60’s

     การเลือกตั้งในปี 1960 พรรคเดโมเครตส่งจอห์น เอฟ.เคเนดี้ เข้ารับเลื่อกในตำแหน่งประธานาธิบดี ลินตอน บี.จอห์นสัน รับเลือกในตำแหน่งรอบประธานาธิบดี พรรครีพลับบริกันส่งริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน รับเลือกในตำแหน่งประธานาธิบดี เฮนรี่ ซี.ลอจ รับเลือกในตำแหน่งรอบปรธานาธิบดีในช่วงแรกของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ผู้สันทัดทางการเมืองส่วนใหญ่เชื่อว่าริชาร์ด เอ็ม.นิกสันจะชนะการเลือตั้งเพราะนิกสันเป็นที่รู้จักของคนอเมริกันและมีความได้เปรียบลมีประสบการณ์การบริหารประเทศในตำแหน่างรองประธานาธิบดีเป็นเวลาแปดปีในสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ ทั้งชูประเด็นจะนำมาซึ่งสันติภาพ และความมั่งคั่งสู่อเมริกา สำรับจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ คนอเมริกันรู้จักไม่มากนัก แต่เพราะเป็นคนหน้าตาดี บุคลิกดี ฐานะดีและมีภรรยาสวยเป็นที่สะดุดตาช่วยเสริมให้ภาพและเรื่องราวของจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร โทรทัศน์มีส่วนช่วยจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกลงเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร โทรทัศน์มีส่วยช่วยจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ เป็นอย่างมาก เพราะมีการรณรงค์หาเสียงแบบเผชิญหน้ากันทางโทรทัศน์ถึงสื่ครั้ง เป็นครั้งแรกในการเมืองสหรัฐอเมริก แม้นจอห์น เอฟ. เคนเนดี้จะมีอายุน้อยเพียง 43 ปี แต่ภาพที่ออกมาทางดทรทัสน์บ่งบอกถึงความสุขุม มั่นใจและตอบฃคถ-มอย่งฉะฉานเฉียบคม เรียกเสียงสนับสนุนได้เป็นอย่งมากจากคนอเมริกัน จอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ชูประเด็นจำเป็นต้องเลือกผู้นำที่มองการไกล รู้ขึดความสามารถที่แท้จริงของสหรัฐอเมริกาในการดำเนืนนโยบายต่างประเทศ และเป็นที่พึ่งแก่ผุ้ยากไร้ด้อยโอกาส ภายใต้แผนชายแดนใหม๋ ผลการลงคะแนนปรากฏว่าจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ชนะ
     ทศวรรษที่ 60 ผู้เขียนตำราประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา เรียกประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาช่วงนี้ว่า หกสิบที่ปี่นป่วนโกลาหลสับสนวุ่นวาย และผู้รู้บางท่านเรียกประวัติศาสตร์ช่วงนี้ว่า สมัยแห่งความรุนแรง
     ทศวรรษเริ่มด้วยความสดใส คนอเมริกันศรัทธาในประธานนาธิบดีจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ผุ้นำหนุ่มวัย 44 ปี ประกาศแผนชายแดนใหม่ มุ่งให้เป็นที่พักพิงแก่ผู้ยากไร้ เยาวชนอเมริกันให้การสนับสนุนในอุดมการ์ ร่วมมีความคิดสร้างสรร มีความใฝ่ฝันมุ่งมั่นดำเนินการตาที่ผุ้นำกำหนด ทุกอย่างดูเหมือนจะดำเนินไปด้วยดี แต่กลับจบลงด้วยความเศร้าสลด เริ่มโดย ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองดัลลัส เท็กซัสในวันที่ 22 พฤศจิกายน 1963,มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองเมมฟีส,เทนเนสซี ในวันที่ 4 เมษายน 1968 และโรเบิร์ท เอฟ.เคนเนดี้ ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองลอสแอนเจลลิส,แคลิฟอร์เนียในวันที่ 6 มิถุนายน 1968

       สองปัญหาภายในประเทศที่ไม่ได้รับการแก้ไขนำสู่การประท้วงก่อความโกลาหลวุ่นวายได้แก่ ที่อยู่อาศัยเสือมโทรม  ความยกจน ผุ้สูงอายุไม่มีเงินเพียงพอเพื่อการรักษาพยาบาล คนงานไร้ฝีมือ ต้อง
ตกงานเพราะนายจ้างนำเครื่องจักรทุ่นแรงใช้ในโรงงาน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยของรัฐขาดครูอาจารย์ผุ้สอน ขอดอุปกรณ์การเยนและเรียกันอย่างแอดัด มีการแบ่งแยกเหยียดผิด ในการทำงาน การศึกษาและที่อยู่อาศัยรวมถึงต่อต้านการ่วมในสงครามเวียดนาม คนอเมริกันผิดดำประท้วงเพราะต้องการให้เลิกการแบ่งปยกเหยียดผิดเรียกร้องการมีสิทธิเท่าเทียมคนอเมริกันผิวขาว เรียกร้องความสนใจและต่อต้านการเข้าร่วมในสงครามเวียดนาม คนอเมริกันผิวขาวดดยเฉพาะเยาวชนอเมริกันส่วนใหญ่เกิดหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 มีความเป็นอยู่สุขสบาย ในปี 1964 เมื่อลินคอน บี.จอห์นสันนำสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามเวียดนามมีการเกณฑ์ทหารทำให้เยาวชนอเมริกันโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษามองสังคมอเมริกันเป็นสังคมไม่น่าอยู่มีการประท้วงเกิดกลุ่มขบวนการพูดเสรี และกลุ่มสมาคมนิสิตนักศึกษาเพื่อสังคมประชาธิปไตย นำโดยทอม เฮเดน และแอล ฮาเบอร์ ที่มิชิแกน สมาชิกส่วนใหญของทั้งสองกลุ่มนักศึกาเป็นคนอเมริกันผิวขาว จัดอยู่ในชนชั้นกลางของสังคมอเมริกัน สมาคมทั้งสองเรียกร้องสันติภาพ เลิกการแบ่งแยกเหยียดผิด ให้รัฐบาลสนใจดูแลทุกข์สุขประชาชนขจัดความยกจนให้หมดไป และให้ทหารเลิกเข้ายุ่งเกี่ยวกับพลเรือ เช่น เลิกการเกณฑ์ทหาร เลิกให้ทุนนักวิชาการทำงานวิจัยของกระทรวงกลาดหม และเลิกการผลิตอาวุธรายแรงเพื่อนำใช้ปราบปรามศัตรู ขณะเดียวกัน เยาวชนอเมริกันมีความสับสนทางจิตใจจัดตั้งกลุ่มซ้ายใหม และกลุ่มต่อต้านวัฒนธรรม เยาชนทั้งสองกลุ่มต่อต้านวัฒนธรรมเดิมคือไม่ต้องการมุ่งมั่นทำงานเพื่อความก้าวหน้าและความมั่นคงของชีวิต ไม่ต้องการยึดมั่นใรกฎข้อบังคับและระเบียบวินัย ไม่ยึดมั่นในสถาบันครอบครัว ไม่มีความภูมิใจในบรรพบุรุษ ค่านิยมใหม่ที่เกิดขึ้นคือ ไม่ติดกับวัตถุนิยมแต่จะแสวงหาความเชื่อใหม่เป็นที่พึ่งทางใจมุ่งที่ปรัชญาและศาสนาโลกตะวันออก ชื่นชอบแนวคิดและผลงานของเมเซตุงและฟิเดล คัสโตร มีเพศสัมพันธ์เปิดเผย เรียกหาความรักและสันติภาพ มีความเป็นอยู่เรียบง่ายไปวัน ๆ  และแสวงหาความสุขใจ
ด้วยการเสพกัญชา และยาหลอนประสาท ฮิปปี้หรือบุปผาชน เป็นรูปแบบใหม่ของเยาวชนอเมริกันในทศวรรษที่ 1960 ที่เบื่อสังคม การเมืองและวัฒนธรรมของอเมริกันเดิม ต้องการลืมปัฐหา คลายความเหวา คลายความเครียด ด้วยกาเสพกัญชาและยาหลอนประสาท เรียกหาความรักโลกีย์แลสันติภาพด้วยคำขวัญ “เมคเลิฟ น็อตวอร์” พอใจอยงุ่รวมกันเป็นชุมชนเช่นที่ซานฟรานซิสโก แบ่งปันความรัก ความรับผิดชอบ ทรัพย์สิน กินอยู่ และใช้สอยร่วมกัน ฮิปปี้นิยมใช้เสื้อผ้าเก่า สวใรองเท้าแตะหรือรองเท้าสาน ไว้ผมยาว สะพายถุงย่าม ห้อยสร้อยคอลูกประคำทีละหลายเส้น ชอบเพลงร็อค เพราะท่วงทำนองตื่นเต้นเร่าร้อนมีชีวิตชีวา วงดนตรีที่เยาวชนอเมริกันชอบมากคือ เดอะ บีเทิลส์,เดอะ วูดสต็อก,เดอะ โรลิ่งสโตนส์ เทศการดนตรีกลางแจ้งที่ยิวยอร์กโดยวง วูดสต็อก มีผุ้เข้าชมประมาณ สี่แสนคน ปลายทศวรรษที่ 1960 ฮิปปี้เสื่อมความนิยม มีสภาพเป็นคนข้างถนนหรือขอทาน และกลางทศวรรษ 1970 ฮิปปี้หมดไปจากสังคมเยาวชนอเมริกัน เนื่องจากสงครามเวียดนามยุติลง(1975) คนอเมริกันผิวดำรบการศึกษาเพี่มมากขึ้นสามารถยกสถานภาพตนเองในสังคมขึ้นทัดเทียมหรือใกล้เคียงคนอเมริกันผิวขาว การแบ่งแยกเหยียดผิวค่อยๆ หมดไป อย่างไรก็ตามสรุปได้ว่าอเมริกายุค 1960 ยังคงสกัดกั้นต่อต้านการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์  เศรษฐฏิจมีทั้งเฟื่องฟู ภาวะเงินเฟ้อ และธุกิจถอถอยซบเซา คนอเมริกันนิยมมีบ้านอยู่อาศัยบริเวณชานเมืองมากกว่าในเมือง สหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้ามากในงานวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโยโลยี นำสู่การผลิตยาใหม่ ๆ รักษาโรค และนำความก้าวหน้าในงานโครงการอวกาศ และขบวนการเรียกร้องสิทธิอำอย่างเป็นระบบ ทวีความรุนแรงขึ้นคนอเมริกันกล้าต้อต้านการดำนเนินโยบายต่างประเทศของรัฐบาลในเรื่องนำสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามเวียดนามด้วยการประท้วง นับวันทวีความรุนแรงขึ้น และประการสุดท้ายสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับมลภาวะ การฆาตกรรมและความรุนแรงอันเนื่องจากคนอเมริกันไม่พอใจสภาพที่เป็ยอยู่และไม่พอใจรัฐบาล สหรัฐฯช่วงทศวรรษ 1960 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสองคนคือ ประธานาธิบดีจอห์ เอฟ.เคนเนดี้ ด้วยแผนชายแดนใหม่ มุ่งใช้เป้นที่พึ่งแก่ผู้ยากไร้ และประธานาธิบดีลินคอม บี. จอห์นสัน ด้วยแผนสังคมที่ยิ่งใหญ่ มุ่งใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตคนอเมริกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)