Trojan War

           สงครามกรุงทรอย เป็นสงครามระหวางชาวอะคีอัสน์ (ชาวกรีก) กับกรุงทรอย หลังปารีสแห่งทรอยชิงเฮเลนมาจากพระสวามี พระเจ้าเมเนเลอัสแห่งสปาร์ตา สงครามดังกล่าวเป็นหนึ่งใเหตุการณ์สสำคัญที่สุดในเทพปกรณัมกรีก และมีการบอกเล่าผ่านงานวรรณกรรมกรีกหลายิ้น ที่โดดเด่นที่สุด คือ อีิลียด และโอดิสซีย์ของโฮเมอร์ อีเลียดเกี่ยวข้องกับกับการล้อมกรุงทรอยปีสุดท้าย ส่วนโอดิสซีย์อธิบายการเดินทางกลับบ้านของโอดิสเซียส ส่วนอื่นของสงครามมีการอธิบายในโคลง วัฎจกรมหากาพย์ ได้แก่ ไซเพรีย, เอธิออพิ, อิเลียดน้อย, อีลิอูเพือร์ซิส นอสตอย และเทเลโกนี ซึ่งปัจจุบันเหลือรอดมาเพียงบางส่วนฯ การศึกาแห่งกรุงทรอยเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญที่ กวีและนักประพันธ์โศกนาฎกรรมกรีก เช่น เอสติลัส โซโฟคลีส และ ยูริพิดีส นำมาใช้ประพันะ์บทละคร นอกจากนี้กวี ชขาวโรมัน โดยเฉพาะเวอร์จิล และโอวิด ก็ดึงเอาเหตุการณ์จากสงครามทอยมาเป็นพื้นเรื่อง หรือเนื้อหาส่วนหนึ่งในงานประพันะ์ของตนเช่นกัน
          สงครามกำเนิดจากการวิวาทระหว่างเทีพอธีนา เฮรา และแอโฟรไดที หลังอีริส เทพีแห่งการวิวาทและความบาดหมาง ให้ผลแอปเปิดสีทอง ซึงบางครั้งรู้จักกันในนาม "แอปเปิลแห่งความบาดหมาง" แก่ ๐ผู้ที่งามที่สุด" ซูสส่งเทพีทั้งสามไปหาปารีส ผุ้ตัดสินว่าแอโฟร์ไดที เป็น "ผู้งดงามที่สุด" ควรได้รับแอเปิลไปเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แอโฟรไดที เสกให้เฮเลน หญิงงามที่สุดในโลกและมเหสีของพระเจ้าเมเนเลอัสตกหลุรักปารีส และปารีสได้นำพระนางไปยังกรุงทรอย อกาเมมนอน พระเจ้าอรู่ไม่ซีนี และพระเขษฐาของพระเจ้าเมเนเลอัส พระสวามีของเฮเลน นำกองทัพชาวอะดีอันส์ไปยังกรุงทรอยและล้มกรุงไว้สิบปีหลังสิ้นวีรบุรุษไปมากมาย รวมทั้งอคิลลิสและอาเจแ็กซ์ ของฝ่ายอะดีอันส์ และเฮกเตอร์ และปารีสของฝ่ายทรอย กรุงทรอยก็เสยด้วยอุบายม้โทรจัน
          ฝ่ายอะคีอันส์สังหารชาวกรุงทรอย (ยกเว้นหญิงและเด็กบางส่วนที่ไว้ชวิตหรือขายเป็นทาส ) และทำลายวิหาร ทำให้เทพเจ้าพิโรธ ขาวอะคีอันส์ส่วนน้อยที่กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยและหลายคนตั้งนิคมในขชายฝั่งอันห่างไกล ภายหลังชาวโรมันสืบเชื้อสายของพวกตนไปถึงเอเนียส หนึ่งในชาวกรุงทรอย ผุ้กล่าวกันว่านำชาวกรุงทรอยที่เหลือรอดไปยังประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
          ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับช่องแคบดาร์คาเนลส์เมือล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื้อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งชขึ้นอย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชขาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแผรงก์ คัลเวิร์ท ผุ้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยุ่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์รคิประเทศตุรกี และชดลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินองคับเลิร์ท คำถามที่ว่ามีความเป้นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายคึวามว่า เรื่องเล่าของโอเมอร์เป็นการผสมผสานของชาวกรีก ไม่ซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทิธิ์ก็ตาม ผุ้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตณ์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยุ่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)