WWII:pol

      เยอรมันรุกเป็นครั้งสุดท้ายในแนวรบด้านตะวันออกในเดือนกรกฎาคม 1943 ที่ยุทธการ เคิสก์ กองทัพแดงกระหน้ำไม่ยั้งสามารถยันกำลังทัพเยอรมันกลับไปได้ หลังสมรภูมิรบที่สตาลินกราดแล้ว โซเวียตเป็นฝ่ายรุกในที่ทุกแห่งและภายหลังการขับเคียวต่อสู้อย่างหนักก็ประสบชัยชนะในที่สุด..
     ฝ่ายประเทศพันธมิตรตะวันตก ก็สามารถเอาชนะคืบหน้าได้ในยุทธภูมิทุกแห่งเช่นกัน และเร่มระแวงกันเองต่างเกรงว่าอีกฝ่ายจะทำสัญญาสันตะภาพแยก สตลินเปลี่ยนท่าทีที่มีต่อประเทศพันธมิตรตะวันตก ภายหลังจากที่รุสเซียรุกคืบเข้ายึดครองดินแดนยุโรปตะวันออกและเยอรมัน สตาลินอ้างการแก้แค้นเยอรมันและการประกันความปลอดภัยจากการโจมตีของเยอรมันในอนาคตขึ้นบังหน้า เพื่อสร้างวงรัฐบริวารทางตะวันตกขึ้น และขยายลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าสู่ยุโรป ประเทศพันธมิตรตะวันตกมีสภาพอ่อนล้าเกินกว่าจะจัดการกับสตาลินได้ เมื่อประเทศพันธมิตรตะวันตกไม่สามารถเปิดแนวรบที่ 2 ตามที่สตาลินต้องการได้ โซเวียตดำเนิการตั้งรับเพื่อรักษาพรมแดนด้วยการจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์และการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ สตาลินยึดอูเครนคืนจากเชคโกสโลวะเกีย แม้ว่าโซเวียตจะเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ แต่สตาลินก็ไม่ยอมรับอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบตะวันตก และไม่ให้ความร่วมมือตกลงอย่งง่าย ๆ ยิ่งโซเวียตรุกคืบเข้าแดนตะวันตกได้ไกลเท่าใด สตาลินจะบรรลุจุดหมายได้ยิ่งขึ้นเท่านั้น ขณะที่พันธมิตรตะวันตกขัดแย้งแตกแยกและสับสน และไม่เห็นความจริง โซเวียตได้ถือโอกาสทำแต้มได้มากที่เดียว
     สัมพันธมิตรตะวันตกมีปัญหาสำคัญคือเรื่องโปแลนด์ ในเดือนเมษยน 1943 เยอรมันพบศพทหารชาวโปลหลายพันคนในเขตป่ากาตินใกล้เกบสโมเลนส์โซเวียตกล่าวหาวานาซีเป็นมือสังหาร แต่หลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นฝีมือของฝ่ายรักษาความมั่นคงโซเวียต ตั้งแต่ ปี่ 1940 รัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์เรียกร้องให้ดำเนินการสอบสวน โซเวียตตัดสัมพันธ์กับรัฐบาลโปลทันที่ สัมพันธ์ภาพระหว่างโซเวียตและโปแลนด์ในระหว่างสงครามยุติลง
     ที่ประชุม ณ เมืองเตหะราน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1943 เชอร์ชิลเสนอให้ใช้เส้นแบ่งเขตเคอร์ชัน กำหนดพรมแดนโปแลนด์ทางด้านตะวันออกให้ชดเชยดินแดนทางตะวันตกที่สูญเสียไป โดยดึงส่วนของเยอรมันมาชดเชย สตาลินตกลงทันที่และเสนอให้ใช้เส้นแบ่งเขตโอเดอ เนอีสเป็นพรมแดนตะวันตก ซึ่งขยับโปแลนด์ให้เขยื้อนไปทางตะวันตก เชอร์ชิลชักชวนรัฐบาลโปลที่ลอนดอนให้ยอมรับข้อต่อรองนี้ แต่เมือสตานิสลาส มิโก ลาซซิก ผู้นำรัฐบาลโปลพลัดถิ่นคนใหม่เดินทางไปมอสโก ในปี 1944 สหภาพโซเวียตให้การรับรองคณะกรรมธิการลับลินเพื่ออิสรภาพแห่งโปแลนด์ ซึ่งนิยมคอมมิวนิสต์ไปเรียบร้อยแล้ว สิงหาคม กองทัพแดงทีตั้งมี่นอยู่ที่ปราการ เคลื่อนข้ามแม่น้ำวิสตูลาเข้าใกล้กรุงวอร์ซอร์ กองกำลังโปลใต้ดินจัดตั้งแนวร่วมกับรัฐบาลพลัดถิ่นที่ลอนดอนก่อการลุกฮือขึ้นต่อสู้นาซี โศกนาฏกรรมครั้งสำคัญของชาติโปลที่อาภัพเกิดขึ้นอีก กองทัพโซเวียตนิ่งเฉพยปล่อยให้นาซีเยอรมันทำลายแกนกำลังชาวโปล ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์ และเป็นอุปสรรคต่อการเข้ายึดครองโปแลนด์ของโซเวียต จากนั้นทัพโซเวียตจึงค่อยบุกเข้าขับไล่นาซีออกไปจากกรุงวอร์ซอว์ คณะกรรมมาธิการคอมมิวนิสต์โปลได้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติโปแลนด์ขึ้น
     ความขัดแย้งเรื่องการเปิดแนวรบที่ 2 เป็นเหตุให้ไมตรีกับฝ่ายสัมพันธมิตรร้าวฉาน ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศที่มอสโกในเดือนตุลาคม ปี 1943 โซเวียตให้ประเทศตะวันตกรับประกันว่าจะบุกฝรั่งเศสในฤดูใบไม่ผลิทีจะถึง ที่ประชุมเมืองเตหะรานในเดือนพฤศจิกายน สตาลินคัดค้านเชอร์ชิลที่เสนอให้บุกบอลข่านเพราะต้องการกันมิให้โซเวียตขยายอิทธิพลเข้าสู่อาณาเขตนี้ สหรัฐฯสนับสนุนให้บุกฝรั่งเศส สตาลินอาศัยที่รูสเวลท์และเชอร์ชิลขัดแย้งกันเนือ่งจากทั้งสองที่บุคลิกและทัศนะที่แตกต่างกันหาประโยชน์ได้สำเร็จ การยกพลบุกฝรั่งเศสทางฝั่งนอร์มัดีช่วยให้โซเวียตคลายกังวลเรื่องที่นาซีและประเทศตะวันตกจะทำสนธิสัญญาสันติภาพแยกและยุติสงครามเร้ซเกินไป พันธมิตรยกพลขึ้นบก บุกฝรั่งเศสที่นอร์มังดีในเดือนมิถุนายน ปี 1944
     ขณะที่กองทัพโซเวียตคืบเข้าสู่โปแลนด์และบอลข่าน เชอร์ชิลได้พยายามขยายปริมณฑลเขตอิทธิพลของอังกฤษภายหลังสงคราม รูสเวลท์ประณามการกระทำดังกล่าวในเดือนมิถุนาปี 1944 เชอร์ชิลเสนอรูปแบบการจัดอิทธิพลในยุโรปตะวันออกได้แก่ โซเวียตมีอิทธิพลในรูเมเนียและบัแกเรีย ร้อยละ 90 อังกฤษได้คุมกรีซเช่นกัน ให้แบ่งยูโกสลาเวียและ ฮังการีกันครองประเทศละครึ่ง แต่ข้อเสนอนี้ไม่มีความหมาย เพราะโซเวียตยึดครองและควบคุมดินแดนดังกล่าวไว้หมดแล้ว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)