แบบนั้นทางกลุ่มที่เชื่อเรื่องเรียนรู้นี้เห็นว่ามีความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีอื่นได จอห์นสัน
     นักจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เชื่อในเรื่องความก้าวร้าวเกดจากการเรียนรู้จากแม่แบบนี้ ได้ทำการทดลองเรื่องการเรียนรู้ความก้าวร้าวนี้ไว้ ผลสรุปของแบนดูราถูกวิจารณ์ในแง่ของความก้าวร้าวที่มาจากสื่อมวลชน กล่าวคือ เด็กจะแสดงกริยาก้าวร้าวตามแม่แบบที่ได้สังเกต นอกจากนี้แบนดูร่ายังได้แสดงให้เห็นอีกด้วยว่า แม่แบบที่เด็กๆ เรียนรู้วิธีการนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็กเสมอไป อาจเป็นสิ่งที่เด็กเห็นและสังเกตได้จากจอโทรทัศน์ได้เช่นกัน
     ผลสรุปของแยนดูราถูกวิจารณ์ในแง่ของความก้าวร้าวมาจากสื่อมวลชน  กล่าวคือ ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยเด็ดขาดว่าความโหดร้ายทารุณที่สื่อมวลชนเสนอ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์นั้นจะเป็นสาเหตุให้เกิดความก้าวร้าวเป็นที่แน่นอน อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่เราจะปฏิเสธไม่ได้จากการทอลองของแบนดูราคือ การเลี่ยนแบบได้นำไปสู่พฤติกรรมหลายประเภท และพฤติกรรมก้าวร้าวนี้ก็เป็นส่วนหสค่งที่เกิดจากการเห็นจากแม่แบบ หรือเราอาจจะพูดสรุปได้กว้างๆ ว่า พฤติกรรมก้าวร้าวนี้มีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ มากมาย การเรียนรู้โดยการสังเกต และมีแม่แบบก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้
     ทฤษฎีทั้งสามกล่าวถึงสาเหตุของความก้าวร้าวไว้ต่างกัน ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และทางชีววิทยามีความเชื่อว่าความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณ เป็นการแสดงออกของความต้องการทางสรีรวิทยา ความก้าวร้าวในที่นี้คือพลังงานที่เก็บสะสมไว้และต้องการแสดงออก ส่วนความเชื่อทางทฤษฎีแรงขับนั้นเห็นว่าสภาพอารมณ์โกรธจะนำไปสู่ความก้าวร้าวได้โดยเฉพาะเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสม ในขณะที่ความเชื่อของทฤษฎีการเรียนรู้นั้น ย้ำในเรื่องความสำคัญของการเลี่ยนแบบโดยเฉพาะจากแม่แบบ ถ้าแม่แบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจะมีผลทำให้ผู้สังเกตจดจำและมีพฤติกรรมก้าวร้าวบ้างในโอกาสต่อไป
     

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

disorganization

      โดยปกติแล้ว สมาชิกส่วนใหญของสังคมยอมรับกฎระเบียบความประพฤติทางสังคม ซึ่งสังคมคาดหวังให้ปฏิบัติตาม แต่ก็มีบางคนที่พยายามจะเบี่ยงเบนหรือทำลายกฎเกณฑ์
       จอห์น แฮร์แกน กล่าวถึงทฤษฎีที่สำคัญ ซึ่งอธิบายเกี่ยวการละเมิดกฎระเบียบความประพฤติทางสังคมของบุคคลคือ
     - ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม และ
     - ทฤษฎีการควบคุม
      ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม มีรากฐานมาจากแนวความคิดแนวคิดของสำนักชิคาโกและผลงานของสมาชิกคนสำคัญหลายท่าน ลักษณะเด่น ในผลงานของนักอิาชญาวิทยาของสำนักชิคาโกทุกคนในระยะเริ่มแรก ก็คือความคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคม นักทฤษฎีเหล่านี้มีความเชื่อเช่นเดียวกับเดอร์ไคม์ ซึ่งอธิบายพฤติกรรมเบี่ยงเบนเนื่องจากการขาดกลไกการควบคุม
      "The Unadjusted Girl" ธอมัสสังเกตว่าในสังคมทุนนิยม สังคมเมืองหรือสังคมสมัยใหม่ได้ถูกกำหนดลักษณะด้วยคำจำกัดความพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลในเชิงการแข่งขัน และทำลายระบบทางสังคม รวมทั้งแนวความคิด "สิทธิสตรี" ในแต่ละศตวรรษที่ผ่านมาของเมืองชิคาโก ธอมัสเห็นว่า ผู้หญิงสาวพยายามแสวงหาโอกาสใหม่ในโรงเรียน โรงงาน ร้านค้า สำนักงาน และสถานที่อื่นๆ ที่ไม่สามารถหาได้ในสมัยก่อน การออกนอกบ้านและหลุ่มพ้นไปจากความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ กลายเป็นสิ่งที่มองว่าเป็นตัวทำให้กำไกการควบคุมแบบดั้งเดิมลดความสำคัญลง และทำให้หญิงสาวตกอยู่ในสภาพที่เกิดการขัดแย้งในการให้คำนิยามของสภานการณ์ ธอมัสสนใจในการใช้แนววามคิดเหล่านี้ อธิบายถึงการที่ผู้หญิงสาวเข้าไปพัวพันในกาต้าประเวณี
     ในหนังสื่อชื่อเรื่อง "The Unadjusted Girl" ธอมัสได้แย้งว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในเมือง เช่น เมืองชิคาโกได้ทำลากำไกการควบคุมที่มีอยู่เดิม และอำนาจของการให้คำนิยามที่ก่อให้เกิดความชอบ เป็นต้นว่าความคิดเกี่ยวกับ "ความเป็นสาวพรหมจารีย์" หรือ "ความบริสุทธ์ิ" โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีข้อจำกัดด้านทรัพย์สินทางเศรษฐกิจ ธอมัสได้โต้แย้งว่าปัจจุบันคำว่า เพศก็ต้องให้ความหมายใหม่ "เพศเป็นสื่อหรือตัวเชื่อม ซึ่งสมารถทำให้หญิงสาวที่มีฐานะยากจนสามารถบรรลุความปรารถนาในด้านความมั่นคงปลอดภัยประสบการณ์ใหม่ และสนองตอบ" กล่าวโดยสรุป  การค้าประเวณีอาจมองเป็นผลจากพลังในเชิงทำลายระบบทางสังคมของเมือง และทำให้คำนิยามสถานการณ์เปลี่ยแปลงไปจากเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีหญิงสาวที่ขาดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังเกตได้ว่าแนวความคิดเกี่ยวกับ
การค้าประเวณีอาจช่วยในการอธิบายความกระตือรือร้นของผู้รักมนุษยชาติ โดยพยายามให้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการค้าประเวณีให้เป็ฯระบเียบแบบแผน ทฤษฎีการเสียระบบทางสังคมเห็นว่า กลำกการควบคุมทางสังคมแบบไม่เป็นทางการเสื่อมลง และสังคมต้องอาศัยกลไกการควบคุมแบบทางการซึ่งก็คือกฎหมายเข้ามาแทนที่ แนวความคิดนี้ไม่ได้สอดคล้องเสียทีเดียวกับความคิดเห็นที่ว่า การค้าประเวณีเป็นอาชีพเก่าแก่ที่สุดของโลก ดังนั้น จึงไม่ไใช่ผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเมื่อไม่นามนี้เอง หรือไม่ได้สอดคล้องกับขอสันนิษฐานโดยทั่วไป ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิสตรีนี้ในช่วงแรกเริ่มศตวรรษได้แพร่หลายอย่างมากในระหว่างผู้หญิงชั้นสูง ชั้นกลาง มากกว่าผู้หญิงช้นต่ำ อย่างไรก็ตาม แนวความคิดของธอมัสก็คงมีอิทธิพลอยู่มาก

     "The Gang" มโนทัศน์เกี่ยวกับวามปรารถนา 4 ประการของธอมัส (ได้แก่ความปรารถนาประสบการณ์ใหม่ ความมั่นคงปลอดภัย การตอบสนองและการยอมรับ) กลายเป็นพื้นฐานในการศึกษาแ็งวัยรุ่นในชิคาโก แธรชเชอร์เรียกว่า ความปรารถนาเหล่านนี้ว่า "พลังรื่อเริง"(lively energies)เขาแย้งว่าพลังดังกล่าวทำให้ชีวิตวัยรุ่นเป็นอิสระตามธรรมชาิ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมสภาวะที่ปล่อยให้พลังเลห่านี้แสดงอย่างอิสระนั้น เชื่อมโยงกับการเสียระบบของชุมชน และการสูญเสียกลไกควบคุมแบบดั้งเดิม ตามความคิดของเเธรชเชอร์เห็นว่า สภาพเหล่านี้พบได้ตามสลัมของเมือง ซึ่งกำหนดลักษณะโดยความเสื่อทางกายภาพ  การเข้าครอบครองพื้นที่ของประชากรกลุ่มือ่นแทนกลุ่มเดม และมีการจราจรภาพทางสังคมสูง มำให้มองแก็งเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติต่อสภาพดังกล่าว หน้าที่ของแก็งก็เพื่อสร้างระเบียบและทำให้ความปรารถนาของมนุษย์สมหวัง แก็งก่อให้เกิดพฤติกรรมรวมหมู่ซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใด และไม่ได้มีการวางแผนล่วงหน้ามาก่อน
       แธรชเชอร์ได้วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรวมตัวและถอนตัวของแ็ง ตัวแปรหลักคือการควบคุมทางสังคม เขาแย้งว่าเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายก่อนที่จะเป็นวัยรุ่น หากเด็กทั้งสองเพศอยู่ในกลุ่มชาติพันธ์ุที่แน่นอน จะเข้าร่วมแก็งได้ยาก เพราะว่าพวกเขาได้ถูกควบคุมจากครอบครัวอย่งมีประสิทธิภาพ  กล่าวอีกแง่หนึ่งคือ เด็กผู้ชายถอนตัวจากแก็ง เมื่อมีข้อผูกมัดทางการสมรสและงาน ซึ่งจะนำเอากลไกการควบคุมแบบใหม่มาใช้กับพฤติกรรมของพวกเขา
       ทั้งหมดนี้ เราจะเห็นข้อเท็จจริงว่า แธรชเชอร์มองทุรกรรมในลักษณะที่ดำเนินไปด้วยการชอบเล่น และมีความสนุกสนาน การบรรยายถึงสลัมของเมืองชิคาโกของแธรชเชอร์เป็นภาพที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้น โดยใช่ย่านทางรถไฟ "อาณาจักรสำหรับการผจญภัยในสนามเล่นที่ไม่มีใครเหมือน หรือในส่วนของเมืองที่เป็ฯระเบียบ" จากส่ิงดึงดูดความสนใจที่ให้ไว้ และหากไม่มีกลไกการควบคุม ทุรกรรมอาจมองเป็นการสนองตอบปกติตามธรรมชาติ
      ชอว์และแม็คเคย์พยายามที่จะตัดสินลักษณะของชุมชนประเภทต่าง ๆที่สัมพันธ์กับทุรกรรม เพื่อที่พวกเขาจะได้อ้างจากลักษณะดังกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญอะไรบ้าง ที่ทำให้เกิดการเสียระบบทางสังคมและเป็นสาเหตุให้เกิดทุรกรรมได้อย่างไร โดยได้กำหนดเอกลักษณ์ที่มีความสัมพันะ์กัน 3 ประการ คือ สถานภาพทางเเศรษฐกิจของชุมชน การจราตรภาพของชุมชน และความหลากหลายของชุมชน ทำให้กลไกการควบคุมไม่มีประสิทธิภาพ ในทางกลับกันอัตราของทุรกรรมสูงขึ้น ความยากจน การจราจรภาพและความหลากหลายในศูนย์กลางของเมืองในอเมริกามีลักษณธที่แตกต่างกันในบางเวลาเท่านั้น
      ทฤษฎีการควบคุม
       ทฤษฎีการควบคุมทางอาชญากรรมและทุรกรรมมีรากฐานมาทฤษฎีการเสียระบบทางสังคม ดังนี้น แนวความคิดส่วนใหญ่จึงค่อนข้างคุ้นเคย อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุดก็เสนอส่วนหนึ่งที่สำคัญหรือเด่น ไม่เหมือนแนวคิดอื่น ทฤษฎีการควบคุมทางอาชญากรรรมและการเบี่ยงเบนทางสังคมสันนิษฐานว่าคนนั้น "ดี" เว้นเสียแต่เขาถูกผลักดันให้เกลายเป็นคน "เลว" ไม่ว่าจะมาจากความไม่ยุติธรรม หรือปัญหาบางอย่างที่อยู่นอกเหนือกาควบคุมของเขาในการเปรียบเทียบกัน ทฤษฎีการควบคุมมองสภาวะของมนุษย์โดยที่ยึดแนวความคิดที่เป็นกลางมากกว่า โดยสันนิษฐานว่า คนส่วนมากมีความโน้มเอียงที่เป็นทั้ง "เลว" และ "ดี" เท่าเทียมกัน ตามแรวความคิดนี้ คนเป็นคนดีได้ เพราะว่าสังคมทำให้คนดี สังคมให้คำจำกัดความคุณสมบัติ "ดี" และ "เลว" โดยอาศัยบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคม ดังนั้น บรรทัดฐานและค่านิยมเหล่านนี้จึงมีอยู่ร่วมกันอย่างกว้างขวาง  และที่ทุกสังคมพยายามที่จะกำหนดบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคมให้แก่สมาชิก เป็นข้อสันนิษฐนที่สำคัญของทฤษฎีการควบคุม ความสนใจของนักทฤษฎีการควบคุมอยู่ที่สิ่งซึ่งเหนี่ยวรั้งบุคคล แทนที่จะถามบุคคลที่เบี่ยงเบนว่า "ทำไมท่านทำสิ่งนี้" นักทฤษฎีการควบคุมอยากจะรู้ว่า "ทำไมคนเราทั้งหมดไม่ทำสิ่งนี้" การเห็นด้วยกับ "ความชั่วเป็นิสิ่งดี" นั้น นักทฤษฎีการควบคุมท่านหนึ่งตอบว่า "เราคงทำ หากเรากล้า"
      ตามแนวความคิดที่สืบทอดกันมา ทฤษฎีการควบคุมมองการบังคับในลักษณะที่เป็นการกระทำภายในและภายนอกบุคคลดังนั้น วอลเทอร์ รีคลีซ เสนอเค้าโครงโดยกล้าง ๆ เกี่ยวกับกความสนใจของนักทฤษฎีการควบคุมโดยเน้น "วงกรอบภายใน" และ "วงกรอบภายนอก" ในอีกแง่หนึ่ง วงกรอบภายในประกอบด้วยส่วนประกอบของตนเอง เป็นหลัก เป็นต้นว่า การควบคุมตนเอง และความคิดที่ดีเกี่ยวกับ "ตนเอง" ในขณะที่ "วงกรอบภายนอกแสดงถึงตัวกั้นกลางเชิงโครงสร้างในโลกทางสังคมที่ใกล้ชิดของบุคคล ซึ่งสามารถยึดบุคคลไว้ภายในขอบเขต" วงกรอบภายในถูกมองว่ามีผลมาจากความสำเร็จของครอบครัวอันดับแรกตรงที่ทำให้ค่านิยมที่ดีของสังคมเข้าไปอยู่ในจิตใจของบุตรหลาน หากครอบครัวล้มเหลว นักทฤษฎีการควบคุมก็ให้ความสนใจในบทบาทของชุมชน ตำรวจ และตัวแทนที่เป็นทางการอื่น ๆ จากวงกรอบภายนอก
      โดยส่วนใหญ ทฤษฎีการควบคุมมีแนวโน้มที่จะมองการเบี่ยงเบนเป็นผลของการขัดเกลาค่านิยมที่ "เลว"ให้เป็นค่านิยมที่ "ดี" กล่าวคือการทำให้บุคคลเชื่อว่าเขาปรารถนาที่จะกระทำสิ่งที่สังคมนิยามไว้ว่าเป็น "การดำเนินชีวิตที่ดี" ความปรารถนาร่วมกันดังกล่วเป็นหัวใจของสิ่งที่นักทฤษำีการควบคุม เรียกว่ "ความผูกพันทางสังคม" หรือสายสัมพันธ์ทางสังคมตามแนวความคิดในทฤษฎีการควบคุม หากความผูกพันทางสังคมลดน้อยลงหรือถูกทำลายพฤติกรรมเบี่ยงเบนก็มีแนวโน้มที่เกิดตามมา
        เนื่องจากความผูกพันทางสังคมปกป้องบุคคลจากการเบี่ยงเบนแล้ว จึงควรจำเป็นต้องรู้ว่า อะไรก่อให้เกิดความผูกพันดังกล่าว และการไม่มีความผูกพันนั้นเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนอยางไร เทรวิส ฮิรสชิ เสนอองค์ประกอบของความผูกพันทางสังคม ประกอบด้วย มิตรภาพซึ่งผูกพันจิตใจกัน ข้อผูกมัด การเข้าไปมีส่วนร่วมหรือรู้สึกร่วมและความเชื่อ
        ความสำคัญของมิตรภาพซึ่งผูกพันจิตใจกับคนอื่นๆ กระตุ้นให้บุคคลเกิดความไวต่อความปรารถนาและความคาดหวังของคนอื่น การผูกพันกับผู้เลี้ยงดู บิดามารดา ครู หรือใครๆ จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึก ดังนั้น แม้เราจะเคยทำให้คนที่เรารักเสียใจบ่อย ก็เป็นการกระทำโดยไม่ได้ตั้งใจ ยิ่งไปกว่านั้นโดยทั่วไป บุคคลพยายามที่จะปกป้องคนที่รักจากความเจ็บปวด การสูญเสียและความยุ่งยากใจ... การแยกความรู้สึกผูกพันออกจากตัวบุคคล ทำให้มีอิสรภาพในการเบี่ยงเบนมากขึ้น
        ข้อผูกมัดหรือความรู้สึว่าเป็นภารกิจ หมายถึงการทุ่มเทเวลาและกำลังกายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเ
        ความเชื่อในค่านิยมของสังคม เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของความผูกพันทางสังคม โดยเน้นที่การเบี่ยงเบนไม่ได้มีสาเหตุมาจากความเชื่อที่ว่าต้องกระทำพฤติกรรมเช่นนั้น การเบี่ยงเบนอาจเกิดขึ้นได เนื่องจากการขาดความเชื่อที่ทำหน้าที่ห้ามปรามพฤติกรรมเบี่ยงเบนไว้
        ทฏษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของ เอเคอร์ ให้เหตุผลที่ดีว่า "ทำไมจึงเกิดอาชญากรรมและการเบี่ยงเบนขึ้น" เอเคอร์ ตั้งคำถามนี้พร้อมทั้งให้คำตอบว่า "ความยึดมั่นกับการปฏิบัติตามของบุคคลได้ถูกทำลายลงก็อาจทำให้บุคคลเบี่ยงเบนได้ ไม่ว่าเขาจะกลายเป็นคนเพบี่ยงเบนโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยนอกเหนือรางวัลทางสังคม หรือรางวัลอื่น ๆ ก็ตาม คำตอบของเอเคอร์มาจากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมทีเกี่ยวกับอาชญากรรมและการเบี่ยงเบน เอเคอร์ ตั้งข้อสังเกตว่า "ทฤษฎีการควบคุมสอดคล้องกับการเรียนรู้ทางสังคมมากที่สุด"


วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

Social Control


      กลไกการควบคุมทางสังคมภายใน คือการที่บุคคลยอมรับเอาบรรทัดฐานและค่านิยมของกลุ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลและปรารถนาที่จะปฏิบัติตามบรรทัดฐานดังกล่าวทำให้มีผลต่อการควบคุมตนเอง กระบวนการี้เป็นผลมาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หากกระบวนการขชัดเกล่าทางสังคมไม่สัมฤทธิ์ผล บุคคลน้นมีแนวโน้มจะมีพฤติกรรมเบียงเบน สังคมจึงต้องอาศัยการควบคุมทางสังคมภายนอกมาต่อต้านกับพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อความเป็นระเบียบของสังคม


    การควบคุมทางสังคมไม่ควรสับสนกับการเป็นประมุขศิลปหรือความเป็นผู้นำส่วนบุคคล เมื่อบุคคลหนึ่งพยายามควบคุมพฤติกรรมคนอื่นๆ นั้น แสดงว่าเป็นการใช้ความเป็นผู้นำหรือมุขภาพ มากกว่าเป้นการควบคุมทางสังคม แต่เมืี่่อเขารวบรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยเพื่อสมาชิกเข้าร่วมกับเขา และพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อความประพฤติของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า นั่นคือ เขากำลังกระทำในฐานะตัวแทนการควงคุมทางสังคม เราอาจกล่าวได้ว่า บางครั้งความเป็นผู้นไใช้ในลักษณะความหายของการเห็นพ้องระหว่างผู้ที่มีความพยายามในการควบคุมทางสังคมกับความปรารถนาเหรือค่านิยมในการดำเนินชีวิตของคนใดคนหนึ่งในทำนองเดียวกัน การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นคำที่บ่งขอกถึงการที่ผู้พูดพยายามพฤติกรรมคนอื่น ๆ นั้นแสดงว่าเป็นการใช้ความเป็ฯผู้นำหรือมุขภาพ มากกว่าเป็นการควบคุมสังคม แต่เมื่อเขารวบรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยเพื่อสมาชิกเข้าร่วมกับเขา และพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อความประพฤติของกลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่า นั้นคื เขากำลังกระทำในฐานะตัวแทนการควบคุมทางสังคม เราอาจกล่าวได้ว่า บางครั้งความเป็นผู้นำใช้ในลักษณะควารมหมายของการเห็นพ้องระหว่างผู้ที่มีความพยายามในการควบคุมทางสังคมกับความปารถนาหรือค่านิยมในการดำเนินชีวิตของคนใดคนหนึ่ง ในทำนองเดียวกัน การโฆษณาชวนเชื่ออาจเป็นคำที่บ่งบอกถึงการที่ผู้พูดพยายามควบคุมทางสังคมโดยอาศัยความพยายามบางอย่างเพื่อให้คนเ่อเกิดความเห็นคล้อยตามแล้วแต่ผู้พูด


     การควบคุมทางสังคมเป็นคำกล่าวรวมๆ ของกระบวนการที่ได้วางแผนหรือไมมีการวางแผนมากอ่น ซึ่งนำมาใช้อบรมสั่งสอน ชักจูง หรือบังคับปัจเจกบุคคลให้คล้อยตามค่านิยมในการดำเนินชีวิตของกลุ่มให้เป็นปกติวิสัย การควบคุมความประพฤติของสมาชิกในกลุ่มหรือเมื่อปัจเจกบุคคลมีอิทธิพลต่อการตอบสนองของคนอื่น ๆเพราะฉะนั้นการควบคุมทางสังคมนำมาใช้ปฏิบัติ 3 ระดับ คือ กลุ่มเหนือกลุ่ม กลุ่มเหนือสมาชิกกลุ่ม และปัจเจกบุคคลเหนือเพื่อสมาชิกด้วยกัน  กล่าวอีกแง่หนึ่ง การควบคุมทางสังคมเกิดขึ้น เมื่อปัจเจกบุคคลถูกเหนี่ยวนำ หรือบังคับให้กระทำสอดคล้องกับการปรรถนาของคนอื่นๆ ไม่ว่าจะสอดคล้องกับผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลเองหรอืไม่ก็ตาม

     สังคมทุกสังคมจำเป็นต้องมีการควบคุมสามาชิกของสังคม ดังนั้นปัจเจกบุคคลคือแต่ละคนซึ่งอยู่ในฐานะสมาชิกขององค์การทางสังคมใดก็ตาม ย่อมไม่มีความเป็นเสรีเต็มที่แต่ต้องอยู่ในวงกรอบหรือขอบเขตแห่งการประพฤติปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นวจีกรรมหรือกายกรรมสำหรับด้านมโนกรรมนั้น แารจะคิดอย่างไรยอมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้จากสังคมโดยผ่านกระบวนการสังคมประกิตเป็นสำคัญ
     ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมแพร่หลายและได้รับการยอมรับอยางกว้างขวางกล่าวได้ว่าทฤษฎีรุ่งเรื่องขึ้นมาเป้ฯผลมาจากแนวคิดทางอาชญาวิทยาที่แตกต่างกัน 3 แนว
     แนวที่หนึ่ง คือ ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อการหันเหไปในทางการขัดแย้งและการตีตราและการหันกลับมาพิจารณาพฤติกรรมที่มีความผิดทางอาญา นักอาชญาวิทยาที่เป็นพวกอนุรักษ์นิยม จะสนใจอาชญาวิทยาสมัยใหม่เพียงเล็กน้อย และต้องการหวนกลับไปหาเขอบเขตของเนื้อหาสาระแบบเก่าคืออาชญากร
     แนวที่สอง เกิดการศึกษาความยุติธรรมทางอาญาเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมา ซึ่งช่วยให้อาชญาวิทยาเปลี่ยนไปสู่ทิศทางที่มีแนวโน้มจะเป็นรเบบและเชิงปฏิบัติมากขึ้น รัฐบาลก็มีความสนใจมากขึ้น และมากพอที่จะให้มีโครงการเกี่ยวกับความยุติธรรมทางอาญา และการต่อสู้ความผิดทางอาญา ซึ่งจะช่วยให้ธรรมชาติของการเคลื่อนไหวเป็นไปในเชิงปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น ผลก็คืออาชญาวิทยาย่อมมีอิสระจากงานตามทฤษฎี และเหลือไว้เพียงสิ่งที่สร้างตามทฤษฎีจากช่วง 1960-1969  ทฤษฎีซึ่งสอดคล้องกับการอธิบายเกี่ยวกับพฟติกรรมอาชญากรก็คือ แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมของ Hirschi
     แนวที่สาม ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกับวิธีการสำรวจแบบใหม่ สำหรับกำหนดแหล่งพฤติกรรมเกะรคือ การสำรวจโดยให้ายงานเกี่ยวกับตนเอง
      ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมของเดอร์ไคม์ ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมทั้งหมด ยึดถือปัจจัยทางสังคมสำหรับอธิบายว่าคนทั่วไปสามารถเหนี่ยวรั้งจากการกระทำที่เป็นผลร้ายต่อคนอื่น ๆ ได้อย่าง การอธิบายแนวนี้เริ่มต้นมาจากเดอร์ไดม์ เขากล่าวว่าสังคมมักจะมีผู้ที่เบี่ยงเบนจำนวนหนึ่งแนนอน และการเบี่ยงเบนนั้นแท้จริงแล้วก็เป็นปรากฎการณ์ปกติ  นอกจากนี้ การเบี่ยงเบนยังช่วยคำจุนระเบียบทางสังคมด้วย  เพราะเหตุว่ามีขอบเขตทางศีลธรรมที่ไม่แน่ชัดในการให้ำนิยามว่า พฤติกรรมอะไรบ้างที่อนุญาตให้กระทำได้และพฤติกรรมอะไรที่ไม่เห็นด้วย ขอบเขตเหล่านี้ได้ระบบุได้แจ่มชัดถึงความไม่พอใจระดับต่างๆ ที่มีต่อการกระทำต่างๆ โดยเรียงลำดับจากความไม่พอใจแบบไม่รุนแรงจนถึงการบังคับใช้ทากฎหมายและการจำคุก เนื่องจากเส้นแบ่งขอบเขตที่เป็นจริงยังไม่แน่ชัด ปฏิกิริยาโต้ตอบทางสังคมต่อพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของคนอื่น จึงช่วยให้ประชาชนตัดสินได้สิ่งไหนที่พวกสมควรกระทำ ดังนี เดอร์ไคม์ จึงได้กล่าวว่ พฤติกรรมถูกควบคุมโดยปฏิกริยาโต้ตอบทางสังคม
     ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมในเชิงบุคลิกภาพ ในปี 1950-1959 นักทฤษฎีหลายท่านได้เสนอคำอธิบายการควบคุมทางสังคมเกี่ยวกับทุรกรรม ทฤษฎีเหล่านี้กำหนดขึ้นตอนเพื่อเป็นแนวทางการอธิบายอาชญากรรมและทุรกรรมในปัจจุบั นับตั้งแต่สมัยเดอร์ไคม์เป็นต้นมา ความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมได้มีการปรับปรุงหลายครั้ง แนวความคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการขัดเหลาทางสังคมกลายเป็นเรื่องธรรมดา และไม่ว่าเป็นบุคลิกภาพหรือการขัดเกลาทางสังคมมักจะนำมาใบช้ในผลงานทางสังคมวิทยาว่าด้วยการเบียงเบนมากที่สุด  ย่ิงไปกว่าน้นงานวิจยและงานเขียนในหลายทศวรรษ ก็เน้นความสามรถของสิ่งแวดล้อมทางครอบครัว สถาบันศาสนา โรงเรียนพรรคพวกเพีือนที่ดี และองค์การชุมชนต่างๆ ในการควบคุมทุรกรรม
      อับเบิร์ต.เจ.รีซซ์ ได้รวมแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพและการขัดเกลาทางสังคมกับผลงานของสำนักชิคาโกและเขียนทฤษฎีการควบคุมทางสังคม ซึ่งสามารถคาดการณ์ถึงผลงานในเวลาต่อมาได้เป็นส่วนใหญ่ แม้ทฤษฎีของเขาจะใช้ทฟษฎีจิตวิเคราะห์และ บุคคลิกภาพมากกว่าก็ตาม เขาก็ได้เสนอแนะถึงองค์ประกอบของการควบคุมทางสังคม 3 ประการ สำหรับใช้อธิบายกรกระทำผิด เขากล่าว่า ทุรกรรมหรือการกระทำผิด เป็นผลมาจากปัจจัยใดปจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัยทั้งหมดดังนี้
      - ขาดการควบคุมในที่เหมาะสมในช่วงวัยเด็ก
      - ความล้มเหลวของกลไกการควบคุมภายในดังกล่าว
      - ปราศจาก หรือการขัดแย้งในกฎเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งกลุ่มทางสังคมที่มีความสำคัญได้กำหนดขึ้น ปัจจัยที่ 3 ประการเหล่านี้เองที่นักทฤษฎีการควบคุมทางสังคมทุกคนนำมใช้เขียนงานตลอดมา
      ทฤษฎีความผูกพันทางสังคม หรือทฤษฎีสายสัมพันะ์ทางสังคม แนวคิดเกี่ยวกับกลไกการควบคุมทางสังคมภายนอกได้เด่นขึ้นมา เนื่องจากผลงานของเดวิด แมทซา แห่งมหาวิทยาลับแคลิฟอร์เนีย เอบร์คลี่ย์ เขาได้เขยนผลงานครั้งแรกร่วกับ เกซแฮม สคีซ คือการวิจารณ์ทฤษฎีอนุวัฒนธรรมของ อัลเบิรต โคเฮน อย่างไรก็ตา คำวิพากษ์วิจารณ์นั้นก็เป็นความคิดเห็นที่ว่าทุกคน (แม้แต่แก็งคทุรกรรมที่เป้นชนชั้นต่ำ)มักผูกัมอยู่กับระบบค่านิยมของสังคมที่มีอิทธิพลเหนือกว่ พวกเขาได้เสนอว่า คนเราจะมีอิสระที่จะกระทำทรุกรรม โดยผ่านการใช้เทคนิคของ "ความเป็นกลางหรือความเป็นสูญค่า" เทคนิคเหล่นี้ทำให้ปัจเจกบคคลรู้จักเป็น และละทิ้งการพัวพันต่อค่านิยมทางสังคมชั่วคราว ดังนั้น ทำให้มีอิสระที่จะกระทพฤติกรรมทุรกรรม และได้เสอนรายชื่อรูปแบบ(วิธีการ)ของความเป็นกลาง 5 ประการ ได้แก่ ความปฏิเสธความรับผิดชอบ การปฏิเสธการทำร้าย การปฏิเสธผู้เสียหาย การปรักปรำจาผู้กล่าวร้าง การทุทธรณ์เพื่อความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม
     ทฤษฎีการควบคุมทางสังคมที่แพร่หลายเมือไม่นานมานี้ทั้งหมดไม่ใช่สิ่งใหม่ ย่ิงกว่านั้นอาจถือว่าเป็นแนวการศึกษาเชิงทฤษฎีแนวหนึ่งที่สอดคล้องอย่างมากกับแนวความคิดของสาะารณชนที่ว่า ทำไมคนจึงกลายเป็นอาชญากร ไม่ว่าใครจะเชื่อว่าบุคคลกลายเป็นอาชญากรเพราะการสมาคมกับเพื่อที่ไม่ดี เพราะครอบครัวเลี้ยงดุอย่งไม่ถูกต้อง เพราะขาดความเชื่อทางศาสนา หรือเพราะขาดการศึกษา ทฟษฎีการควบคุมทางสังคมสามารถมองว่าเป็นการสะท้อนถึงความเชื่อดังกล่าว นอกจานี้ สำหรับนักอาชญาวิทยาเอง ทฤษฎีนี้มีส่วนของทฤษฎีการเสียระเบียบทางสังคมร่วมอยู่บ้าง การสมาคมที่แตกต่างกัน และความไร้บรรทัดฐานจึงดึงดูดความสนใจของนักอาชญาวิทยาที่ไม่อย่งยอมรับเอาแนวทฤษฎีการขัดแย้ง
     ระเบียบทางสังคมหมายถึงคุณภาพของการจัดระเบียบทางสังคมทั้งหมด นักวิชาการบางคนเรียกว่า "ความเชื่อมแน่น" หรือ "การบูรณาการ" หรือ "ความเป็นปึกแผ่น" และบางคนใช้ในความหมายเดียวกับ "การจัดระเบียบองค์การ" หากจะกล่าวให้ชัดก็คือระเบียบทางสังคมมีความมหายตรงกันข้ามกับการเสียระเบียบทางสังคม ความยุ่งเหยิง การไม่มีรัฐบาลหรือกฎหมาย ระเบียบหมายถึงบุคคลไม่แยกตัวเองมาทำอะไรตามใจชอบ โดยไม่มองดูคนส่วนใหญ่ การกระทำของบุคคลต้องสอดคล้องกับส่วนรวมที่มีจำนวนมากกว่า
      พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า แบบอย่างที่ค่อนข้องคงที่ อันเป็นผลมาจากการกระทำระหว่างกันทางสังคมระเบยบสังคมเป็นเครื่องกำหนดให้ส่วนต่าง ในโครงสร้างสังคมดำเนินไปตามหน้าที่และมีความสัมพันะ์กัน เพื่อประโยชน์ของสังคมนั้นๆ
      ระเบียบทางสังคมกำหนดขึ้นโดยผ่านโครงสร้างและวัฒนธรรม เนื่องจากปัจเจหชนทุกคนในองค์การถูกกำหนดตำแหน่งไว้ในโครงสร้างและได้เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมกัน โครงสร้างและวัฒนธรรมผูกมมัดบุคคลไว้ ดังนั้นบุคคลจะไม่ปฏิบัติในฐานะปัจเจกบลุคคล แต่ในฐานะสมาชิกขององค์การ นักสังคมวิทยาจำนวนมากใช้แบบแผน 2  ประการนี้เพื่อทำความเข้้าใจรากฐานของระเบยบทางสังคม
     ระเบียบทางสังคมขึ้นอยู่กับการขัดเกลาทางสังคม รเกิดขึ้นจากความพยายามนานัปการขององค์การทุกองค์การที่จะทำให้ปัจเจกชนยินยอมปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ และไห้ยอมรับโครงสร้างและวัฒนธรรมที่บุคคลเป็นเจ้าของ
     เดอร์ไคม์ อธิบายสังคมที่พัฒนาแล้วก่อให้เกิดโครงสร้างที่ซับซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ บุคคลมักมีตำแน่งมากมายและแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของเขาเหล่านั้น ในขระเดียวกันก็มีการพึงพาซึงกันและกันมากขึ้น งานทุกย่างจะมีลักษณะแตกต่างกัน แต่ก็สนับสนุนส่วนรวม แม้จะส่งเสริมในลักษณะที่แตกต่างกันไป ส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ชำนาญการ ผู้บริหาร ..การแบ่งงานก่อให้เกิดสังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่แตกต่างกัน และการมีวัฒนธรรมเดียวกนั้นน้อย และไม่่อยเห็นแน่ชัด วัฒนธรรมก็ยังคงมีความสำคัญแต่แทนที่ด้วยความเป็นปึกแผ่นทางโครงสร้างเพ่ิมเข้ามา โดยที่ทุกคนทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่ผลสุดท้ายก็เป็นการสนองต่อความตองการของคนอื่นๆ จำนวนมากหากปราศจกาการมีวัฒนธรรมร่วมกันเป็นแกนกลางของความเป็นปึกแผ่นแล้วจะต้องมีความอดกลั้นต่อความแตกต่างของปัจเจกชนมากขึ้น และการลงโทษคนที่ละเมิดกฎหมายเข้มงวดน้อยลง
      สำหรับเดอร์ไคม์ทั้งโครงสร้งและวัฒนธรรมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการยึดเหนี่ยวสังคมเข้าด้วยกัน และสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้กับระเบียบทางสังคม นักสังคมวิทยาท่านอื่นที่เน้นความสำคัญของแบบแผนวัฒนธรรมและโครงสร้างด้วยเชนกัน คือ คาร์ล มาร์กซ์
      คาร์ล มาร์กซ์เสนอการวิเคราะห์เกี่ยวกับระเบียบในลักษณะที่แตกต่างจากเดอร์ไคม์แต่แนวการวิคเคราะห์ของเขาก็เห็นว่าโครงสร้างและวัฒนธรรมมีความสำคัญ มาร์กซ์ไม่ได้ใช้มโนทัศน์ของระเบียบทางสังคม แต่ใช้คำวว่า "การควบคุมทางสังคม" แทน ซึ่งหมายถึงวิธีการต่างๆ มากมายทีามีอิทธิพลในสังคม ซึ่งพยายามที่จะปราบปรามปัจเจกชนการควบคุมปัจเจกชนก็เพื่อผลประฏยชน์ของคนส่วนน้อย แนวคิดของมาร์กซ์มองโครงสร้างทางสังคมหมายถึงความไม่เท่าเที่ยมกันทางชนชั้น และความไม่เท่าเที่ยมกันดังกล่วปล่อยให้คนส่วนน้อยเป็นเจ้าของิถีการผลิต ใช้อำนาจบังคับและจักการคนจำนวนมากให้ยอมรับสังคมที่เป็นอยู่ อำนาจในโครงสร้างทางสังคมก่อให้เกิดการควบคุมงาน รัฐบาล กองทัพ ตำรวจ ศาล และสื่อมวลชน และในทางกลับกันสิ่งนี้ก็นำมาซึ่กการควบคุมเหนือปัจเจกชน วัฒนธรรมมีหน้าที่คล้ายคลึงกัน ความคิด ค่านิยม และมาตฐษนที่เด่น ๆ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัตในสังคมทำหน้าที่ปราบปรามแลควบคุมปัจเจกชน ดังนั้นบุคคลจึงยอมรับสังคมที่เป็ฯอยู่ด้วยความเต็มใจ หน้าที่ของัฒนธรรมก้คือสนับสนุนความไม่เท่าเทียมกันในโครงสร้าง ดังนั้น ตามแนวความคิดของมาร์กซ์ระเบียบทางสังคมสร้างจากเบื้องบนและทำหน้าที่ให้ผลประโยชน์กับผู้ที่มีสินทรัยพย์ และในที่สุดระเยียบทางสัคมก็ไม่ได้ให้ผลประโยชน์กับประชากรโดยส่วนรวมทั้งหมด ทั้งโครงสร้างและวัฒนธรรมเป็นแบบแผนทางสังคมที่ผุ้มีอำนาจเป็นคนกำหนดขึ้นมาและใช้เองด้วย
     กลไกการควบคุมทางสังคม สังคมและกลุ่มทางสังคมทุกประเภท มีแนวทางที่จะชักจูงหรือฝึกฝนพฤติกรรมของสมาชิกให้ปฏิบัติตามค่านิยม และบรรทัดฐานของกลุ่มนักสังคมวิทยาเรียกระบวนการเหล่านี้ว่ากลไกการควบคุมทางสังคม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการควบคุมทางสังคมภายใน และการควบคุมทางสังคมภายนอก
     กลไกการควบคุมทางสังคมภายนอก คือ แนวทางที่สมาชิกของกลุ่มหรือสังคมต้องการให้ปัจเจกบุคคลปฏิบัติในทางที่กำหนดไว้ และปัจเจกชนต่อต้านการปฏิบัติในแนวทางดังกล่าว กลุ่มจึงหาทางหยุดการต่อต้าน โดยการใช้บังคับใช้เชิงปฏิฐานหรือเชิงบวกและการบังคับใช้เชิงนิเสธหรือเชิงลบ เพื่อชักจูงพฤติกรรมของบุคคลไปสู่รูปแบบที่สอดคล้องกับบรรทัดฐานและค่านิยมของสังคม
    

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...