พาลาดิน มาจากภาษาละติน Palatine หมายความว่าของคนรับใช้อย่างเป็นทางการของรัฐบาล บางครั้งเรียกว่าทำเนียบสิบสอง เป็นนักรบที่สำคัญของ ชาร์ลเลอร์มาญ จากวรรณกรรมฝรังเศสที่รุ้จักกันดี พวกเขาปรากฎตัวครั้งแรในช่วงต้นของ Chansons de geste ใน "เพลงของ โรแลนด์" พวกเขาเป็นตัวแทนความกล้าหาญของคริสเตียนที่ต่อสู้กับซาราเซ้นส์
ในสมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ พาลาดิน คือนามของหนึ่งในเนินเขาทั้งเจ็ดอันเป็นที่ตั้งของกรุงโรม นครหลวงของจักรวรรดิโรมัน และยังเป็นที่ตั้งของราชสำนักในองค์ักระพพดิโรมัน ซึ่งได้สร้างขึ้นในรัชสมัยของออกุสตุส ซีซาร์ จักรพรรพิพระองค์แรก (คำว่า พาเลซ ) ซึ่งมีความหายว่า "พระราชวัง" ก็มีรากศัพท์มาจาก "พาลไทน์" เช่นกัน ดังนั้นในยุคแรกเร่ิม ความหมายที่แท้จริงของคำว่า "พาลาดิน" จึงหมายถึง "เหล่าผุ้ปกป้องราชสำนักของจักรพรรดิโรมัน" หรือก็คือ เหล่าราชองค์รักษณ์ของจักรพรรดิโรมันที่เรารู้จักกันใน นามว่่า "เพรโตเรียนการ์ด" นอกจากนี้คำว่า "พาลาดิน" ยังอาจมีที่มาจากตำแหน่งสมุหราชมณเ?ียรของราชสำนักโรมัน ( "โคเมส พาลาตินุส) อีกด้วย
ภายหลังจักรวรรดิโรมันล่มสลาย บทบาทของสมุหราชมณเฑียรและหล่าราชองค์รักษ์ของราชสำนักโรมันก็สิ้นสุดลง จนกระทั่ง ในสมยกลาง กษัตริย์ที่เข้มแข้งของชนเผ่รแฟรงค์ ได้โปรดนำธรรมเนียมบางอย่างของราชสำนักโรมันเดิม กลับมาใช้ซึ่งรวมถึงการตั้งตำแหน่งสมุหราชมณเฑียร ขึ้น และยังโรปดให้ตั้งกองทหาราชองึค์รักษ์แห่งราชสำนักแฟรงก์
"พาลาดิน" ปรากฎขึ้นชัดเจนในรัชสมัยของชาร์ลมาญ กษัตริยชนเผ่าแฟรงค์ ผุ้สถาปนาจักรวรรดิโรมันขึ้นอีกครั้งในนามว่า "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (จักรวรรดิโรมันภายใต้อาณัติของคริสตจักรโรมันคาทอลิก) ทั้งนี้เป้นผลมาจากการที่รัชสมัยของชาร์ลมาญ พระองค์ได้ทำการขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนไป กระทบกระทั่งกับพวกมุสลิมในคาบสมุทรไอบีเรีย (ประเทศสเปนในเวลต่อมา) และเหล่าอัศวินองครักษ์ของพระองค์ก็ได้มีบทบาทอย่างมาก ในการรบกับพวกมุสลิม (ซึ่งเป็นสงครามศาสนาในยุคแรกๆ ) จนกลายเป็นตำนานเล่าขานกันในหมู่อัศวินและกวีผุ้นับถือคริสต์ศาสนของยุโรปยุคหลังซึ่งได้เรียกพวกเขาว่า "เหล่าพาลิดินทั้งสิบสองของชาร์ลมาญ"
ท่ามกลางหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากมายที่ตกทอดจากสมัยอลางในรูปแบบต่างๆ ทั้งบันทึก บทกวีและงานเขียนวิชาการ ที่กล่าวถึงการกระทำของเหล่าพาลาดินแห่งราชสำนักแฟรงค์ในรัชสมัยชาร์ลมาญแล้ว บทเพลงแห่งโรลองด์ซึ่งเชื่อว่าประพันธ์ขึ้นในราวคริสต์วรรษที่ 12-14 (แต่ไม่ปรากฎนามผู้ประพันธ์) นับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ได้กล่าวถึงวีรกรรมของเหล่าพาลาดิน ไว้ โดยบทเพลงนี้ได้กล่าวถึงวีรกรรมของโรลองด์ ผุ้เป็นหัวหน้าของสิบสองพาลาดินแลฃะมีศักดิ์เป็นหลานชายขอชาร์ลมาญว่า เป็นอัสวินผุ้ยอมสละชีพของตนเพื่อปกป้องกองทัพแฟรงค์ จากการตามตีของพวกมุสลิมในสเปน ให้สามารถถอยทัพออกจากช่องเขาพิเรนิส ได้อย่างปลอดภัยนอกจากนี้หลักฐานชิ้นดังกล่าวยังระบุถึงนามของเหล่าพาลาดิน ทั้งหมดไว้อีกด้วย...https://my.dek-d.com/souleater01/writer/viewlongc.php?id=715206&chapter=2
ตามประวัติศาสตร์ พระเจ้าชาลมาญ เป็นกษัตริย์ชนเผ่าแฟรงค์ (ซึ่งเป็นเผ่าอนารยชนเผ่าหนึ่งในยุโรปหลังสมัยที่ จักรวรรดิโรมันล่มสลาย แล้ว และเป็นพรรชนสายหนึ่งของพวกฝรั่งเศสและเยอรมันในเวลาต่อมา) ต่อมา พระเจ้าชาเบอร์มาญทรงได้รับสถาปนาจากสันตะปาปา ณ กรุงโรมใหเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์แรก จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้นคนละอันกับจักรวรรดิโรมันโบราณเดิม (แต่ก็ปกครองอาฯาบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกัน) มีข้อแตกต่างสำคัญที่สุดก็คือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นี้ อิงอยู่กับพระศาสนจักรโรมันคาทอลิกอย่างแนบแน่น (ขณะนั้นยังไม่มีนิกายโปรเตนแตนท์) ในขณะที่เราคงจะจำได้ว่าตามคริสตประวัตินั้น จักวรรดิโรมันเดิมไม่ได้ไยดีอะไรกับคริสศาสนาเท่าไหร่ แม้องค์พระเยซูเจ้าเองก็ทรงถุกจับตรึงกางเขนโดยที่ผุ้สำเร็จราชการโรมันได้ได้ยืนมือเข้าไปเกี่ยวข้องห้ามปราม หรืออกจะเกือบๆ เห็นดีเห็นงามตามพวกยิงไปด้วยซ้ำ เมื่อพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้ว พวกคริสเตียนยุคแรกก็ยังถูกจักพรรดิโรมัน (ตอนช่วงที่อาณาจักรโรมันเองใกล้จะลมสลาย) จับไปทรมานต่างๆ นานาอีกเป็นอันมาก ซึ่งเป็นข้อแตกต่างอย่างมากจากจักรวรรดิฝรั่งที่ยืมชื่อมาภายหลัง
พระเจ้าชาร์ลส ในความหายว่า ชาร์ลสผุ้ยิ่งใหฯ๋ เป็นราชันแห่งจักวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยได้รับพระพรจากศาสนจักรคริสเตียน และทรงมีหน้าที่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกผู้คุ้มครองศาสนาคริสต์ และทำให้เกิดธรรมเนียมประเพณีเรื่องอัศวิน ขึ้นมา เราท่านในเมืองไทยสมัยนี้อาจจะรู้จักอัศวินคณะของพระเจ้าอาร์เธอร์แห่งอังกฤษ อันเรียกว่าอัศวินโต๊ะกลม (ที่เรียก่าโต๊ะกลมนั้นนิทานว่าก็เพราะพระเจ้าอาร์เธอร์ไม่ทรงต้องการให้มีหัวโต๊ะ คือถือว่าสมาชิกแห่งคณะอัศวินโต๊ะกลมทุกคนร่วมทั้งพระองค์เองด้วย มีฐานะเป็นเพื่อนตายเท่าเที่ยมเสมอกันหมด
นิทานเรื่องอัศวินแห่งพระเจ้าอาร์เธอณ์นั้ค่อนข้างจะมีชื่อเสียง แต่ในวงวรรณกรรมฝรั่งนั้น คณะอัศวินของพระเจ้าชาลมาญก็มีเกี่ยติเกริกไกรไม่น้อยไปกว่าคณะอัศวินโต๊ะกลมเช่นกัน อย่างไรก็ดีในเมืองไทยเราดูเหมือนจะยังไม่มีใครแปลนิทานชุดนี้ออกแพร่หลายนัก..http://study.vcharkarn.com/forum/view?id=17165§ion=forum
วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น