วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2567

Geopolitical and Religion

             ภูมิรัฐศาสตร์กับศาสนานั้นดุเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่อยางไรก็ตาม ตำราภูมิรัฐศาสตร์ต่างๆ ในอดีต ซึ่งเป็นโรดแมป หรือพิมพ์เขียวให้แก่รัฐบาลต่างๆ มามากมายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน อาทิ ทฤษฎีที่เชื่อว่ารัฐเป็นสิ่งมีชีวิตต้องการพื้นดินเพื่อความเป็นรัฐ โดยพลเอกศาสตราจารย์คาล เฮาโซเฟอร์ และมีการนำไปกล่าวอ้างกระทั่งกลายเป็นสงครามใหญ่ หรือทฤษฎีหัวใจโลก  โดย เซอร์เฮาฟอร์ด แมคคินเดอร์ 1861-1947 ทฤษฎีฮาร์ตแลนด์ เป็นชาวอังกฤษ ซึ่งระบุว่าผุ้ที่ได้ครอบครองดินแดนที่เป็นหัวใจโลกจะเป็นผู้ที่สามารถจะครอบครอลโลก ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต โดยภายหลัง ผู้นำรัฐเซียได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เป็นหายนะทางภูมิรัฐศาสตร์ กล่าวคือ พื้นที่ของหัวใจโลกรัสเซียครอบครองเป็นส่วนใหญ่  ทฤษฎี Sea Power หรือ สมุททานุภาพ โดย  อัลเฟรด เทเยอร์ มาฮาน ชาวอเมริกา มาฮาน มีความเห็นว่า ประเทศที่จะเป็นมหาอำนาจได้นั้นจะต้องเป็นประเทศที่มีกำลังอำนาจควบคุมทางทะเลและมหาสมุทร และเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะสามาราถเป็นมหาอำนาจทางบกและมหาอำนาจทางทะเลได้ในเวลาเดียวกัน มาฮานศึกษาจากประเทศอังกฤษและนำมาปรับใช้กับกองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐเป็นเจ้าสมุทรในปัจจุบัน ทฤษฎีริมแลนด์ ที่กล่าวมาเป็นทฤษฎีที่นำมากำหนดนโยบายต่างประเทศ และนโยบายทางการทหาร แต่รัฐภูมิศาสตร์ นั้นมีความเกี่ยวข้องทั้งกับเชื้อชาติและศาสนา จึงขอยกตัวอย่างการรัฐภูมิศาสตร์ที่ทำให้เิดความขัดแย้งทางศาสนาและ/ศาสนาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ 



          กรณีปาเลสไตน์ เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หลังจากการแบ่งปาเลสไตน์ของ สหประชาชาติ UN ในปี 1947 ทำให้เกิดความไม่พอใจโดยเฉพะในหมู่ชาวอาหรับ ซึ่งส่งผลให้เกิดสงครามในปาเลสไตน์กระทั่งปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ที่มีผลต่อศาสนา โดยชาวอาหรัฐซึ่งส่วนใหญ่ที่เป็นคู่กรณีกับอิสราเอลเป็น มุสลิม ทั้ง ชีอะห์ และ ซุนนี่ ในกรณี นิกายซุนนี่ อัลเคดาซึ่งเป็นอิสรามนิกายซุนนี้ประกาเมือ 23 กุมภาพันธ์  1998โดย บินลาดิน และผุ้นำกลุ่มญิฮาดอิยิปต์และผุ้นำศาสนาอิสลามอีกสามคน ร่วมลงนาม ใน "ฟัตวาห์" หรือคำตัดสินภายใต้ชื่อ แนวร่วมอิสลามโลกเพื่อญิฮาดต่อต้านยิวและครูเสด โดยประกาศว่าเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกประเทศในการสังหารชาวสหรัฐและพันธมิตรทั้งทหารและพลเรือนเพื่อปลดปล่อย "มัสยิตอัลอักซา" ในเยรูซาเลม และมัสยิตศักดิ์สิทธิในเมกกะ หลังจากนั้นได้เกิดการวางระเบิดสถานทูตสหรัฐในแอฟริกาตะวันออกภายในปีเดียวกัน มีผุ้เสียชีวิต กว่า 300 คน ตุลาปี 2000 เกิดระเบิดพลีชีพในกองทัพเรือสหรัฐในเยเมน แม้มีความขัดแย้งกันเอง แต่ในเรืองของภูมิรัฐศาสาสตร์นั้น ชาวอาหรับเชื่อวาดินแดนปาเลสไตน์มีควาสำคัญทางศาสนาประกอบกับชาวตะวันตกเชื่อว่าเป็นบริเวณที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์มีความเห็นว่า "ทฤษฎีริมแลนด์" นิโคลัส จอห์น สปีกแมน 1893-1943 ทฤษฎีริมแลนด์ เป็นชาวอเมริกัน  แนวคิดของสปีกแมนเป็นแนวคิดที่สือบเนื่องมาจากความคิดเรื่องดินแดนหัวใจของแมคคินเดอร์ และโดยที่สปีกแมนมองว่า ดินแดนหัวใจนั้นไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญ แต่ดินแดนที่มีความสำคัญนั้นคือ บริเวณที่อยุ่ถัดจากดินแดนหัวใจออกมา ซึ่งได้แก่ บริเวณที่อยุ่รอบของดินแดนยูเรเซีย หรือดินแดนที่แมคคินเดอร์เรียกว่า ดินแดนครึ่งวงกลมริมในนั่นเอง (แต่ทั้งนี้ยกเว้นตะวันออกกลาง ตะวันออกใกล้ ตะวันออกไกล และเอเซียอาคแนย์ เพราะบริเวณเหล่านี้เป็นบริวเณกันชน Buffer Zone ระหว่างทำนาจทางบกและอำนาจทางทะเล โดยสปีกแมนเรียกบริเวณนี้ว่า "ริมแลนด์" Rimland] 

          ในสงครามล่าสุดส่งผลกระทบอย่างมากต่อภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ ฮูตีเป็น 1 ใน 3 กลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน ร่วมกับฮามาสและฮิชบอลเลาะห์ ทำให้พวกเขาถือว่ามีความสัมพันธ์ค่อนข้างใกล้่ชิดกัน และอาจเป็นได้ว่าได้รับการชีแนะจาอิหร่านที่อยู่เบื้องหลังให้เข้ามามีา่วนร่วในสงคราม


อิสราเอล-ฮามาสด้วย นับตั้งแต่เริ่มสงคราม 7 ตุลาคม 2023 กลุ่มฮุตีก็ออกมาประกาศโจมตีเรือทุกลำในทะเลแดงทีอาจมุ่งหน้าไปหรือเดินทางมาจากอิสราเอลบ เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านอิสราเอลที่ทำสงครามในฉนวนกาซาและสังหารพลเรือนไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การโจมตีของกลุ่มฮูตีอาจมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างครวามเสียหายทางเศรษฐกิจแก่พันธมิตรของอิสราเอลด้วยความหวังว่าจะกพดันให้อิสราเอลยุติการทิ้งระเบิดในกาซาได้ ( 2.2.2024) ธนาคารกลางและนักเศรษฐศาตร์ต่าออกมาเน้นบ้ำผลกระทบจากเรือ่งนี้ ผู้วาการะนาคารกลางของประเทศออสเตรีย กล่าวในงาน เวิร์ด อีโคดนมิค ฟอร์รัม ประเทศสวิสเซอรืแลนด์ว่า "ภัยคุกคามด้านภูมิศาสตร์ทางการเมือง ได้ขยายตัวขึ้นไ การโจมตีดังกล่าวอาจะกลายเป็น "จุดเริ่มต้นที่ส่งผลกะทบในวงกว้างข้น และจะส่งผลกระทบต่อระบบการเดินเรือในคลองสุเอชไ ซึ่งในทีุ่ดจะนำไปสู่การปรับราคาสินค้า..หัวหน้านักกเศรษฐศาสตร์ขององค์การค้าโลก WTO เปิดเผยต่อหนังสือพิมพ์ฯ ว่า การค้าโลกถึง 12% ใช่ข่องทางผ่านทะเลแดงและคลองสุเอช โดย 1 ใน 3 ของเรือคอนเทนเอนร์ทั้งหมดที่เดินทางจากเอเชียไปยังยุดรปใช้เส้นทางนี้ และ "ในตอนนี้ปัญหาจะใหญ่ขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าวิกฤติดังกล่าวจะดำเนินต่อเนือไปอีกนานแค่ไหน" ..

        และสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือการขุดค้นพบนำ้มันในบริเวณตะวันออกกลางจำนวนมากทำให้ชาติมหาอำนาจตะวันตกต้องการที่จะเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคดังกล่าว

         กล่าวถึงในเรื่องศาสนาแม้ ศาสนาที่อิสราเอลนับถือคือฮิบรู จะไม่มีความขัดแย้งทางตรงต่อศาสนาอิสราม แต่ชาวตะวันตกส่วนใหญ่นับถือศาสคริสต์ซึงมีความบาดหมางกับศาสนาอิสราม แม้ชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะต่อสู้หรือให้การสนับสนุนเพราะผลประโยชน์ แต่การให้การช่วยเหลือผ่านศาสนาอีกศาสนาหนึ่งเพื่อต่อสู้กับศัตรูจึงเป็นเรื่องที่กระทำได้ เข้ากับคำกล่าวที่ว่า มิตรของมิตร คือมิตร มิตรของศัตรู คือ ศัตรู ศัตรูของศัตรู คือ มิตร และศัตรูของมิตร คือ ศัตรู ในกรณี ปาเลสไตน์จึงกล่าวได้ว่า ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์นำมาซึ่งความขัดแย้งทางศาสนาด้วย

       กรณี แคชเมียร์ หล้งจากอินเดียและปากีสภานได้รับเอกราช ผุ้นำของทั่งสองประเทสจำต้องเจรจา ต่อรอง รวมไปถึงบีบบังคับให้เจ้าผุ้ปกครองนครรับน้อยใหญ่ต่างๆ ยินยอมที่จะผนวกดินแดนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตน "แคชเมียร์"คือหนึ่งในดินแดนที่ทั้งอินเดียและปากีสถานต่าองต้องการครอบครอง แคชเมาียร์ตั้งอยุ่เหนือสุดของอนุทวีป บนจุดยุทะศาสตร์และภุมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญระหวางอินเดีย ปากีสถาน และจีน ในระยะแรด แคชเมียร์ต้องการเป็นรัฐเอกราช และไม่ประสงค์จะอยุ่ภายใต้อาณัติของรัฐอื่นๆ ความน่่าสนใจคื ดินแดนนี้มีประชาการส่วนใหญ่นับถือศสราอิสลาม ในขณะที่มหาราชาผุ้มีอำนาจในการปกครองนับถือศาสนาฮินดู ในช่วงเวลาแห่งความสับสนดังกล่ว กองกำลังปากีสถานได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนแคชเมียร์ สร้างความวิตกกังวลใจแก่มหาราชา จึงทำให้ผุ้นำของแคชเมียร์จำต้องตัดสินใจขอรับความช่วยเลหือและนำแคชเมียร์ผนวกเข้ามาเป็นดินแดนในสหภาพดินเดีย ด้วยเหตุนี้ แคชเมียร์จึงกลายเป็น "รัฐจัมมูและแคชเามมียร์ ภายใต้การปกครองของสาธารรรัฐอินเดีย โดยมีเมืองหลวงอยุ่ที่ศรีนาการ์ ประกอบด้วยดินแดนหลังสามแคว้นคือ จัมมู แคชเมียร์ และลาดัคห์

           อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นหลักประกันและมอบสถานะพิเศาให้กับแคเมียร์ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็น
มุสลิม รัฐะรรมนูญแห่งอินเดียได้กำหนดให้มีมาตรา เพื่อให้แคชเมียร์สามารถออกกฎหมายในทุกระดับ มีรัฐธรรมนูญ ธงชาติ รวมถึงสิทธิเฉพาะ ในการคุ้มครองอสังหาริมทรัพย์และที่ดิน ซึ่งทำให้แคึชเมียร์มีอำนาจอธิปไตยและมีอิสราะในการปกครองตนเอง ยกเว้นเพียงในประเด็นความมั่นคง การสื่อสาร และการต่างประเทศ ที่อยุ่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลาง

           อย่างไรก็ตาม การตกลงใจที่จะเป้นส่วนหนึ่งของอินเดีย สร้างความไม่พอใจให้กับชาวแคลเมียร์ส่วนใหญ่ที่เลือปากีสถาน ความขัดแย้งทำหใ้เกิดความรุนแรงในพื้นที่อย่างต่อเนือง ตั้งแต่ปี 1947 เกิดการต่อสู้ระหว่างกองกำลังของอินเดียและปากีสถานเนื่องมาจาการรุกล้ำเขตแดน ทำให้องค์การสหประชาชาติ UN ต้องเข้ามามีบทบาทในการแบ่งพื้นทีทและเจรจาการหยุดยิงในปี 1949

         เหตุการปะทุขึ้นอีกครั้งในปี 1965 เกิดปฏิบยัติการยิบรอลตาร์เพื่อต่อต้านอินเดีย ในครั้งนี้นมีการ
แทรกแซงทางการทูตโดยสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียต และที่สำคัญอีกประการคือ ในปี 1917 อินเดียได้ให้การสนับสนุนการแยกปากีสถานตะวันออก เพื่อตั้งเป็นประเทศเอกราชในชื่อ "บังคลาเทศ" การสนับสนุนดังกล่วสร้างความไม่พอใจ และนับเป็นการสูญเสียดินแดน เป็นอยางมากของปากีสถานในปี 1999 เกิดการสุ้รบกันทีเมืองคาร์กิล ซึ่งเป็นผลมาจากการสั่งสนมขีปนาวุธและการทดลองหัวระเบิดนิวเคลียร์

           ต้นปี 2019 ความขัดแย้งในแคชเมียร์เร่ิมปรากฎอย่างเด่นชัดอีกครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐของอินเดียเสียชีวิตจากเหตุการณืคาร์บอมบ์ รัฐบาลอินเดียจึงส่งกองกำลังเข้าไปในดินแดนปากีสถาน เพื่อโจมตีกลุ่มก่อการร้ายด้งกล่าว นำมาสู่กายิงเครื่องบินตอบโตโดยกองทัพปากีสถาน เหตุการณืดังกล่าวทวีคามรุนแรงนำมาสุ่การกดดันทางการค้า การตัดสัมพันธ์ทางการค้า และการปิดน่านฟ้า แม้จะมีความพยายามในการสร้างสันติภาพในแคชเมียร์ แต่ความสงบก็ไม่เกิดขึ้นอยางถาวร และส่งผลถึงปัจจุบัน

          คริกเกต สงครามตัวแทนบนสนามหญ้า อังกฤษเป็นผุ้นำกีฆาคริกเกตเข้ามาเผยแพร่ในชมพูทวีปเมื่อ
ครั้งปกครองภูมิภาคนี้ ดดยใช้ใช้สิ่งต่างๆ เืพ่อควบคุมชนชาวพื้นเมือง รวมทั้งคริกเกตด้วย ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หลังได้รับเอกราชคริกเกตยังคงอยุ่ในสายเลือดขงอทั้งชาวปากีสภานและอินเดีย  เมื่อสงครามสงบลงสิ่งที่พวกเขาใช้ในการผสามสัมพันธ์คือคริกเกต โดยจัดการแข่งขันคริกเกตขคึ้นในปี 1952 แต่ผลออกมาไม่ตรงกับจุดประสงค์ คำว่า "อินเดียแพ้ไม่ได้" หรือ "ปากีสถานจะไม่ยอมแพ้อินเดีย" กลายเป็นสิ่งที่ทั้งสองต่างไม่ลดราวาศอกให้กัน นักกีฬาทั้งสองฝ่ายต่างแบกรับความกดดัน

        ข่าวการถุกจับของนักศึกษาแคชเมียร์ 3 คน ซึ่งฉลองชัยชนะของปากีสภานเหนืออินเดียในการเล่นคริกเกตชิงแชมป์โลก ปี 2021 ด้วยข้อหารุนแรงอย่าง ไส่งเสริมความเป็นปฏิปักษ์และก่อการร้ายในโลกไซเบอร์" โดยที่ชาวอินเดียมองว่ นักศึกษาสามคนนี้พยายามสร้างความตึงเครียด ซึ่งไม่น่าแปลกใจเพราะการแข่งขันคริกเกตของทั้งสองชาติเป็นมากกว่าการแข่งขันกีฬา ...

          ในกรณีแคชเมียร์ จากจุดเริ่มต้น จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งทางศาสนาและความคิด นำมาซึ่ง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ กล่าวคือ คานะีและเนห์รูเคลื่อหนไหวไปในทิศทางเดียวกันและมีชื่อเสียรวมกันในการเรียกร้องเอกราชให้อินเดีย ก่อนที่เนห์รู จะกลายมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย แต่ทางด้านมูอาหมัด อาลี จินนาห์มีแนวคิดที่ต่างออกไป อันเนื่องมาจากเขาเป็นชาวมุสลิม ดังนั้นเขาจึงเรียกร้องเอกราชและสิทธิให้กับชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลาม จนทำให้ท้ายที่สุดจักรวรระดิอังกฤษ ก็ยอมแบ่งบริติชราชออกตามการนับถือศาสนา ซึ่งทำให้พื้นที่ภายใต้การดุแลตรงนี้ถุกแบ่งออกเป็นสองประเทศในท้ายที่สุด นั่นคือ อินเดียและปากีสถาน โดยอินเดียคือพื้นที่ของชาวฮินดู และศาสนาอื่นๆ ขณะที่ปากีสถานคือพื้นที่ของชาวมุสลิม...


          ที่มา : https://www.the101.world/the-rivalry-ep-9/

                     https://www.ditp.go.th/post/161685

                     https://waymagazine.org/the-conflict-of-southern-asia/

                     https://draft.blogger.com/blog/post/edit/57583117367728393/2018579290326911250

                     https://draft.blogger.com/blog/post/edit/57583117367728393/7576043356289292305?hl=th

      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Midwest

            "มิดเวสต์" เป็นหนึ่งในสี่ภูมิภาคสำมะโนประชากรของสำนักงานสำมะโนประชากรแห่งสหรัฐอเมริกาเรียก ภุมิภาคนี้ว่า ภุมิภาคตอนกลา...