วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Negara Brunei Darussalam

         
สุลตาลแห่งบรูไนทรงสร้างจักรวรรดิบรูไนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ปกคอรงตั้งแต่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียวและทางตอนใต้ของฟิลิปินส์ ต่อมามีสงครามกับสเปนสั้นๆ ทำให้บรุไนเริ่มอ่อนกำลังลง จนบรูไนเสียดินแดนซาราวะก์ให้กับรายาผิวขาว(เป็นราชวงศ์ที่ก่อตั้งและปกครองราชอาณาจักรซาราวะก์บนเกาะบอร์เนียว เป็นราชอาณาจักรอิสระต่างหากจากรัฐสุลต่านบรูไนในฐานะ
รางวัลที่ช่วยปราบโจรสลดและระงับความวุ่นวาย เจมส์ บรูก ผู้ปกครองชาวอังกฤษคนแรกและปกครองต่อมาจนถึงรุ่นหลาน
ของหรูก ก่อนจะถูกรวมเข้าดับอาณานิคมของอังกฤษในพ.ศ. 2489) กระทั่ง ต้องยอมอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ จนบรุไนได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม 2527
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของบรูไนก่อนการมาถึงของเฟอร์ดินัน แมกเจลเลนนั้นอาศัยข้อมูลจากเอกสารจีนเป็นสำคัญ นักประวัติศาสตร์เชื่อวว่ามีรัฐในดินแดนนี้มาก่อนจักรวรรดิบรูไน รัฐที่เป็นไปได้ เช่น วิยปุรทางตะวนตกเฉียงเหนือของเบอร์เนียว และอาจเป็นรัฐหนึ่งขชองจักรวรรดิศรีวิชัย อีกรัฐหนึ่งที่เป็นไปได้คื อโปนี ในพุทธศตวรรษที่ 15 ไปนี้ได้ติดต่อกับจีนในสมัยราชวงศ์ซ้อง ต่อมา ในพุทธศตวรรษที่ 19 อโปนีตกต่ำลงและกลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมัชปาหิตของชวา หนังสือนครา เกรตาการมาเขียนโดยปราปันจา เมื่อ พ.ศ.1908 ได้กล่าวว่าบรูไนเป็นรัฐบริวารของมัชปาหิต แต่ก็ไม่มหลักฐานมากไปหกว่าความสัมพันธ์เป็นเชิงลักษณะและบรรณาการรายปีซึ่งเป็นถั่วเขียวและปาล์ม ในสมัยราชวงศ์หมิงได้เรียกร้องบรรณาการจากอโปรีใน พ.ศ. 1913 ต่อมา ผู้ปกครองอโปนี มานาจิห์ เชียนา ได้เดินทางไปยังนานกิง เมืองหลวงของราชวงศ์หมิงในพ.ศ. 19ถๅ และเสียชีวิตที่นั่น
           ใน พ.ศ. 1967 จักรพรรดิจีนยุติการเดินเรือของกองเรือมหาสมบัติทำให้ความสัมพันธ์กับโปนีสิ้นสุดลง หลักฐานในสมัยราชวงศ์ซ้องกล่าวว่าโปนีเป็นรัฐที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮฺนดูอย่างมาก ผ่านทางชวาและสุมตรา แต่ไม่ได้รับมาโดยตรงจากอินเดีย การเขียนใช้อักษรแบบฮินดู แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากจีนเนื่องจากพบเหรียญของจีนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 ตามชายฝั่งของบรูไน
           การตั้งถิ่นฐานของคนจีนในบรูไน มีในสมัยจักรรพรรดิหงอู่โดยผู้แทนไปยังอินโดนีเซีย แล้วให้บรุไนจ่ายส่วยให้กับจีน 30 ปีต่อมาจีนได้ขยายอิทธิพลไปทางตะวันออกของบรูไนและได้สร้างหมู่บ้านของชาวจีนขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 14 หลังกการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านมูฮัมหมัด ซาห์ ลูกชายเขาได้เป็นผู้สำเร็จราชการหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านฮาซันจิตได้สิ้นพระชนม์จนเกิดการชิงราชบัลลังก์ของบรูไร องค์ซำปิงที่เป็นทูตจีนประจำบรูไนรวมอำนาจอีกครั้งรวมอำนาจอีกครั้ง ต่อมาเขาได้กลับไปจีนและ
กองทัพของเขา ก่อนเสียชีวิตที่นานกิง ภรรยาของเขาเสียชีวิตที่บรูไน ปัจจุบันนี้องค์ซำปิงยังเป็นบรรพบุรุษของชาวบรูไน และเป็นต้นกำเนิดของราชวงศ์บรุไน สุสานของเขาถูกคุ้มครองโดยรัฐบาลบรูไน บุคคลที่รู้เรื่องขององค์ซำปิงดีสุดคือ รายาแห่งซูลูเมื่อเขามาบรูไนเขารู้ว่าได้รับคำสั่งให้มาเก็บเพชรพลอยในรัฐซาบะฮ์ ตามบันทึกองค์ซำปิไม่ได้เป็นสุลต่านแต่ลูกสาวเขาได้แต่างงานกับสุลต่านและเขาเป็นสุลต่านพ่อตามกฎหมาย
              การเข้ามาของศาสนาอิสลามและยุคทอง ช่วงพทุธศตวรรษที่ 20 อโปนีได้มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอาณาจักรของชาวมุสลิมคือมะละกาและน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองในปัจจุบัน ในชะอีรอาวังเซอมวนกล่าวว่าสุลต่านบรูไนปัจจุบันเดิมเป็นเดวา เออมัส กายางัน ที่ลงมาในโลกรูปของไข่ เมื่อแตกออกได้กลายเป็นเด็กมากมาย และเด็กคนหนึ่งได้รับอิสลามทำให้ได้เป็นสุลต่านองค์แรก สุลต่านองค์ที่ 2 เป็นคนจีนหรือมีมเหสีเป็นคนจีน สุลต่านองค์ที่ 3 เป็นชาวอาหรับซึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถือว่าเป็นเชื้อสายของนบีมูฮัมหมัด
             สุลต่านบรูไนได้ขยายอำนาจออกไปกว้างขวาง ปัจจัยหนึ่งคือการที่มะละกาถูกโปรตุเกสยึดครองใน พ.ศ.2054 ทำให้บรูไนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญของมุสลิม บรูไนปกครองด้วยระบบสุลต่านที่มีสุลต่านอยู่ในระดับบนสุดแต่มีอำนาจจำกัดโดยมีสภาของเจ้าชายควบคุม ในยุคของสุลต่านโบลเกียห์จัดว่าเป็นยุคทองของบรูไน โดยได้ขยายอำนาจครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งของซาราวะก์และซาบะฮ์ หมู่เกาะซูลูแลเกาะทางตะวันตกเฉียงเนหือของบอร์เนียว อิทธิพลของสุลต่านแผ่ไปถึงทางเหนือของฟิลิปปินส์โดยสร้างอาณานิคมในอ่าวมะนิลา ในพ.ศ. 2064 ปีสุดท้ายในสมัยสุลต่านโปบเหียห์ เฟอร์ดินาน แมกเจลเลน นักเดินทางชาวยุโรปคนแรกได้เดินทางมาถึงบรูไนและได้ชื่นชมความงามของเมืองไว้มากมาย ในสมัยนั้นมี 25,000 ครอบครัวอาศัยอยู่ในบ้านไม้ที่สร้างบนเสาเหนือน้ำปัจจุบันชื่อกัปปงเอเยอร์ พระราชวังถูกล้อมด้วยกำแพงอิฐป้องกันด้วยทองเหลืองและปืนใหญ่เป็นจำนวนมาก
              ความสัมพันธ์ระหว่างบรูไนกับมหาอำนาจยุโรปมีความแตกต่างกันไป ประเทศแรกในยุโรปที่ให้ความสำคัญกับบรูไนคือโปรตุเกสซึ่งเคยเข้ามามีอิทธิพลทางการค้า แต่มีความเกี่ยวข้องกันน้อยมาก โปรตุเกสยังสังเกตว่าสุลต่านมีส่วนร่วมต่อเศรษฐกิจและลิกอร์(นครศรีธรรมราช)ในปัจจุบันและสยาม ด้านความสัมพันธ์กับสเปนขึ้น ไม่ค่อยเป็นมิตร บรูไนและสเปนมีการกระทบกระทั่งกันทางเรือตั้งแต่ พ.ศ. 2108 และในพ.ศ. 2114 สเปนประสบความสำเร็จในการยึดมะนิลาไปจากบรูไน บรูไนพยายามเข้ายึดดินแดนคืนแต่ล้มเหลว ต่อมาในพ.ศ. 2121 สเปนยึดครองหมู่เกาะซูลูและข้าโจมตีบรูไนเพื่อให้สุลต่านสละอไนาจในฟิลิปินส์ และยอมให้มีิชชันนารีเข้ามาเผยแผ่ศาสนาในบรูไๆน การสู้รบเริ่มขึ้นเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2121 เป็นเวลา 72 วันผลปรากฎว่าซูลูได้เป็นเอกราช ส่วนบรูไนเสียเกาะลูซอนในฟิลิปปินส์ไป
             หลังจากสุลต่านฮัสซันสิ้นพระชนม์ อำนาจของบรูไนตกต่ำลง มีการสู้รบกันเองภายในและการเข้ามาล่าอาณานิคมของตะวันตก ต่อมา ใน พ.ศ. 1382 เจมส์ บรูกนักเดินทางชาวอังกฤษเดินทางมาถึงบอร์เนียวและได้สนับสนะนกลุ่มที่กบฎต่อสุลต่าน บรูไนได้แพ้เจมส์ บรูก จนกระทั่งต้องยอมรับสิทธิปกครองตนเองของซาราวะก์ โดยบรูกได้เป็นรายาผิวขาวในซาราวะก์ และได้พยายามขยายอำนาจเข้า
มายึดครองดินแดนของบรูไน ต่อมาในพ.ศ. 2386 เกิดความขัดแย้งโดยเปิดเผยระหว่างบรูกส์กับสุลต่าน ซึ่งบยรูกส์เป็นฝ่ายชนะสุลต่านยอมรับเอกราชของซาราวะก์ ต่อมาในพ.ศ. 2389 อังกฤษได้ยกทัพมาโจมตีบรูไนสุลต่านซาลาฟุดดินที่ 2 ยอมลงนามสนธิสัญญาสันติภาพเพื่อสงบศึกกับอังกฤษ แต่ต้องยกลาบวนให้กับอังกฤษในปีเดียวกัน ตอนแรกนั้นอังกฤษเช่าซาราวะก์ ต่อมาในพ.ศ. 2389 อังกฤษได้ยกทัพมาโจมตีบรูไนสุลต่านซาลฟุคดินที 2 ยอมลงนามสนธิสัญญาสันติภาพเพื่อสงบศึกกับอังกฤษ แต่ต้องยอลาบฝนให้กับอังกฤษในปีเดียวกันตอนแรกนั้นอังกฤษเข่าซาราวะก์แต่ต่อมาบรูไนกลับเสียซาราวะก์ให้ต่อมาบรูไนยอมเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ก่อนได้รับเอกราชในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 (th.wikipedia.org/../ประวัติศาสตร์บรูไน.)
             บรูไน เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งทางด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากน้้นถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวะก์ มาเลเซียตะวันออก บูรไนเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันเป็นสิน้าหลัก(ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน)
             รัฐธรรมนูญปัจจุบันกำหนดให้สุลต่านทางเป็นอธิปัตย์ คือเป้นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหลาโหม(สมบูรณาญาสิทธิราช)นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็ฯชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายซุนนี่ย์ นอกจานี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน นโยบายหลักของบรุไน ได้แก่การสร้างความเปปึกแผ่นภายในชาติ และดำรงความเป็นอิสระของประเทศ ทั้งนี้ บรูไนมีี่ตั้งที่ถูกโอบล้อมโดยมาเลเซีย และมีอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่อยุ่ทางใต้ บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็กและมีอาณาเขตติดกับประเทศมุสลิมขนาดใหญ่อยู่ทางใต้ บูไนมีความสัมพันะธ์ใกล้ชิดกัยสิงคโปร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขคล้ายคลึงกันหลายประการ อาทิ เป็นประเทศเล็ก และมีอาณาเขตติดกับประทเศมุสลิมขนาดใหญ่

จากการพยายามยึดอำนาจเมือ่ปี พ.ศ. 2505 รัฐบาลได้ประกาศกฎอัยการศึกส่งผลให้ไม่มีการเลือกตั้ง รวมทั้งบทบาทพรรคการเมืองได้ถูกจำกัดอย่างมาก จนปัจจุบันพรรคกาเมืองไม่มีบทบาทมากนัก เนื่อจากรัฐบาลควบคุมด้วยมาตรการต่างๆ อาทิ กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ ห้ามการชุมนุมทางการเมือง และสามารถถอดถอนการจดทะเบียบเป็นพรรคการเมืองได้ ตลอดจนห้ามข้าราชการ(ซ฿่งมีเป็นจำนวนกว่าครึ่งของประชกรบรูไนทั้งหมด) เป็นสมาชิกพรรคการเมือง นอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าพรรคการเมืองไม่มีความจำเป็นเนื่องจากประชาชนสมารถแสดงความคิดเห็นหรือของความช่วยเลหือจากข้าราชการของสุลต่านได้อยู่แล้ว เมื่อ กันยายน พ.ศ. 2547 ได้จัดการประชุมของสภาเป็นครั้งแรก ตั้งแต่บรูไนประกาศเอกราช(th.wikipedia.org/..ประเทศบรูไน.)
              เมื่อพิจารณาในด้านผลประโยชน์ทีอาเซียนจะได้รับจากบรูไน จะพบว่าอาเซียนได้ผลประโยชน์จากความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่ได้จากทรัพยากรน้ำมันของบรูไนตามสมควร โดยในช่วงวิกฤตการณ์ทางเศรษบกิจในเอเชีย บรูไนได้เข้ามาช่วยเหลอประเทศต่างๆ ในอาเซียน โดยได้ให้ความช่วยเหลือการแทรกแซงตลาดการเงินภายในภูมิภาคด้วยการระดมทุนจากภายนอกประเทศ ในกาซื้อเงินสกุลริงกิตมาเลเซียและเหรียฐสิงคโปร์ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางกาเรงินของภูมิภาครวมถึงได้แสดงเจตจำนงที่จะมุ่งเน้นนโยบายการลงทุนสูงปะเทศในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น และยังได้ให้การช่วยเหลือประเทศอินโดนีเซีย และไทยในลักษณะการให้กู้ยืมเงินเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ความพยายามในการช่วยเลหือประเทศในกลุ่มอาเซียนดังกล่าว ได้เพิ่มบทบาทของบรุไนในอาเซียนมากขึ้น และเป็นการร้างหลักประกันความมั่นคงห้กับบรูไนอีกทาง
             เนื่องจากบรูไนเป็นประเทศเล็ก ศักยภาพทางการเมืองและอำนาจต่อรองทางการเมืองไม่สูง ดังนั้นบรูไนจึงมีความพยายามในการเสริมสร้างผลประโยชน์ทางการเมือง เศรษฐกิจและความมั่งคังระหว่างประเทศและมุ่งเน้นความเป็นภฦูมิภาคนิยมมากขึ้น จากเดิมที่มักให้ความสำคัญกับชาติตะวันตกอย่างอังกฤษเจ้าอาณานิคม สำหรับด้านการเมือง การที่อาเซียนมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเท่ากับเพิ่มน้ำเสียงของอาเซียนในเวทีการเมืองระหว่างประเทศห้หนักแน่นขึ้นยิ่งกว่านั้น นอกจากบรูไนจะเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ อาทิกลุ่มประเทศเครือจักภพและองค์การที่ประชุมอิสลาม เป็นต้น จึงมีช่องทางที่จะโน้มน้าวให้ประเทศสมาชิกองค์การต่างๆ เหล่านี้คล้อยตามอาเซียได้ไม่ยากนัก ดังนั้น การสมัครเข้าเป็นสมาชิกเอเซียนของบรูไนจึงเอื้อประโยชน์ให้แก่ทั้งบรูไนและอาเซียน
             ในด้านบทบาทการเป็นประธานอาเซียนประเทศบรูไนได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 7เมื่อวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544 ที่เมืองยันดาร์ เสรี เบกาวัน โดยผู้นำบรูไนประนาฒการ
ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ หร้อมได้ร่วมลงนาในปฏิญญาการประชุมสุดยอมผุ้นำอาเซียว่าด้วยการป้องกันการก่อการร้ายร่วมกัน โดยเป็นความร่วมมือทั้งในกรอบทวิภาค ภูมิภาคและระหว่างประเทศ เพื่อต่อต้านการก่อการร้ายอย่างรอบด้าน และเพื่อที่จะทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็ฯภูมิภาคที่ปลอดจากภัยคุกคาม ความร่วมมือนี้ได้จะนำมาซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคง ถือเป็ฯปัจจัยต่อการพัฒนาและความมั่งคั่งยิ่งขึ้นในอาเซียน(www.gotoknow.org/..,บทบาทของประเทศบรุไนกับอาเซียน)
           ระเบบเศรษบกิจของบรูไนค่อนข้างมีเสถียรภาพและมีการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เน้นพึ่งพาการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ฟ่านมา ได้ปรับนโยบายเน้นสร้างความหลากหลาย โดยเฉพาะทางเกษตรกรรม ไม่เน้นการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปไม่มีตลาดหลักทรัพย์ฯ เงินลงทุนจากต่างผระเทศมีปริมาณไม่มานัก บรูไนจะกำหนดมาตรการทางการเงินการคลังที่ค่อนข้างเข้มงวด เน้นระบบเศรษฐกิจที่ปลอดภัยและมั่นคงเป็นปึกแผ่น แต่ก็พร้อมปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานกาณณ์ ทั้งนี้บรูไนยืนยันพันธกรณีที่จะต้องปฎิบัติตามข้อมติต่างๆ ของอาเซียนทั้งการพัฒนาตลาดเงินทุนและระบบการเงินให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรบการเป็นประชาคมอาเซียนด้านเศรษฐกิจ
            Brunei Currency and Monetary Board BCMB หน่วยงานหลักภายใต้กระทรวงการคลังของบรุไน ก่อตั้งขึ้นในปี 2510 ซึ่งเป็นช่วงที่บรูไนยังมีสถานะอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประเทศอังกฤษและในปีดังกล่าวรัฐบาลบรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงแลกเปลี่ยนอัตราค่าเงิน ต่อมาในปี 2514 มาเลเซียได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงดังกล่าว จึงเหลือเพียงสิงคโปร์และบรูไน โดยทั้งสองประเทศได้กำหนดให้อัตราค่าเงินเหหรียญบรูไนและเหรียญสิงคโปร์ มีค่าเท่ากันที่ 1/1 ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่คล้ายคลึงกบการกำหนดค่าเงินเหรียญฮ่องกง กับเหรียญสหรัญ ไว้ที่ประมาณ 1.7-1.8ต่อ 1 ในปัจจุบันระบบเศรษฐกิจของบรูไนจึงผูกอยู่กับเศรษฐกิจของสิงคโปร์อย่างแนบแน่น ตราบใดที่เศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังมั่นคง บรูไนก็สามารถดำรงอยู่ได้อย่างราบรื่น
             BCMB มีหน้าที่หลักคือการรักษาเสถียรภาพค่าเงินเหนียญบรุไน โดยกำหนดว่าหากมีการผลิตเงิน 1 เหรียญบรูไนเพื่อหมุนเวียในตลาด บรูไนจะต้องนำเงินไปลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศในมูลค่าที่เท่ากัน เพื่อเป็นการค้ำประกัน ที่ผ่านมาบรูไนสามาถรักษาอัตราเงินเฟ้อในประเทศให้อยู่ในช่วง 1-1.5% ได้โดยตลอด นอกจากนี้ BCMB มีมาตรการที่เข้มแขช็งในการดูแลสถาบันการเงินการธนาคารในบรูไน ซึ่งประกอบด้วยธนาคารท้องถิ่น 2 แห่ง และต่างชาติ 6 แก่ง ในด้านการลงทุน โดยมีบทบาทเสริมการทำงานของ บรูไน ไฟแนนซ์ เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลด้านการลงทุนหลัก โดยจะช่วยพิจารณาการลงทุนที่สำคัญๆ รวมทั้งการนำเข้าสินค้า ซึ่งส่วนใกญ่จะเป็ฯสินค้าที่จำเป็นในด้านการดำรงชีพ..(โพสต์ทูเดย์,"บรุไนหนึ่งในอาเซียน ผู้ส่งออกน้ำมัน" กลุ่มงานยุทธศาสตร์ภูมิภาคอาเซียกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ,6 กันยายน 2599.)
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...