coming..

     ความสัมพันธ์ของสามมหาพันธมิตรเมื่อใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2  เริ่มมีปัญหาความขัดแย้งด้วยเรื่องผลประโยชน์ที่ยังไม่มีข้อยุติให้เป็นที่พอใจแก่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่ง ปละรุสเซียอีกฝ่ายหนึ่ง

    ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ แสดงให้เห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างการประชุมการรบเพื่อพิชิตฝ่ายอักษะ การประชุมที่เตหะราน 28 พฤศจิกายน 1943 การประชุมที่ยัลตา 4-11 กุมภาพันธ์ 1945 การประชุมที่พอตสมดัม กรกฎาคม 1945
     ในระหว่างสงคราม สหรัฐอเมริกามุ่งมั่นที่จะปราบฝ่ายอักษะและสถาปนาสันติภาพ โดยจะจัดตั้งองค์การขึ้นเพื่อให้มีหน้าที่ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพโลก คือ องค์การสหประชาชาติ สหรัฐจึงต้องการรักษาความเป็นพันธมิตรไว้มิให้มีวามแตกแยก อันจะทำให้การรบรุกขากประสิทธิภาพ ความร่วมมือจากทุกฝ่ายจึงถือเป็นเรื่องหลักโดยเรื่องผลประโยชน์เป็นเรื่องรองลงมา และต้องเร่งแก้ไขให้ยุติเพื่อมิให้มหาพันธมิตรเกิดรอยร้าวได้ สหรัฐอเมริกาจึงมีทีท่าโอนอ่อนผ่อนปรนต่อรัสเซียในเรื่องต่าง ๆ
     อังกฤษนั้นเฝ้าติดตามพฤติกรรมของรุสเซียตั้งแต่ปี 1943 มาแล้วอังกฤษมีความเห็นโดยทั่วไปเหมือนชาวยุโรปในสมัยนั้นว่า การที่รุสเซียรุกรบจนเข้ายึดครองยุโรปตะวันออกเกือบทั้งหมดนั้น มีเหตุมาจากความพยายามที่จะสร้างแนวป้องกันตนเองเพื่อความมันคงปลอดภัยของรุสเซีย ความได้เปรียบทางการทหารมีข้อเท็จจริงที่ชาวยุโรปต้องยอมรับ และเห็นว่าควรหาหนทางประสานผลประโยชน์กับรุสเซีย โดยนำหลักการรักษาดุลยภาพแห่งอำนาจมาใช้
    สหรัฐอเมริกาไม่ยอมรับหลักการนี้ เพราะถือว่าเป็นการดำเนินการทูตแบบเดิม ที่เคยเป็นบ่อเกิดของสงครามโลกครั้งที่ 1 มาแล้ว อีกประการหนึ่ง ถ้ามีการใช้หลักการดุลอำนาจ สหรัฐอเมริกาอาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องก่อเกิดภาระผูกพันทางการเมืองอันไม่พึงประสงค์ สหรัฐฯต้องการให้ยุติสงครามโลกและคืนสู่สภาวะปกตอโดยเร็ว
     เมื่อสหรัฐสามารถโน้มนำให้อังกฤษคล้อยตามนโยบายสร้างความร่วมมือกับรุสเซียในระหว่างสงคราม รุสเซียย่อมมีโอกาสใช้เชิงการทูตให้เป็นประโยชน์และประสามนกับการปฏิบัติการทางทหารเพื่อเป็นพลังเสริมต่อรองในการทูต ซึ่งรัสเซียตระหนักดีว่าอเมริกามีทัศนะคติอย่างไรต่อตน
     ตั้งแต่ปฏิวัติรุสเซียในปี 1917 บรรดามหาอำนาจตะวันตกแทรกแซงกิจการการเมืองภายในอันไม่นคงของรุสเซีย และร่วมปฏิบัติการแทรกแซงทางทหารเพื่อล้มล้างรัฐบาลบอลเชวิค พฤติกรรมเช่นนั้นย่อมทำให้เซียมีความหวาดระแวงไม่ไว้ใจบรรดามหาอำนาจตะวันตกตลอดมา ซึ่งสหรัฐฯและอังกฤษมีความรู้สึกผิดในเรื่องดังกล่าว จึงพยายามแสดงความอดทนและเพียรแสดงเจตนารมณ์อันดี่อรุสเซีย
     รุสเซียได้ใช้ความรู้สึกผิดของฝ่ายสหรัฐฯเป็นข้อต่อรองของความเห็นใจที่รุสเซียจำเป็นต้องสร้างความมั่นคงของตน ผลของการปรุชุมที่เตหะรานเป็นมาล้วนเอื้ออำนวยผลประโยชน์ต่อรุสเซียสมประสงค์
     สิ่งหนึ่งที่รุสเซียมุ่งมาดปรารถนาจากการประชุมคือ ผลประโยชน์ในยุโรปตะวันออกและในเอเซียตะวันออกในระยะยาว รุสเซียมีความอดทนในการเจรจาต่อรอง โดยเฉพาะสตาลินนั้น ได้ชื่อว่าเป็นนักการทูตผู้ชำนาญการคนหนึ่งของวงการทูต เขาเจรจาหว่านล้อมจนนักการเมืองและนักการทูตของสหรัฐอเมริกาอดมิได้ที่จะมีความเมตตาต่อความรู้สึกไม่มั่นคงของรุสเซีย และได้หยิบยื่นผลประโยชนจ์ให้แก่สตาลินมากมาย ซึ่งต่อมาตกเป็นที่วิพากษ์วิจารย์ว่าเป็นการโอนอ่อนเกินจำเป็นหรือไม่
      ที่ยัลตา แลพอตสดัม รุสเซียแสดงบทบาทให้เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า รุสเซียพร้อมที่จะร่วมรบและร่วมสร้างสันติภาพโลก แต่เมื่อสงครามใกล้สิ้นสุด ทีท่าของรุสเซียก็ค่อยๆ ลดลงจาเดิม ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสงวยท่าที ชัยชนะในแนวรบได้ทำให้ยุโรปเกิดความนิยมศรัทธารุสเซีย นับถือศักยภาพทางทหารของรุสเซีย และเห็นว่า รุสเซียเป็นมหาอำนาจที่มีเจตจำนงแน่วแน่มากที่สุดประเทศหนึ่งในการปราบฝ่ายอักษะและเป็นผู้ชุบชีวิตชาวยุโรป โดยเฉพาะยุโรปตะวันออก เกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่และศักยภาพทางทหารย่อมทำให้รุสเซียเริ่มดำนินการทูตที่แข.ขึ้น พร้อมด้วยอำนาจต่อรองที่สูงขึ้น
      สหรัฐเชื่อว่าการปฏิบัติดีต่อรุสเซียเช่นนั้น รุสเซียจะมีไมตรีตอบสนอง เพราะสหรัฐเชื่อว่าชาวรุสเซียเป็นผู้มีเหตุผลมองการไกลพอที่จะประสานไม่ตรีโดยสันติเพื่อประโยชน์สุขร่วมกัน แต่การณ์กับไม่เป็นดังนั้น
      ในปี 1950 ผู้นำรัสเซียได้บอกกล่าวแก่ประชาชนของตนว่า ศัตรูอันดับต่อไปคือ ลัทธิทุนนิยม และกล่าวหา สหรัฐฯและอังกฤษว่ามีเจตนาที่จะทำลายความเป็นรัฐของสหภาพโซเวียต และแสดงธาติแท้ของการต่างประเทศของตนออกมา โดยกล่าวถึงการพลิกฟื้นของการปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของรุสเซีย
    เมื่อเกิดความขัดแย้งในส่วนของผู้นำ โดยสตาลินถือนโยบายสร้างสังคมนิยมในหนึ่งประเทศก่อน กับทรอตสกี ผู้ถือนโยบายปฏิวัติโลก สตาลินเน้นการแสวงหาความร่วมมือ กับบรรดามหาอำนาจตะวันตกเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชาติและเพื่อความมั่นคงขอรุสเซีย “มีข้อคิดที่ว่า การพัฒนาสังคมนิยมในหนึ่งประเทศนั้นบรรลุผลแล้วหรือ จึงดำเนินนโยบายคลายความร่วมมือกับพันธมิตรของตน และมุ่งปฏิวัติโลก”
     สถานการณ์ระหว่าง ปี 1945-1947 เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายรุสเซีย ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับพันธมิตรได้เปลี่ยนโฉมหน้าไปแล้วอย่างเห็นได้ชัด บรรดามหาอำนาจตะวันตกได้ตระหนักแล้วว่า ภัยคอมมิวนิสต์นั้นร้ายแรงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภัยจาก ลัทธินาซี รัฐมนตรีการต่างประเทศรุสเซียได้ประกาศในปี 1946 ว่า “ปัจจุบัน ไม่มีประเด็นใดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่จะสามารถยุติได้โดยปราศจากสหภาพโซเวียต หรือปราศจากาการฟังเสียงของปิตุภูมิของเรา”
     ภัยคอมมิวนิสต์คืบคลานเข้าครอบงำยุโรป กว่ากึ่งหนึ่งในปี 1945 การแบ่งฝ่ายโดยปริยายได้ปรากฎแล้วระหว่างฝ่ายบรรดามหาอำนาจตะวันตกและสหรัฐอเมริกา เรียกกันโดยทั่วไปว่า
     “โลกเสรี กับฝ่าย คอมมิวนิสต์”

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)