Republik Indonesia II (Vereenigde Oostindische Compagnie)

             สาธารณรัฐอินโดนีเซีย หรืออินโดนีเซีย มีระบบการเมืองการปกครองแบบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานนาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้าบริหาร ระบบเศรษฐกิจ และทรัพยากรที่สำคัญในอดีตเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมเป็นหลัก แต่หลังเกิดิกฤตการณ์น้ำมันในตลาดโลกอินโดนีเซียจึคงหันมาพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ปรพกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อินโดนีเซียมีความสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม่และแร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำก๊าซ ธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุกแฃละเหล็ก รวมทั้งมีภูมิประทเศที่เอื้อต่การทำประมงจับสัตว์น้ำและทำเกษตรกรรม โดยปลูกพืชแบบขั้นันได สกุลเงิน คือ รูเปียห์ ตัวย่อ IRD อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 300 รูเปียห์ ต่อ 1 บาท ประชากร ประมาณ 251.5 ล้านคน ( พ.ศ.2557) ส่วนใหญ่เป็ฯชาวชวา ภาษาประจำชาติ ภาษราชการคือ ภาษาอินโดนีเซีย
             บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา V.O.C. ดำเนินกิจการในรูปแบบกิจการรัฐวิสาหกิจ ตั้งสถานีการค้าที่บันทัม เนื่องจากนโยบายของผุ้ปกครองบันทัมยินดีต้อนรับพ่อค้าต่างชาติพ่อค้าคนแรกของดัช คือ สรคเวน แวนเดอร์ ฮาเกน ได้ทำสัญญาผูกขาดการค้ากานพลู ในนามของพ่อค้าสมาคมชาวดัช การค้าในแต่ละเมืองจะจัดส่งเรือออกไปอย่างเป็นอิสระ โดยผลกำไรและขาดทุนจะมาเฉลี่ยทั่วกัน ในที่สุด V.O.C. ก็เข้าควบคุมโรงเก็บสินค้าทั้งหมดที่ฮอลันดาตั้งขึ้นเชนที่เกาะเทอร์เนตในหมู่เกาะโมลุกะ บันดา บันทัมและกรีสิกริมฝั่งชวาเหนือ ปัตตานี ยะโฮร์ลบนเเหลมมาลายูและอาเจะห์ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของสุมาตรา
            ดัชปกครองอินโดนีเซียแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
            - ระยะเศรษฐกิจ ระยะแรกเริ่ม ดัชสนใจเพียงแค่การค้าเพียงอย่างเดียว ไม่สนใจครอบครองดินแดน การผูกขากการค้าเครื่องเทศ ในปมู่เกาะเครื่องเทศ ผูกขาดการค้าข้าวในชวา และการผูกขาดการค้าอื่น ๆ ได้ผลเป็นอย่างดี ไม่มีความจำเป้ฯจะต้องครอบครองดินแดนแต่อย่างใด การใช้นโยบายผูกขาดทางการค้าไปพร้อมๆ กับ ขจัดอิทธิพลของชาติอื่นคือ โปรตุเกส อังกฤษ อาหรับ โดยเสนอผลประโยชน์ให้สุลต่านในการทำสัญฐญาผูกขาดเครื่องเทศ ให้เงินตอบแทนและขายอาวุธให้ขยายอำนาจทางการค้าไปยังดินแดนจ่างๆ โดยเฉพาะในหมู่เกาะเครื่องเทศ พร้อมๆ กับคุกคามโปรตุเกสให้ถอนกำลังทางการค้าในบริเวณภูมิภาคนี้ อีกทั้งปราบปรามอังกฤษให้แข่งขันทางการค้า
             ใช้วิธีการปกครองแบบ Priangan System แบ่งดินแดนการปกคอรงออกเป็นเขตๆ แต่งตั้งหวหน้าชาวพื้นเมืองของแต่ละเขตเรียกว่า รีเจ้นท์ มีหน้าที่ควบคุม ดูแลชาวพื้นเมืองเพาะปลูก และส่งผลผิจให้กับ V.O.C. ในราคาที่บริษัทกำหนดไว้ รีเจนท์ จะไม่ได้รับเงินเดือน แต่จะได้รับสิทธิทางภาษีจากประชชนในเขตคการปกครองของตน ภายใต้เงื่อนไขของบริษัทว่าต้องจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการชาวพื้อนเมือง แต่การจัดการปกครองแบบนี้ทำให้ รีเจ้นท์ แต่ละคนมีอำนาจมาก มักทำอะไรตามอำเภอใจ ดำเนินกิจการต่างๆ เป็นอิสระ รีเจ้นท์ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ฮิลันดาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายใน และเริ่มใ้นโยบายควบคุมดินแดน
             อย่างไรก็ตามในระยะเริ่มแรกนี้ การผูกขาดทางการค้าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง ดัชทำการปกครองทางอ้อม ปล่อยให้ชาวพื้นเมืองปกครองตนเองของครอบครัวและหมู่บ้านที่เรียกว่า เดสา ตามกฎหมายและจารีตประเพณีพื้นเมือง อะดาท ดัชรักษาเพียงผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น แตเนืองจากการที่ชาวพื้นเมืองลักลอบขายสินค้าให้กับโปรตุเกส อังกฤษ สเปนและอาหรับ เนือ่งจากชาติเหล่านี้ให้ระคาสูงกว่า รีเจ้นท์ แต่ละคนมีอำนาจมาก เกิดการทะเลาะขัแย้งกันเอง กดขีคนพื้นเมือง บริษัทจึงเข้าแทรกแซง และควบคุมการตรวจสอบ อีกทั้งปัญหาโจรสลัดปล้นเรือสินค้า ของ V.O.C.
            การแทรกแซงทางการเมืองและการทำสงคราม เมื่อคนพื้นเมืองไม่ทำสัญญาทางการค้าก็จะใช้กำลังทางการทหารบีบบังคับและถ้าดินแดนใดที่เห็นว่ามีประโยชน์ทางการค้าแก่ฮิลันดา เกิดการแตกแยกภายใน ฮอลันดาจะเข้าแทรกแซงทันที
           ปกครองระบบพาณิชย์นิยม บริษัทซื้อสินค้าโดยตรงกับคนพื้นเมืองโดยตรง จ่ายเงินให้กับผุ้ผลิต เนื่องจากบริษัทมีภาระทางการเงินมาก จึงมอบให้สุลต่านเป็นผู้ดูแล มีการนำระบบบังคับการเกษตรมาใช้สุลต่านผูกพันสัญญากับบริษัท ดัชปกครองชวาอย่างใกล้ชิด ในส่วนท้องถิ่นและเกาะรอบนอกผู้นำยังคงปกครองต่อไป ตราบเท่าที่การค้ายังคงดำเนินไปตามกฎของบริษัท แต่หากรัฐใดทำผิดกฎติดต่อค้าขายกับชาติอื่น ดังจะลงโทษทันที ดัชขยายการปกครองไปทั่วดินแนอินโดนีเซยและเก็บเกี่ยวพืชผลทางเกษตร การแสวงหาผลประโยชน์โดยปราศจากความเตราเมื่อดัชย้ายศูนย์กลางการปกครองและการค้าไปยู่ปัตาเวยแารปกครองเข้มงวดและรัดกุมมากขึ้น ทำให้ดัชได้เกาะชวาทั้งหมด และมีอิทธิพลทางการค้าและการเมืองเหนือหมู่เกาะเครื่องเทศ ยกเว้นเพียงมาคัสซาร์
         
   การแข่งขันทางการค้าในยุโรป การขายการค้าเกินกำลัง กลยุทธ์ทางการค้า ประกอบกับปัญหาทุจริตในแวดวงราชการ เกิดการกบฏ และการเปลี่ยนแปลงในยุโป สงครามปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศส ยุโรปหยุดชะงัก ในที่สุด บริษัท V.O.C ต้องล้มละลายลง รัฐบาลฮอลันดาต้งอเข้ามารับภาระในการชำระหนี้ ส่งข้าหลวงเข้ามาปกครองอาณานิคม ทำการปฏิรูปการปกครอง แต่เมืองสเกิดสงครามนโปเลียน ฮอลันดาตกอยู่ใข้อิทธิพลฝรั่งเศส อังกฤษเข้ามาดูแลชวา และหมู่เกาะเครื่องเทศชั่วคราว ภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
           เซอร์ โทมัส แสตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ นายพลผุ้ว่าการชวาและเมืองขึ้นอื่นๆ ได้แนะนำวิธีการปกครองท้องถิ่นด้วยตนเอง การค้าทาสได้ถูกสั่งห้าม ระบบเช่าที่ดินถูกนำมาใช้แทรกองทหาร ยกเลิกการผูกขาการค้าและการบังคับการเพาะปลูก ฟื้นฟูอำนาจสุลต่าน แบ่งชวาออกเป็น 10 เชต มีผุ้ปกครองแต่ละเขตทำหน้าที่บริหารราชการ และทำหน้าที่ตุลาการเรียกเก็บภาษีให้รัฐบาล
              ภายหลังสงครามนโปเลียนดัชกลับมาปกครองอินโดนีเซียอีกครั้ง ซึ่งสถานะทางกเารเงินยังทรุดหนัก การค้าในหมู่เกาะอินโดนีเซียไม่มั่นคง รัฐบาลฮิลันดาจึงเข้าปกครองชวา และหมู่เกาะเครื่องเทศอย่างใกล้ชิด และพยายามแทรกแซงการปกครองภายในทำให้อินโดนีเซีย ภายหลังสงครามโลกคร้งที่ 1 ต้องตกเป็นอาณานิคมของฮอลันดาอย่างสมบูรณ์
             รัฐบาล ฮอลันดา ได้จัดตั้งคณะข้าหลวงเข้ามาปกครอง อินโดนีเซีย โดยประกาศใช้รัฐธรรมนูญปกครองอาณานิคมที่เรียกว่า รีเจอร์ริงซ์-รีเกิลเมนท์ รัฐบาลฮอลันดาได้ทดลองปกครองแบบเสรีนิยมที่แรฟเฟิลส์ได้วางเอาไว้ และมีนโยบายส่งเสริมสวัสดิการของชาวพื้นเมื่องให้ดีขึ้นเนื่องจากแรงกดดันของ พวกเสรีนิยมในยุโรป ดัชได้ปรับเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบเสรีนิยม และระบบเศรษฐกิจวัฒนธรรม..การปกครองของดับสร้างปัญหาให้กับอินโดนีเซียเป็นอย่างมากโดยเฉพาะระบบบังคับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เกิดปัญหาการขาดแคลนข้าว เพราะที่ดินที่ควรจะนำมาปลูกข้าวเพื่อใบข้บริโภคกลับถูกนำไปปลูกพืชเศรษฐกิจ  ผู้คนค้าขายไม่เป็น สภาพชีวิตของผุ้คนแย่ลง กลุ่มเสรีนิยมได้โจมตีระบบนี้อย่างหยัก เกิดขบวนการชาตินิยม เกิดการก่อกบฎของชาวพื้นเมืองไปทั่วภูมิภาค กระทั่งระบบนี้ถูยกเลิกเป็นกาถาวรwww.gotoknow.org/../อินโดนีเซีย : การปกครองของฮอลันดาในอินโดนีเซียในรูปแบบบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา)
             
จากการที่ตกเป็นเมืองขึ้นของดัชกว่า 300 ปีจึงได้รับการถ่ายทอดความรุ้ความชำนาญ ตลอดจนศิลปะวัชาการแขนงต่างๆ ที่กลากหลายจากชาวดัตซ์ ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมชั้นนำและมีความศิวิไลซ์ย่ิงในสมัยนัน โดยเฉพะาในกานการเมืองการปกครอง การวางรากฐานของระบบเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การคลัง การศึกษา วิวัฒนาการของการเดินเรือสมัยใหม่ ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง
                แต่การเปลี่ยนผ่าน สู่ความเป็นประเทศเอกราชของอินโดนีเซียมิได้โรด้วยกลีบกุหลาบ แต่เต็มไปด้วยอุสรรคที่ยากลำบาก ถนนสู่ความเป็นประเทศอธิปไตย มีความขรุขะอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อสู้กับชาวดัตซ์เืพ่อให้ได้มาซึ่งเอกราชบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นกาต้องสู่ที่เสียเลือดเนื้อ กล่าวคือ ห้วงเวลาที่หลายประเทศในยุโรปกำลังเพลี่ยงพล้ำต่อกาองทัพนาซีของเยอรมัน ทำให้ดัตซ์และประเทศส่วนใหญ่ต้องหมกมุ่นกับการจักการปัญหาภายในของตน กอปรกับจัรวรรดิญี่ปุ่นกำลังเรืองอำนาจมีแสนยานุภาพ
ทางการทหารเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน และได้แผ่อำนาจอิทธิพลขับไล่ชาวดัตซ์เจ้าอาณานิยมเดิมออกไปจนในที่สุดญี่ปุ่นก็สามารถยึดครองอินโดนีเซียได้สำเร็จ แต่เมื่อสุดท้ายญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้สงครามเนื่องจากประเทศได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการถูกทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ อินโดนีเซียโดยผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชขณะนั้น คือ ซูการ์โน ฉวยโอกาสประกาศเอกราชในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นเพลี่ยงพล้ำพ่ายแพ้สงคราม
   
 ดัตซ์เจ้าอาณานิคมเดิมยายามอย่างมากในการกลับเข้ามาปกครองอินโดนีเซีย และได้ใช้นโยบายกวดล้างเพื่อกอบกู้อำนาจของตนตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้เกิดการสู้รบระหว่างทหารชาวดัตซ์และกองทัพผุ้รักชาติอนิโดนีเซีย ส่งผลให้มีผุ้บาดเจ็บล้มตายเป็ฯจำนวนมาก กระทั่ง ค.ศ. 1945 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศยุติการให้เงินสนับสนุแก่เนเธอร์แลนด์ภายใต้แนการณ์มาร์แชล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้กดดันและมีมติให้เนเธอร์แลนด์ถอนตัวออกจาอินโดนีเซียและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
               ในที่สุด ดัตซ์ ต้องจำยอมต่อแรงกดดันนำไปสู่การถอนทหารออกจากอินโดนีเซีย ทำให้บทบาทแลอิทธิพลของตนต้องสิ้นสุดลงอย่างถาวร และอินโดนีเซียก็ได้ประกาศเอกราชอีกครั้ง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 1950 นำไปสู่การได้มาซึ่งอิสรภาพที่แท้จริงของประเทศ ภายใต้การนำของปรธานาธิบดีซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย. (www.siamintejjigence .com/../ประวัติความเป็นมาและเส้นทางสู่มหาอำนาจของ "อินโดนีเซีย"ในASEAN ตอนที่ 1.)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)