วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical and national security

            ความมั่นคงแห่งชาติ หรือ การป้องกันประเทศเป็นมโนทัศน์ว่ารัฐบาล ตลอดจนรัฐสภาพ ควร
พิทักษ์และพลเมืองของรัฐต่อวิกฤตการณ์ "แห่งชาติ" ทุกชนิดโดยใช้การแสดงอำนาจต่าง ๆเช่น อำนาจทางการเมือง การทูต อำนาจทางเศรษฐกิจ แสนยานุภาพ เป็นต้น 

           มีการพัฒนามโนทัศน์ดังกล่าวเป็นหลักในสหรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมุ่งเน่้นเสนยานุภาพ แต่ปัจจุบันครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ซึ่งล้วนกระทต่อความมั่นคงที่มิใช่ทางทหารหรือเศราบกิจของชาติ และค่านิยมที่ความั่นงคงแห่งชาติรับมาใช้ ฉะนั้นเพื่อให้มีความั่นคงแห่งชาติ ชาติจึงจำเป็นต้องมีความมั่นคงทางเศราฐกิจ ความั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม น,ฯ ภัยคุกคามความั่นคงมิได้มีเฉพาะข้าศึกตามแบบ เช่น รัฐชาติอื่นเท่านนั้น แต่ยังมีตัวแสดงที่มิใช่รัฐ เช่น การค้ายาเสพติด บรรษัทข้ามชาติและองค์การนอกภาครัฐ ทางการบางแห่งยังรวมภัยพิบัติธรรมชาติและเหตุการณ์ซึ่งก่อความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงอยู่ในหมวดนี้ด้วย

         มาตรการที่ดำเนินเพื่อประกันความั่นคงแห่งชาติ ได้แก่  การใช้การทูตเพื่อกระชับพันธมิตรและแยกภัยคุกคาม,การระดมอำนาจทงเศรษฐกิจเพื่ออำนวยหรือขับบริษัท,การรักษากองทัพที่มีประสิทธิภาพ,การใช้การป้องกันฝ่ายพลเรือนและมาตรการความพร้อมภาวะฉุกเฉิน(รวมทั้งกฎหมายด้านการก่อการร้าย),การประกันความยืดหยุนและการมีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญสำรอง ก,การใช้การสืบราชการลับเพื่อครวจหาและพิชิตหรือเอลี่ยงภัยคุกคามและจารกรรมและเพื่อคุ้มครองสารสนเทศลับ, การใช้กาทรต่อต้านการสืบราชการลับหรือตำรวจลับเพื่อพิพทัีกษ์ชาติจากภัยคุกคามในประเทศ.. ที่มา : วิกิพีเดีย

          ภูมิรัฐศาสตร์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดนโยบายขงอรัฐ โดยเฉพาะหลังการสิ้นสุดสงครามเย็น เกิดแนวคิดความถ่วงดุลอำนาจขึ้นทำให้รัฐต่างๆ มุ่งเน้นที่จะเข้าไปควบคุมพื้่นที่ทางทะเล เพราะเชื่อว่าหากสามารถควบคุมพื้นที่ทางทะเลใต้จะกลายเป็นมหาอำนาจโลก โดยในอดีตสหรัฐฯ เคยมีอิทธิพลในการควบคุมพื้นที่ทางทะเล แต่ในปัจจุบันจีนสามารถขึ้นมาเป็นผุ้นำในการควบคุมพื้นทีทางทะเลในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภูมิรัฐศาสตร์นั้นมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ คื อทฤษฎี "ดินแดนหัวใจ" ของแมคคินเดอร์ โดยกบ่าวว่าพื้นที่ของทวีปเอเชีย ทวีปยุดรป และทวีปแอฟริกา เป็นพื้นดินที่มีความต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน โดยเรียกแผ่นดินผืนนี้ว่า "เกาะโลก" โดยมีจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ บริเวณดินแดนในแถบยูเรเซีย ซึ่่งดิแดนนี้เร่ิมจากชายฝั่งทะเลบอลติกและทะเลดำในทางตะวันตกไปจนกระทั่งถงเขตไซบีเรียในตะวันออก และทางเหนือเร่ิมจากมหาสมุทรอาร์กติกจรดเทือกเขาหิมาลัยทางใต้ บริเวณนี้ไ้รวมพื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสุงอิหร่านทางตะวันตกเฉียงใต้และที่ราบสูงมองโกเลียทางตะวันออกเฉียงไต้เข้าไว้ด้วยกัน และเรียกบิเวณนี้ว่า "ดินแดนหัวใจ" และยังเห็นว่าหากใครสามารถครอบครองดินแดนนี้จะสามารถบุกยุโรปตะวันตกได้โดยง่ายและจะสามารรถขยายอิทธิพลไปจนกระทังจรดชายฝั่ยของยูเรเซีย ทฤษฎี "ดินแดนชายขอบ" ของ นิโคลัส จอห์น สปีกแมน ซึ่งทฤษฎีนี้มองว่า ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญที่จะมากำหนดนโยบายต่างประเทศ ซึ่งแนวคิดของสปีกแมน เป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากความคิดเรื่อง "ดินแดนหัวใจ" และมองว่า ดินแดนหัวใจไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญแต่ดินแดนที่มีความสำคัญนั้นคือบริเวณที่เรียกวา "ดินแดนครึ่งวงกลมริมในเพราะบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณกันชน ระหว่างอำนาจทางบกและอำนาจทางทะเล โดยเรียกบริเวณนี้ว่า "ริมแลนด์"

          "ความฝันของจีน" เป็นคำสำคัญที่นาย ไสี จิ้นผิง " ประะานาธิบดีแห่งสาะารณรัฐประชาชจีนได้กล่าวถึงคำสำคัญนี้เป้นปรัชญาที่ใช้ในการปกครองประเทศเืพ่อยืนหยัดและัฒนาระบอบสังคมนิยมจีน ยังได้ขยายความฝันจีนไปกว้างขวาง ได้แก่ "ความฝันของจีน และความฝันของโลก" โดยความฝันของจีนไม่ใช่เพียงแค่ความฝันเท่านั้น แต่เป็นการดำเนินการใดๆ ที่นำไปสู่การบรรลุความฝันของจีนและไม่มีชาติใดต้องเสียผลประดยชน์การบรรลุความฝันจีนยังได้สร้างโอกาสในการพัฒนาของประเทศอื่นๆ ทังของการช่วยส่งเสริมการผลักดนการพัฒนาและแสวงหาสันตุภาพของมนุษยชาติซึ่งประเทศจีนพยายามนำพาประชาชาติจีนให้บรรลุถึง "ความฝันของจีน" โดยการผลักดันการฟื้นฟูครั้งใหญ่ ผ่่านการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเมืองแห่งเทคดนดลยี, เส้นทางสายไหมดิจิทัลฯและเสนอแนวคิดเชิงกลยุทธในการร่วมกันสร้าง "แนวเขตเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมใหม่" และ "เส้นทางสายไหมทางทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 21 "รวมเรียกกลุยุทธ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" One Belt and One Road กลุยุทธ์ดังกล่าวนี้ได้พึ่งพาอาศัยกลไกที่มีอยู่และริเร่ิมความร่่วมมือะดับภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพในการเชิดชูด้านสันติภาพ การพัฒนาและความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนทางเศราฐกิจกับประเทศต่างๆ ตามเส้นทาง...

          อาเซียน สมาคมประชาชาติอาเซียนแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของ


ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศรวมถึงให้อาเซียนมีความเข้มแข็ง มีภูมิด้านทานที่ดีในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกและเมือนำมาวิเคราะห์กับบริบททางภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่า การวิเคราะหืในระดับนี้มองว่าประเทศต่างๆ ล้วนมีความต้องการกับเดียวกันกับอาเวียน เพราะอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือไปสุ่เป้าหมายของประเทศนั้นๆ, การกำหนดแผนต่างๆ ที่มากเกินไป และสวนทางกับหลักปฏิบัติในความเป็นจริง ในปัจจุบันตัวแผนความร่วมมือต่างๆ ของอาเซียนถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ล้าสมัย, การวิเคราะห์ระดับรากฐาน อัตลักษณ์ และตัวตนของประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้สร้างอาเวียนให้ดีประหนึงประชาคมโลก แต่ในทางตรงกันข้ามผุ้คนยังกังวลต่อตัวตนของอาเซียน เนื่องจากเมือเกิดการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ คนเร่ิมแข่งขันกันมากขึ้น และด้วยเตหุผลดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเสื่อมถอยในอัตลักษณ์ของอาเซียน... ที่มา :https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/Journal/article-00306.pdf

          สาระสำคัญของเอกสารมุมมองของอาเซียนต่อแนวคิด อินโด-แปซิฟิก เอกสารมุมมอง ของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก มีหลักการที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วม กับความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รวมไปถึงเน้นหลักการ 3M ได้แก่ การไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน Mutual Trust, ผลประโยชน์ร่วมกัน Mutual Benefit, และความเคารพซึ่งกันและกัน Mutual Respec, นอกจากนี้ยังยึดหลักการสำคัญของความเป็นแกนกลางของอาเวียน ดดยเฉพาะอย่างยิ่งระบุหลัการทั้งหมดที่มาจากสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักในการขับเคลื่อนของอาเซียน

         เอกสารมุมมองฯ ยังระบุถึงความร่วมมือที่เป็นรูปะรรมดังนี้

         - ความร่วมมือทางทะเล โดยการส่งเสริมความปลอดภัยทางทะเล เสรีภาพ ในการเดินเรือและการบิน รวมถึงต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติทุกรูปแบบ ตลอดจนส่งเสริมการระงับข้อพิพาทอย่างสันตุ และส่งเสริมความร่่วมมือในการแก้ไขปัญหามลพิษทางทะเล 

         - การเชื่อมโยง มุ่งเน้นความร่ว่มมือการเชือมโยงระหว่างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและกับอาเซียน ภายใต่้แผนความเชื่อมโยงระหวา่งกันในอาเวียน ในด้านต่างๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐาน เชื่อมโยงทางอากาศ และระหว่างประชาชนต่อประชาชน เป็นต้น

          - เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ปี 2030 มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการบรรลุการพัฒนาที่ยังยืนของสหประชาชาติ โดยการส่งเสริมและกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าวในระดับภูมิภาค เช่น บรรจุลงในวิสัยทัศน์อาเซียน และส่งเสริมศูนย์อาเซีนเพื่อการศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ป็นรูปะรรม ดดยไทยได้ให้ความสำคัญกับ "การเชื่อมดยงและการพัฒนาที่ยั่งยืน" เนื่องจากสอดคล้องกับแนวคิดหลักของไทยที่เป็นประธานอาเซียน คือ "ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน"

          - ความร่ว่มมือด้านเศราฐกิจในด้านต่างๆ มุ่่งเน้นการอำนนวนความสะดวกทางการค้าและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านโลจิสติกส์และบริการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิพบัติเสริมสร้างและส่งเสริมการรค้าและการลงทุนดยดสนับสนุนการดำเนินการพิมพ์เขียวประชาคมเศราฐกิจอาเซียน และข้อตกลงการค้าเสรีอื่นๆ รวมถึงความร่วมมือทางเศราฐกิจระดับภูมิภาค และส่งเสริมการพัฒนาเทคโนดลยีและนวัตกรรมร่วมกัน..ที่มา : https://www.sscthailand.org/uploads_ssc/research_201908231566549437899454.pdf

          อินโด-แปซิฟิก สหรัฐฯเป็นชาติมหาอำนาจในภุมิภาคอินโด-แปซิฟิก พื้นที่ภูมิภาคนี้ทอดยาวจาก
ชายฝั่งแปซิฟิกไปจรดมหาสมุทรอินเดียและเป็นที่อาศัยของผุ้คนกว่างกึ่งหนึ่งของประชากรโลก โดยมีขนาดเศาฐกิจเกื่อบ 2ใน 3 ของเศราฐกิจดลก รวมทั้งเป็นที่ตั้งของ 7 กองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีทหารอเมริกันประจำการอยุ่ในภูมิภาคนี้มากว่าที่อื่นใดนอกจากสหรัฐฯ ภูมิภาคนี้สนับสนุนงานของอเมริกามากกว่า 3 ล้านตำแน่งและเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสหรัฐฯเกือบ 900,000ล้านเหรียญสหรํญฯ ภูมิภาคนี้ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 2 ใน 3 ของโลก จึงย่อมจะทรงอิทธิพลมทากขึ้นและมีความสำคัญต่อสหรัฐฯย่ิงขึ้นไปในอนาคต...https://th.usembassy.gov/th/us-indo-pacific-strategy-th/

         
อินโด-แปซิฟิกกับความสัำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลก 

         อินโดแปซิฟิกเป็นกระแสการเมืองโลก เป็นคำใหม่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยเข้ามาแทนทร่ เอเชีย-แปซิฟิก ตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งมีนัยยะในเชิงยุทธศาสตร์และภูมิรัฐศาสตร์ดดยจะเกี่ยวข้องกับอาณาบริเวณมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกในทางภูมิศาสตร์เส้นทงการค้า การดินเรือในมหาสมุทร สินค้าและบริการ น้ำมัน และทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะที่เอเชียแผซิฟิก จะมีนัยยะทางเศราฐกิจของภูมิภาคมากว่าและเสมือนเป็นหลังบ้านของอเมริกา สำหรับปัจจบันหากกล่าวถึง อินโด-แปซิฟิก"จะหมายถึงวิสัยทัศน์ หรือแนวทาง ในกาารดำเนินนดยบายระหว่างประเทศ ซึ่งกลายเป็นยุทธศาสตรืของประเทศต่างๆ ยกเว้นสาะารณรัฐจีน และสหพันธรัฐรัสเซีย ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อาเซียน ยุโรป เร่ิมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง โดย โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มใช้คำ "อินโด-แปซิฟิก"ตั้งแต่ปี 2016-2017 และนาย ชินโซ อาเบะอดีตนายกรัฐมนตรีญุ่ปุ่น ได้ให้ความร่วมือกันสหรัฐฯและได้เพ่ิมเติมคำว่า a free and open Indo-Pacific เพื่อเน้นยำ่ว่าภูมิภาค "อินโด-แปซิฟิก" เป็นเขตเสรีและเปิดกว้างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียได้เคยถอนตัวออกจากอินโด-แปซิฟิก ในช่วงปลายปี 2017 ด้วยเหตุผลความไม่พร้อมทางกลาโหมของประเทศและแนวนโยบาย

           
นอกจากนี้ อินโด-แปซิฟิก ยังเกี่ยวข้องกับการแข่งขันกันระหวางจีนและสหรัฐอเมริกาทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ โลกเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไซเอร์สเปซ และภูมิรัฐศาาสตร์ โดยมีปัจจัยสำคัญดังนี้

          - เศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประดยชน์ของแต่ละฝ่่าย และเส้นทางการเดินเรือที่เป็นประเด็นตั้งแต่ปี 2000 

          - ความแข้งกร้าวของจีนที่เพ่ิมมากขึ้น ตามที่จีนมีนดยบายที่จะทำให้ประเทศมีความย่ิงใหญ่ เห้นได้จากการที่จีนพยายามเป็นอภิมหาอำนาจของโลกผ่านการจัดทำโครงการต่างๆ เช่น การเชื่อมโยงเส้นทางสายไหมทั้งทางเรือและถนน การเชื่อมอาณาบริเวณเข้าด้วยกัน การให้ประเทศต่างๆ กุ้ยืมในการสร้างดครงสร้างพื้นฐานทางทะเลจีนใต้ แผนที่ "เส้นประ 9 เส้น" การอ้างกรรมสิทธิของจีเหนือหมู่เกาะเพื่อหวังผลประโยชน์จากทรัพยากรพลังงาน การประมง ซึ่งฟิลิปินส์เคยฟ้องร้องจีนไปยังศาลอนุญาดตตุลากาารระหว่างประเทศว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมายทางทะเล รวมถึงการสร้างเกาะเที่ยมของจีน เป็นต้น

          - ความเป็นอภิมหาอำนาจของดลกว่าประเทศใดจะเป็นอันดับ 1 ของดลก ผ่านการสร้างกลไกและกติกาขึ้นมา ดดยสหรัฐอเมริกาไม่ยอมให้เปลี่ยนแปลงดุลอำนาจความเป็นอันดับหนึ่งไปสู่จีน จึงสร้างพันธมิตรเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับจีน

          - การขาดดุการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะจีนที่สหรัฐฯยังคงต้องพึคงพาซึ่งกันและกันรวมถึงปัจจุบันจีนไม่ยอมสหรัฐฯอย่างเช่นที่ญี่่ปุ่นเคยเป็นโจทย์ใหญ่ของสหรัฐฯแต่สามารถตกลงกันได้ จึงเป็นประเด็นที่สหรัฐฯจะต้องแก้ไขปัญหานี้ รวมถึงปัจจัยทางการเมืองในประเทศของสหรํฐฯเอง

          AUKUS (เป็นอักษรย่อจากชื่อของประเทศผู้ลงนามร่วม) เป็นกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างประเทศออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ภายใต้สัญญานี้สหรัฐฯและสหราชอาณาจักร


ตกลงที่จะช่วยออสเตรเลียในการพัฒนาและใช้งานเรือดำนิ้พลังนิวเคลียร์ โดยเป็นการเพ่ิมบทบาทางการทหารของชาติตะวันตกในภูมิภาค แปซิฟิก โดยแหล่งข่าวในทำเนียบขาวระบุว่าการลงนามนี้ได้รับการวางแผนมาเพื่อต่อต้านอิทธิพลของ จีน ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งเป็นคำอธิบายที่นักวิเคราะห์เห็นพ้องต้องกัน และนักวิเคราะห์ยังมองว่าเป็นหนทางทางหนึ่งที่จะปกป้องสาะารณรัฐจีน (ประเทศไตหวัน) จากการขยายตัวของ จีน 

          ออคัสมีลักษณะเป็นข้อตกลงที่สืบทอดจากกติกาสัญญาแอนซัส ซึ่งมีอยุ่แล้ว ระะหว่าง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐ โดยนิวซีแลนด์ถูกกั้นออกไปเนื่องจากนโยบายห้ามใช้พลีังงงานนิวเคลียร์..ฝรั่งเศสเรียกตัวเอกอัครราชทูตประจำออสเตรเลียและสหรัฐฯกลับประเทศเนื่องจากข้อตกลงดังกล่าวมาพร้อมกับการยกเลิกข้อตกลงซื้อขายเรือดำน้ำระหวา่งฝรั่วเศสกับออสเตรเลีย..

 ออคัน ครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ สงครามไซเบอร์ สมรรถนะใต้น้ำ สมรรถนะในการโจมตีระยะไกล เป็นต้น ..

        ด้วยระบบโครงสร้างของโลกที่แบ่งขั่วอำนาจออกเป็น 2 ขั้วมากยิ่งขึ้น โดยมีประเด็นอ่อนไหวเรื่องการเดินเรือในทะเลจีนใต้ของจีน ที่พยายามแผ่อิทธิพลมากขึ้น จึงทำให้กลุ่ม AUKUS มีบทยาทมากขึ้น โดยกลุ่มพันธมิตรด้านความมั่นคงนี้ ก่อให้เกิดความระแวงของจีนรวมถึงการละเมิดความไว้เนื่อเชื่อใจของันธมิตรอย่างฝรั่วเศส ดังนั้น AUKUS จึงถือเป็นเรื่องที่ไม่คาดการณ์ไว้ ซึงก่อให้เกิดการคาดไม่ถึงให้แก่พันธมิตรอย่างฝรั่งเศส อาเซียน รวมถึงจีนอีกด้วย นอกจากนั้นยังถือเป็นยุทธศาสตร์ข้ามชาติที่ส่งสัญญาณบางอยบ่างให้กับภูมิภาค อินโด-แปซิฟิกว่า สหรัฐฯพร้อมเป็นพันธมิตรทางด้านความั่นคงในแง่คุณค่าของประชาธิไตย และปกป้องภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกจากจีน ขณะเดียวกันภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

           Quadrilateral Security Dialogue Quad เป็นกลุ่มจตุภาคีระหว่าง ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐ เป็นกลุ่มที่สำคัญของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ประเทศซึ่งอยุ่ในกลุ่มนี้ยังไม่เลือกข้างและรักษาระยะห่างกับจีนและสหรัฐอเมริกา และแต่ละประเทศมีมิติที่แตกต่างกันออกไป... ที่มา : article_20220204144003.pdf

           ความมั่นคงแห่งชาติ คือการพิทัก์สภาพรัฐ และพลเมืองของชาติต่อวิกฤตของชาติ ด้วย การทูต กำลังทางการทหาร อำนาจทางการเมือง และพลังทางเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่่าประเทศที่มีกำลังและอำนาจมากกว่าย่อมมีความได้เปรียบในการป้องกันประเทศมากกว่า รัฐภูมิศาสตร์ถูกนำมาใช้ในการกำหนดนโยบายของประเทศต่างๆ อาทิ ทฤษฎหังใจโลก, ซึงป็นทฤษฎีตั้งต้นของภูมิรัฐศาสตร์ ทฤษฎีของ นิโครัส จอห์น สปีกแมน ซึ่งเกิดขึ้นที่หลังมองว่า จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญไม่ใช่บริเวณหัวใจโลก แต่บริเวณที่เรียกว่า  "ริมแลนด์" เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ  ซึ่งเป็นบริเวณกันชนระหว่างอำนาจทางบกและอำนาจทางทะเล มีความสำคัญต่อการ 

        ความมั่นคงแห่งชาติเป็นส่วน ของการรวมตัวของประเทศเล็กๆ ซึ่งจะกล่าวถึงอาเซียน ซึ่งมาณาบริเวณตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่า "ริมแลนด์" อาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศ ในตะวันออกเฉียงใต้ของเอเซีย ซึ่งหลังจากจีนขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ ก็แผ่อิทธิพลเข้ามาในอาเซียนด้วย ปัญหา ทะเลจีนใต้ ปัญหา ประเทศไต้หวัน ซึงทำให้ภูมิรัฐศาสตร์บริเวณ ทะเลจีนใต้ต่อถึงอาเซียนเกิดความตึงเครียด

       อินโด- แปซิฟิก  ถูกจัดตั้งขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา โดยมี สมาชิกที่สำคัญอาทิ อเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย  และออสเตเลีย หรือที่เรียกว่่า กลุ่ม Quad จีนมองว่า เห็นถึงภัยคุกคาม ต่อเมื่อ การรวมกลุ่ม AUKUS อัคคัส ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่ม ระหว่าง สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เป็นการร่ว่มมือกันเพื่อจะช่วยออสเตรเลีย พัฒนาการใช้เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งการรวมกลุ่มนี้สร้างความประหลาดใจให้แก่ประเทศพันธมิตร อยาง ฝรั่งเศส และรวมถึง อาเซียนด้วย แต่มีผุ้กล่าวว่า ในการรวมกลุ่มครั้งนี้จะเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงให้กับประเทศไต้หวัน

          

         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Midwest

            "มิดเวสต์" เป็นหนึ่งในสี่ภูมิภาคสำมะโนประชากรของสำนักงานสำมะโนประชากรแห่งสหรัฐอเมริกาเรียก ภุมิภาคนี้ว่า ภุมิภาคตอนกลา...