สงครามมหาเอเซียบูรพายุติลอย่างไม่มีใครคาดคิด ไม่กี่วันหลังที่สหรัฐทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกที่เมืองฮิโรจิมาในวันที่ 6 สิงหาคม 1945 หลังจากนั้นอีก 2 วันสหภาพโซเวียตฉวยโอกาสเข้าข้างผู้ชนะด้วยการประกาศสงครามกับญี่ป่น พร้อมยาตราทัพเข้าสู่แมนจูเรีย โดยอ้างข้อตกลงที่ลงนามไว้ในการประชุมที่เมืองยัลต้า และหลังการทิ้งระเบิดลูกที่ 2 ที่นางาซากิ ในวันที่ 9 สิงหา ปีเดียวกัน เป็นผลให้ญี่ปุ่นยอมมวางอาวุธโดยไม่มีเงื่อนไข ในอีกสองสามวันต่อมา
การยอมแพ้ของญี่ปุนส่งผลต่อจีนในทันที่ พรรค ccp และก๊กมินตั๋ง ขัดแย้งกันว่าใครจะมีอำนาจริบอาวุธและใครจะเป็นผู้มีสิทธิเข้าครอบครองดินแดนที่ญี่ปุ่นเคยยึดครองอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ
เพื่อยุติปัญหาทั้งปวง และเพื่อการรวมประเทศโดยสันติตามแนวทางประชาธิปไตยวอชิงตันส่งนายพลจอร์จ ซี มาร์แชลเดินทางมาจีน โดยได้รับคำสั่งวางตัวเป็นกลางและให้ความยุติธรรมแก่ทั้ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนและพรรคก๊กมินตั๋ง แต่เมือเขามาถึงจีนสถานการณ์กลับเป็นว่าสหรัฐอเมริกาเข้าไปพวพันอย่างเต็มตัวในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในจีน และสถานะการณ์นั้นสหรัฐฯเป็นฝ่ายได้เปรียบ
รัสเซียเองก็มีส่วนในความล้มเหลวครั้งนี้ กล่าวคือ ก่อนที่สหรัฐฯจะสามารถผลิตระเบิดปรมณูได้สำเร็จ สหรัฐอเมริกาได้ของร้องให้ผู้นำรัสเซียส่งกำลังเขาช่วยโดยเฉพาะในการรบขั้นสุดท้ายกับญี่ปุ่น แม้โซเวียตจะประกาศสงครามกับญี่ปุ่นสอดคล้องตรงตามวันเวลาที่ทำข้อตกลงกันไว้ในสัญญาที่ยัลต้า แต่ไม่มีความจำเป็นแล้ว เพราะประกาศหลังจากสหรัฐฯทิ้งระเบิดปรมณูที่ฮิโรชิม่าแล้ว
การเข้ายึดแมนจูเรียของรัสเซียให้ผลดีแก่พรรค ccp กล่าวคือ ทหารรัสเซียได้รับคำสั่งให้อนุญาตให้กองกำลัง ซีซีพี เดินทางเข้าแมนจูเรียได้โดยเสรี อย่างไรก็ดีสตาลินให้ความสนใจแมนจูเรียมากกว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีน สตาลินไม่มีความเชื่อว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนจะยึดแผนดินได้ในเวลาอันสั้น แมนจูเรียมีความสำคัญกับโซเวียตโดยเฉพาะเครื่องจักรที่ญี่ปุ่นทิ้งไว้ ซึ่งรัสเซียเองอาจจะนำกลับไปฟื้นฟูประเทศหรือใช้เป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองกับพรรคก๊กมินตั๋งในกิจการบางอย่าง ความช่วยเหลือต่อพรรคซีซีพีจึงค่อนข้างจำกัด คืออนุญาตให้เดินทางเข้าแมนจูเรียและให้เข้ายึดอาวุธยุทโธปกรณ์บางส่วนจากญี่ปุ่นเท่านั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับพรรค ซีซีพี ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างจริงจัง
ในวันที่ 14 สิงหาคม 1945 สหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญากับเชียง คือสนธิสัญญาวาด้วยมิตรภาพลและความร่วมมือ และสตาลินประกาศให้การยอมรับรัฐบาลเชียงว่าเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องรัฐบาลเดียวของจีน พร้อมทั้งสัญญาว่าจะให้ความช่วยเลหือและสนับสนุนรัฐบาลเชียงแต่เพียงรัฐบาลเดียวตลอดไป
เชียงพบว่าผู้นำรัสเซียหาได้มีความจริงใจต่อก๊กมินตั๋งโดยเฉพาะการยินยิมให้กองทัพเชียงเข้าสู่พื้นที่ยึดครองของรัสเซียก่อนการถอนกำลังออกไปไม่ ดังนั้นทุกครั้งที่กองทัพก๊กมินตั๋ง เดินทางมาถึงจะพบว่าดินแดนั้นตกอยู่ในความยึดครองของซีซีพีแล้ว
เชียง ไค เชค มีความเชื่อว่า หากรัสเซียยังคงกองกำลังไว้ในพื้นที่ พรรคมิวนิสต์จีนจะเข้าทำการยึดครองได้ลำบากความเชื่อนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่รู้เท่าทันของ เชียง เองและอีกส่วนหนึ่ง มาจากคำแนะนำของบรรดาที่ปรึกษาชาวอเมริกัน ทีวิเคราะห์ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จนและพรรคมิวนิสต์รัสเซียมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน จึงถือปฏิบัติต่อกันเสมือนหนึ่งเป็นองค์กรเอกเทศ และมีผลประโยชน์ที่ต่างกัน ซึ่งขัดต่อความเป็นจริงที่ผู้นับถือลัทธินี้เชื่อว่าองค์การของเขาเป็นองค์การสากล ไม่มีวันแตกแยกออกจากกันได้อย่างน้อยก็ชั่วเวลาหนึ่ง
รัสเซียได้พิสูจน์ให้เห็นในข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่ง เชียง ไค เชค เรียกว่า “เป็นการรุกรานจีนครั้งใหม่ของรัสเซีย” เชียง ไม่ได้รับการร่วมมือดังที่หวัง การถอนกำลังของรัสเซียล่าช้ากว่า 6 เดือน ทั้งนี้ก็เพื่อรอให้กำลังของ ซีซีพีพร้อมและเข้ายึดเมืองสำคัญ ๆ ไว้ ก่อนที่กองทัพก๊กมินตั๋งจะเดินทางไปถึง จากการจากไปของรัสเซีย ทำให้การเผชิญหน้ากันเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้น
การลงนามหยุดยิงเป็นเพียงละครฉากหนึ่งที่ ทั้งก๊กมินตั๋ง และ ซีซีพีจำเป็นที่จะต้องแสดงเพื่อเอาใจนายพลมาแชลล์ และก็เหมือนครั้งก่อนๆ ที่ทั้งสองฝ่ายไม่ต่างก็ไม่มีความตั้งใจที่จะรักษาคำมั่นสัญญานั้นไว้
ก๊กมินตั๋งเห็นว่าการหยุดยิงและสภาพความสงบศึกนั้นผู้ได้เปรียบจากการณ์นี้เป็จะเป็นของพรรค ซีซีพี มากกว่าที่จะตกไปแก่พรรคก๊กมินตั๋ง เนื่องจากการยอมแพ้และวางอาวุธของญี่ปุ่นทำให้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์เด่นชัดมากในบริเวณนั้นๆ หากเวลาเนินนานไปคอมมิวนิสต์จะสามารถสร้างอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมือง การหยุดยิงจึงเป็นสิ่งที่ไม่สมควรในสายตา เชียง ไค เชค เชียงจึงเริ่มเกมรุกในขณะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็พยายามประวิงเวลาเพื่อสร้างความพร้อม
ตุลาคม 1946 ข้อตกลงหยุดยิงล้มเหลวแม้ว่าสหรัฐฯจะพยายามใช้วิธีการทางการทูตแต่ก็ไม่สำเร็จ ไม่นานก๊กมินตั๋งก็ยึฐานที่สำคัญทีเมืองเยนานเมืองหลวงของซีซีพีก็ตกเป็นของก๊กมินตั๋ง แต่การสู้รบก็ยังคงดำเนินต่อไปโดยวิธีการจรยุทธ์ วิธีการต่อสู้ที่ถนัดและใช้มาเป็นเวลานานของซีซีพี
ชัยชนะที่มีแต่ละครั้งทำให้ก๊กมินตั๋งเชื่อว่า ภัยจากคอมมิวนิต์คงจะจบสิ้นไปในเวลาไม่ช้า ซึ่งแตกต่างกับที่ปรึกษาอเมริกันที่ว่าจะต้องยืดเยื้อไปอย่างน้อยระยะหนึ่ง
อย่างไรก็ดี ความไม่มีประสิทธิภาพของกองทัพก๊กมินตั๋ง ซึ่งมีมากกว่าซีซีพี ถึง 3 เท่าอาวุธที่ทันสมัยกว่า แต่ก็ไม่อาจนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ทั้งหมด ทหารขาดระเบียบวินัย บรรดาผู้นำของกองทัพ ก็ไม่มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ ให้ความไว้วางใจไม่ได้ ทำให้เชียงต้องใช้นโยบายถ่วงดุลย์ หรือไม่ก็ต้องคอยสอดส่องดูแล สอดแนม แทนที่จะใช้เวลาทั้งหมดไปในการสู้รบ ความได้เปรียบที่เคยมีจึงหมดไป เริ่มสูญเสียเมืองสำคัญ ๆ รวมทั้งเมืองเยนานในเดือน เมษายน 1948 ในดินแดนแมนจูเรียก็ไม่สามารถขยายเขตการรบให้กลางได้ในขณะเดียวกัน กองทัพต้องสูญเสยอาวุธยุทโธปกรณ์ไปในการรบ เพิ่มขึ้นนั้หมายถึงทุกครั้งที่มีการรบซีซีพีจะได้อาวุธที่ทีนสมัย เพิ่มขึ้นมากเท่านั้นคิดเป็น กว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นของอาวุธที่สหรัฐอเมริกามอบให้แก่กองทัพของรัฐบาล
สหรัฐอเมริกาอึดอัดเป็นอย่างมากที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาภายในของจีน โดยเฉพาะทางด้านการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ไม่อาจประกาศตนให้ความช่วยเหลือแก่เชียง ไค เชค ผู้ซึ่งเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลาหลายปีได้อย่างเต็มที่ และถึงแม้สหรัฐฯจะมีนโยบายที่เป้ฯปฏิปักษ์โดยตรงกับลัทธินี้ไม่ว่าจะเป็นคอมมิวนิสต์ประเทศใดๆ ก็ตาม โดยเฉพาะสงครามที่ดำเนินไปในทิสทางที่ขัดกับคำแนะนำของตน และในสงครามที่เห็นว่าไม่อาจชนะได้ เมื่อ เชียง ไค เชค ถาโถมเข้าสู่กับคอมมิวนิสต์ศัตรูที่มีกำลังมากกว่า สหรัฐอเมริกพยายามเรียกร้องให้เชียงชลอการสู้รบโดยให้หัสมาจัดตั้งรัฐบาลผสมทำการปฏิรูปี่ดิน และจัดระเบียบการปกครองในดินแดนที่ยึดมาได้ก่อนแต่เมือง เชียง ไค เชค ปฏิเสธและดำเนินการทางทหารต่อไป สหรัฐอเมริกาเรอ่มลดปริมาณความช่วยเหชือลงจนถึงขั้นไม่เพียงพอแม้แต่จะป้องกันรัฐบาลของเชียงให้รอดพ้นจาก เงื้อมมือของคอมมิวนิสต์ได้
เพื่อลดขอบเขตการเข้าไปเกียวข้องกับการสู้รบให้น้อยลง ในเดือนสิงหาคม 1946 นายพลมาแชลประกาศยุติการซื้อขายอาวุธให้แก่ เชียง ไค เชค อย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ดี เชียงยังคงได้รับความช่วยเหลือในกิจการอื่น อยู่รวมทั้งการคงกองกำลังนาวิกโยธินไว้ทางภาค เหนือของปรเทศเพื่อคุ้มครองกองกำลังของพรรคก๊กมินตั๋งจนถึงปี 1947 สุดท้ายมาตรการช่วยเหลือทางอาวุธถูกรื้อฟื้นมาอีก แต่ได้เฉพาะการซื้อขายเท่านั้น
ในปี 1947 กองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐฯ ทางภาคเหนือของจีนเพื่อคุ้มครองกองกำลังของพรรคก๊กมินตั๋ง ถอนกำลังจากจีนในระหว่างเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ทั้งนี้ไม่ห้ามหน่วยนาวิกโยธินที่จะมอบอาวุธสงครามเหลือใช้ก่อนที่หน่วยรบดังกล่าวจะถอนกำลังออกจากจีน ซึ่งเป็นความช่วยเหลือครั้งสุดท้ายที่สหรัฐฯให้แก่จีน…
...............................................
ทันทีทีสงครามกลางเมืองครั้งใหม่เกิดขึ้น ซีซีพีนำนโยบายการต่อสู้ทางชนชั้นกลับมาใช้อีกโดยมุ่งไปที่การกำจัดอิทธิพลของนายทุนเจ้าของที่ดินและชาวนาผู้มั่งคั่ง การประกาศแนวทางนี้ เกิดขึ้นมาอย่างไม่ได้คาดคิดและไม่ไ้ด้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งแม้แต่บรรดาผู้นำพรรคก็ไม่แน่ใจว่าผลจะออกมาแบบใด และดำเนินไปในทิศทางใด หรือขอบเขตของการปฏิรูปควรจะอยู่ที่ใด
ในช่วงเปิดศึกกับญี่ปุ่น พรรคซีซีพียังคงดำเนินนโยบายการต่อสู้ทางชนชั้นอยู่อย่างต่อเนือง ซึ่งการกำหนดค่าเช่าที่ดินในอัตราต่ำ การประกาศใช้วิธีการเก็บภาษีในอัตราที่เพ่ิมขึ้น รวมั่งการแต่างตั้งให้ชาวไร่ชาวนาขึ้นดำรงตำแน่างสูงในสังคม มีส่วทำลายโครงสร้างางสังคมดั้งเดิม อย่างไรก็ดีการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังไม่สามารถขุดรากถอนโคนบทบาทของอดีตผุ้นำในสังคมเดิมลงได้ นายทุนเจ้าของที่ดินและชาวนาผุ้มั่งคั่งก็บังคงยึดถือที่ดินแยู่ รวมทั้งค่านิยมของสังคมที่ยกย่องผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกวา ด้วยเหตุนี้ ปี 1945-1946 แผนการกว่าล้างบุคคลเหล่านี้นเริ่มกำหนดขึ้น เริ่มต้นด้วยการสนับสนุนให้ชาวไรชาวนารวมตัวกัน เรียกตนเองว่า "สมาคมชาวไร่ชาวนาและกรรมกร" ต่อต้านผุ้ให้การช่วยเหชือแก่ญี่ปุ่น จากนันก็มุ่งไปที่นายทุนเจ้าของที่ดินผู้หากินกับการเก็บค่าเช่า หรือคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่สูง เกินกำหนด้วยมาตรการดังกล่าวทำให้ในปลายปี 1946 ซีซีพีสามารถกำจัดนายทุนได้ในหลายๆ พื้นที่ แต่การยึดที่ดินจากนายทุนและชาวนาผุ้มั่งคั่งมาแจกจ่ายให้แก่ชาวไรชาวนายากจน ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและทำให้ชาวไร่ชาวนารอดพ้นจากความหิวโหยอดอาหารตายได้ ผู้นำพรรคเริ่มขยายขอบข่ายการยึดที่ดินกลางออกไปอีก คราวนี้รวมทั้งทรัพย์สินและสมบัติอื่น ๆ เท่าที่จะหาได้ เป้าหมายของการปฏิบัติการครั้งนี้นอกจากมุ่งไปที่การริบที่ดินของชาวนาผู้มั่งคั่ง ชาวนาชั้นกลางที่ครอบครองที่ดินเกินอัตรากำหนดยังรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และสุดท้ายก้าวไปถึงบุคคลที่พอกินพอใช้ไม่ถึงกับขัดสน แต่อดีตเคยมีบิดามารดาที่เคยมีที่ดิน หรืออยุ่ในขั้นร่ำรวยมาก่อนและได้รับมรดกตกทอกันมา โดยอ้างวาเป็นทรัพย์สินที่แย่งมาจากคนจน
เมื่อดำเนินการมาถึงจุดนี้ บรรดาผุ้นำของพรรคเริ่มตั้งข้อสงสัยในความจริงใจและความบริสุทธิของเจ้าหน้าที่ในระดับล่างลงไป เพราะแม้มีการปฏิรูปมากเท่าไร แต่พรรคยังไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ ข้อสงสัยนี้มีส่วนถูก มีเจ้าหน้าที่บางคนยักยอกที่ดินเป็นของตน...
ช่วงกลางปี 1947 พรรคดำินินนโยบายปฏิรูปที่ดินค่อนข้างรุนแรงที่เคยประกาศใช้เป็นหลักการแต่กอ่นเข้ามาใช้ โดยเฉพาะในพื้ที่ครอบครองทางภาคเหนือทั้งนี่เพื่อสร้างความเท่าเียมกับชนชั้นอื่น ๆ ทางเศรษฐกิจแก่ชาวไร่ชาวนาที่ยากจน ตลอดจนผู้อยูในภาคเกษตรกรรมทางภาคเหนือ อันได้แก่การจัดสรรที่ิดน เครื่องมือ เกษตรกรรม สัตว์เลี้ยง เมล็ดพันธ์ข้าว ทุนทรัพย์ และอื่น ๆ ที่สำคัญต่อการผลิตในอัตราส่วนที่เท่า ๆ กันต่อไปจะไม่มีคนมั่งมี ไม่มีคนยากจน ทุกคนมีฐานะความเป็นอยุเท่ากันหมด ผุ้ที่ยังทีทรัพย์สินอยู่จะถูกยึด ถูกขับไล่ออไปจากสังคมหรือไม่ก็ถูกฆ่า และพรรคยังชักจูงให้ชาวไร่ชานาที่ยากจนโดยทั่วๆ ไป เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของพรรค ปลดผุ้กระทำผิดต่อพรรค ตั้งชาวไร่ชาวนาขึ้นเป็นผู้พิพากษาพิจารณาความผิดฐานทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวงเบียดบังทรัพย์สินที่ยึดมาได้มาเป็นของตนเอง และวิพากษ์วิจารณ์ พระนามผู้ทียังประพฤติตนเป็นดั่งศักดินา ..
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เกิดมาจากความขัดกันในด้านชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่นเก่ากับความคิดเห็นทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ กล่าวคือ โดยธรรมเนียมแล้วสังคมจีนโบราณเป็นสังคมที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สมาชิกแต่ละคนต่างยอมรับว่าสังคมหนึ่ง ๆ ต้องมีความแตกต่างกันโดยคนมั่งมีและมีอิทธิพลสามารถจะทำอย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจกับคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งยากจนและไร้อำนาจ ในช่วงแรกๆ ชาวไร่ชาวนาก้าวขึ้นสู่อำนาจ บุคคลเหล่านี้ด้วยความเข้าใจผิด คิดว่าการเป็นผุ้นำนั้นหมายถึงตนจะทำอะไรก็ได้ดังที่ผู้นำในอดีตเคยปฏิบัติกัน จึงเกิดการฉ้อราษฎรบังหลวงอย่างในระบอบการปกครองเดิม ในระดับผู้นำระดับสูงความประพฤติเช่นนี้เป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่มีโทษอย่างร้ายแรง และยังขัดกับอุดมการณ์ของพรรคที่เน้นความเสมอภาคกันทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และต่อต้านกรสืบทอดตำแหน่งตลอดจนความมั่งมีในแต่ละครอบครัว การยอมให้ถือปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีที่ไม่พึงปรารถนา หรือการปล่อยให้ชาวไร่ชาวนาที่กลายมาเป็นผู้นำในสังคมใช้ตำแหน่งหน้าที่แยกตัวเองออกจาสังคมเป็นคนอีกชนชั้นหน่ง หรือการดำรงตนเป็นผู้มีอภิสิทธิเหนือคนอื่นดังเช่นผู้นำในอดีต ซึ่งทั้งหมดย่อมเป็นการบ่อนทำลายหลักการแห่งการปฏิวัติทั้งสิ้น
บรรดาผู้นำระดับสูงพยายามปกปิดความผิดพลาดของพรรค เหมือที่เคยทำมาในอดีต แต่เมื่อไม่บรรลุผลก็หันไปโทษเจ้าหน้าที่ระดับล่าง โดยปราศากการให้คำแนะนำที่มีคุณค่าเพื่อเรียกร้องความร่วมือโดยสมัครใจ อันที่จริงปัญหาเช่นนี้ทางพรรคเพียงประวิงเวลาและให้การศึกษาในแนวทางแห่งการปฏิวัติที่ถูกต้อง ปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น
ต้นปี่ 1948 พรรคเิริ่มผ่อนคลายนโยบายสร้างความเสมอภาคในสังคม ด้วยความจริงที่ว่า การสร้างความเสมอภาคกันในสังคมของกายึดถือที่ดินนั้น พรรคจำเป็นต้องยึดที่ดินเพิ่มอีก แม้จากผู้ที่มีที่ดินเกินมาตรฐานเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่จากชาวไร่ชาวนาผู้มั่งคั่งที่วิธีการผลิตของเขาไม่ได้เอารัดเอาเปรียบสังคมมากเกินไป เพราะผลผลิตของเขายังพอมีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชนอยู่ หรือมีที่ดินในครอบครองที่ไม่มากเพียงพอต่อการจัดสรรให้แก่ชาวไร่ชาวนาผู้ยากจนอื่นๆ
แม้ว่าพรรคจะมีนโยบายปฏิรูปอยางค่อยเป็นค่อยไป แต่ทางพรรคยังคงดำเนินการปฏิรูปอย่างรุนแรงในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะในหมู่บ้านที่คอมมิวนิสต์ยึดครองมาเป็นเวลานานแล้ว พรรคใช้นโยบายลงโทษอย่างรุนแรงต่อสมาชิกผู้ทำตนเป็นชนชั้นศักดินา หรือใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด เว้นแต่ในเขตที่เพิ่งถูกปลดปล่อยพรรคจะใช้วิธีการที่ประนีประนอม
.........................................
ก่อนที่สงครามกลางเมืองจะยุติลงโดยชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์นั้น เชียง ไค เชค ใช้ความพยายามขั้นสุดท้ายเพื่อพิชิตกองทัพซีซีพีที่เปิดฉากการรุกทางภาคตะวันออกของแมนจูเรียในปลายปี 1946 ด้วยการส่งกองทหารทีดีที่สุดที่มีอยู่ขึ้นสู่พื้นที่ทางภาคเหนือ และในแมนจูเรีย ยึดได้เมืองหลวงที่ว่างเปล่า ของซีซีพีที่เมืองเยนานรวมทั้งพื้นที่ตลอดแนวสองข้างทางรถไฟลึกเข้าไปในแมนจูเรีย แต่เชียง ไม่อาจปฏิบัิติการในเชิงรุกได้เพราะพื้นที่ถูกกองกำลังซีซีพีปิดล้อมเส้นทางเดิน นอกเสียจากการใช้กำลังตอบโต้เมืองถูกโจมตีจากหน่วยจรยุทธ์ของพรรคซีซ๊พี ที่รายล้อมกองทัพของเซียง ในวันที่ 4 กรกฎาคม 1947 เชียง ไค เชค ประการวาซีซีพีเป็นกบฏ และเรียกกองบัญชาการของเขาว่า "กองบัญชาการปราบโจร"พร้อมส่งกำลังหลักเข้าโจมตฐานที่มั่นของซีซีพีในแมนจูเรียอย่างต่อเนือง อย่างไรก็ดีการรบในครั้งนี้แม้กองทัพของเชียงจะมีจำนวนมากกวา อาวุธทันสมัยกว่าแต่ไม่ทำให้ เชียง ไค เชค เป็นฝ่ายชนะได้
ภายในรัฐบาลก๊กมินตั๋งไม่แตกต่างไปจากกองทัพมากนัก การฮ้อราษฎร์บังหลวงเกิดขึ้นโดยทั่วไป ทุกคนต่างแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบใส่ตัว ปัญหาเงินเฟ้อ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขได้ ทำให้ชนชั้นกลาง เร่ิมแสดงความไม่พอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่ล้มเหลว นอกเหนือจากการเป็นรัฐบาลเผด็จการมากขึ้น ความพ่ายแพ้ทางทหารแต่ละครั้งของพรรคก๊กมินตั๋ง ต่อซีซีพีภายใต้การนำของหลินเปียว เป็ง เต-ฮุย และเชน ยี ในระหว่างปี 1948 เชียง ไค เชค เริ่มที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ หลังจากที่เขาพยายามชักจูงใจให้ผุ้สนับสนุนเขาหันมาร่วมมือกันแก้ไขอีกครั้ง แม้จะล้มเหลวอีกก็ตาม
กลางปี 1947 เมื่อซีซีพีสามารถเข้าครอบครองพื้นที่รอบเมืองใหญ่ ๆ ได้ตั้งแต่แมนจูเรียเรื่อยลงมาถึงที่ราบเหนือลุ่มแม่นำ้ฮวงโห และอีก 1 ปีต่อมา สภานการณ์ของพรรคก๊กมินตั๋งยิงเลวร้ายลงอีกเมืองกองกำลังก๊กมินตั๋งหนีทัพและเข้าไปร่วมกับ พีแอลเอ ซึ่งในที่สุดกองทัพก๊กมินตั๋งตกอยู่ในวงล้ามของพีแอลเอ ซึ่งพร้อมที่จะเข้าทำลายได้ทุกเมือ แต่พีแอลเอ เลือกที่จะปล่อย ก๊กมินตั๋งลงทางภาคใต้เพื้อขยายพื้นที่ปลดปล่อยลงสู่ภาคใต้เหนือลุ่มแม่น้ำแยงซี เพื่อสร้างฐานกำลังให้แก่พีแอลเอ ในกรณีที่ตัดสินใจเข้าทำลาย ก๊กมินตั๋งที่เหลืออยู่ทางภาคเหนือ กองทัพดังกล่าวจะไม่สามรถหนีลงสูภาคใต้เพื่อขอความช่วยเหลือจากกองกำลงส่วนหใหญ่ทางภาคใต้ได้ นอกจากนี้ เมา เช ตุง ยังเห็นว่าการปิดล้อมไม่ให้กองกำลังทางเหนือติดต่อกับกองกำลังทางใต้ได้นานเท่าไรก็จะเป็นผลดีต่อซีซ๊พีเพราะจะทำให้กองทัพก๊กมินตั๋งขาดกำลังใจที่จะต่อสู้ และหาก เชียง ปล่อยให้กองกำลังของเขาตกอยู่ในวงล้อมโดยไม่เข้าช่วยเหลือ ย่อมได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย
เมื่อเป็นที่ประัจักษ์แล้วว่ากองกำลังพีแอลเอเริ่มได้เปรียบในเชิงรุก ไม่ว่าจะเป็นในด้านการตัดตอนกองกำลังของก๊กมินตั๋งทางภาคเหนืออกจากภาคใต้ รวมทั้งชัยชนะในการรบย่อยแต่ละครั้ง ย่อมเป็นเครื่องประกันได้ว่าชัยชนะย่อมเป็นของพีแอลเออย่างแน่นอน
เชียง ไค เชค มีนโยบายที่จะคงกองกำลังไง้ทางเหนือเพื่อคุ้มครองเมืองสำคัญๆ โดยไม่สนใจที่จะให้มีการเคลื่อนย้าย แม้ในกรณีที่มีหน่วยรบอื่นขอความช่วยเหลือมาก็ตาม ทำให้กองกำลังแตกแยกและง่ายต่อการโจมตี
ชัยชนะขั้นเด็ดขาดของพีแอลเอเกิดในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 1948 เมื่อพีแอลเอสามรถทำลายกองทัพก๊กมินตั๋งทางภาคเหนือลงอย่างย่อยยับและอีกครั้งในการรบที่ฮัวไฮ ด้วยการพ่ายปพ้ทั้ง 2 ครั้งเป็นการยุติการสู้รบของก๊กมินตั้งอย่างสิ้นเชิง เวลาเพียง 4 เดือนครึ่ง ก๊กมินตั๋งสูญเสยกำลังพลไปมากกว่า 1 ล้านคนในขณะที่พีแอลเอสูญเสียเพียงเล็กน้อย
เมื่อเห็นวาไม่มีทางจะต้อนกำลังของพีแอลเอได้ เชียง ไค เชค ประกาศลาออกจาตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน ในวันที่ 21 มกราคม 1949
ทันที่ที่เชียง จากไป พีแอลเอ ก็เิดินทัพข้ามแม่น้ำแยงซี ในเดือนเมษาปีเดียวกันนั้นเอง และยึดกวางโจว ในอีกในอีก 6 เดือนต่อมา ชัยชนะครั้งนี้ถือเป็นการยุติสงครามกลางเมืองที่มีมากว่าสิบปี จีนทั้งหมดตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของพีแอลเอ (ยกเว้นไต้หวัน) และในวันที่ 1 ตุลาคม 1949 เมา เช ตุง ผู้นำคนใหม่ประกาศเรียกชื่อประเทศนี้อย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ พีอาร์ซี พร้อมเปลี่ยนชื่อจากเปยปิง เป็นเป่ยจิงประเทศจีนตกเป็นของพรรคซีซีพีนับจากวันนั้นเป็นต้นมา...