World Communization

     เป็นนโยบายที่ถูกกำหนดขึ้นด้วยปัจจัยสำคัญสองประการเกี่ยวเนื่องกันเป็นอย่างมาก คือ ปัจจัยว่าด้วยความมั่นคงปลอดภัยของรุสเซียเองและปัจจัยว่าด้วยความผูกพันต่อลัทธิอุดมการณืคอมมิวนิสต์
     พรรคคอมมิวนิสต์ถือลัทธิมาร์กซ์เป็นอุดมการหลักของตน เสมือนคัมภีร์แม่บทของการปฏิวัติตนเองและปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์
      ลัทธิมาร์กซ์ คาร์ล มาร์กซ์ เป็นนักทฤษฎีที่มีบทบาทเฉพาะในกิจกรรมของสันนิบาตคอมมิวนิสต์ และสมคมกรรมกรสากลเท่านั้น โดยเป็นผู้ร่างโครงการของกิจกรรมเหล่านั้น ซึ่งเริ่มต้นด้วยประโยคทีลื่อลั่นว่า “ประวัติศาสตร์ของสังคมทั้งหลายในอดีต คือประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ระหว่างชนชั้น”  ข้อความนี้คือแกนกลางทฤษฎีประวัติศาสตร์ในทรรศนะของมร์กซ์ซึ่งปรากฎในผลงานเกือบทุกประเภทของเขา
      โดยเนื้อแท้ ลัทธิมาร์กซ์เป็นทฤษฎีมุ่งสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งมาร์กซ์กล่างอ้างว่า เป็นลัทธิสังคมนิยมเชิงวิทยาศาสตร์ แต่ความคิดของเขาส่วนใหญ่มิได้เกิดจากแนวความคิดริเริ่มของเขาเอง หากแต่ล้วนได้รับอิทธิพลของหลักปรัชญาของเยอรมนี ซึ่งผสมผสานกับแนวคิดอิงสิ่งลี้ลับมหัศจรรญืเหลือเชื่อที่กำลังจะมลายไปภายใต้การคืบคลานเข้ามาแทนที่ของทรรศนะแนววิทยาศาสตร์  ลัทธินิยมเฮเกลมีลักษณะแนวคิดังกล่าวและย่อมมีอิทธิพลตอ่มาร์กซ์ในการสร้างทฤษฎีประวัติศาสตร์ มาร์กซ์ได้สร้างทฤษฎีใหม่ของเขาเองที่เกี่ยวกับสังคมและวิวัฒนาการของสังคม เขาด้ชี้แนะว่าไม่มีนักปรัชญาผู้ใดคิดที่จะแสวงหาความเกี่ยวเนื่องกันของสิ่งแวดล้อมเชิงวัตถุนิยมของเยอรมนีทฤษฎีประวัติศาสตร์แบบมาร์กซ์เริ่มปรากฎรูปลักษณะเด่นชัดโดยผสมผสานแนวคิดหลากหลายที่ล้วนไม่สมบูรณ์แบบในทรรศนะของมาร์กซ์
       มาร์กซ์ ได้เพรียพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะชี้แนะว่า สรรพสิ่งทั้งหลายนั้นมิได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่ล้วนเกิดขึ้นตามแบบอย่างี่เรียกว่า ลัทธิวัตถุนิยมเชิงวิภาษโดยบังเอิญเขากล่าวอ้างว่า “วิธีวิภาษของข้าพเจ้ามิไตกต่างไปจากวิธีเฮเกลเท่านั้น หากแต่ว่ายังเป็นวิธีที่เป็นตรงกันข้ามกับวิธีของเฮเกลด้วย “หลักการแห่งแบบอย่างของมาร์กซ์นั้นคือแนวสามเหลี่ยมแห่งการตั้งข้อสมมุติฐาน ความขัดแย้งและความสรุปและกฎเกณฑ์แห่ง “การที่ปริมาณแปรรูปเป็นคุณภาพ” เขาเน้นว่า พลังเศรษฐกิจที่มีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสรรพสิ่งทั้งหลายย่อมชี้ขาดวิวัตนาการแห่งประวัติศาสนตร์ด้วย เพราะ “สิ่งแรกสุดในการดำรงอยู่ของมวลมนุษย์และสิ่งแรกสุดในการสร้างประวัติศาสตร์ทั้งหลายของตนขึ้นภายใต้ศาสตร์ของตนตามความพอใจส่วนตน..หากแต่สร้างประวัติศาสตร์ของตนภายใต้สภาวะแวดล้อมของตน”
     มาร์กแสดงขบวนการแห่งทฤษฎีปฏิวัติตามแนวคิดของตนว่าในแต่ละยุคสนมัย จะมีการต่อสู้ระหว่างชนชั้นซึ่งสิ้สุดโดยชัยชนะของชนชั้นกรรมาชีพ และความพ่ายแพ้ของชนชั้นกลาง เพื่อให้บรรลุถึงระบอบคอมมิวนิสต์ มาร์กซ์ได้ร่างโครงการและเสนอกลวิธีปฏิวัตสำหรับชนชั้นกรรมาชีพ กรรมกรต้องเริ่มด้วยการต่อสู้ด้วยตนเองเป็นเอกเทศ และวจัดตั้งองค์กร ต่อจากนั้นก็จัดตั้งพรรคการเมือง ท้ายสุด เปิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้นฝ่ายนายทุนเพื่อสถาปนาระบอบเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพในบั้นปลาย ชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นชนชั้นปกรองเฉพาะกาลในช่วงสมัยสังครมนิยมจนกว่าจะบบรลุถึงระบอบคอมมิวนิสต์ อำนาจการเมืองจะค่อยๆ เลือหายไป ระบบการปกครองและรัฐไม่เป็นสิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป ทฤษฎี “ล้มเลิกทรัพย์สินส่วนเอกชน”
      ลัทธิมาร์กซ์สามารถดึงดูดใจชนชั้นกรรมาชีพ เพราะเป็นลัทธิที่มองมุ่งปัญหาประจำวัน และได้เสนอแผนการสอดคล้องตามความต้องการรีบด่วนที่กรรกรต้องการ ลัทธิมาร์กซ์ให้คำมั่นสัญญาถึงผลสำเร็จ ถึงชีวิตที่จักดีขึ้น และสัญญาที่จักหยิบยื่นสันติภาพให้แก่กรรมกรลัทธิมาร์กซ์จึงให้หนทางแก้ที่ให้ผลทางจิตวิทยา ลัทธิมาร์กซ์เป็นลัทธินิยมทีทมองมุ่งสังคมในอุดมคติสำหรับผู้คนที่เชื่อว่าตนนั้นสิ้นหว้งหมดหนทางที่จะปฏิรูปสังคมได้โดยสันติวิธี
     กระบวนการปฏิวัติจะดำเนินไปโดยไม่หยุดยั้ง เป็นเหตุการ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีพลังใดที่จะสกัดกั้นคลื่อนปฏิวัติ ..เพื่อให้ขบวนการปฏิวัติสามารถดำนเนินรุดหน้าจึงเป็ฯหน้าที่ผูกพันประการหนึ่งสำหรับกรรมกรทั่วโลกไม่จำกัด เชือชาติ ภาษาหรือวัฒนธรรมใดไ ที่จะต้องรวมพลังกันอย่างเหนียวแน่นเป็นพลังปฏิวัติแนวหน้าที่จะต้องเกื้อกูลต่อขบวนการปฏิวัติทุกหนแห่งให้มีความเข้มแข็ง ประสานงานกันเป็นนำหนึ่งใจเดียวกันที่จะปฏิวัติโลกให้เป็นคอมมิวนิสต์ ในฐานะรุสเซียเป็นชาติแรกที่ปฏิวัติล้มระบอบจักรพรรดิและมีความมุ่งมั่นแน่วแนที่จะปฏิวัติสถาบันการเมือง เศรษฐกิจและสังไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์สมบูรณ์แบบ รุสเซียย่อมถือเป็นพันธะเกียรติยศที่จะเป็นตัวอย่างปฏิวัติและเป็นผู้นำขบวนการปฏิวัตโลก เป็นผู้เผยแพร่ลัทธิอุดมการ์ และเอื้ออำนวยส่งเสริมขบวนการปฏิวัติโลก…ด้วยอุดมการณ์นี้รุสเซียถือว่ามีพันธะต้องดำเนินการปฏิวัติโลก
     พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี ขบวนการคอมมิวนิสต์ของเยอรมนีได้ตั้งสันนิบาตสปาร์ตาคัส เลนินส่งคาร์ล ราเดค เลขาธิการโคมินเทอร์นไปช่วยขบวนการคอมมิวนิสต์เยอรมนีให้ดำเนินการเร่งเร้าโฆษณาชวนเชื่อด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดสันนิบาตสปาร์ตาคัสว่างแผนก่อการร้ายลุกฮือในเดือน ธันวาคม 1918 แต่ล้มเหลว รุสเซียมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เยอรมนีจะสามารถปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลตัวแทนชนชั้นกลางนายทุนได้ แผนปฏิวัติได้ถูกำหนดให้มีขึ้นในเดือนมีนาคม ปี 1921 แต่ก็ต้องล้มเหลวอีกเนื่องจากกลุ่มทหารเรือลุกฮือกันขึ้นมาก่อการ ความพยายามของรุสเซียนับแต่นั้นล้วนล้มเหลว 
      การปฏิวัติโดยตั้งองค์การกสิกรสากลเสริมพลังในบัลแกเรีย ยูโกสลาเวีย มาซีโดเนีย อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศสล้วนล้มเหลวทั้งสิ้น
       ขบวนการคอมมิวนิสต์ในเอเซีย เลนินพบความสำคัญของเอเซียในการเสริมสร้างขบวนการปฏิวัติโลก ได้เขียน “คำทำนายพายุปฏิวัติในตะวันออกไกล”และเสนอบทนิพนธ์ว่าด้วย “เรื่องปัญหาของชาติและอาณานิคม” ณ ที่ประชุมโคมินเทอร์ เลนินเล็งเห็น่า พลังมหาศาลของจักรวรดินิยมนายทุนตะวันตกนั้นมาจากขุมกำลังอำนาจที่ได้สร้างกันขึ้นในเอเซีย การที่จะบั่นทอนกำลังของจักวรรดินยมตะวันตกจึงต้องเริ่มด้วยการตัดเอเซียออกจากจักวรรดินิยมตะวันตกให้เด็ดขาดโดยสิ้นเชิง
      เอเซียเปรียบเสมือนประตูหลังของฝ่ายจัรวรรดินิยมตะวันตก สงครามกลางเมืองในรุสเซียสอนใตระหนักว่า ภัยคุกคามมิได้มาจากตะวันตก เท่านนั้น หากยังมาจาตะวันออก คือภัยญี่ปุ่น และการที่จักรวรรดินิยมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในจีน ล้วนเป็นภัยคุคามรุสเซียอย่างยิ่ง รุสเซียจึงต้องสนใจจีนและญี่ปุ่นด้วยเหตุผลทางด้านอุดมการ์
     พรรคคอมมิวนิสต์ในจีน ก่อตั้งจากความรู้สึกรักชาติ ความอัปยศอดสูที่จักวรรดินิยมตะวันตก โดยเฉพาะญี่ปุ่นได้เข้ามากอบโกยอำนาจผลประโยชน์ของจีน นักศึกษาปัญญาชนในปักกิ่งได้ก่อหวอดประท้วงมติมหาอำนาจที่ประชุมสันติภาพในปารีส ซึ่งไรบรองให้ญี่ปุ่นได้รับผลประโยชน์ของงเยอรมนีในมณฑลชานตุง ขบวนการประท้วงได้ปรากฎขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 เป็นขบวนการลัทธิชาตินิยมต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยม ดังความปรารถนาของรุสเซีย
     ดร.ซุน ยัต เซ็น ประสบปัญหาควมแตแยกภายในพรรคและความล้มเหลวในการยึดอำนาจจากเหล่า
บรรดานายพลขุนศึก ดร. ซุน ยัต เซ็น ไม่อาจร้องขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือญี่ปุ่นได้ เมื่อรุสเซียส่งนายอดอร์ฟ จอฟฟ์ มาเจรจาจึงมีการเจรจาและลงนามในข้อตกลง ซึ่งมีสาระสำคัญคือ รุสเซียยินดีให้ความช่วยเหลือในด้ารเศาษฐกิจ การเมืองและการทหารแก่พรรคชาตินิยม และดร. ซุนฯ ต้องยอมรับนโยบายสร้างแนวร่วมกับพรรคจีนคอมมิวนิสต์
     เมื่อเจียงไคเช็คได้เป็นจอมทัพดำนินการรวมประเทศ กวาดล้างบรรดานายพลขุนศึกทั่งเประเทศ เจียงไคเช็คก่อการัฐประหารที่เมืองกวางตุ้ง และดำเนินการปราบปรามคอมมิวนิสต์ตามเมืองต่าง ๆ ภายใต้การสนับสนุนของบรรดาพ่อค้า นักฑธุรกิจและจากฝ่ายญี่ปุ่น ถึงอย่างไร เจียงไคเช็คก็มิได้ประกาศตนเป็นปฏิปักษ์ต่อรุสเซีย รุสเซียยังคงพยายามให้พรรคจีนคอมมิวนิสต์แทรกซึมรัฐบาลวูฮาน
     สตาลิน ยืนหยังนโยบายใช้พรรคชาตินิยมทุกวิถีทางเพื่อคุณประโยชน์แก่รุสเซียและแก่พรรคจีนคอมมิวนิสต์ แต่
นโยบายดังกล่าวท้านสุดกลับทำลายฐานอำนาจของพรรคจีนคอมมิวนิสต์
     นโยบายการสร้างแนวร่วมสิ้นสุดลง โดยพรรคจีนคอมมิวนิสต์เป็นฝ่ายปราชัยรุสเซียมุ่งรักษาทางไมตรีกับเจียงไคเช็คมากว่าทางพรรคคอมมิวนิสต์ สตาลินอาจผิพลาดในนโยบายปฏิวัติจีนดังกล่าว แต่สตาลินได้สร้างคุณประโยชน์แก่รุสเซียโดยตรง สิ่งเดียวที่สตาลินพลาดคือเมื่อสร้างจีนใหม่ขึ้นมาแล้ว และทั้งที่ทอดทิ้งพรรคจีคอมมิวนิสต์แล้ว รุสเซียก็ยังประสบปัญหาความล้มเหลวในการควบคุมรัฐบาลพรรคชาตินิยม ซึ่งทำให้รุสเซียได้รับความอัปยศในสายตาโลกภายนอกมิใช่นอ้ย รุสเซียเริ่มหลบเลี่ยงออกห่างจากขบวนการปฏิวัติในจีนและหลีกเลี่ยงการสร้างพันธกรณีกับพรรคจีนคอมมิวนิสต์ รุสเซียต้องคอยจับตามมองพฤติกรรทการแทรกซึมของญี่ปุ่นในแมนจูเรียซึ่งสะเทือนถึงความมั่นคงของพรมแดนรุสเซียซึ่งติดกับแมนจูเรีย และพรรคคอมมิวนิสต์ในญี่ปุ่นก็ประสบชะตกกรรมเดียวกัน สาเหตุที่สำคัญที่มิอาจมองข้ามได้คือ การบงการของรุสเซียผุ้กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ โดยมิได้คำนึถึงผลประโยชน์ของพรรคมากไปกว่าคำนึถึงเสถียรภาพความมั่นคงของรุสเซียเอง และมิได้คำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่า  แต่ละประเทศมีวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างไร สภาพสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างำร การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์เป็นไปโดยการประเมินการคลาดเคลื่อน ผลที่ตามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คื อความล้มเหลวของพรรคคอมมิวนิสต์ในที่ต่าง ๆ ซึ่งย่อมถือได้ว่า เป็นความล้มเหลวของรุสเซียที่มิอาจจะดำเนินนโยบายปฏิวัโลกไปได้โดยตลอดรอดฝั่ง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)