Japan Nationlism

     ยุคเมจิ: เป็นยุคสมัยที่โดดเด่นอีกสมัยของญี่ปุ่น ภายใต้การปกครองของสมเด็จจักรพรรดิเมจิ ญี่ปุ่นบรรลุความสำเร็จในการพัฒนาประเทศโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ การสร้างสรรค์ประเทศให้เข้าสู่ยุคใหม่ด้วยอุตสาหกรรม พัฒนาสถาบันทางการเมืองและรูปแบบของสังคมแบบใหม่ โดยที่ประเทศตะวันตกต้องใช้เวลานานนับศตวรรษ
     สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงเกี่ยวโตไปอยู่ทที่ เอโดะ และเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงเป็นโตเกียว “เมืองหลวงตะวันออก” มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ จัดตั้งคณะรัฐมนตรี และสถาบันนิติบัญญัติระบบสองสภา ยกเลิกการแบ่งชนชั้นแบบเก่าของสมัยศักดินา ญี่ปุ่นทั้งประเทศทุ่มเทพลังงานและความกรตือรือร้นในการศึกษาและรับยอารยธรรมตะวันตกมาใช้
     การปฏิรูปเมจิเป็นการทลายของเขื่นที่กอปรด้วยพลังและแรงผลักดันที่สะสมมานับศตวรรษต่างชาติรู้สึกถึงความรุนแรงและความตื่นตัวที่เกิดจาการปลดปล่อยที่ออกมาอย่างฉับพลัน
     จุดเริ่มต้นของการปฏิรูป คือย้อนไปถึงกลุ่มนับเขียนที่เป็นซามูไรดั้งเดิมกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีความรักชาติมากและสื่อความหมายรักชาติน้นไปสู่ชนชั้นของตน “ความรักชาติ” (aikok)กลายเป็นสิ่งที่มีตัวตนอยู่ เป็นสัญลักาณ์ที่น่ายำเกรง ความรักชาติเป็นหนึ่งในอาวุธไม่กี่อย่างที่สามารถหยิบขึ้นมาใช้ได้อย่างปลอดภัยในการต่อต้านระบอบการปกครองแบบอำนาจนิยม
     ปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการแพร่กระจายความรู้สึกรักชาติสู่ประชาชนและได้จัดตั้งพื้นฐานเพื่อลัทธิชาตินิยมในความหมายสมัยใหม่ ความพยายามของรัฐบาลที่จะให้มีการรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางการเมือง ความพยายามที่จะหาความสนับสนุนโดยสร้างคณะกรรมการและสภาโดยการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น การพัฒนาระบบการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ล้วนช่วยหนุนทางอ้อมให้เกิดความรู้สึกสำนึกในเชื่อชาติของตน
     แผนการปลูกฝังลัทธิทางการเมอืงโดยมุ่งให้องค์พระจักรพรรดิทรงเป็นแกนแลงของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศ ทางการต้องการค้ำจุนลัทธิชินโต ซึ่งให้เหตุผลความชอบธรรมของพระราชอำนาจว่ามาจาพระบุรพเทพ จึงมีหน้าที่กึ่งทางธรรม ชินโตเป็นที่ยกย่องในสมัยที่การร่างรัฐธรรมนูญและกลายเป็นศาสนาประชาติอยู่ระยะหนึ่ง
     ต่อมากองทัพบกมีบทบาทโดยเน้นหนักในการฝึกให้มีความจงรักภักดีต่อผุ้เป็นผู้ปกครองและจอมทัพ ด้านการศึกษาหลักสูตรภาคบังคับในด้าน “จริยศาสตร์”โดยเน้นอัตรส่วสเท่ากันด้านความผูกพันตามคติขงจื้อที่เคร่งครัดในหลักการเคารพกตัญูกตเวที และความจงรักภักดีต่อชาติ ให้ดำเนินไปพร้อมๆ กัน ทั้งในการฝึกทหารและยังถือเป็นเครื่องกำหนดทรรศนะของพลเมืองในอนาคต และหน้าที่พลเมืองด้วย
     ในสมัยดังกล่าวการยังไม่มีความสามารถทางด้านการทูต ในทรรศนะที่มีต่อการแก้ไขสนธิสัญญานักการทูตญี่ปุ่นได้เริ่มด้วยจุดประสงค์หลักสองประการ ประการแรกการยกเลิกหรือดังแปลงระบบของสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งชาวต่างชาติผุ้อยู่อาศัยในญี่ปุ่นอยู่ภายใต้อำนาจการศาลของประเทศของตนคือกงสุล ประการที่สองได้แก่ สิทธิในการปรับปรุงดัดแปลงภาษีศุลกากร ในทรรศนะที่เห็นความไม่ทัดเทียมของทั้งสองฝ่าย
     นักการทูตญี่ปุ่นต้องเจรจาด้วยความอดทนเพื่อบรรลุผลตามประสงค์  ประสบการณ์ทางการทูตหลายปีแสดงให้เห็นบทเรียนเมืองครั้งสหรัฐอเมริกาตกลงให้ญี่ปุ่นมำอำนาจอิสระในการภาษีศุลกากร อังกฤษปฏิเสธทันทีอย่างเปิดเผย อีกครั้งที่อังกฤษยืนกรานเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ญีป่นเห็นความจำเป็นที่ต้องประนีประนอมแต่ความพยายามประการแรกคือเรื่องเกี่ยวกับข้อเสนอให้มีศาลผสมภายใต้ผุ้พิพากษาญี่ปุ่นและผู้พิพากษาต่างชาตินั้นถูกประชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โอคูมาซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศขณะนั้น เขายกเลกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกเว้นกรณีฎีกาเท่านั้นที่ต้องให้ศาลผสมพิจารณา ข่าวเกิดรั่วไหล เกิดเสียงต่อต้านอย่างหนักในโตเกี่ยว ความรู้สึกเรื่ออธิปไตยของประเทศกำลังพลุ่งพล่านถึงขีดสุด โอคูมาได้รับบาดเจ็บจากระเบิดที่คนคลั่งชาตินิยมปาใส่รถม้าของเขา การเจรจาระงับไปและรัฐบาลนายคูโรดา ลาออก
      ความสัมพันธ์กับเพื่อบ้านแผนดินใหญ่เป็นเรื่องที่ญี่ปุ่นสนใจมาตลอดศตวรรษ นักเขียนมองที่จีน แมนจูเลีย และเกาหลีว่าเป็นทางออกโดยธรรมชาติสกไรบความทะเยอทะยานของญี่ปุ่น  โยชิดา โชอิน คิดว่า ความอยู่รอดย่อมจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าปราศจากการเหยียบผืนแผ่นดินใหญ่กลุ่มผู้นำเมจิหลายคนซึ่งเป็นสานุศิษย์ของโยชิดา มีทรรศนะร่วมกันดังกล่าว และมีทรรศนะแรงกล้า เมื่อซาอิโก ทาคาโมริถึงแก่อสัญกรรมและมีการตั้งสมาคมรักชาติขึ้น โดยมุ่งที่จะส่งเสริมความคิดที่จะขยายอำนจญี่ปุ่น สมาคมนี้จะใช้ทุกโอกาสในการใช้แรงกดดันรัฐบลและกระตุ้นความเห็นในเรื่อรักชาติ

     ความขัดแย้งเกิดขึ้นด้วยเรื่องนโยบายยับยั้งชั่งใจ Policy of restaint ม้จะเป้ฯนโยบายป้องกันการก้าวรุดหน้าในการขยายดินแดน เป็นนโยบลายที่ใช้เป็นข้อยุติที่ควารเจริญรอยตามบนบาทวิถีทางแห่งการประรีประนอม และการเรจา แต่ในกรณีเกาหลี วิธีการนั้นยกาที่จะปฏิบัติ สนธิสัญญาระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีที่เปิดความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเป็นางการและเกาหลีเปิดเมืองท่าสองเมืองให้ค้าขายได้ นั้นก็เป็นสัญญาที่เกิดจากการขู่ใช้กำลัง เมื่อเกิดกรณีนี้ จีนจึงท้าทายญี่ปุ่นโดยระบุว่า เกาหลีเป็นประทเศราชของจีน จะทำข้อตกลงใด ๆ กับประเทศใดมิได้ การแอบอ้างสิทธิเป็นจุเริ่มต้นสมัยแห่งการใช้เลห์เพทุบายของทั่งสองฝ่ายในการถือฝ่ายถือฝ่ายในเกาหลีที่ต่สู้ชิงอำนาจในราชสำนัก  ความเป็นคู่แข่งนำสู่การปะทะกันในเมืองโซล การเจรจาระหว่างจีนกับญี่ปุ่นในฤดูใบไม้ผลิวาระนั้น ทั่สองฝ่ายตกลงถอนทหาร แต่มิได้หมายความว่า ฝ่ายใดจะยอมลดฐานะของฝ่ายตน จึงเกิดเหตุการณ์ตามมามากมาย เกิดกบฎย่ายครั้งในเกาหลี ซึ่งเป็นกบฎต่ต้านตะวันตก ในฐานะเจ้าประเทศราช จึงของให้จีนช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม จีนก็ได้ช่วยเหลือในทันที่ทันใด ญี่ปุ่นถือว่า การกระทำของจีนเป้นตรงกันข้ามกับข้อตกลง ญี่ปุ่นจึงส่งกำลังไปเกาหลี กฐฎจึงกลายเป็นเรื่องรองลงมา  เรื่องใหญ่คือเรื่องความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่น
       ญี่ปุ่นประกาศสงครามอย่างเป็นทางการกับจีนและได้รับชัยชนะอย่างอัศจรรย์ กองทัพบกญี่ปุ่นได้เข้าควบคุมเกาหลีเกือบทั้งหมดและกองทัพเรือได้คุมทะเลเหลือง จีนยอมจำนน สนธิสัญญายอมรับรองเอกราชเกาหลี สิ้นสุดข้อแอบอ้างสิทธิของจีนด้านอำนาจอธิปไตยเหนือเกาหลี จีนต้องยกหมู่เกาะฟอร์โมซา(ไต้หวัน)และคาบสมุทรเลียวตุง รวมทั้งเมือปร์อาเธอร์ให้แก่ญี่ปุ่น เป็นเมืองท่าเพิ่มเติมอีก4 เมือง และจีนต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินสด

     จากชัยชนะดังกล่าวญี่ปุ่นจึงเป็นปัจจัยที่ต้องพิจารณาในกิจการตะวันออกไกล ญี่ปุ่นพัวพันเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในแวดวงการแข่งขันของเหล่ามหาอำนาจ โดยไม่ให้ประโยชน์แก่ญี่ปุ่น
     หนึ่งสัปดาห์แห่งการลงนาม ผู้แทนรุสเซีย ฝรั่งเศสและเยอรมันได้แจ้งโตเกียวว่ารัฐบาลของตนมีความเห็นเกี่ยวกับการที่คาบสมุทรเลียวตุงจะถูกโอนเป็นของญี่ปุ่น ผุ้แทนทั้งสามประเทศได้แนะให้โตเกียวคืนคาบสมุทรให้แก่จีน  รุสเซียมุ่งหมายที่จะรักษาโอกาสของตนในการขยายอาณาเขต ฝรั่งเศสผู้เป็นพันธมิตรหวังที่จะให้รุสเซียสนับสนุนความทะยายอยากของฝรั่งเศสในจีภาคใต เยอรมันพยายามจะกีดกันรุสเซียให้ตกบอบเวทีการเมืองยุโรป ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น แต่ความสัมพันธ์ของจีนกับญี่ปุ่นในรูปแบบใหม่เปิดช่องให้สามประเทศเข้ามาแทรกแซง
     รุสเซียมีโครงการจะสร้างทางรถไฟในจีนซึ่งเต็มใจที่จะใช้กำลังหนุนหลังข้อเรียกร้องของตน แม้หลายประเทศจะเห็นใจญี่ปุ่นแต่ไม่มีคำมั่นว่าจะสนับสนุนญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเองก็อ่อนเปลี่ยจาการสงครามรัฐบาลจึงไม่มีทางเลือกเพียงสามวันหลังการแลกเปลี่ยนการให้สัตยาบันในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ สิ่งที่ญี่ปุ่นจะทำได้เพื่อรักษาเกียรติภูมิของตนคือการเพ่มจำนวนค่าชดใช้ค่าเสียหายจากสงคราม ผลพวงดังกล่าวกลับทำให้ชาวญี่ปุ่นรวมกันในการก้าวไปข้าหน้า ปฏิกริยาในทันที่ของฝายรัฐบาลคือปฏิกิริยาทางการทหาร ด้วยการเพิ่มกำลังพลอีก 6 กองพล ความพยายามในการปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์
     ความสัมพันธ์ของจีนกับยุโรป สามมหาอำนาจได้สิทธิในการเข้ามาลงทุนในจีน รุสเซียได้สิทธิสร้างทางรถไฟสายจีนตะวันออกข้ามแมนจูเรียเชื่อวาลดิวอสต็อค กับดินแดนรุสเซียตะวันตกไกล การฆาตกรรมพระนิกายโรมันคาธอลิค เปิดโอกาสแก่เยอรมนีใน้ตั้งข้อรเยกร้อง ผลคือจีนให้เยอรมนีตั้งฐานทัพเรือในเมืองเกียวเจา และให้สิทธิทางเศรษฐกิจในมณฑลชานตุง ซึ่งทำให้บรรดามหาอำนาจเกิดแก่งแย่งของสัมปทาน ต่อมาฝรั่งเศสได้ตั้งฐานทัพเรือที่กวางเจา-วัน
    เหตุการณ์ที่ทำให้ญี่ปุ่นเข้ามามีสิทธิมีเสียงในการเจรจาคือการเข้าช่วยกู้สถานทูตคืนจากพวกที่เรียกตัวเองว่าพวกนักมาว Boxer ซึ่งไม่พอใจต่อชาวต่างชาติ  เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นชาติเดียวที่อยู่ในฐานะที่จะส่งกองกำลังได้เร็วที่สุดและญี่ปุ่นกระทำการโดยถูกต้องตามครรลองมารยาทอันดีงามของการทหารและการทูต ซึ่งต่อมาได้มีการทำข้อตกลงและญี่ปุ่นได้ส่วนแบ่งในค่าชดใช้ค่าเสียหายจากจีนด้วย
     รุสเซียฉวยโอกาสจากบฏนักมวยเข้ายึดครองแมนจูเรียทั้งหมด รุสเซียจะไม่ถอนทหารจนกว่จีนจะยอมตกลงด้วย  เงื่อนไขที่รุสเซียระบุในเดือนกุมภาพันธ์นั้นย่อมทำให้แมนจูเรียกลายเป็นรัฐภายมต้การอารัขาของรุสเซีย ซึ่งทำให้เหล่ามหาอำนาจประท้วง โดยเฉพาะญี่ปุ่น
     ผลจากการใช้เล่ห์เพทุบายนี้ทำให้อังกฤษและญ่ปุ่นมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน อังกฤษเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นในการยื่นข้อเสนอต่อรุสเซียสุดท้ายรุสเซียยอมถอนทหาร แต่กลับแสดงท่าทีในทางตรงกันข้าม
     ญี่ปุ่นตัดสินใจที่จะเสนอคำแถลงทั่วไปแก่รุสเซีย โดยระบุการร่วมกันเป็นเบื้องต้นในการเคารพบูรณภาพทางดินแดนจีนและเกหลี รวมทั้งการรับรองสิทธิทางรถไฟของรุสเซียในแมนจูเยและผลประโยชน์ญี่ปุ่นทางกาเมืองและเศรษฐกิจในเกาหลีด้วย รุสเซียได้ให้คำตอบด้วยข้อเสนอที่ตอบโต้ที่รุแรง โดยตั้งข้อเรียร้องให้คำประกันบูรณภาพทางดินแดนเกาหลีเท่านั้น ไม่รวมจีน(และแมนจูเรีย)ขอคำมั่นจากญี่ป่นที่จะไม่สร้างป้อมปราการตามชายฝั่งเกาหลี และขอคำรับรองว่า แมนจูเรียอยู่นอกเหนือเขตอิทธิพลญี่ปุ่น … ญี่ปุ่นให้คำตอบโดยระบุเงื่อนไขกลางๆ ในรูปของคำขาด เมือ่รุสเซียเพิกเฉย ญี่ปุ่นจึงประกาศสงคราม
     เหตุการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีเหตุผลที่จะต้องสู้รบกัน แม้รุสเซียจะไม่ยอมรับว่ากำลังแสนยานุภาพของตนกำลังจะมาถึงจุดจบ ก็ประสบความยากลำบากกับความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ญี่ปุ่นเองก็กำลังจะสิ้นเนือ้ประดาตัวทางการคลัง ญี่ปุ่นจึงขอให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย ค่าเสียหายไม่ว่าจำนวนเท่าไรรุสเซียจะไม่ยอมชำระให้ ซึ่งสร้างความผิดหวังแต่ไม่สามารถจะเผลิญการสู้รบต่อไปได้อีก รัฐบาลญี่ปุ่นจำต้องยินยอม ผุ้แทนได้ลงนามในสนธิสัญญา
     มติมหาชนญี่ปุ่นไม่พอใจในสนธิสัญญามีการประกาศกฎอัยการศึกเป็นครั้งคราว อยางไรก็ตาม สนธิสัญญานั้นเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งประเทศในเอเชียมีชัยชนะเหนือมหาอำนาจหนึ่งในการสงครามเต็มรูปแบบ โดยัยชนะนั้นทำให้ผุ้ชนะได้ทั้งผลประโยชน์และสัญลักษณ์แห่งเกียรติภูมิ มีฐานะสูงสุดในเกาหลี มีสิทธิอันมีค่ายิ่งในแมนจูเรีย
      หากพันธมิตรอังกฤษ-ญี่ปุ่นจะมีความสำคัญต้องการทำให้ญี่ปุ่นมีฐานะเท่าเทียมกับบรรดามหาอำนาจ สงครามรุสเซีย-ญี่ปุ่นได้สร้างฐานะญี่ปุ่นมากว่านั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)