การคมนาคมทางทะเลมีเส้นทางเดินเรือตั้งแต่สมัยโบราณ ฝั่งทะเลด้านตะวันออกและฝั่งอ่าวไทยมักถูกใช้เป็นที่พักเรือสินค้าที่มาจากจีน อินเดีย อาหรับและยุโรป รวมทั้งเป็นที่หลบลมมรสุม ดินแดนในภูมิภาคนี้จึงมีการติดต่อคมนาคมทางทะเลในภูมิภาคกันเองและติดต่อกับโลกภายนอกด้วย ปัจจุบันการคมนาคมทางทะลมีความก้าวหน้ามาก มีท่าเรือในทุกประเทศยกเว้นประเทศลาวเนื่องจากไม่มีทางออกทะเล ท่าเรือในปัจจุบันมีความสะดวกในการใช้งานและมีความทันสมัยสามารถจอเดรือใหญ่ได้ ขนถ่านสินค้าและใช้ในการคมนาคมได้รดเร็วกว่าสมัยก่อน ท่าเรือที่สำคัญได้แก้ ท่าเรือของประเทศสิงคโปร์ ถือเป็นท่าเรือที่เป้นจุดเชื่อมโยงและเป็นจุดฟ่านของเส้นทางเดินเรือตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยราชวงศ์ถังปรากฎบันทึกว่าท่าเรื่อสิงคโปร์อยู่ในเส้นทางสายไหมของโลก ปัจจุบันก็ยังเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญมากในภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่ที่น่าสนใจคือท่าเรือน้ำลึกทวายในเมียนมาร์ที่เชื่อต่อกับเส้นทางคมนาคมทางบกผ่านจังหวัดกาญจนบุรีของไทยเข้าไปยังกรุงเทพมหานครและเขชื่อโยงต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จะเป็นจุดเชื่อมโยงทางคมนาคมและการขนส่งสินค้าทางทะเลแห่งใหม่ที่สำคัญในเอเซียตะวนออเฉพียงใต้ เป้นต้น (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด กาญจนบุรี, การคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
เส้นทางสายไหม คือเส้นทางทางการค้าและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ที่เคยเชื่อมโยงภูมิภาคต่างๆ เข้าด้วยกันมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง ได้มีแผนพัฒนา "เส้นทางสายไหมใหม่ ภายใต้ศตวรรษที่ 21" ขึ้นเพื่อกระชับความสัมพันะ์และพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศอีกครั้ง โดยนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่สตวรรษที่ 21 The New Silk Road มีแนวคิดยุทธศาสตร์ คือ "One belt One Road" policy(หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง) นับเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของจีนในปัจจุบัน ครอบคลุมการพัฒนาและสร้างเส้นทางคมนาคม 2 เส้นทางคือ เส้นทางสายไหมทางเศรษฐกิจทางบก มีลักษณะคล้ายแถบเส้นเข็มขัดที่เชื่อมโยงจากฝั่งตะวันตกของจีน ผ่านเอเซียกลาง เอเซียตะวันตก(รัสเซีย) และไปสุดที่ยุโรป (ออสเตรีย) และ เส้นทางสายไหมทางทะเล คือเส้นทางที่เชื่อมโยงจากท่าเรือทางตอนใต้ของจีน ผ่านภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เอชียใต้ ตะวันออกกลาง อแฟริกาตะวันออก และไปสุดที่ยุโรป(เบลเยี่ยม) ซึ่งเส้นทางสายใหมทางทะะล ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการขยายผลประโยชน์ระหว่งจีนกับประเทศต่าางๆ ครอบคลุมหลายภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียน และอาจกลายเป็นเส้นทางที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้าและการลงทุนมากที่สุดอีกเส้นทางหนึ่งในอนาคต(บทความ "จีนกับประชาชนเศรษฐกิจอาเซียน ภายใต้แผนพัฒนาเส้นทางสายไหมใหม่)
สมาชิกในประชาคมอาเซียนทั้งหมด 10 ชาติ มีเพียงลาวประเทศเดียวมี่ไม่มีทางออกทะเล อีก 9 ประเทศล้วนมีชายฝั่งติดทะเล ระยะทางรวมกันแล้วกว่า110,000 กิโลเมตร ยาวกว่าเส้นรอบโลกเกือบ 3 เท่า หรือเท่ากับ 5.5 เท่าของความยาวชายฝั่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในจำนวนนี้ ประเทศอินโดนีเซียมีชายฝั่วยาวไกลมากที่สุด รองลงมาคือฟิลิปปินส์..และชายวฝั่งที่ยาวไกลนี้ เป็นที่ตั้งของเกาะแก่งจำนวนมหาศาล บางประเทศเป็นประเทศที่เป็นเกาะเช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เมื่อนับรวมจำนวนเกาะของทั้งภูมิภาครวมกัน คิดเป็นตัวเลขกว่า 30,000 เกาะ มากว่าจำนวนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย
ทะเลของประชาคมอาเซียนตั้งอยุ่ในเขตร้อน ตามหลักทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ทะเลเขตร้อนเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงกว่าทะเลเขตอบอุ่นและทะเลเขตหนาวเป็นอย่างมากนอกจากนี้ ทะเลอาเซียนยังอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า "เขตอินโด-แปซิฟิก" หรือเขตเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าทะเลเขตนี้มีความหลากหลายสูงที่สุดในโลก ไม่ทำให้ทะเลในเขตอเาซียนมีเพียงความใหญ่โตมโหฬาร แต่ยังคงอุดมสมบูรณ์ที่สุดด้วย
ตลอดเวลยาวนาน นักวิทยาศสตร์ทางทะเลพยายามทำการศึกษาทะเลของภูมิภาคอาเซียนน แต่การศึกษาก็ค้นพบเพียงน้อยนิด เมื่อเทียงกับทรัพยากรของทะเลแห่งนี้ ทะเลอาเซียนเป้นบริเวณที่มีความหลากหบายองสิ่งมีชีวิตในแนวประการับสูงสุด สิ่งมีชีวิตในบริเวณนี้มีจำนวนชนิดมากกว่าสิ่งมีชีวิตในแนวประการรังเขตอื่นไดในโลกรวมกัน ..เกาะต่างๆ ไม่ฃต่ำกว่า 3,000 เกาะที่ไม่เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ และทะเลที่ลึกเป็นอันดับสามของโก ที่ร่องลึกฟิลิปปินส์ โดยความลึกสูงสุดถึง 10,540 ซึ่งสามารหย่อนภูเขาเอเวอเรสต์ลงไปได้ทั้งหมด ความลึกลับของทะเลอาเซียนจึงมีมนต์ขลังรอการพิสูจน์...(www.etatjournal.com/.., อาเซียนมีทะเลยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก)
ประชาคมอาเซียนกับความร่่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางทะเลนั้น ใน APSC Biueprint ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลที่ได้กำหนดไว้ประกอบด้วย
1) การจัดตั้งเวทการประชุมหารือเรื่องความร่วมือ เพื่อความมั่นคงทางทะเลของอาเซียน
2) การประยุกต์ใช้แนวทางอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องความปลอดภัยในการเดินเรือและความมั่นคงในภูมิภาค
3) การรวบรวมประเด็นความมั่นคงทางทะเล และระบุความร่วมือทางทะเลร่วมกันของสมาชิกอาเซีย
4) ส่งเสริมความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางทะเล การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ผ่านกิจกรรมต่าง ๆเช่น การแลกเปลี่ยนข้อมุลข่าวสาร ความร่วมมือด้านเทคโนโลยี และการและเปลี่ยนการเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (ประชาคมอาเซียน 2558 (2015) : ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางทะเล, นาวาเอ ภุชงค์ ประดิษฐธีระ)
แผนแม่บทและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโครงข่ายเชื่อมโยงบริการเรือ RO/ROและการเดินเรือระยะสั้นในอาเซียน
ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นที่ปรกษาโครงการศึกษาแผนแม่บทและความเป้นไปได้ในการจัดตั้งโครงข่ายเชื่อมโยงบริการเรือและการเดินเรือระยะสั้นในอาเซียน ภายใต้แผนปฏิบัติการบรูไน ได้ทำารศักษาให้กับอาเซียนภายใต้แผนงานการเชื่อโยงของอาเซียน
กองกิจกรรมระหว่างประเทศ ในฐานะผู้ประสานงานได้รับฟังงานศึกษาและความก้าวหน้าของโครงการสรุปได้ดังนี้
1) การศึกษาการเดินเรือ RO-RO
- การณีของการเดินเรือสามประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีนพบว่าการขนส่งโดยเรือยังคงเป็นเรือที่ให้บริการเป็นจำนวนมากในการเดินเรือของเอเซีย อย่างไรก็ตาม การเดินเรือ RO-RO ได้ขยายเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นเป็น 21 เส้นทาง (จีน-เกาหลี 15 เส้นทาง, ญี่ปุ่น-จีน 6 เส้นทางและญี่ปุ่น-เกาหลี % เส้นทาง) ซึงทั้ง 3 ประเทศได้ใช้ความพยายามในการใช้ chassis ร่วมกัน และการยอรับร่วมกันสำหรับผุ้ให้บริการหลักๆ
- กรณีของสหภาพยุโรป ส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการเดินเรือระหว่างกันคือ ขั้นตอน CIQ ที่เรียบง่าย สินค้าที่เหมาะสมและเพียงพอในการเดินเรือ และเงื่อนไขของสภาพทางภูมิศาสตร์ ซึ่งในยุโรปมีเส้นทางเดินเรือจำนวนมากถึง 98 เส้นทาง ทั้งในทะเลบอลติก ทะเลเหนือ ช่องแคบโดเวอร์ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเส้นทางที่เชื่อมยุโรปและอัฟริการเหนือ การขนส่งภายใน EU เป็น Quasi-domestic จึงต้องมีนโยบายการขนส่งร่วมกันเป็นในทิศทางเดียวกันและเาียบง่ายส่งผลต่อประสิทธิภาพของโลจิสติกส์ โดยเฉพาะที่ประเทศน้นสัดส่วนการใช้บริการเดินเรือต่อการขนส่งสินค้าทางทะเลทั้งหมดมากราวร้อยละแปดสิบ
2) กฎ ระเบียบ และกรอบของกฎหมายสำหรับการพัฒนาการเดินเรือ RO-RO
- การศึกษาของผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นได้รลงพื้นที่สำรวจประเทศสมาชิกอาเซียน ในด้านสถาบันและกฎหมายทราบว่าความพร้อมในการพัฒนาการเดินเรือในมุมมองด้านดังกล่าวขึ้นอยู่กับระดับของการดำเนินการของประเทศสมาชิก เรือง การ accession/ratification/enforcement ความตกลงในระดับสกล ระดับภูมิภาค ระดับอนุภูมิภาคและทวิภาคีว่าด้วยการขน่วทางทะเลและทางบก ตลอดจนถึงระดับความซับซ้อนเรื่องพิธีการเข้าพรมแดน
- การปรชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหวว่างประเทศสมาชิก เห็นว่ากฎ ระเบียบและกรอบของกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเดินเรือ และที่ประชุมได้ตระหนักอย่างยิ่งว่าความตกลงที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกการขนส่งของอาเชียนที่ครอบคลุมการขนถ่ายสินค้าผ่านแดนและการขนส่งระหว่างและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ จะเป็นแนวทางและนำไปสู่การปฏิบัติในหลักการ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อติดขัดด้านกรอบกฎหมายที่เป็นอุปสรรคการเดินเรือ
3) โครงสร้างพ้นฐานรองรับการพัฒนาการเดินเรือ RO-RO
นอกจากผู้เชียวชาญฯ จะได้นำเสนอปัจจัยในการคัดเลือกเส้นทาง ประเภทและขนาดเรือ การพัฒนาท่าเที่ยบเรือ และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงความร่วมมือกรอบกฎหมาย การให้บริการ CIQs ที่มีประสิทธิภาพ กฎ ระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการสนับสนุนแผนการลงทุนและแผนการตลาดของผุ้ประกบอการเดินเรือ มาตรการในการกสร้างบรรยากาศการทำธุรกิจที่เหมาะสมในการเดินเรือสำหรับเส้นทางเดินเรือง ผุ้เชียวชาญฯยังได้เสอนว่าการเตรียมการสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในเส้นทาง Priority Routes ได้แก่ พัฒนาท่าเทียบเรือนในเส้นทางดักล่าว โดยปรับปรุงท่าเทียบเรือที่มีอยู่เดิมให้สามารถรองรับเรือระหว่างประเทศ จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในทาเรือ การเชื่อต่อเข้าถึงถนน ทางด่วนพิเศษ แระทางหลวงอาเซียน และปรับปรุงการเชื่อมโยงพื้นที่หลังท่าเชื่อมโยงกับท่าเทียบเรือ
นอกจากนี้ แผนการเงินเพื่อจัดหาเรือ การวิเคราะห์ด้านการตลาดและอุปสงค์ และบทบาทของภาครัฐในการสนับสนุนธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้้การเดินเรืออาเวียน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติ ตามแผนในการจัดทำเครือข่ายเดินเรือ ภายในปี พ.ศ. 2558 (แผนแม่บทและความเป็นได้ในการจัดตั้งโครงข่ายเชื่อมโยงบริการเรือRO/RO และการเดินเรือระยะสั่นในอาเซียน, กองกิจการระหว่างประเทศ,ความร่วมมือระหว่างประเทศ)
การขนส่งด้วยเรือ Ro-Ro หรือ Roll-on Roll-off เป็นการขนส่งยานพาหนะหรือสินค้า โดยนำมาวางบนล้อเลื่อนเพื่อขนขึ้นเรือ Roll-on และลงเรือ Roll-off สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทสินค้าที่ขขนส่ง เช่น เรือที่ออกแบบมาเพื่อขนส่งรถยนต์ รถบรรทุก หรือสินค้าเพียงอย่างเดียว และ เรือลุกผสมรอบรัดบการขนส่งสินค้าและผุ้โดยสารในคราวเดียวกัน ทั่งนี้ การขนส่งด้วยเรือ Ro-Ro เร่ิมมีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในอาเวียน โดยอาเวียนได้บรรจุโครงข่ายการเดินเรือ โร-โร และการเดินเรือระยะส้น ไว้ในแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อดยงระหว่างกันของอาเซียน และอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของการเดินเรือ โร-โร ในหลายเส้นทาง
ปัจจุบันมีเอกชนทั้งไทยและต่างผระเทศหลบายรายแสดงความสนใจในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพนื่องจากเล็งเห็นศักยภาพในกาขนส่งสินค้าด้วยเรือประเภทดังกล่าว EIC มองเห็นว่าการขนส่งด้วยเรือ โร-โรมีศักยภาพในหลายๆ ด้าน โดยเฉาพในด้านการขนส่งเพื่อรองรับเส้นทางระยะสั้น อีกทั้งยังช่วยร่นเวลาในการขนส่งได้อย่างมีนัยสำคัญ จากกรณีศึกษาของต่างประเทศที่มีการใช้เรือ โร-โร มักใช้ขนส่งสินค้าเร่งด่วน และรอบรับเส้นทางขนส่งระยะสั้นไม่เกิน 300 ไมล์ทะเล เพื่อไม่ให้ทัซ้อนกับเส้นทางการขนส่งหลักขอเรือบรรทุกคอนเทนเนอร์
การขนส่งในลักษณะดังกล่าวตอบโจทย์ของอาเซียนที่มีความต้องการขนส่งสินค้าระหว่างกันมากขึ้น โดยมูลค่าการค้าภายในภูมิภาคอาเซียนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นกว่า 8% ต่อปี นอกจากนี้ประเทศในอาเซียนยังมีความต้องการขนส่งสินค้าในเส้นทางใกล้ๆ เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย..(posttoday.com/.., "เจาะธุรกิจเดินเรือ Ro-Roในตลาดอาเซียน", บทวิเคราะห์อาเซียน โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์ EIC)
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น