เป็นชองแคบที่มีความกว้างที่สุด 126 ไมล์ ซึ่งอยู่ระหว่างเกาะปีนังของมเลเซียและชายฝั่งทาเมียง ของเกาะสุมาตรา ส่วนที่แคบที่สุดกว้างเพียง 8.4 ไม่ล์ อยู่ตรงทางเข้าระหว่างเกาะกูกุบ ของมาเลเซียและเกาะลิตเติลคลามัน ของอินโดนีเซียนอกจากนี้ช่องแคบมะละกามีความยาวประมาณ 500 ไมล์ ส่วนที่ลึกที่สุดระมาณ 26-30 เมตรพื้นทะเลในส่วนของช่องแคบมะละกาเป็นทราย แต่ในช่องแคบที่เป็นส่วนของสิงคโปร์เป็นพื้นทะเลเป็นหิน และาการสำรวจสภาพช่องแคบมะละกาพบว่า ในบริเวณทั้งหมด 89 แห่ง จะปรากฎที่ตื้นน้อยกว่า 23 เมตร จากซากเรืออัปปางและพื้นท้องทะเลเต็มไปด้วยลอนทราย บริเวณเส้นทางเข้าสู่ที่ตื้นเรียกว่า One Fathom Bank หรือที่ตื้อนหนึ่งวา จนกระทั่งถงช่องแคบสิงคโปร์เป็นเส้นทางที่อนตรายมาก ความลึกตรงทางเข้าช่องแคบด้านตะวันตก มีความลักระหว่าง 34 เมตรและ 84 เมตร แต่บริเวณใกล้เกาะอะรัว ของอินโดนีเซียมีความลึกเพียง 18-19 เมตร และบริเวณ
ปอร์ตคลางของมาเลเซียมีที่ตื้นอยู่หลายแห่ง บางแห่งมีความลักน้อยกว่า 10 เมตร ทางด้านเหนือของปอร์ต ติดสันดานชายฝั่ยมาเลซียมีที่ตื้นเป็นหย่อมๆ ทำให้เรือขนาดใหญ่ต้องเดินเทางหลบหลีกไปมาในบริเวณช่องแคบสิงคโปร์มีบริเวณที่แคบที่สุดกว้างเพียง 3.2 ไมล์อยู่ระหว่างเกาะเซอนาง ของสิงคโปร์และเกาะตากอบ เยอร์ชา ของอินโดนีเซีย และบริเวณที่แคบอีกแห่งหนึ่งอบู่ระหว่งเกาะเซนต์ จอห์น ของสิงคโปร์และเกาะอะนัค ซัมโม ของอินโดนีเซียมีความหว้างเพียง 3.4 ไมล์
ช่องแคบมะละกาอยู่บริเวณปลายสุดของแปลมมลายูระหว่างประเทศมาเลเซียสิงคโปร์และเากสุมาตราของอินโดนีเซียเชือมต่อระหว่างทะเลอันดามันของมหาสุมทรอินเดียและทะเลจีนใต้ขชองมหาสมุทรแปซิฟิก
ปากทางเข้าทางทิศตะวันตกของซ่องแคบเริ่มจากตอนใต้ของเกาภูเก็ตถึงตอนเหนือสุดของเกาะสุมตราของอินโดนีเซียบริเวณเหลม Piai มีความกว้างประมาณ500 ไม่ล์
ปากทางเข้าทิศตะวันออกเป็นจุดเดียวกันกับที่เริ่มต้น ช่องแคบสิงคโปร์ โดยอยู่บริเซณใต้สุดของประเทศมาเลเซียที่เกาะ คุคุป ซึ่งมีความกว้างประมาณ 8.4 ไมล์
ความลึกของระดับน้ำในช่องแคบมีความไม่แน่นอน เนื่องจากพื้นที่ดินท้องทะเลเป็นทรายซึ่งถูกกระแสน้ำพัดพา ทำให้เปลี่ยนรูปร่างไปได้เสมอ อย่างไรก็ตามความลึกโดยเฉลี่ยบริเวณปากทางเข้าทางทิศตะวันตกจนถึงเกาะเปรักของมาเลเซียมีระดับลึกพอที่จะไม่เกิดอันตรายต่อการเดนเรือ คือ ประมาณ 34-88 เมตร ในขณะที่บริเวณต่อจากเกาะเปรักจนถึงเกาะ คุคุป อันเป็นจุดเริ่มต้นของช่องแคบสิงคโปร์นั้น ระดับน้ำค่อนข้างตื้นและในบางบริเวณก็ตื้นมากจนสามารถเป็นอันตรายต่อการเดนเรือได้ โดยเฉลี่ยมีความลึกประมาณ 20 เมตร แต่ในบางบริเวณก็ลึกเพียง 3 เมตรเท่านั้น...
... การผลัดเปลี่ยนกันเข้ามามีอำนาจเหนือช่องแคบโดยชาติต่างๆ มีผลต่อหลักเกณฑ์การผ่านข่องแคบด้วยเช่นกัน เนือ่งจากแนวคิดที่มีต่อหลักเษฑ์การผ่านช่องแคบไปตามยุคสมัยซึ่งอาจแ่งออกได้กว้างๆ เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 สมัยโบราณ ช่องแคบอยู่ใต้อำนาจของชาวพื้นเมืองหรือชาเอเซียชาติอื่น เช่ส ชาวอาหรับ หลักเกณฑ์การผ่านช่องแคบจึงเป็ฯไปตามแนวความคิดของชาวเอเชีย คือ ถือว่าทะเลเป็นทรัพย์สมบัติส่วนกลาง ซึ่งไม่สามทารถยึดถือเป็นเจ้าของได้ เรือจึงสมารถเดินผ่านได้อย่างเสรี
ระยะที่ 2 สมัยอาณานิคม เมื่อชาวยุโรปต่างๆ คือ โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษเข้ามาควบคุมการเดินเรือผ่านช่องแคบ การผ่านช่องแคบตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐชายฝัง ทั้งนี้น่าจะได้รับอิทะิพลมาจากแนวความคิดของนักกฎหมายฝ่ายที่เห็นว่า ทะเลสามารถถูกครอบครองเป็นเจ้าของได้ ซึ่งเป็นปนวความคิดที่แพร่หลายอยู่ในยุโรปสมัยหนึ่งดังนั้น ในสมัยนี้การเดินเรือผ่านชองแคบจึงไม่ได้เป็นไปโดยเสรี
ระยะที่ 3 เมื่อรัฐประชิดช่องแคบได้รับเอกราช เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองรัฐประชิดช่องแคบทั้งสาม คือ อินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคฮปร์ ต่างได้รับเอกราช ในระยะนี้แต่เดิมแนวปฏิบัติโดยทั่วไป ถือว่าทะเลอาณาเขตมีความกว้างเพียง 3 ไมล์ทะเล ทางเดินเรือผ่านช่องแคบจึงไม่ได้รับความกระทบกระเทือน ถึงแม้ว่ารัฐประชิดช่องแคบต่างต้องการที่จะเข้ามาควบคุมการผ่านก็ตาม เนื่องจากยังคงมีส่วนที่เป็นะเลหลวงอยู่บริเวณต่อนแลางของช่องแคบ แต่ภายหลังเมื่อมีการยอมรับกันมากขึ้นในเรื่องความกว้างของทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล เป็นผลให้น่านร้ำส่วนใกญ่ในช่องแคบตกอยู่ภายใต้ทะเลอาณาเขตของรัฐประชิดช่องแคบการผ่านช่องแคบของเรือชาติต่างๆ จึงได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะสำหรับเรือรบและเรือพาณิชย์ดังนั้นในระยะที่ 3 นี้ การผ่านช่องแคบจึงเป็ฯสิทธิประเภทเดียวกับการผ่านทะเลอาณาเขต
อาจกล่าวได้ว่า สถานภาพของช่องแคลมะละกา เมื่อแรกเริ่มนั้นในหมู่นักเดินเรือมักจะรู้ว่าเป็นชุมชนโจรสลัด นอกจากนี้ช่องแคบมะละกาเป็นแหล่งลักลับที่เป็ฯทางผ่านของเรือ เป็นตลาดการค้า ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในห้าของเกาะปากน้ำของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรังโจรสลัดที่เข้มแข็. ต่อมาได้ดำเนินการค้าอย่างถูกกฎหมาย กิจกรรมทางการค้าได้เปลี่ยนสถานที่จากเกาะไปบนแผ่นดิน เรือจากมหาสมุทรอินเดียที่จะไปจีนสามารถใช้อ่าวมะละการเป็นที่จอดพักเรือ และสามารถติดต่อดินแดนตอนใต้ของมหาสมุทรมลายู...
...สถานภาพช่องแคบมะละกาในทางกฎหมายระหว่งประเทศ จากากรตกลงร่วกัน รัฐประชิดช่องแคบได้แยกปัญหาเกี่ยวกับช่องแคบมะละกาและสิงคโปร์ออกเป็น 2 ประเด็นด้วยกันคือ ปัญหาเกี่ยวกับสถานะตามกฎหมายระหว่างประเทศของช่องแคบ และปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือในช่องแคบ ซึ่งสาเหตุที่ต้องแยกออกจากกันเนื่องจากอินโดนีเซียและมาเลเซียมีความเห็นร่วมกันว่า ช่องแคบมีสถานะเป็นทะเลอาณาเขตธรรมดาเท่านั้น การผ่านช่องแคบจึงต้องเป็นไปตามหลักสิทธิการผ่านโดยสุจริตในทะเลอาณาเขต ซึ่งสิทธิการผ่านจะต้องถูกจำกัดลงบางประการ โดยที่สิงคโปร์ไม่เห็นด้วย เพราะสิงคโปร์์มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการเดินเรือผ่านช่องแคบจึงต้องการให้มีการผ่านช่องแคบอย่างเสร ดังนั้นในปัญหาเกี่ยวกับสถานะตามกฎหมายระหว่างประเทศของช่องแคบจะต้องแผกออกเป็นเรื่องต่างหาก และกว่างย้ำไว้ในความตกลงร่วมว่าเป็นปัญหาที่แยกออกจากปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการเดินเรือ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐประชิดชองแคบมีผลประโยชน์ร่วมกันและสามารถตกลงกันไ้ด้
ในกรณีแรกเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศของช่องแคบมะละกานั้นเนื่องจากรัฐประชิดช่องแคบทั้งหมดมิได้เห็นพ้องต้องกันจึงยังคงเป็นปัญหาเกี่ยวกัความชัดเจนของทางปฏิบัติในเรื่องนี้ และไม่อาจถือว่าความตกลงร่วมฉบับนี้ได้แสดงถึงสถานะตามกฎหมายระหว่างประเทศของช่องแคบได้ อาจถือได้ว่าเป็นเพียงการแสดงจุดยืนของอินโดนีเซียและมาเลเซียฝ่ายหนึ่งกับสิงคโปร์อีฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
ในกรณีที่สอง เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินเรือ รัฐประชิดช่องแคบได้แสดงจุดยืนอย่างหนักแน่นว่า เป็นเรื่องระหว่างรัฐประชิดช่องแคบเท่านั้น ซึ่งเป็นการยากจะอธิบายว่า เหตุใดปัญหาเกี่ยวกับความปลอภัยในการเดินเรือและปัญหาเี่ยวกับสถานะตามกฎหมายระหว่างประเทศของช่องแคบจึงมิได้เกี่ยวข้องกัน เพราะการใช้อำนาจใดๆ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยในกาเดินเรือจำเป็นต้ออาัยการอ้างอิงอำนาจ ตามกฎหมายระหว่างประเทศด้วย ด้วยเหตุนี การที่รับประชิดช่องแคบลกล่าวอ้างว่า ปัญหาความปลอดภัยในการเดินเรือเป็นเรื่องของตนโดยเฉพาะจึงเป้นปากรแสดงโดยปริยายว่า อำนาจของรัฐประชิดช่องแคบเหนือน่านน้ำในช่องแคบน้น คือ อำนาจอธิปไตยในทะเลอาณาเขตและจึงต้องสอดคล้องกับข้อกล่าวอ้างของอินโดนีเซียและมาเลเซียว่า ช่องแคบมะละกาและสิงคโปร์เป็นทะเลอาณาเขตของตน
ความตกลงร่วมฉบับนั้จึงแสดงให้เก็นถึงความแตกต่างในระหว่างรัฐประชิดช่องแคบเกี่ยวกับสถานะตามกฎหมายระหว่างประเทศของช่องแคบมะละกา แต่ในขณะเดียวกันก็แสดงถึงความสนใจของรัฐประชิดช่องแคบที่จะเข้ามาจัดการในช่องแคบมากขึ้น..("บทบาทและความสำคัญของช่องแคมะละกา" บทที่ 2,file///G;/.../ASAIN/ทเล..)
...ช่องแคบมะละการยังมีความสำคัญที่ภุมิศาสตร์ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ อันเกี่ยวพันธ์กับผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจต่างๆ ในโลก เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จึงหนีไม่พ้นการแทรกแซงจากชาติมหาอำนาจ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" ในอดีตยังคงเป็น "หมู่เกาะเครื่องเทศ"ในศตวรรษใหม่ ยุคแห่งสารสนเทศ รูปแบบใหม่ของการล่าอาณานิคม จากยุคตื่นตัว ไการพัฒนาทางด้านเทคนิคการผลิต"ในพุทธศตวรรษที่ทำให้อำนาจทางการผลิตยิ่งใหญ่ ครอบคลุมโลกในยุคล่าอาณานิคมยาวนานราว 500 ปี และพัฒนาสู่ยุคทะนนิยมสมบูรณ์แบบ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีระดับไมโคร ทำให้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ได้รับการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโด สู่การวิจัยพัฒนาขึ้นสูงในระดับ "นาโนเทคโนโลยี"โลกยุคปัจจุบัน อำนาจของตลาดเงิน ตลอดทุน ได้แสดงบทบาทที่มีอำนาจเหนือกว่าอำนาจทางการผลิตยุคอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน เช่น
- การฟยุดการเติบโต อนาจทาการผลิตของญี่ปุ่น เมื่อร่วม 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยปลายปากกาของ สถาบันจัดอันดับเครดิตตลาดทุนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้สร้างปัญหากดอำนาจการผลิต ของเศรษฐกิจมาถึงปัจจุบัน
- การโจมตีเพื่อหยุดยั้งการเจริญเติบโตทางเศราฐกิจ ของประเทศที่ติดขอบทะเลปแซิฟิกด้านเซีย (แปซิฟิกกริม) ด้วยการเริ่มต้นที่ประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 1536-1540 และพังทลายทั่วเอเซีย จนกลายเป็นตำนาน "ต้มยำกุ้ง" โดยกลุ่มครองอำนาจตลอดทุ ตลดเงิน พวกเขาอาศัยเพียงปลายปากกาของ สถาบันจัดอันดับเครดิตดลาดทุนในสหรัฐอเมริกา Moody's, S&Pและกองทุน เฮดฟันด์จอร์จซ์ โซรอสซ์
- ล่าสุดสิงหาคม 2557 อำนาจของตลาดเงิน ตลาดทุน ได้แสดงบทบาทที่เหนือกว่า "อำนาจทางการผลิต อย่างชัดเจนเมื่อกองทุนเฮดฟันด์ เข้าเก็งกำไรในตลาดน้ำมันดิบโลก สร้างกำไรมหาศาล รวมทั้งการสร้างกำไรจากตลาดทุน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ ไต่สูงขึ้นไปแตะระดับ 50 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล ราคาหุ้นในตลาดหุ้นทั่วโลกร่วงลงระนาว โดอาสก็เป็นของเฮดฟันด์เข้าช้อนซื้อหุ้น และเมือ่ดันระคาน้ำมันลง ตลาดหุ้นทั่วโลกก็จะเขียวยกแผง สร้างกำไรอีกมหาศาลฯลฯ
อย่างไรก็ตามแม้ตำนาน "หมู่เกาะเครื่องเทศ" จะได้เปลี่ยนรูปแบบไป ไม่มีกองเรือของดัตซ์ ปอร์ตุเกส สเปน และอังกฤษ ที่เข้าไปปล้นสะดมทรัพยากร ฆ่าฟันชนพื้นเมือง อีกต่อไป แต่รูปแบบการล่าเมืองขึ้นยุคใหม่ "อำนาจของตลาดเงิน ตลาดทุน ก็ได้เข้ามาแทนที่ ดังนั้นความจำเป็นขอพวกเขาจึงต้องสร้างอำนาจทางการทหาร และเข้าไปควบคุมจุดยุทธศาสต์สำคัญๆ ของโลกไว้ "ช่องแคลบมะละกา" จึงเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ" ในการสร้างดุลอำนาจที่เหนือกว่า เพื่อปกป้องคุ้มครอง และเป็นหลักประกันความั่งคั่งมั่นคงของตนให้คงอยู่เป็นนิรันดร์..(www.visitsurin.com, ช่องแคบมะละกา, I'm America)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น