วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Trend World Geopolitical 2024


            จากสงครามการค้าสหรัฐฯกับจีนเริ่มขึ้นในปี 2018 สู่สงครามยูเครน-รัสเซีย 2022 ตามด้วยสงคราม
อิสราเอล-ฮามาส ปลายปี 2003 และไต้หวันที่มีความพยทยาสร้าง ไความปกติใหม่"ในการยกระดับการแลกเปลี่ยนการเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลกับสหรัศฯ และชาติพันธมิตร แม้จะยังไม่ล้ำเส้น ที่จีนขคดไว้ แต่ทุกการขยับของไทเปที่ปักกิ่งมองว่าท้าทายโดยตรง ก็เพ่ิมความเสียงที่จะนำไปสู่สงครามใหญ่ได้  และประกอบกับปี 2024 เป็นปีแห่งการเลือกตั้งโลก ทั้งสหรัฐและยุโรป  ซึ่งตามปกติการหาเสียงในสหรัฐแทบทุกครั้งมักจะเป็นช่วงที่มีการสาดไฟ สาดสีใส่กัน แคดิเดตประธานาธิบดีแต่ละคนจะหาเสีงด้วยชุดนดยบายที่แข็งกร้าวต่อจีน ทำให้บรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งร้อนขึ้น... ที่มา : https://thestandard.co/world-geopolitics-2024-war-risk-thailand-challenge/

            การเลือกตั้งใหญ่จะเกิดขึ้นในมากกวา 50 ประเทศในปี 2024 โดยเฉพาะประเทศที่มีความสำคัญด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเลือกต้งกิดขึ้นภายใต้แนวโน้มกระแสประชนิยม และการแบ่งขั้วทางการเมือง ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่อนโยบายเศรษฐกิจ ท่าที่ต่อากรเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และความขัดแย้งทางทหารที่ยังคงเกิดขึ้น 

          การเลือกตั้งที่สำคัญในปี 2024 จะเกิดขึ้นใน 6 ประเทศ ดังนี้


         - การเลือกตั้งทัวไปในบังคลาเทศ 7 มกราคมเป้นการเลือกตั้งแรกของปี 2024 เป็นหนึ่งในการเลือกตั้งที่จะมีความขัดแย้งมากที่สุด นายกรัฐมนตรี ซีค ฮาซีนา และพรรค อวามี ลีค ครองอำนาจมา 15 ปี องค์กร ฟรีดอม เฮาส์ รายงานว่า รัฐบาลกระชับอำนาจมากขึ้น ดดยการคุกคามพรรคฝ่ายค้าน สือมวลชน และประชสังคม ผุ้นำฝ่ายค้านส่วนใหญ่ถูกจับกุม ล่าสุด มุอัมหมัด ยุนุส ผุ้ก่อต้งธนาคาร กรามีน ถูกศาลสั่งจำคุก 6 เดือน เพราะละเมิดกฎหมายแรงงาน บังคลาเทศเป็นตัวอย่างประเทศที่สามารถจัดการเลือกตั้ง ดดยไม่ได้ยึดหลักการประธิปไตย

        - การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน 13 มกราคม ซึ่งจะมีผลสำคัยต่อทิศทางภุมิรัฐศาสตร์ของภุมิภาคนี้ ประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 2 สมัย กฎหมายห้ามลงสมัครสมัยที่ 3 ผุ้สมัคร สำคัญคือ รองประธานาธิบดไล่ ชิงเต๋อ จากพรรครัฐบาล คู่แข่งคือ เหา ยัว อิฮ จากพรรคก๊กมินตั๋ง และ โคเวน- จี จากพรรค ไต้หวัน พีเพิล ปาร์ตี้ ผุ้สมัครทั้ง 3 คนล้วนเคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมาตรีมาก่อน จีนมองตัวแทนผู้ตัวแทนพรรค รัฐบาลว่าเป็นภัยต่อนโยบาย "จีนเดียว" แม้ทั้ง 3 พรรคการเมืองจะคัดค้านการที่ไต้หวันจะประกาศเป็นเอกราช

     - การเลือกตั้งทั่วไปปากีสถาน 8 กุมภาพันธ์ 2024 ปากีสถานเป็นประเทศที่การเลือกตังสามารถเลื่อนออกไปได้ นายกฯ Shehbaz Sharif ประกาศยุบสภาในเดือนสิงหาคม 2023 กฎหมายกำหนดให้เลือกตั้งใน 90 วัน แต่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดเป็น วันดังกล่าว เหตุผลคือมีเวลาพอในการเตรียมการเลือกตั้ง แต่สาเหตะสำัญเพราะระยะ 2 ปี ที่ผ่านมา เกิดวิกฤติการในปากีสถาน เมษายน 2022 รัฐสภาปลด นายกรัฐมนตรี Imran Khan และได้มาเป็นผุ้นำการประเท้วง ต่อมาศาาลตัสสินจำคุกเขา 3 ปี ข้อหารับสินบน ต้นปี 2023 ปากีสถานเอาตัวรอดมาได้จาการล้มละลายจาหนี้สินต่างประเทศ

       - การเลือกตั้งทั่วไปอินโดนีเซีย การเลือกในอินโดนีเซียเป็นงานด้านโลจิสติกส์ ที่มีขอบเขตมหาศาสล
เพราะเป็นการเลือกตั้งประเทศที่มีพลเมือง 275 ล้านคน ประชาชนกระจายอยุ่นเกาะ 17,000 แห่ง และทำการเลือกตั้งให้เสร็จในวันเดียว รัฐะรรมนูญห้ามไม่ให้ประะานธิบดี โจดค วิโดโต (โจโควี) ลงสมัครเป็นสมัยที่ 3 ผุ้สมัคระแนนนำคือ Prabowo Subanto อดีตนายพลลูกเขยเผด็จการ ซูฮาโต เคยแพ้โจโควีมาแล้ว 2 ครั่ง ปุ้สมัครคนที่ 2 คือ Ganjar Pranowo ผุ้ว่าการเขตชวาตอนกลาง สมัครในนามพรรคของโจดควี ผุ้สมัครคนที่ 3 คือ อนีส บาสวีแดน เป็นอธิการบริดี มหาวิทยาลัยอิสลาม

         - การเลือกตั้งทั่วไปอินเดีย เมษายน-พฤษภาคมเป็นตัวอย่างความมหัสจรรย์ของประชาธิปไตย ประชากร 1.4 พันล้าน มีภาษาพูดกว่า 100 ภาษา สามารถใช้การลงคะแนนเลือกตั้งมาตัดสินว่าใครจะเป็นผุ้นำการเมือง ที่ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมมากในสภาพจะเป็นฝ่ายเลือกนายกรัฐมนตรี พรรค ของนายกรัฐมนตรีนาเรนทา โมดีคจะได้รับชัยชนะเป็นสมัยที่ 3 การสำรวจความเห็นของอินเดีย 8 ใน 10 ยอมรับผลงานของโมดีเศราฐกิจเติบโต 7% ทำให้รายได้คนอินเดียทั้่วประเทศเพื่มขึ้น ทำให้คนอินเดียมีความหวังว่า อนาคตจะดีกว่าวันนี้ 

       การเลือกตั้งสหรัฐ 5 พฤศจิการยน วงจรการเลือกตั้งโลกที่เป็นตรัี้งสุดท้ายของปี 2024 คงไม่มีการเลือกที่ไหนที่ส่งผลกระทบต่อดลกมากเท่ากับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายนการเลือกตั้งครั้งนี้เ็นเหตุการณ์คล้ายกับที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2020 ที่แข่งขันกันระหว่าง โจ ไบเดน กับ โดนัลด์ ทรัมป์ คนทั่วโลกสนใจการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะหากทรัมป์เป็นฝ่ายชนะ อาจหมายถึงจุจบของประชาธิปไตยในอเมริกาและ "ระเบียบโลก"ที่อเมริกาเป็นผู้นำ การเลือกตั้งพฤศจิกายนของสหรัฐฯ จึงถือเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญมาก ที่มา : https://thaipublica.org/2024/01/pridi387/




             โอกาศของรัฐบาลทรัพมปื 2  ผล "การเลือกตั้ขั้นต้นภายในพรรค" หรือที่เรียกว่า "ซูเปอร์ ทิวส์เดย์"เมือต้นเดือนมีนาคม ทำให้การเลือกตั้งชิงตำแน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ น่าจะเป็นการขับเคี่ยวกันระวหาง ประธานาธิบดี โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต และอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรคริพับลิกัน และจะเป็นการรีแมตช์เมื่อปี 2020 ถึงแม้ว่าทรัมป์ ยังมีคดีที่ต้องสะสางอีกมากมาย แต่ข้อมูล่าสุดจกหลายเว็บพนันออนไลน์ในสหรัฐฯ ( 8 มีนาคม) ให้ความน่าจะเป็นที่ 54% ว่าทรัมปื จะชนะการเลือกตั้งปี 2024 ไบเดน ที่ 29% หากผลเป็นไปตามคาด ทรัมป์จะเป็นประธานาธิบดีคนที่สองในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่สามารถ กลับมาในตำแหน่งสมัยที่สอง 

       
 ผลกระทบภูมิรัฐศาสตร์โลก ชัยชนะครั้งแรกของทรัมป์ ในปี 2560 ประชาคมโลก ยัวคงเชื่อว่าสหรัฐญฯ จะกลับมาสู่แนวทางเดิมในการเป็น "ผู้นำค่ายดลกเสรี" แต่ชัยชนะครัี้งที่สองจะทกให้บทบาทของการเป็น "ตำรวจโลก" และ "นัการทูตแห่งโลกเสรี" ที่เป็นผุ้นำด้านสิทธิมนุษยชน สาธารณสุข รวมถึงการรับมือความเปลี่ยนแปลงภุมิอากาศโลก ของสหรัฐฯ สิ้นสุดลง ผ่านการกลับมาของนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" American First Policy การกลับมาคร้งนี้จะเป็นการเพ่ิมความมั่นใจของทรัมป์ ที่กังวบกับบความถูกต้องน้อยลง สามารถเป็นตัวของตัวองมากขึ้น พร้อมที่จะเดิมพันบนความรุ้สึก และตัดบนความรู้สึก และตัดสินใจด้วยตัวเองโดยไม่คำนึงการสนับสนุนนของรัฐสภา ฯ ซึ่งอาจเห็นได้จากเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเผชิญหน้ากับคู่ค้าอันดับต้นของสหรัญฯ อย่างเม็กซิโก จากนโยบายการเนรเทศแรงงานชาวแม็กซิโก ที่แฝงตัวในสหรัฐฯ รวมถึงการใช้กบังทางทหารกับแก๊งค้ายาเสพติดเม็กซิโก ซึ่งจะละเมิดอำนาจอธิปไตยของประเทศเม็กซิโก ทำให้สหรัฐฯ มีปัญหาในระยะประชิดตัว

         รวมถึงการออกจาองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ NATO ที่ถึงะทำไ้ดไม่ง่าย แต่เชื่อว่า ทรัมป์ จะลดการสนับสนุนทางทหารให้ยูเครน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชาติชารติสมาชิกและบั่นทอนศักยภาพของนาโต้ โดยรวม พร้อมเพ่ิมควมชอบธรรมให้กับรัสเซียและผุ้นำเผด็จการขวาจัดอื่นๆ ของโลก 

         หากมองนาโต้ เป็นกำแพบงความมั่นคงฝั่งยุโรปของสหรัฐฯ ความสัมสพันธ์ระหว่างประเทศกับ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ก็เป็นปราการด่านสำคัญทางฝั่งแปซิฟิก แ

         แต่นโยบายเศรษฐกิจชาตินิยม ผ่านความมั่นใจที่เพ่ิขึ้น อาจทำให้ทรัมป์มองกลยุทธ์ระยะสั้นตามอารมณ์..และอาจส่งผลต่ออิทธิพลในภูมิภาคนั้นๆ ของสหรัฐฯ อ่อนลง

          ความตึงเครียดระหว่างขั่วมหาอำนาจ จีนและสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดโอกาสให้ อินเดีย บริหารความสัมพันธ์สามเส้า ระหวาง รัสเซีย และสหรัญฯได้อย่างลงตัว ซึ่งหากนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ได้รับการเลือกตั้งในสมัยที่สอง ความต่อเนื่องทางนดยบายจะทำให้บทบาทอินเดียในฐานะผุ้นำของ "โลกใต้" Global South จะอยู่ไม่ไกล

         ตัวแปรในระยะกลางและยาว คือการที่ สหรัฐฯ ละเลยความสำคัญของทวีปแอฟริกา ที่มีแต่จะเพ่ิมขึ้นในอนาคต ซึ่งนอกจากจะเป็นทวีปที่มีความสำคัญในเชิงทรัพยากรธรรมชาติ ยังมีทรัพยากรมนุษย์ ที่มีอายุเฉลี่ยเพียง 19 ปี เมื่อเทียบกับ 40 ปี ของสหรัฐฯและจีนและภายในปี 2050 หนึ่งในสามของแรงงานวัยทำงานดลกจะอยุ่ในทวีปนี้ ดดยในทางกลับกัน จีนได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในแอฟริกามาหลยทศวรรษ

        แนวทางปฏิบัติต่อจีน ตามความเชื่อของผุ้เขียน ฝ่ายอนุรักษนิยมของพรรคริพับลิกัน คงหวังให้ความขัดแย้งกับจีน เป็นรากฐานนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯที่ยั่งยืน ผ่านการสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเพื่อกีดกันจีน คงพันธมิต นาดต้ ในยุดรปให้ต่อต้านจีน ส่วนนโยบายทางเศราฐกิจ เน้นค้าขายกับประเทศพันธมิตรเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือจีน

        จากฉากทัศน์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น มีความเป็นไปได้ว่า การสิ้นสุดความเป็น "ผู้นำโลก" ของสหรัญฯน่่าจะเกิดขึ้น และทำให้ "ระเบียบโลกใหม่" มีผุ้นำที่เพี่มขึ้น ตามเขตอิทธิพลของตน..ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/world/1117398






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...