ความเป็น "ฝ่ายขวา" เช่นที่กำลังเกิดขึ้นไม่ใชขวาในแบบเดิมของยุคสงครมเย็นแต่อย่างใด เพราะความเปลี่ยนแปลงของบริบทางการเมือง ซึ่งหากสำรวจอย่างสงเขปแล้ว จะเห็ฯได้ว่าประชานิยมปีกขวานี้มองค์ประกอบที่เป็นดังแก่นแกนความคิด 6 ชุดทีสำคัญ ได้แก่ การต่อต้านสากลนิยม, การต่อต้านโลกาภิวัตน์, การต่อต้านผุ้อพยพ, การต่อต้านอิสลาม, การต่อต้านอิสลาม, การต่อต้านพหุนิยม, และกาต่อต้านผุ้มีอนาจและอิทธิพลในสังคมการเมือง...
1. ลัทธิชาตินิยมและการต่อต้านสากลนิยม เป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึงมีความเด่นชัดอย่างมากของลัทธิประชานิยมปีกขวา ซึ่งในบริบทโลกปัจจุบันที่เป็นโลกาภิวัตน์นั้น น่าสนใจนเป็นอย่างยิ่งกับสมมติฐานที่ว่า รัฐประชาชาติ จะอยู่ในภาวะ
อ่อนแดลง หรือโดยนัยก็คื อลลัทธิชาตินิยมจะกลายป็นเพียงการะแากรเมืองเก่าที่จะถูกบดบังด้วยบลัทธิสากลนิยม ในสภาพที่โลกาภิวัตน์ยิ่งขับเคลื่อนมากเท่าใด รัฐประชาชาติและลัทธิชาตินิยมก็จะยิงอ่อนแอลงเท่านั้นและ เปิดโอกาสให้ลัทธิสากลนิยมเข้มแข็งมากขั้นด้วย และขณะเดียวกันก็นำมาซึ่งบรรทัดฐานของ "ลัทธิเสรีนิยมใหม่" ที่ให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดรวมถึงการเคารพในความแตกต่างทางเพศ เป็นต้น
แต่ในความเป็นจริง เรากลับพบว่าดลกาภิวัตน์ในความเป็น "โลกไร้พรมแดน" นั้นกลับกลายเป็นโอกาสของการกำเนินชนชั้นนำใหม่กลายเป็นการขยายความมั่งคั่งให้กับคนบางกลุ่มอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน สภาพเช่นนี้จึงกลายเป็น "ช่องว่างขนาดใหญ่" ของความจนและความรวย หรือจะกลาวได้ว่า โลกาภิวัตน์เป็นสถานการณ์ความยาก
ลำบากในชีวิตของชนชั้นล่าง ซึงสำหรับโลกตะวันตกก็คือบรรดาคนงานผิวขาว และอีกส่วนก็คือคนผิวขาวในชนบท ที่พวกเขารู้สึกว่าดลกาภิวัตน์กลายเปนผลร้ายมากว่าที่จะเป็นผลดีกับชีวิตของพวกเขา การหันกลับสุ่ความเป็นชาตินิยมด้วยการสร้างความเข้มแข็.ของรัฐและให้ความสำคัญกับการควบคุมชายแดนเพื่อกีดกันผุ้อพยพในฐานะของ "คนนอก" จึงเป้นประเดนที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก
กระบวนการสร้างประชานิยมปีกขวาในสภาวะเช่นนี้จงมีคำตอบอย่างชัดเจนด้วยการตอต้านลัทธิเสรีนิยมและโลกาภิวัตน์ และหันกลับสูลัธิชาตินิยม
คำประกาศของเลอแปงในการหารเสียงที่ริเวียราในช่วงกลางปี 2016 ว่าถึงเวลาของการนำรัฐประชาชาติกลับแลว และมีผู้ฟังก็ตะโกนกลับว่า ถึงเวลาของการพาเส้นเขตแดนกลับมาด้วย
และในการหาเสียงของทรัมปกฌมีวาทกรรมไปในทางเดียวกัน ที่ให้ความสำคัญกับเส้นเขตแนด ตลอดรวมถึงการร้องหาความเป็นอิสระจากข้อกำหนดขององค์การระหว่างประเทศ ดดยเฉพาะองค์การ "เหนือชาติ" แบบสหภาพยุโรป...(ซึ่งแน่นอนว่าประชานิยมแบบขวาจัดก็คือต่อต้าน สหภาพยุโรปด้วยนั้นเอง)
2. การต่อต้านโลกาภิวัตน์-ต่อต้านลัทธิเสรีนิยมใหม่
หรืออาจกล่าวได้ว่าพวกเขาต่อต้านลัทธเเสรีนิยมใหม่ที่ถือว่าเป็นแกนหลางทางความคิดของยุดคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมในเรื่องของ "ความถูกต้องทางการ
เมือง" เพื่อให้เกิดการเคารพในความแตกต่าง เช่น ความแตกต่างในเรื่องเพศ สีผิว เป็นต้น
ในทางเศรษฐกิจ พวกเขามีควาคิดที่ชัดเจน เ่น การที่ทรัมป์ตอด้านแนวคิดเรื่องการต้าเสรี ซึ่งถือว่าเป็นแกนสำคัญอีกส่วนของโลกาภิวัตน์ และเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น "การค้าที่ล้มเหลว" ไม่ใช่ "การค้าเสรี" โดยเขาเสนอให้ยกเลิกข้อตกลงหุ้สวยยุทธศาสตร์เศราฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก และเสนอให้เจรจาใหม่ในเรื่องของเขตการต้าเสรี อเมริกาเหนือ หรือแม้กระทั่วการสงสัญญาณว่าสหรัฐอาจจะถอนตัวจาก "ปฏิญญาปารีส" ในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศของโลก..
การกล่าวต่อต้านโลกาภิวัตน์คู่ขนานกับการต่อต้านการค้าเสรีได้กลายเป็นทิศทางหลักชุดหนึ่งของกระแสประชานิยมปีกขวา และทัศนะต่อต้านโลกาภิวัตน์ยังปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในอีกส่วนหนึงจากการเน้นถึง "พรมแดนแห่งชาติ" ซึ่งตรงข้ามกับโลกาภิวัตน์โดยสิ้นเชิง ที่เกิจกรรมต่างๆ จะมัลักษณะ "ข้ามชาติ" ไม่ว่าจะเป็นการไหลข้ามเ้นพรมแดนของคน ทุน สินค้า ข้อมุล ข่าวสาร และวัฒนธรรม จนปรากฎการณ์เช่นนี้ทำให้รัฐประชาชาติได้รับการอธิบายว่าเป็น "รัฐไร้พรมแดน"..ทีจริงแล้ว บรรดาประชานิยมปีกขวามีความเห็นตรงกันว่า โลกาภิวัตน์เป็นปัจจัยลบต่อการสร้างความเข้มแข็งของรัฐ และเป็นปัจจัยที่ทำลายเสณษบกิจของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการแสวงหาแหล่งแรงงานราคาถูกในการผลิตทางอุตสาหกรรม
ดังนั้น การขึ้นสู่อำนาจของทรัมป์และการขยายอิทธิพลของประชานิยมปีกขวาในยุดรปจึงเป็นดังการส่งสัญญาณถึง "การสิ้นสุดของโลกาภิวัตน์" และกับคำถามที่ว่าจะเป็น "การสิ้นสุดของลัทธิสรีนิยมใหม่" กำลังเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามใหญ่ของเศรษฐกิจและการเมืองโลกปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากการสิ้นสุดดังกล่าวเป็นเรื่องจริงแล้ว ก็ย่อมจะกระทบต่อการจัดระเบียบใหม่ของโลกในอนาคตอย่างมากด้วย จนยากที่จะคาดเดาว่าระเบียบโลกใหม่ในยุคของทรัพมป์จะมีรูปลักษณ์อย่างไร และจะส่งผลกระทบต่อโลกทั่วในบริบททางการเมือง ความมั่นคง และศรฐกิจอย่างไร....www.matichonweekly.com/column/article_26650
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น