วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Pirate of Strait of Malacca

            โจรสลัด คือ บุคคลที่ปล้นหรือโจรกรรมในทะเล หรือบางครั้งตามชายฝั่งหรือท่าเรือต่งๆ โจนสลัดในปัจจุบันจะแตกต่างกับโจรสลัดในอดีตที่มัลักษณะเฉพาะคือจะมีผ้าคาดห้ว ใช้ดาบใบกว้างหรือปืนพกและเรือโจรสลัดขนาดใหญ่ ในปัจจุบันโจรสลัดนิยมใช้เรือเร็วและใช้ปืนกลแทนที่ดาบ เป้าหมายส่วนใหญ่ที่โจรสลัดเลือกคือเรือสินค้าและเรือโดยสารสำหรับรูปแบบที่ใช้ในกาบุกเข้าปล้นมัทั้งชูธงหลอกล่อเป้าหมายว่าเป็นเรือสินค้าบ้าง เรือของกองทัพหรือของศาสนจักรบ้าง หรือแม้กระทั่งใช้กำลังบุกเข้าโจมตีโดยตรงเลยก็มี
              โจรสลัดในปัจจุบัน ชายฝั่งและทะเลในอเมริกาใต้และทะเลเมติเตอเรเนียน ยังคงมีโจรสลัดที่ปล้นผู้อื่น โดยชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา และชายฝั่งของทะเลแคริบเบียน เร่ิมลดน้อยลงเนื่องจากมีการป้องกันจากกองกำลังรัฐบาล ค่าเสียหายที่เกิดจากโจรสลัดปล้นในปัจจุบัน คาดว่าประมาณ 5 - 5.6 แสนล้านบาทต่อปีทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างวยิ่งในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย จุดที่อยู่ระหว่างช่องแคบมะละกาและประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีเรือพาณิชย์ผ่านประมาณ 50,000 ต่อปี
               โจรสลัดที่ออกปล้นได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า ปฏิบัติการปล้นจะใช้เือเล็กเร็วเทียบขนายเรือใหญ่แล้วปีนขึ้นเรืออย่างรวดเร็วและเงียบเชียบ ด้วยความชำนาญ ซึ่งบางครั้งลูกเรือใหญ่ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้้ำ ในขณะที่บางคนจะบริกรรมคาถาซึ่งเชื่อว่าจะช่วยในการกำบังกายได้ด้วย และควบคุมลูกเรือทั้งหมดให้อยุ่ในจุดเดียวกัน ขณะที่บุคคลสำคัญ เช่นกัปตัน หรือต้นหนจุถูกกักตัวไว้เพื่อเรียกค่าไถ่ ในบางครั้งอาจนะแค่ปล้นทรัพย์อย่างเดียว ส่วนตัวบุคคลหากไม่จำเป็นแล้ว อาจมีการสังหารทิ้งศพลงทะเล
              นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 สำนักงานพาณิชยนาวีระหว่างประเทศ รายงานการปล้นของโจรสัดในช่องแคบมะละกาและบริเวณใกล้เคียงมีถึง 258 คั้ง โดยมีลูกเรือกว่า 200 คนถูกจับเป็นตัวประกันและ 8 คนเสียชีวิต ในประเทศไทย ฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน ยังคงมีโจรสลัดอยู่ ซึ่งใช้เรือเร็วปล้นเรือสินค้าของผุ้คนที่แล่นเรือผ่าน โดยในบางครั้งจะเก็บค่าคุ้มครอง หรือจ่ายเงินค่าผ่านทางแทน
              โจรสลัดในยุคปัจจุบันมักใช้เรือเล็กแต่มีอุปกรร์ที่ทันสมัย ทั้งโทรศัพท์ดาวเทียม, จีพีเอ, ระบบโซนาร์ ในช่วงเดือนมกราคม -กันยายน 2545 มีสถิติเรือสินค้าที่แล่นในแถบอ่าวเอเดนและนอกชายฝั่งของโซมาเลียได้ถูกโจรสลัดโจมตีถึง 306 ลำซึ่งในบางครั้ง โจรสลัดจะไม่สนใจสินค้าที่บรรทุกมา แต่จะมุ่งฉกฉวยทรัพย์สมบัติของผุ้โดยสาร ตลอดจนตู้เซฟของเรือมี่เก็บเงินก้อนใหญ่เพื่อขายหรือใช้ต่อไปหรือกระทำการอุกอาจกว่านั้น คือ คุมตัวเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของเรือไว้แล้วเรียกค่าไถ่ เพื่อหวังจะได้ค่าตอบแทนระดับสูง
            จากการประเทฯในปี พ.ศ. 2547 ระบุว่า อนาคตจะมีเรือโจรสลัดโซมาเลีย เพิ่มขึ้นปีละ 400 ลำ โดยมีสิ่งจูงใจคือ มูลค่าจกาการปล้นที่สูงถึง 8,000 ดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะปี 2546 ปีเดียวซึ่งเฉลี่ยแล้วรายได้โจรสลัดโซมาเลียแต่ะคนอยู่ราวปีละ 80.000 ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของชาวโซมาเลียทั่วไปถึง 150 เท่า จากเหตุการณ์นี้มีการร่วมมือกันหลายชาติในสหประชาชาติ รวมถึงไทย ในการส่งกองทัพเรือปฏิบัติการร่วมกัน ในชื่อ ปฏิบัติการปราบปรามโจรสลัดโซมาเลีย ...(wikipedia.th.org/..การกระทำอันเป็นโจรสลัด)
         
...ช่องแคบมะละการคือ.."จุดยุทธศาสตร์โลก" เป็นช่องแคบระหว่างแหลมมลายูและเกาะสุมาตรา อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตะวันตกและใต้ของมาเลเซีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะสุมาตรา และเลยไปถึงทางด้านใต้ของสิงคโปร์ นอกจากเป็นจุดยุทธศาสตร์ และทำเลทองของวงการธุรกิจโลก เนื่องจากเป็นรอยต่อของสามประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ประกอบกับการเป็นเส้นทางทางเดินเรือที่ใช้ขนถ่ายสินค้าและน้ำมันที่สำคัญทั้งในทวีปเอเชียและทั่วโลก ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกจึงปรารถนาจะเข้ามาแผ่อิทธิพลเพื่อช่งชิงความได้เปียบในดินแดนปลายสุดแหลมมลายู และ ด้วยเหตุนี้ ทั้ง 3 ประเทศทีครอบครองดินแดนในช่องแคบดังกล่าว จึงต้องเดินเกมทั้งทางการเมืองและการทหาร เพื่อรักษา "สมดุลแห่งอำนาจ"เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติไว้ให้ได้มากที่สุด
             ช่องแคบมะละการ ตั้งอยู่ระหว่างประเทศมาเลเซียกับประเทศอินโดนีเซีย โดยมีประเทศสิงคโปร์อยุ่ปากทางเข้าด้านใต้ มีการขนสินค้าผ่านช่องทางนี้มากกว่า 1 ใน 4 ของการค้าโลกทั้งหมด เป็นเส้นทางเดินเรือทะเลที่สำคัญที่สุดทางยุทธศาสตร์ และเป็นเส้นทางที่เสี่ยงต่ออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะภัยก่อการร้าย และโจรสลัด ทั่ฝั่งตัวหากินกับเรือพาณิชย์ที่แล่นผ่านสัญจรเข้าออก เป็นจำนวนมาก โดยในแต่ละปีเรือพาณิชย์กว่า 5 หมื่นลำ ล้วนแต่ใช้ช่องแคบแห่งนี้ ซึ่งมีความยาวกว่า 800 กม.เป็นทางผ่านในการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
            จากสถิติของสำนักงานเดินเรือทะเลระหว่างประเทศ พบว่า ทั่วโลกต้องประสบกับภัยโจรสลัดที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงระยะเวลา 10 ปี สูงถึง 3 เท่าของการโจรกรรมสินค้า ปีล่าสุดมีสถิติสูงขึ้นถึง 20 % ขณะที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉีงใต้มียอดสูงกว่า 40% โดยเฉพาะการโจรกรรมเรือบรรทุกน้ำมัน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือ ก๊าซธรรมชาิตเหลวทุกลำจากตะวันออกกลาง ที่มุ่งหน้ามายังแถบเอเซีย ที่จะต้องผ่านช่องแคบมะละกา โดยมีบริษัทเดินเรือ 400 แห่ง
          ขณะที่กว่า 80% ของน้ำมันที่ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน สั่งน้ำเขาจากอ่าวเปอร์เซีย ต้องใชเส้นทางนี้เช่นกัน เมื่อไม่นามานี้ สหรัฐอเมิรกาได้เคลื่อนย้ายกำลังทหารเข้ามอย่างเงียบๆ ด้วยการแผงตัวมากับเรือบรรทุกสินค้าเพื่อดูลาดเลา เพราะต้องการเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในช่องแคบแห่งนี้ กระทั่ง มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่บนสองฟากฝั่งช่องแคบมะละกาแสดงความไม่พอใจอย่างมาก
          แต่ "วาระซ่อนเร้น" ย่อมหนีไม่พ้นการ "คามอำนาจ"ของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา..แน่นอน!!(tigerthematic.blongspot.com/.., "ช่องแคบมะละกาจุดยุทธศาสตร์โลก" 13 มกราคม 2558.)
          นายธานี ชัยวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในวงเสวนางานเสวนา "เศรษฐกิจนอกกฎหมาย" ว่าด้วยมาเฟียและโจรสลัดทางทะเล" โดยศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ระบอบมาเฟียคืออุตสาหกรรมขายความรุนแรงในสังคมที่กฎหมายอ่อนแด ถือเป็นธุรกิจนอกกฎหมายที่มีมูลค่ามากว่าร้อยละ 30 ของ GDP ทั่วทั้งโลก ขณะที่องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติมีมูลค่ามากว่าร้อยละ 15 ของ GDP โลกจุดกำเนิดของระบอบมาเฟียอยู่ที่ประเทศอิตาลี ซึ่งมีปัญหาทั้งการค้ามนุษย์และการค้ายาเสพติด โดยกลุ่มที่มีชื่อดังมากที่สุดคือ มาเฟียชิชิลี ตั้งกลุ่มอยู่ทางตอนใต้ของอิตาลี ปัจจุบันมาเฟียมีหน้าที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจนอกระบบและในระบบเข้าด้วยกัน
         นายธานี กล่าวว่า ในระยะสั้นจะมีการแข่งขันความคุ้มกันธุรกิจของประชาชนระหว่างรัฐกับมาเฟีย แต่ส่วนใหญ่ประชาชนมักจะยอมจ่ายค่าคุ้มครองให้มาเฟีย เพราะมาเฟียมีประสิทธิภาพการคุ้มครองดีกว่ารัฐ อย่างไรก็ตามมาเฟียทำให้ความเหลื่อมล้ำและสถิติอาชญากรรมมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และจะทำลายการพัฒนาของประเทศด้วย
            นายวัชรพงศ์ รติสุขพิมล คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวในวงเสวนาในประเด็นโจรสลัดทางทะเลว่า ตามที่ศึกษาโจรสลัดเริ่มมีตั้งแต่ยุคตื่นทอง ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้อมูลอย่างเป็นทางการที่รวบรวมตั้งแต้อดีตถึงปี 2555 มีการปล้นจากโจรสลัดกว่า หกพันครั้ง ส่วนใหญ๋เป็นเรือบรรทุกสินค้า และเรือบรรทุกน้ำมันแต่เกือบครึ่งหนึ่งโจรสลัดมักจะไม่ได้อะไรจากการปล้นเพราะช่วงหลังเรือส่วนใหญ่มีระบบป้องกันไว้อย่างดีแล้ว แต่บางครั้งลูกเรือจะถูกลักพาตัว ฆาตกรรม เรียกค่าไถ่หรือค้าประเวณี ในปี 2543 เป็นปีที่มียอดการปล้น
สูงที่สถดโดยป้นสำเร็จ 318 ครั้งและปีต่อมาปล้นสำเร็จ 211 ครั้ง ภูมิภาคที่โจรสลัดปล้นมากที่สุดคือบริเวณช่องแคบมะละกา แต่บริเวณที่ยอดการปล้นเพิ่มขึ้นสุงและรุนแรงมากในช่วงหลังคือภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกในแถบโซมาเลีย โดยมีสาเหตุจากชาวประมงที่มีความยากจนเพราะไม่มีสัตว์น้ำให้จับแต่มีความสามารถด้านการเดินเรือเป็นแรงผลักดันให้หลายคนหันไปประกอบอาชีพโจรสลัด หรือวัฒนธรรมบางท้องถ่ินที่มีการพิสูจน์ความเป็นชายด้วยการเป็นโจรสลัด(มติชนออนไลน์, "แฉ ช่องแคบมะละกา โจรสลัดชุมมากที่สุดในโลก เผยโซมาเลียมาแรงสถิติปล้นกระฉูด" 15 มิถุนายน 2555.)
        AFP เกิดเหตุโจรสลัดบุกปล้นเรือบรรทุกน้ำมันของบริษัทสิงคโปร์ในช่องแคบมะละกา พร้อมลักพาตัว 3 ลูกเรือชาวอินโดนีซียและขโมยน้ำมันดีเซลไปได้บางส่วน องค์การทางทะเลแถลง
        โดนเเอล ชูง หัวหน้าศูนย์รับแจ้สเหตุโจรสลัดของไอเด็มบีซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ระบุว่า เหตุปล้นเรือบรรทุกน้ำมันครั้งเกิดขึ้นบริเวณนอกขายฝั่งตะวันตกของมาเลเซีย โดยเข้าใจว่าเรือบรรทุกน้ำมันดีเซลลำดังกล่าวกำลังจะเดินทางไปยังประเทศเาียนมาร์(ผู้จัดการ,โจรสลัดปล้นเรือบรรทุกน้ำมัน สิงคโปร์ในช่องแคบมะละกา-ลักพาตัว 3 ลูกเรืออิเหนา,23 เมษายน 2557)
         โจรสลัดอินโดฯ ใช้อาวุธปืน ดาบ ปล้นเรือขนน้ำมัน สัญชาติไทย กลางทะเลช่องแคบมะละกา ดูดน้ำมันไปทั้งหมด ก่อนวางระเบิดที่เอ็นที บนสะพานเดินเรือ ขณะที่จนท.อีโอดี ได้เข้าตรวจสอบแล้ว..
          เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พล.ต.ต.สุนทร เฉลิมเกี่ยรติ ผบก.ภ.สตูล ได้รับการประสานจาก นายฑีมทัศน์ เจริญสุข ผู้บังคับเรือลาภิณ ซึ่งเป็นเรือบรรทุกน้ำมันเตาจำนวน 2,000 ตัส และดีเซล 5 ตัน บรรทุกมาจากประเทศสิงคโปร์ เพื่อส่งจ.กระบี่ ได้ถูกเรือโจรสลัด คาดว่าเป็นขชาวอินโดนีเซีย ประมาณ 6-8 คนใช้เรือเล็กเข้าเที่ยบ และใช้อาวุธปืน 3 คนที่เหลือใช้ดาบ ได้จีบังคับลูกเรือประมาณ 15 คน ปล้นเอาน้ำมันทั้งหมด โดยนำเรือใหญ่เข้าเทียบแล้วดูดน้ำมันออกจากรเือบริเวณช่องแคบมะละกา พร้อมทั้งวางระเบิดบนสะพานเดินแรื เป็นระเบิดที่เอ็นที่แสวงเครื่องพันด้วยสายไฟ ด่อกับโหลแก้ว
          จากนั้นโจรสลัดได้ปล่อยเรือลอยลำเข้ามาในเขตน่นน้ำ จ.สตูล โดยเือทอดสมอ ที่ด้านหลังเกาะยุโหลน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สะตูล ห่างจากฝั่งประมาณ 25 ไมล์ทะเลและเรือที่ถูกปล้น ได้ประสานขอเจ้าหน้าที่ไปช่วยกู้ระเบิดในเรือซึ่งต่อมา พล.ต.ต.สุนทร ได้สั่งการให้ พ.ต.อ.โสภณ ปานสมทรง ผบก.ภ.จ.สตูล นำชุดอีโอดี บก.ภ.จ.สตูล และตำรวจพิสูจน์หลักฐาน จ.สตูล ร่วมกับชุดอีโอดีของทหารเรือ กองทัพเรือภาค 2 เข้าตรวจสอบแล้ว (ไทยรัฐ, โจรสลัดอินโดฯ วางบึมปล้นเรือน้ำมันไทย กลางช่องแคบมะละกา, 15 กุมภาพันธ์ 2558.)
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...