วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561
Les Misérables (Victor-Marie Hugo)
เลมีเซราบล์ หรือ เหยืออธรรม เป็นนวนิยายประพันธ์โดย วิกเตอร์ อูโก ชาวฝรั่งเสส และเรียกได้ว่าเป็นหนึง่ในนิยายที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 19
วิตอร์-มารี อูโก เป็นกวี นักเขียนบทละคร นักประพันธ์ ศิลปิน รัฐบุรุษ และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชาวฝรั่งเศส เป็นผุ้มีบทบาทอย่างสูงสำหรับการเคลื่อนไหวทางวัฒธรรมยุคโรแมนติกในประเทศฝรั่งเศส
ชื่อเสียงของอูโกทางด้านงานวรรณกรรมในประเทศฝรั่งเศสมาจากงานกวีนิพนธ์และบทละคร ส่วนงานนวนิยายเป็นที่รู้จักรองลงมา ในบรรดางาน กวีนิพนธ์ของเขา คือLes Contemplations และ La Légende des siècles จัดเป็นงานที่โดดเด่นและถุกวิพากษ์วิจารณือย่างมาก บางครั้งอูโกได้รัยการกล่าวขวัญถึงในฐานะกวีผุ้ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสขณะที่เขาเป็นที่รู้จักภายนอกประเทศจากผลงานนวนิยาย เรื่อง เหยือ่อธรรม
ตัวละคร
ฌอง วับฌอง นายมาดแลน อูลติม โฟชเลอวองต์ นายเลออล็อง, อูร์แบง ฟาบร์ หรือ 20601 เป็นตัวละครหลักของเรื่อง เขาต้องโทษฐานขโมยขนมปัง้ก้อนหนึ่ง แต่อีกสิบเก้าปีต่อมาก็พ้นโทษโดยมีทัณฑ์บน เขาไม่ได้รับการต้อนรับจากสังคมโดยหาวาเขาเคยเป็นนักโทษ บิชอบมีเรียล จึงเข้ามาอ้มขูเขา และชี้ทางสว่างในเขาดำเนินชีวิตใหม่อันสะอาดบริสุทธิ์กระทั่งเขาได้เป็นเจ้าของโรงงานและเป็นนายกเทศมนตรีตามลำดับ ต่อมาเขาได้รับบุตรสาวของฟองตีน นามว่า "โกแซต" ไว้เป็นบุตรบุญธรรมและอุปการะจนกระทั่งเธอเติบใหญ่ แต่ต้องการไม่ให้โกแซตรู้ถึงอดีตของเขา จึงตัดสินใจกันตนออกห่างทำให้เขาอ่อนแอลง และล้มป่วย แต่ท้ายสุดมริอุสและโกแซตก็มาเยี่ยม เขาจึงสิ้นใจที่นั่น
ฌาแวร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีบุคลิกภาพย้ำคิดยำ้ทำ และปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานสืบสวน เขาได้รับหน้าที่ให้ตามล่าตัวฌอง วัลฌองหลายครั้งหลายครา ครั้งหนึ่ง ฌอง วับฌองมีโอกาสสังหารเขาแต่ก็ปล่อยเขาไป ในครั้งต่อมาที่เจ้าหน้าที่ฌาแวร์เผชิญหน้ากับฌอง วัลฌอง เขารู้สึกว่าการกระทำความผิดของฌอง วัลฌองเป็นส่งิอันมิชอบด้วยกฎหมาย ขณะที่อีกใจหนึ่งของเขากลับบอกว่าฌอง วัลฌอง มีบุญคุณต่อเขา ท้ยที่สุดแล้วเจ้าหน้าที่ฌาแวร์ก็ตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม โดยกระโดดลงแม่น้ำแซน เพื่อยุตความขัดแย้งในจิตใจ
บิชอบมีเรียล สัฆราชแห่งดีญ ผุ้มีจิตใจเมตตาอารี เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบิชอบในครั้งที่ได้เข้าเผ้าจักรพรรดินโปรเลียนที่ 1 โดยบังเอิญ บิชอบมีเรียลได้ชีทางสว่างให้ฌอง วัลฌอง ดำเนินชีวิตใหม่หลังจากที่ฌอง วัลฌอง เข้ามาขโมยเครื่องเงินและเชิงเทียนของเขา
ฟองดีน กรรมกรหญิงชาวปรรีสผุ้ถุกสามีคือ เฟล็กซ์ โตโลมีแย ทอดทิ้งให้อยู่กับทารกน้อยเพศหญิง นาม "โกแซต" ซึ่งเป็นบุตของทั้งสอง ฟองดีนนั้นได้ฝากบุตรสาวให้อยู่ในความดุแลของคู่สามีภรรยาเตนาร์ดีแยร์ซึ่งมีอาชีพเป็นผู้จัดการรเตี๊ยมในหมู่บ้านมงต์แฟร์ แมย โชคร้ายที่สามีภรรยาคู่นี้มักข่มเหงโกแซตและบังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาส ระยะนั้นฟองดีนก็ได้งานทำที่โรงงานของนายมาดแลน และครั้งหนึงเธอซึ่งไม่รู้หนังสือวานให้คนช่วยเขียนจดหมายไปถึงคู่สามาีภรรยาเจ้าของ
โรงเตี๊ยมให้ ทำให้นายหญิงจับได้ว่าเธอให้กำเนิดบุตรทั้งที่ยังมิได้สมรสและไล่เธอออกจากงาน ซ้ำร้ายถุกเตนาร์ดิเยร์หลอกว่าโกแซตป่วยเป็นโรคไข้ผื่นคัน เพื่อให้ได้เงินมาช่วยลูกของตน ฟองดีนจึงขายเส้นผมและฟันหน้าของเธอ สุดท้ายแล้วก็ขายตัวเป็นหญิงโสเภณี ต่อมา ฌอง วัลบฌอง ทราบถึงชะตากรมอันรันทดของฟองตีนขณะที่เธอถูกเจ้าหน้าที่เาแวร์จับกุมตัวเพราะเข้าทำร้ายชายคนหนึ่งที่ร้องด่าเธอและทุ่มหิมะใส่หลังเธอ และก่อนที่ ฌอง วัลบฌอง จะสามารถนำโกแซตมาพบกับฟองตีน เธอก็หมดลมหายใจไปก่อนด้วยโรค ซึ่งคล้ายวัฒโรค
โกแซต, ยูฟราซี, เป็นบุตรสาวของฟงอตีนกับเฟล็กซ์ โตโลมีแย เมื่ออายุได้สามขวบมารดาฝากเธอไว้ในวามดุแลของคู่สามีภรรยาแห่งสกุลเตนาร์ดีเยร์ เธอถูกสามีภรรยาคุ่นี้เฆี่ยนและบังคับให้ใช้แรงงานอย่างหนักกระทั่งฌอง วัลฌอง เข้าช่วยเหลือเมื่อเธอมีอายุได้แปดปีโดยำนเงินมาไถ่ตัวโกแซตไปจากสามีภรรยาคู่นี้ และขณะที่จะนำเธอไปพบกับฟองตีนผุ้เป็นมารดานั้น ฟองตีนก็หมดลมหายใจลงก่อน ฌอง วัลฌอง จึงรับเธอไว้เป็นบุตรบุญธรรม โกแซตมีความรักกับมารียูส ปงต์แมร์ซีและสมรสกับเขาในตอนท้ายของเรื่อง...เป็นต้นhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C_%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%81
นอกจากนี้ยังมีตัวละครตัวหลักอีกหลายตัวละคร และตัวและครตัวรอง อีกหลายตัวละครเช่นกัน หาอ่านฉบับสมบุรณ์กันได้ โดย "เลส์ มี -เซ-ราบลส์" เคยได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้วตั้แต่ปี พ.ศ.2503 ในชื่อ "เหยื่ออธรรม" แปลเพียง 2 ภาคจากทั้งหมด 5 ภาคและไม่สมบูรณ์
ต่อมาในปี 2545 สำนักพิมพ์ข้าวฟ่างได้จักให้มีการแปล ออกมาอีกครั้งในชื่อ "ตรวนชีวิต" ซึ่งเป็นเพียงฉบับย่อ
ปี พ.ศ. 2546 ได้มีการแปลชื่อภาษาไทยว่า "เหยื่ออธรรม" ฉบับสมบูรณ์ขึ้นมา โดย วิภาดา กิตติโกวิทhttps://web.facebook.com/notes/10150187153513139/
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น