Никита Сергеевич Хрущёв

     นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุสซอฟ เป็น เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุสซอฟ เกิดเมือ่ 15 เมษายน ปี 1894  ในครอบครั้วของแรงงานขุดเหมือแร่ ในหมู่บ้านคาลินอฟกา ในยุคจักวรรดิรับเซียใกล้กับพรหมแดนยูเครนปัจจุบัน บิดาคือ เซอร์เกย์ ครุสซอฟ นิโกโนโรวิช และแม่ชื่อ เคสิเนีย อิวาโนว์  ครุสซอฟได้เรียนหนังสนือแค่สี่ปี และต้องทำงานตั้งแต่อายุ 12 ปี เร่มจากกาทำงานเป็นคนเก็บผลไม้อายุ 14 ปี ครอบครัวย้อยไปทำเหมืองใหล้ ๆ กับเมืองยุซอฟก้า มันเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เจริญแห่งหนึ่งงของประเทศ ครุเซฟ ทำงานหลายแห่งก่อนที่จะได้ทำงานในโรงงานเหล็ก แต่ไม่นานก็ถูกไล่ออกและได้งานใหม่ที่เหมืองถ่านหินใกล้กับเมืองรุตเชนโกโว่ ปี 1914 เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์ทหารซึ่งโรงงานดังกล่วต้องทำงานส่งให้เหมืองหลายสิบแห่ง ปี 1918 เข้าเป็นสมาชิกของพรรคบอลเชวิค แต่ก็ยังคงทำงานในเหมืองถ่านหินต่อไปและก็เข้าเรียนหนังสือที่นิคทอุตสาหกรรมโดเนตส์ เขาทำงานให้กับพรรคในพื้นที่ของเมืองเคียฟและดอนบาส์ส
    ครุสซอฟรู้จักกับหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ในยูเครนคือ กาจาโนวิชนิสัยของครุสชอฟ สร้างความประทับใจให้กับกาจาโยวิชมาก ต่อมาเขาจึงเป็นผู้สนับสนุนให้ครุสซอฟมาเรียนหนังสือต่อในมอสโควครุสซอฟอยู่ในกองทัพแด่งนแถบเมืองรุตเชนโกโว่ จนได้รับเลือกเป็นคระกรรมการฝ่ายการเมืองของหน่วย 1974 ไรเฟิลที่ 9 ปี 1931 ครุสซอฟได้เข้าเป็นสมาชิกแลทำงานกับพรรคคอมมิวนิสต์ในมอสโคว กระทั้งปี 1938 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อันกับที่หนึ่ง ประจำยูเครน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีบทบาทอย่างมากในฐานะนายทหารระดับสูง จนเมืองสงครามโลกยุติก็มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลยูเครน จนธันวามคม 1949 ก็ย้ายจากยูเครนกลับมายังมอสโคว
     ปี 1953 อสัญกรรมของสตาลิน ลาเวรนติ เบเรีย หัวหน้าหน่วยตำรจลับของสตาลิน ได้ขึ้นเป็นรองประธานสภารัฐมนตรีลำดับที่หนึ่งและรัฐมนตรีกิจการภายในในทันที ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโซเวียต หลังจากนั้นกนึ่งวันพันธมิตรของครุสซอฟ กอร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิดและเบเรียครองอำนาจทุกอย่าง เบเรียมีนโยบายที่จะออกจากเยอมันตะวันออกและหันไปทางสหรับอเมริกาทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไจในตัวเบอรีย โดยเฉฑาะครุสซอฟเป็นคนที่ต่อต้านเบเรยอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบเรียได้จนกระทั่งเมือเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอมันตะวันออก สมาชิกพรรคหบายคนกังวลว่านั้นเป็นนธยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต  มาเลนคอฟหันไปช่วเหลือครุสซอฟ ครุสซอฟทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากเบรียทำให้เบเรียถูกจับตัว หลังจากนั้นครุสเซฟจึงได้รับแต่งตั้ให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโซเวียต และก็ได้ตำรังตำแหน่ง ประธานสภารัฐมนตรีควบคู่กันไป
    ครุฟซอฟทำให้โลกตกตะลึงด้วยการฝ่ายคลายความเข้มงวดในระบบสตาลิน พร้อมทังประณามความดหดร้ายของสตาลิน ในที่สุดทุกที่ที่มีรูปปั้นสตาลินจะถูกทุบทิ้ง เพลงชาติที่มีชื่อสตาลินก็ถูกลบออกศพของสตาลินก็ย้ายจากวลาดิมีร์ ไปผุ้งอยู่ในกำแพงวังเครมลิน ซึ่งการประณามสตาลินในครั้งนั้นประนเหมา เจ๋อ ตุง ผุ้นำจีนเกดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตตกต่ำกระทั่งทำให้เกิดการแบ่งแยกอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ออกเป็นสองแบบ คือ อุดมการณ์ลัทะคอมมิวนิสต์แบบผสมรวมกับระบบทุนนิยมของรัสเซียและ อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และโซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต
    โลกคอมมิวนิสต์
ทันทีที่ครุเชฟกล่าวสุนทรพจน์ลับในที่ประชุมสภาของพรรคคอมมิวนิสต์รุสเซียครั้งที่ 20 โลกคอมมิวนิสต์ได้เกิดความระสำระสายเป็นคลื่อใต้น้ำ สุนทรพจน์ลับนั้นมีจุดมุ่งหมายต่อโลกคอมมิวนิสต์ว่า คณะผุ้นำใหม่ต้องการที่จะทำลายความเชื่อถือดั้งเดิมอันงมงายเรื่อสตาลินผุ้ยิ่งให่ญ่ที่ผุ้หนึ่งผู้ใดจะแตะต้องล่วงละเมิดมิได้ และคณะผู้ใหม่จะคัดเหลือสรรแต่สิ่งที่ยังเป็นคุณประธยชน์ของสตลินไว้เท่านั้น จริงอยู่สุนทรพจน์ลับนั้นโดยเนื้อหาแล้ว มิได้มีความตอนใดวิพากษ์วิจารณ์ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับโลกคอมมิวนิสต์ในสมัยสตาลิน แต่สุนทรพจน์ลับได้ทำลายความเชื่อมั่นเดิมของโลกคอมมิวนิสต์ที่มีต่อสตาลินและทไห้เกิดความไม่แน่ใจในทิสทางของรุสเซียที่จะมีต่อโลกคอมมิวนิสต์ สุนทรพจน์ลับนั้นได้ยอมรับแนวความคิดของยูโกสลาเวย เรือ วิถีทางหลากหลายไปสู่ลัทะสังคมนิยและความแตกต่างของบรรดรัฐบริวารในก้านวิธีการ แบบอย่าง พฤติกรรมและนโยบาย แต่สุนทรพจน์ลับมิได้กำหนดขอบเขตแห่งเสรีภาพและความเป็นอิสระส่วนตนสำหรับรัฐบริวาร อีกทั้งก่อให้เกิดความสับสนยิ่งขึ้นด้วยการที่สุนทรพจน์ย้ำว่า แบบอย่างรุสเซียในการจัดตังสังคมย่อมจเสอดคลอ้กงกับแบบอย่างของรัฐบริวารที่มีระบอบประชาธิไตยแห่งประชารชน สุรทรพจน์ลับมิได้ให้รายละเอียดว่า สิ่งใดรุสเซียถือว่าสามารถจะอดทนอดกลั้นมีขันติธรรมได้ และสิ่งใดเป็นข้อต้องห้ามในการสร้างลัทธิสังคมนิคม
     นโยบายใหม่ของครุสฟอาจเป็นที่ยอรับโดยทางการของจีน แต่จีนถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยมิได้ปรึกาหารือจีน รุสเซียถือตนเป็นผุ้นำบงการกำหนดวินิฉัยนโยบายโดยพลการ จีนย่อมถือว่า ดดยเหนื้อแท้แล้ว รุสเซยมิได้ถือตนเป็นมหมิตรเสมอกันทั้ง ๆ ที่รุสเซียได้ยืนยันกับจีนว่าจะดำเนินนโยบายของโลกคอมาวนิสต์โดยปรึกาหารือกับจีนก่อนทุกครั้ง จีจึงถือว่า รุสเซยได้สบประมาทจีนมาก การเปลี่ยนแปลงนโยบายดดยไม่ปรึกษากับจีนเช่นนี้ ยังเป็นการสร้างความหวามระแวงแคลงใจในเจตนารมณ์ของรุสเซียมากกว่า นโยบายนั้นอาจเป็นกลวิธีมากกว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ในการเผลิญลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตก
     เบื้องหลังการดำเนินนโยบายนั้น คือ การที่รุสเซยดำเนินการทูตเพื่อสมานฉันท์ กับสหรัฐอเมรกา เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดของภาวะสงครามเย็น จนถึงขึ้นที่อาจจะเป็นการยุติภาวะสงครามเย็นและมีการปรับความเข้าใจอันดีต่อกันจนเป็นมิตรที่ดีต่อกัน สัมพันธภาพสองเส้า เช่นั้นเคยปรากฎมาแล้วในภายหลังสงครามดลกครั้งที่ 2 จีนวิตกว่าตนอาจถูกตระบัดมิตร อีกทั้ง อุดมการณ์แห่งการอยู่ร่วมกันดดยสันติแบบรุสเซียนั้นมีลักษณะแตกต่างกับจีนมาก จีนดำเนินนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติกับโลกที่สาม แต่รุสเซียมุ่งดำเนินนโยบายนั้นกับโลกที่สามและโลกเสรีด้วย ความแตกต่างกันทางอุดมากร์จึงเป็นได้ชัดและต่างก็จะดำเนินนโยบายต่างประเทศไปคนละทิสทาง ท้ายสุดย่อมนำไปสู่ความแตกต่างในด้านลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างโฃกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีด้วย
     แม้ครุสซอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตกาณ์ขีปนาวุธคิวบา ซึ่งได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจานี้เขายัวส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบบอคอมมิวนิสต์ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจโดยคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)