อิเลียด หรือมหากาพย์สงครามกรุงทรอย เป็นกวีนิพนธ์เล่าเรื่อง จากการบันทึกเป็นลายลักษณ์ของกวีตาบอดนาม โฮเมอร์ เล่ากันว่ากำเนิดของเทพปกรฌัมกรีกในรูปแบบการเขียน เร่ิมต้นทีโฮเมอร์ เขียนถึงอิเลียดเล่าถึงเหตุการณ์ช่วงสุดท้ายของสงครามกรุงทรอย เมื่อภัยพิบัติจากเทพเจ้ายุติลงพร้อมกับการแตกคอของแม่ทัพฝ่ายกรีก อะกาเมมนอน กับอะคิลลีส ทำให้สถานการณ์พลิกผัน การรบอันดุเดือดยังดำเนินต่อไป
อิเลียด มีอีกชื่อหนึ่งว่า "ลำนำแห่งอิเลียน" ในภาษากรีก หรือ "ลำนำแห่งอิเลียม" ในภาษาละติน ซึ่ง "อิเลียน" หรือ "อิเลียม" เป็นอีกชื่อหนึ่งที่นิยมเรียกชาวเมืองทรอย นอกจาก ชาวโทรจัน
อิเลียนด อาจเป็นชื่อเรียกที่คนสนใจวรรณกรรมรู้จักเป็นอย่างดีในฐานะวรรณกรรมสำคัญแห่งยุคอารยธรรมคลาสสิค (อารยธรรมกรีก โรมัน) แต่สำหรับบุคคลทั่วไปอาจไม่คุ้นหูนักแต่แน่นอนว่าพวกเขาต้องเคยได้ยินตำนานสงครามกรุงทรอยหรือเฮเลนแห่งทรอยแย่างแน่นอน สองเรื่องเล่านี้คือเรื่องเดียวกัน แต่ขอบเขตของอิเลียดจะเน้นอยู่ที่ช่วงสุดท้ายของสงครามมากกว่าจะเล่าภาพรวมทัี้งหมดของสงคราม เหตุเกิดสงครามในอิเลียตกล่าวถึงการตัดสินใจของปารีส เพียงสั้นๆ และเหตุการณ์ม้าไม้เมืองทรอย อันเป้นจุดสิ้นสุดของสงครามอ่างแท้จริงได้อล่าวถึงไว้ในโอดิสซี มหากาพย์อีกเรื่องของโอเมอร์
เหตุของสงครามกรุงทรอยว่ากันว่ามาจากการที่ปารีส เจ้าชายแห่งเมืองทรอยลักพาตัว เอเลนแห่งสปาร์ตา ภรรยาของกษัตรยิืเมเนลัสแห่งสปาร์ตา มาเป็นหยิงงามคู่ใจตน ทำให้เหล่าวีรบุรุษกรีกต้องรวมตัวกันเพื่อชิงตัวเฮเลนกลบคืนมาแต่สาเหตุแท้จริงของสงครามครั้งนี้เกิดจากความขัดแย้งของทวยเทพมากว่ามนุษย์เสียอีก
เมื่อ เอรีส เทพีแห่งความขัดแย้งไม่ได้รับเชิญไปงานแต่างงานของพ่อแม่อะคิลลีส ด้วความโกรธเธอจึงโยแอปเปิลสีทองสลักว่า "แด่ผุ้ที่งดงามที่สุด" ไปกลางงาน บรรดาเทพีต่างแย่งชิงที่จะเป็นผุ้งดงามที่สุด สุดท้ายจึงเหลือเทพีเข้าชิงเพียง เฮร่า อธีนา่ และ อโฟรไดที เทพีทั้งสามไปขอให ซุส ตัดสิน ทว่า ซุสบ่ายเบียงให้เจ้าขายปารีสแห่งเมืองทรอยตัดสินแทน แน่นอนว่าเทพีท้งสามต่างติดสินบนปารีสด้วยของเสนอต่างๆ สุดท้ายข้อเสนอของอโฟรไดทีต้องใจปารีสมากที่สุด ข้อเสนอที่ว่าจะได้หญิงที่งามที่สุดในโลกเปนภรรยา จากข้อเสนอนั้นทำให้ปารีสชิงตัวเฮเลนได้สำเร็จด้วยความช่วยเหลือจาอโฟไดที
อย่างที่รู้กันว่าจุดจบของกรุทรอยอยุ่ที่บรรดาทหารกรีกออกอุบายส่งม้าไม้บรรณาการแก่พวกทรอย ในม้าไม้ขนาดยักษ์น้นเต็มไปด้วยทหารกรีกที่พร้อมโจมตีกรุงทรอยให้พินาศย่อยยับ แต่ในความเป็นจริงแล้วเนื่องเรื่องสิ้นสุดลงที่ศพของ เฮกเตอร์ วีรบุรุษฝ่ายทรอยได้รับการฝังตามธรรมเนียม
รายละเอียดกลศึกม้าไม้เมืองทรอยที่เลื่องลือนั้น ปรากฎรายละเอียดใน โอดีสซี ที่เล่ากถึงการเดินทางกลับบ้านของวีรบุุษโอดิสซีหลังจากที่ฝ่ายกรีกตีกรุงทรอยล่มสลาย รวมถึงเล่อย่างละเอียดไว้ใน เอเนียด มหากาพยตำนานการอพยพของชาวโทรจันมาตั้งถ่ินฐานใหม่ท่คาบสมุทรอิตาลี
อิเลียด เป็นเรื่องเล่าเก่าแก่ ที่ไม่มีวันตาย คำศัพท์หลายคำใน ดิกชันนารี มาจากเรื่องเล่านี อาทิ Trojan Horse หมายถึงเล่ห์กลแผงในส่ิงที่ดุไม่เป็นอัตราย หรือ Achills' heel หมายถึง จุดอ่อนหรือจุดตาย นอกจากนี้ยังถุกนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์อย่าง ทรอย (2004)
http://readerycafe.com/posts/391
โอดีสซ๊ย์ เป็นบทประพันธ์มหากาพย์กรีกโบราณ หนึ่งในสองเรื่องโฮเมอร์ คาดว่าประพันธ์ขึ้นในราว 800 ปีก่อนคริสตกาล ที่แค้วนไอโอเนีย ดินแดนชายทะเลฝั่งตะวันตกของตุรกีซึ่งอยู่ในอาณัติของกรีก บทกวีเล่าเรื่องราวต่อจากอีเลียดว่า ด้วยการเดินทาวกลับบ้านที่อะาคาของวีรบุรุษกรีกชื่อ โอดิซุส (หรือยูลิซิส ตามตำนานโรมัน ) หลังจากการล่มสลายของทรอย
โอดิซูสใช้เวบลาเดินทางกลับบ้านนานถึง 10 ปี หลังจากที่ใช้เวลาไปในศึกเมืองทรอยแล้วถึง 10 ปี ระหว่างเวลาเหล่านั้น เทเลมาคัย บุตของเข้า และพีเนโลปผุ้ภรรยา ต้องต่อสู้กับกฃุ่มคนพาลที่พยายามจะของวิวาห์กับพิเนโลป เพราะต่างคิดว่าโอดิซูสเสียชีวิตแล้ว
บทกวีชุดนี้เป็นรากฐานสำคัญต่องานวรรณกรรมตะวันตกยุคใหม่เรียกได้ว่าเป้ฯอันดับสองรองจากอีเลียอ มีการศึกษาและแปลออกเป็นภาษาต่างๆ มากมายทั้งโลก เชื่อว่าบทกวีเร่ิมแรกประพันธ์ขึ้นในลักาณะวรรกรรมมุขปาฐะ เืพ่อาการขับร้องลำนำของเล่านักดนตรีมากว่าเพื่อการอ่าน ใช้ฉันทลักา์แบบ dactylic hexameterประกอบด้วยบทกวี 12.110 บรรทัด...th.wikipedia.org/wiki/โอดิสซีย์
วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น