วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

WWII:Eastren front


     22 มิถุนายนเริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซ่า กองทัพเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายอักษะรุกรานสหภาพโซเวียตโดยแบ่งการโจมตีอกเป็นสามทางพุ่งเป้าหมายไปยังนครเลนินกราด กรุงมอสโกและแหล่งน้ำมันแถบเทือกเขาคอเคซัส กองทัพเยอรมันบางส่วนได้รับอนุญาตให้ใชบ้ดอนแดนฟินแลนด์ในการโจมตีสหภาพโซเวียต
     ฮังการีและสโลวาเกียประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียตท้งระเบิดกรุงเฮลชิงกิฟินแลกน์ประกาศสงครามต่อสหภาพโซเวียต สงครามต่อเนื่องเริ่มขึ้น อังเบเนียประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต
   กรกฎาคมกองทัพเยอรมันบุกกรุงริกา เมืองหลวงของลัตเวีย ระหว่างทางไปโจมตีนครเลนินกราด สตาลินประกาศ “นโยบายเผาให้ราบ”กองทัพเยอรมันเคลื่อนทัพถึงแม่น้ำดไนเปอร์ ไอช์แลนด์ถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา ยูโกสลาเวียถูกผนวกเข้ากับประเทศต่าง ๆ ที่เป็นฝ่ายนิยมอักษะ
กองทัพเยอรมันแย่งเลนินกราดออกจากส่วนที่เหลือของสหภาพโซเวียต อังกฤษและสหภาพโซเวียตลงนามในข้อตกลงป้องกันร่วมกันโดยให้สัตยาบันว่าจะไม่ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพแยกต่างหากกับเยอรมนี
กองทัพแพนเซอร์ยึดเมือมินสก์ และเปิดทางไปสู่ยูเครน กองทัพแดงโจมตีโต้แถบเลนอนกราด
      สิงหาคม ทหารโซเวียตถุกลอมโดยทหารเยอรมันและจับเชลยศึกได้กว่า สามแสนนายเมืองโอเรลถูกยึดเยอรมนียึดเมืองสโมเลนสก์ฮิตเลอร์ย้ายกำลังบางส่วนจากกองทัพกลุ่มกลางไปช่วยกองทัพกลุ่มเหนือและกองทัพกลุ่มใต้ กองทัพเยอรมันเคล่อประชิดนครเลนินกราด ประชาชนรีบสร้างเครื่องกีดขวางข้าศึก เครื่องอินิมาถูกยุด
     กันยายน ทัพฟินแลนด์เข้าช่วยเลนินกราดถูกตัอขาดจากโลกภายนอก การปิดล้อมเลนินกราดเริ่มต้นขึ้น ทัพเพยอมันล้อมกรุงเคียฟ ..ยึดกรุงเคียฟ สหภาพโซเยตสูญเสียทหารจำนวนมากในกรปอ้งกัน
     ตุลาคม ปฏิบัติการไต้ฝุ่น กองทัพกลุ่มกลางของเยอมนีเริ่มการโจมตีกรุงมสโกเต็มขั้น จอจี้ร์ ซูคอฟเป็นผู้บัชาการกองทัพโซเวียตป้องกันมอสโก ทางใต้กองทัพเยอรมันรุกไปถึงทะเลอซอฟและยึดเมืองมาริอูพอล รัฐบาลโซเวียตย้ายไปยังเมืองคุยบีเซฟ ริ่มฝั่งน้ำโวลกา แต่สตาลินยังอยุ่ในมอสโก ส่วประชาชนเตรียมกับดักรถถังเพื่อรับมือกับกองทัพเยอรมัน กองกำลังเสริมกองทัพแดงจากฤซบีเรียเดินทางถึงกรุงมอสโก มอสโกประกาศกฎอัยการศึก  รอสสตอฟ อดน วอน ถูกยึดครองกองทัพกลุ่มใต้เคลื่อทัพไปถึงเมืองซาเวสโตปอล ในคาบสมุทรไครเมียแต่ไม่มีรถถังในการบุก โรสเวลต์อนุมัติเงินกว่า พันล้านดอลล่าร์ตามนโยบายใหเช้ายืมแก่โซเวียต
     พฤศจิกายน
เยอรมันยึดเมืองเคิร์สก์ สตาลินกล่าวปราศรัยต่อประชาชนโซเวียตเป็นครั้งที่สองระหว่างการปกครองนสามทศวรรษ
ยุทธการมอสโก อุณหภูมิใกล้มอสโกลต่ำลงถึง ลบสิบสององศาเซลเซียสทหารสกีถูกส่งออกไปโจมตีเยอรมัน
    ธันวาคม ทัพเยอรมันอยู่ห่างจากมอสโก 11  ไมล์กองทัพโซเวียตตีโต้ในช่วงทีเกิดพายุหิมะครั้งใหญ่สหราชอาณาจักรประกาศสางครามกับฟินแลนด์
การรุกมอสโกฟยุดชะงักอย่างสมบูรณ์
     มกราคม 42
กองทัพแดงเริ่มรุกคืบครั้งใหญ่ภายใต้การนำของนายพลจอจีร์ จูคอฟ ฮิตเลอร์ปราศรัยที่เบอร์ลิน เกียวกับการทำลายล้างชาวยิว และแจ้งว่าความล้มเหลวในการบุกโซเวียตเนื่องจากสภาพอากาศไม่ดี เยอรมันถอนทัพจากแนวรบตะวันออกหลายจุด
     กุมภาพันธุ์
กองทัพเยอรมันในสหภาพโซเวียตถูกขับออกจากเคิร์สค์ ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในแผนการของเยอรมัน
    มีนาคม
การรุของกองทัพแดงในคาบสมุราไครเมียเริ่มต้นขึ้น
    เมษายน
กองทัพเยอรมนเริ่มการบุกในคาบสมุทรไครเมีย
พฤษภาคม กองทัพโซเวียตเริ่มการโจมตีครั้งใหญ่ทีเมืองคาร์คอฟ มีการตกลงระหว่าง อังกฤษ-โซเวียต กองทัพเยอรมันได้รับชัยชนะทีเมืองคาร์คอฟ
 
   มิถุนายน
กองทัพเยอรมันมุ่งนห้าไปยังเมืองรอสตอฟ ปฏิบัติการสีน้ำเงินเริ่มต้นขึ้น โดยมี่เป้าหมายที่จะยึดครองสตาลินกราดและเทือกเขาคอเคซัส
    กรกฎาคม
กองทัพเยอรมันสามารถยึดเมืองซาเวสโตปอลได้สำเร็จเป็นการยุติการรบต้านทานของทหารโซเวียตในคาบสมุทรไครเมีย กองทัพเยอรมันยึดเมืองรอสตอฟ ดอน วอน กองทัพโซเวียตล่าถอยไปตามแม่น้ำดอน
     สิงหาคม
จอมพล เกออร์กี จูคอฟ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการการป้องกันในนครสตาลินกราด สตาลินกราดถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักจากกองทัพอากาศเยอรมัน ลักเซมเบิร์กถูกผนวดเข้ากับเยอรมนีเอย่างเป็นทางการ
     กันยายน
สตาลินถูกปิดล้อม นายพล วาซิลี ซุยคอฟได้รับแต่งตั้งให้บัญชากากรการป้องกันเมือง กองทัพเยอรมันบางส่วนถูกผลักดันออกไป ทหารโซเวียตส่งกำลังข้ามแม่น้ำโวลก้าในยามค่ำคืน
    ตุลาคม
การรุกของกองทัพเยอรมันในสตาลินกราดหยุดชะงัก
     พฤศจิกายน
กองทัพโซเวียตภายใต้การบัญชาการของจอมพล เกออร์กี จูคอฟ เร่มต้น ปฏิบัติการยูเรนัสโดยมีเป้าหมายเพื่อโอบล้อมกองทัพเยอรมันในสตาลินกราด กองทัพเยอรมัถูกปิดล้อมที่นครสตาลินกราด ฮิตเลอร์สั่งให้นายพลพอลลัสห้ามถอยออกจากนคร…
     จากความพ่ายแพ้ที่สตาลินกราดทำให้เเนวรบรุสเซียเปลี่ยนแปลงไปจากครั้งปฏิบัติการบาร์บารอสซากองทัพรุสเซียล้ำเข้ามาในแดนเยอรมัน ซึ่งฮิตเลอร์ต้องการกำจัดและเป็นที่มาของ ปฏิบัติ ซิทาเดล และการปะทะที่เคิสก์ซึ่งหลายคนกล่าวว่าเป็นการปะทะกันทางรถถังที่ใหญ๋ที่สุด และเป็นชุดปฏิบัติที่มีราคาเเพงที่สุดภายในวันเดียว ฮิตเลอร์ต้องการจะเปลี่ยนโฉมหน้าการรบทางด้านตะวันออกอย่างสิ้นเชิง จึงระดมกำลังกว่าเก้าแสนนาย ฝ่ายรัสเซียหนึ่งล้านเจ็ดแสนกว่านาย การปะทะกันได้รับความสูญเสียอย่างหนักทั้งสองฝ่ายในขณะที่ฝ่ายรัสเซียมีกำลังสนับสนุนและพร้อมที่จะทำการรบอีกมหาศาล โดยที่เยอรมันยากจะหากำลังทดแทนที่สูญเสียไป ชัยชนะจึงตกเป็นของรัสเซีย

    จากการที่ชนะเยอรมันได้เด็ดขาดรัสเซียจึงสามารถริเริ่มการปฏิบัติการในเชิ่งรุกซึ่งเป็นเวลาของรัสเซียในช่วงสงครามที่เหลืออยู่








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...