วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Languages and Cultures

           ภาษาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์อย่างยากที่จะแยกออกจากกัน ทั้งภาษาและวัฒนธรรมต่างก็มีทั้งลักษณะที่เป็นสากลและลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ นักวิชาการมีความเห็นตรงกันว่าลักษณะที่เป็นสากลของภาษาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ส่วนลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์จะเป็นเรื่องของทางวัฒนธรรม ปัญฐหาของสภาวะต่างภาษาในการเข้าใจข้ามภาษาที่มักพบนั้น จะมีมากเท่าใดก็ขึ้นอยู่กับการมีสากลลักษณ์และเอกลักษณ์มากหรือน้อยเท่านั้น และสิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการเข้าใจข้ามภาษาก็คือการปราศจากความรู้ในเรื่องประบททางวัฒนธรรม
         
ภาษาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันอย่างยากที่จะกล่าวถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่พาดพิงเกี่ยวข้องกับอีกอย่างหนึค่งได้ หลายท่านถึงกับมีความเชื่อว่า ภาษาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เสมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน จนสามารถนิยามได้ด้วยหลัการเดียวกัน มีการศึกษาที่ยืนยัถึงความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เสมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน จนสามารถนิยามได้ด้วยหลักการเดียวกัน มีการศึกษาที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของภาษาและวัฒนธรรมในศาสตร์จำนวนหนึ่ง อาทิ ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ ซึ้งมีความเช่อว่าภาษาเป้นสิ่งที่สะท้อนความนึกคิดและการมองโลกของเจ้าของภาษา หากมีการพิจารณาควรามหมายของศัพท์หวมดต่างๆ ในภาษาหนึ่งๆ แล้ว จะทำให้เรารู้และเข้าใจความนึกคิดและการมองโลกของชนที่พูดภาษานั้นได้ อาทิ คำเรียกญาติในภาษาต่างๆ จะทำให้เราเห็นค่านิยมหรือแนวความคิดที่แตกต่างกัน... อีกทั้งในแวดวงมานุษยวิทยาภาษาศาสตร์ ก็มีความเชื่อว่ากิจกรรมต่างๆ  ทางวัฒนธรรมจะสะท้อนออกมาทางภาษา และภาษาก็สามารถแสดงให้เห็นถึงคามคิดและวัฒนธรรมของมนุษย์ จึงเป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของภาาาและวัฒนธรรมนักวิชาการเหล่านี้สนใจศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโลกทัศน์และลักษณะไวยากรณ์วัฒนธรรมและอรรถศสตร์การเปลี่นแปลงของภาษาและวัฒนธรรม เป็นต้น
           จากความเชื่อว่าภาษาและวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อโครงสร้างและการใช้ภาษาและได้มีการศึกษาและพยายามแสดงให้เห็นถึงปรากฎการณ์ในด้านต่างๆ มีภาษาสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมหนึ่งๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป้นการแสดงออกทางด้านไวยากรณ์ ความหาย หรือการใช้ภาาาก็ตามดังที่ได้กล่าวไปกล้วนั้น ยังมีอีกประเด็นหนึ่งในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมที่เป้นที่สนใจของนักภาษาศาสตร์ และนักมานุษยวิทยาคือ ประเด็นที่ว่าลักษณะที่ภาษาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมในด้านโครงสร้างต่างๆ ดังกล่าวนั้นเป็นเช่นเดียวกันในทุกภาษาหรือไม่และอย่างไร และหากมีความแตกต่างกันก็เชื่อได้ว่าประเด็นที่แตกต่างกันเอาจจะทำให้ป็นปัญหาในการติดต่อสื่อสารข้ามภาษาและวัฒนธรรม เนื่องจากการที่ภาาาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอย่างใกล้ชิดนั้น ทำให้การที่จะเข้าใจภาษาอื่นๆ จะพิจารณาเอาแต่ตัวภาษาอย่างเดียวไม่ได้จำต้องอาศัยความรู้ความมเข้าใจในวัฒนธรรมของผุ้ที่พุดภาษานั้นๆ ด้วย  ดังจะได้กล่าวถึงภายใต้หัวข้อความเป็นสากลและเอกลัษณ์ของภาษาและวัฒนธรรม และการสัมผัสภาษาตามลำดับต่อไป
             ภาษาและวัฒนธรรมต่างๆ ในโลกนั้นมีความเป็นสัมพันธภาพ ต่อกัน และเมื่อกฃ่วถึงสัมพันธภาพของภาษาและวัฒนธรรมต่างๆ ในโลกนั้นนักภาษาศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักวัฒนธรรมศึกษามีประเด็นปัญหาที่เป้นความสนใจร่วมกันอยู่สองประเด็นหลักคือ "อะไรคือสากลลักษณ์หรือประสบการณ์ร่วมของมนุษย์ไม่ว่าจะพุดภาษาใดหรืออยู่ในชุมชนวัฒนธรรมใดก็ตามไ และ "อะไรคือความเป็นเอกลักษณ์หรือประสบการณ์เฉพาะของมนุษย์แต่ละภาษาแต่ละวัฒนธรรม"...
             ธรรมชาติทางชีวภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมของถ่ินที่อยุ่อาศัยที่คลายคลคึงกันดังที่ได้กล่าวานั้นเป็นสาเหตุของปรากฎการณืหนึ่งที่นักวิชการทางด้านวัฒนธรมศึกษาเรียกว่าการเหลื่อมซ้อนทางวัฒนธรรม ซึ่งเกิดขึ้นไม่มากก็นอย อีกรณีหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการเหลือมซ้อนทางวัฒนธรรมคือการแพร่กระจายทางวัฒนะรรม ซึ่งจะไปทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมที่รับการแพร่กระจายเข้าไปจากภาษาและวัฒนธรรมอื่นลดลง เช่น การที่ภาาาและวัฒนธรรมของคนที่พุดภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายเข้าแทรกวัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ อย่างต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่สมัยอาณานิบคมนั้น ทำให้เอกลักษณ์ของความเป็นชนชาตินั้นๆ ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมที่มีต่อชนชาติที่พูดภาษาอังกฤษมีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังน้นความสามารถในการเข้าใจข้ามภาษาจึงอาศัยปัจจัยทางสากลลัษณ์และความเหลื่อมซ้อนทางวัฒนธรรม ส่วนปัญหาหรืออุปสรรคในการเข้าใจข้ามภาษาก็จะเป็นเรื่องของความเป็นเอกลักษณ์ของภาษาและวัฒนะรรมนั้นๆ ดังจะได้กล่วต่อไป
            ปัญหาของสภาวะต่างภาษาต่างวัฒนธรรมเกิดจาการสัมผัสภาษา หมายถึงการที่ภาษาหนึ่งๆ เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเจ้าของภาษารับเอาลักษณะบางอย่างในระบบขชองภาษาอื่นมาใช้ ซึ่งก็ย่อมต้องกรับเอาวัมนธรรมบางอย่างของภาษาอื่นมาใช้ด้วยเช่นกันการศึกษาเรื่องการสัมผัสภาษาอาจครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับ การแพร่กระจายภาษา, การแปลภาษา, การยืมภาษา, การพูดภาาาต่างประเทศ,การพูดสองภาษา, การแทรกแซงภาษา, การสับเปลี่ยนสัญญาณหรือภาษา, ตลอดจนการปลูกฝังภาษาใหม่
           
ปัญหาจการสัมผัสภาษาที่เรามักประสบอยู่บ่อยๆ ในการใช้ภาษาในสภานการ์ต่างๆ คือ การแปลและการเข้าใชข้ามภาษา การยืมภาษาและการพูดหรือใช้ภาษาต่าง ประเทศโดยทั่วไป ซึ่งปัญหาเหล่นนี้จะมีความสำคัญหรือเป็นปัญหาใหญ่ หรือไม่ขึ้นอยุ่กับความมากน้อยในการเหลื่อมซ้อนทางวัฒนธรรมและความแตกต่างทางด้านความหายของสองภาษา ดังนี้
              - การแปลและการเข้าใจข้ามภาษา นำมาซึ่งความจำเป็นในการที่จะต้องเข้าใจข้ามภาษาและการแปล หล่าวคือ เมื่อภาษาตั้งแต่สองภาษามีการติดต่อและรับเอาลัาระบางอย่างของอีกระบบภาษาหนึ่งเข้ามา จะมีการเปลี่ยนแปลงในภาษานั้นๆ เกิดขึ้น ในบางครั้งการรับเอาระบบบางอย่างของภาษาอื่นมาใช้ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารเนื่องจากมีวัฒนธรรมต่างกัน การรับคำหรือไวยากรณ์ของภาษาอื่นมาใช้ไม่สามารถทำได้โดยการแปลจากความหายของคำและความสัมพันะ์ของคำในประโยคเท่านั้น ยังต้องมีความรู้ในเรื่องของปริบทเชิงวัมนธรรมอีกด้วย ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว...
             กรอบความคิดที่องวัฒนธรรม ในเรื่องของการแปลในระดับคำนั้น ความคิดหรือคำศัพท์ท่จัดว่าเป็นสากลหรืออยู่ในสวนที่เหลื่อมซ้อนกันทางวัฒนธรรมและเป็นรูปธรรม เช่น ในภาษาไทยคำว่า พ่อ แม่ ต้นไม่ ฯลฯ จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากนักหรือไม่เป็นปัญหาต่อการแปลเลยในขณะที่คำที่บ่งวัฒนธรรม เช่น รำวง เกรงใจ ขันหมาก ฯลฯ ที่ไม่มีคำใช้ในวัฒนะรรมภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษ ก็จะเป็นต้องแปลเป็นข้อความที่ยาวจึงจะได้ความหมายที่ใกล้เคียงกับความหมายเดิม..
              ยิ่งไปกว่านั้นคำที่เป็นปัญหาในการแปลบางคำยังเป็นคำที่ยากสไรับเจ้าของภาษาที่จะอธิบาย และกำหนดความหมายที่แน่นอนได้ด้วยภาษาเพียงอย่างเดียว จะต้องอาศยมโนทัศน์และการลงมือปฏิบัติด้วย เช่นในการอธิบายคำว่า นิพพาน  จะต้องมีความเข้าใจความหมายของพทุชธศาสนาดดยตลอด ซึ่งก็ได้มีการตีควมของคำว่า นิพพาน ต่างๆ กันไปในแต่ละพุทธนิกายและนักปราชญ์ทางศาสนาพุทธแต่ละท่านและมีข้อถกเถียงที่มไม่สามารถยุติได้ ซึ่งได้มีผู้กล่าวถึงปัญหาในการตีความของคำว่า นิพพาน ว่าเป็ฯปัญหาเรื่องความสับสนระหว่างมดนทัศน์กับการให้คึำนิยามด้วยภาษา ซึ่งมดนทัศน์ไม่สามารถสื่อได้ด้วยคำอธิบายหรือนิยามทางภาษาอันจะเป็นการจำกัดความหมายของคำว่า นิพพานความหมายจะรวมถึงสิ่งที่อยู่นอกเหนือโลกแห่งประสบการณ์ของมนุษย์ "ถ้าเราพยายามจะใช้ถอ้ยคำเพื่ออธิบายสิ่งใดก็ตามที่อยู่นอกปรสบการณ์ เราก็จำต้องดัดแปลงสิ่งนั้ั้นให้เขามาอยู่ในขอบเขตที่มนุษย์จะเข้าใจได้เสียก่อน โดยไม่คำนึงถึงความที่แท้จริงของมัน"...
              บทความนี้ได้เน้นให้เห็นว่าภาษาต่างๆ มีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรมของผุ้พุดาษานั้นๆ อย่าง ใกล้ชิด ในลักาณของการอ้างอิงซึ่งกันและกัน ภาาาเป็นเสมือกุยแจไขสู่วัฒนธรรมและในขณะเดียวกันภาษาจะเป็นที่เข้าใจอย่างแท้จริงลึกซึ้งมิได้ถ้าปราศจากความรุ้ในเรื่องปริบททางวัฒนธรรมดังนั้นภาษาและวัฒนธรรมควรมีการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน  การสอนภาษาต่างประเทศในดรงเรียนจึงเป็นการสอนวันธรรมของภาษาต่างประเทศนั้นๆ ไปในตัวในรูปของการเป็น "ภาษาแห่งวัฒนธรรม" มากกว่าที่จะเป็นภาษาโดยเอกเทศ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีคำกล่าวที่ว่าภาษาเป็นตัวบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของผุ้พูด ังที่ วิลเฮม วอน ฮัมโบลดท์ กล่าวไว้ว่า "A language veils the world for the its speakers" ในกรณีที่มีการสัมผัสภาษาเกิดขึ้นนั้น สภาวะต่างภาษาต่างวัฒนธรรมจะก่อให้เิดปัญหาและอุปสรรคในการเข้าใจข้ามภาษา ซึ่งไม่ได้เกิดจากความรู้ในตัวของภาษาแต่เพียงอย่างเดียวต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในวัฒนธรรมของผู้พุดภาษานั้นๆ ด้วย ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจะมีมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยุ่กับสากลลักษณ์แฃละเอกลักษณ์ของภาษาและวัฒนะรรมนั้น ซึ่งหากภาษาและวัฒนธรรมมีความเป็นสากลลักษณ์มากหรือมีความเป็นเอกลักษณ์น้อยเพียงใด ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าใจข้ามภาษาและวัฒนธรรมก็มีมากน้อยเพียงนั้น..( บางส่วนจากบทความ "สากลลักษณ์และเอกลักษณ์ของภาษาและวัฒนธรรมสิ่งอำนวยและอุปสรรคในการสัมผัสภาษา". อัญชลี สิงห์น้อย)
             หากคนทั้งโลกพูดภาษาเดียวกันสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลก มีวัฒนธรรมเดียวกันเหมือนกันทุกประเทศ โลกนี้คงไม่มีสีสัน เพราะไม่มีคึวามแปลกแตกต่างอันใดที่น่าค้นหา แต่เพราะคนในโลกพูดกันคนละภาษา มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกัน จึงทำให้โลกนี้น่าศึกษาน่าค้นหา ความแปลกแตกต่างกันนี้เองคือเสน่ห์อย่างหนึ่งของโลก หากคนพูดภาษาเดียวกัน ภาษานั้นควรจะเป็นภาษาอะไรหากทุกประเทศจะมีวัฒนธรรมร่วมกันวัฒนธรรมนั้นควรจะเป็นวัฒนธรรมอะไร
             คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้จัดโครงการ "ส่งเสริมการอยุ่ร่วมกันในประชาคมอาเซียนอย่างชาญฉลาด" โดยเชิญคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยทั้งส่วนกลางและวิทยาเขต มาร่วมสมัมนา เพื่อพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของบุคคลากรให้สามารถดำรงอยู่ได้ในเวทีอาเซียนอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ โดยเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ยอ่งเหมาะสม สถานที่จัดงานอยู่ที่อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
           ...การรวมตัวของประเทศที่มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีที่แตกต่างกันนั้น จะหาความเป็นเอกภาพหรือความเป็นหนึ่งนั้นมิใช่เรื่องง่าย มีเพียงวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างเท่านั้นที่เหมือนกันเช่นวันเปลี่ยนศักราชใหม่ซึ่งเปลี่ยนพร้อมกันทั่วโลก พอจะยึดถือวันขึ้นปีใหม่เป็นประเพณีประจำปีของอาเซียนได้ แต่บางประเพณีมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ยังถือปฏิบัติเช่นในเดือนเมษายน ประเทศไทยและลาวมีประเพณีวันสงกรานต์ แต่ชาติอื่นในอาเซียนอาจจะไม่เน้นในประเพณีนี้ จะหลอมรวมความเป้นหนึ่งได้อย่างไร
       
  ภาษาและวัฒนธรรม ในประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียนมีวัฒนธรรมหลายกลุ่ม วิทยากรท่านหนึ่งได้จำแนกออกเป็นหกกกลุ่มคือ วัฒนธรรมพื้นบ้าน, วัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดู, วัฒนธรรมพุทธ, วัฒนธรรมอิสลาม, วัฒนธรรมคริสต์, วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
           วัฒนธรรมที่เป้นสากลในอาเซียนส่วนหนึ่งมาจากศาสนา แต่ละศาสนาต่างก็มีอัตลักษณของตนเอง การที่จะให้คนทั้งสิบประเทศเหลี่ยนมนับถือศาสนาเดียวกันหมดคงเป็นไปได้ยาก เรื่องของความเชื่อนั้นบังคับกันไม่ได้ ... ทางออกที่ดีที่สุดคือต้องยอมรับในวัฒนธรรมของแต่ละประเทส ยอมรับในความแตกต่าง ใครมีความเชื่ออย่างไรก็ปฏิบัติตามหลักการที่ตนเคยปฏิบัติ เหมือนป่าไม้ใหญ่ ไม่ได้มีต้นไม้ชนิดเดียว แต่มีต้นไม้ หลายพันธุ์อยู่ด้วยกัน จึงเรียกว่าป่า หากใครคิดที่จะนำต้นไม้มาผูกรวมกันให้เป็นไม้ต้นเดียวกัน ไม่นานต้นไม้ก็จะงอกงามตามธรรมชาติไม่ได้.. ปรียบดังภาษาและวัฒนธรรม อาเซียนก็มีหลายภาษาหลายวัฒนธรรม แต่ละประเทสไม่รุกล้ำล่วงเกินวัฒฯธรรมของแต่ละชาติพันธุ์ ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ มีวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่เป้นวัฒนธรรมร่วมกันได้คือวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่งเท่าเียมกัน เป็นวัฒนธรรมร่วมของคนทั้งโลก
             ด้านภาาาในประชาคมอาเซียนก็มีภาษาหลายตระกูลเช่นภาษาตระกูลออสโตรเอเซียติก ภาษาตระกูลไท-กะได ภาษาตระกูลจีน-ทิเบตรวมถึง พม่า ภาษาตระกูลม้งเย้า ภาษาตระกุลออสโตรนีเซียน ภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปี้น เป้ฯต้นแต่ละประเทศก็มีภาษาของตนเอง บางประเทศยังมีภาษาท้องถ่ินแยกย่อยออกไปอีกหลายสิบภาษา ดังนั้น ในการเข้าร่วมกลุ่มประชาคมอาเซียนจึงกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นอีกว่าแล้วคนประเภทไหนที่จะใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกันได้บ้าง
           ในส่วนของนักธุรกิจตอ้องสือสารกันได้อยู่แล้ว นักวิชากการพอจะอนุมานได้ว่าคงพอคุยกันรู้เรื่อง แต่สำหรับชาวบ้านจะติดต่อสื่อสารกันอย่างไร คในชนบทจะสื่อสารกับคนในประเทศอื่นรู้เรีองหรือไม่ ปัญหาด้านภาษาคงพอจะปรับเปลี่ยนแก้ไขกันได้เพียงบางส่วน แต่จะให้คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้คล่องเหมือนกับคนในประเทศฟิลิปปินส์และสิงคโปร์คงต้องใช้เวลาอีกหลายปี
            แต่ทว่าภาษามิใช่สิ่งที่ปิดกั้นพรมแดนแห่งการติดต่อ เพราะภาษาเป็ฯส่วนหนึ่งของการสื่อสาร ผุ้ที่เรียนรู้ภาษาของอีกคนกลุ่มได้อาจจะได้เปรียบบ้าง แต่คงไม่มากนัก หากจะเรียนทุกภาษาในอาเซียนคงยาก ดังนั้นเรียนภาษาอังกฤษไว้บ้าง พอติดต่อสื่อสารกันได้บ้างก็น่าจะเพียงพอ
           เป็นที่น่าสังเกตว่าปัจุบัแม้ว่าประชาคมอาเซียนจะไม่เปิดอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติบางพื้นที่ในประเทศไทย มีประชาคมอาเซียนอยางไม่เป้ฯทางการมานานแล้ว มีการอยุ่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันมานานหลายปีแล้วเช่นที่มหาชัย สถานที่บางแห่งถึงกับต้องมีภาษาของหลายประเทศไว้เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
           หากใครผ่านไปที่มหาชัยเห้นภาษาเมียนมาร์ ภาษาลาว ภาษากัมพุชาติดประกาศตามสถานที่บางแห่งก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะที่เมืองนี้มีคนจากประเทศเพื่อนบ้านมาทำงานจำนวนมาก ดูเหมือนว่าเศราฐกิจของเมืองนี้ส่วนหนึ่งอยู่ที่คนงานจากต่างประเทศ หากคนงานเหล่านี้ประกาศอยุดงานพร้อมกัน เมื่องนี้ก็จะกลายเป้ฯอัมพาตไปทันที่ มหาชัยจึงน่าจะเป็นเมืองต้นแบบของการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้...
            วันแรกของการสัมนาได้ฟังวิทยากรบรรยายสามเรื่องว่าด้วยภาษาและวัฒนธรมอาเซียน พระพุทธศาสนาในประชาคมอาเซียนกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 11 การสัมมนายังมีอีกหลายวัน วันนี้เป็นเหมือนการเตรียมความพร้อมในการเพ่ิมทักษะภาษาอังกฤษไปพลางก่อน
          cybervanaram.net/2009-12-17-14-44-23-14/1230-2015-12-17-14-13-57
   วัฒนธรรมและภาษาในอาเซียนเพียงสองเรื่องก็น่าจะทำงานวิจัยได้หลายเล่ม เพียงแค่ภาษาในตระกูฃไท-กะไดอย่างเดียวก็ยากที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจได้หมด แ้ชนเผ่าไทอย่งอเดียวก็มีไทหลายเผ่าเช่น ไทดำ ไทขาว ไทแดง เป็นต้นกระจายกันอยู่ในแต่ภูมิภาคของโลกบางกลุ่มพอคุยกันรู้เรื่องบ้างเช่นไทยในสิบสองปันนา จีน ไทในอัสสัม อินเดียว ไทในรัฐฉาน เมียนมาร์ เป็นต้น หากจะเรียนรู้ทุกภาษาแลุวัฒนธรรมในอาเว๊ยนอย่างจริงจัง คงต้องใช้เวลาอีกนาน ถึงแม้จะไม่เข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของชาติอื่นก็ไม่เป็นไรนัก แต่หากไม่เข้าใจวัฒนธรรมของชาติตนแล้วก็ยากจะอยุ่ร่วมกับคนในประชาคมอาเซียนอย่างชาญฉลาด...
            ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภาษาและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งในยุคสมัยต่างๆ ที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดกระแสโลกาภิวัตน์ขึ้นในภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนตามกรอบแนคิดของอัปปาดูไร ที่ว่า "ความสลับซับซ้อนของโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงหลักการพื้นฐาน ี่สำคัญของการแตกหักขาดตอน ในระหว่างเรื่องของเศราฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง ในลัษณะของการไหลเวียน ใน 5 มิติ ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีผลกระทบต่อโลกอันได้แก่
           - การไหลเวียนในมิติของมนุษย์หรือชาติพันธุ์นรูปของนักท่องเที่ยว ผู้อพบพลี้ภัย คนพลัดถิ่นและแรงงานข้ามชาติ
            - การไหลเวียนในมิติของเทคโนโลยีที่ตัดข้ามเส้นแบ่งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นเเบ่ง รัฐ-ชาติ
            - การไหลเวียนในมิติของเวินผ่านตลาดทุน ตลาดหุ้น ตลาดสินค้าในระดับโลก
            - การไหลเวียนในมิติของสื่อซึ่งกลายเป็นรากฐานสำคัญของการจินตนาการเกี่ยวกับตัวตนของคนในโลกปัจจุบัน
            - การไหลเวียนนมิติของอุดมการณื เช่น อุดมการณืประชาธิปไตย
              กระแสโลกาภิวัตน์ทั้ง 5 มิตินี้ได้ไหลเวียนข้ามพรมแดนรัฐ-ชาติในระดับต่างๆ อย่างทั่วถึง เป็นการไหลเคลื่อนย้ายต่างระดับความเร็ว ต่างแกน ต่างจุดเริ่มต้น และปลายทาง ดลกาภิวัตน์จึงไม่ใช่ดลกของความเป็นหนึ่งเดียวและกลมกลืน แต่ผนึกด้วยภาซะไม่เท่าเทียม สับสนวุนวายและสบลับซับซ้อนที่ทำให้เกตุการณ์ความร่วมมือ ความขัดแย้ง การสู้รบระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในประวัติศาสตร์ ส่งกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือทำให้เกดกระแสชาตินิยม ดดยเฉพาะประเทศที่มีพรมแดนติดกัน ขณะเดียวกันไ้นำไปสู่การไหลเวียนของผุ้คนที่เข้ามาพร้อมกับมิติอื่นๆ อีก 4 มิติ ที่อัปปาดูไรได้ให้คำนิยามไว้ ดดยในยุคแรกผุ้คนจากภุิภาคื่อนเคลื่อนย้าาย
เข้ามาสุ่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเแียงใต้ หรือผู้คนจากประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันอพยยพพข้ามประเทศไปมา ไม่ว่าจะในฐานะนักท่องเที่ยว คนพลัดถิ่น ผุ้อพยพลี้ภัย หรือแรงงานชข้ามชาติก็ตามถือเป็นปรากฎการณืของกระแสโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในภุมิภาคนี้ ดังกรณีตัวอย่่างต่อไปนี้
            -แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย โดยหลักการแรงงาน  เกิดจากปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดในบริบทของพื้นที่นั้นๆ ปัจจัยผลักดันจากประเทศต้นทางมีสาเหตุจาก อัตราว่างงานสูง ระดับค่าจ้างที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับต่างงประเทศ ขาดสิ่งจูงใจสำหรับความก้าวหน้าใอาชีพ นโยบายการพัฒนากำลังคนที่ไม่เหมาะสมค่านิยมทางสังคม นดยบายทางเศราฐกิจของประเทศ ความไม่มั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน ่วนปัจจัยดึงดูดสุ่ประเทศปลายทาง มีสาเหตุจากระดับค่าจ้างและเงนิเดือนที่สูงกว่ามาก การขาดแคลนแรงงานในบางสาขา โอาสและความก้าวหน้าในอาชีพ การให้นักศึกษาต่างประเทศมีโอกาสเข้ารับการศึกษาอบรมได้ในประเทศปลายทาง และปัจจัยทางสังคมและการเมือง
            ประเทศเมียนมาร์ ในฐานะประเทศหนึ่งในสมาชิกของประชาคมอาเซียเกิดปัจจัยผลักดันประการต่างๆ ขึ้นในประเทศ และประเทศไทยซึ่งเป้นหนึ่งในประเทศปลายทวที่มีปัจจัยดึงดูด เช่น มีความมั่นคงทางด้านเสณาฐิจสังคมมากกว่า มีอัตราค่าจ้างและเงินเดือนที่สูงกว่ามาก และการขาดแคลนแรงงานตามแนวคิดการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศตามเหตุปัจจัยที่ผลักดัน และดึงดูด ให้เกิดการอพบยยแรงงานข้ามชาติขึค้น ซึ่งนำไปสู่ความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมที่หากปล่อยปละละเลยจะส่งผลกระทบด้านเสียหายต่อสังตสในประทเศจ้างงานเป็นอย่างยิ่งดังที่กำลัีงเกิดขึค้นในบางพื้นที่ของประเทศไทยในปัจจุบัน
             - คนพลัดถิ่นในประเทศไทย คนพลัดถืิ่นตามนิยามที่โรบิน โคเฮ็น ให้ไว้หมายถึงกลุ่มคนหรือชุมชนข้ามพรมแดรรัฐ -ชาติ ที่มีคุณลักษะร่วมที่สำคัญเก้าประการคือ เป็นกลุ่มคนที่กระจายอยู่นอกมาตุภูิมต้งแต่สองแห่งหรือสองประเทศขึ้นไป, สาเหตุการกระจายในข้อแรกอาจมาจากการบังคับ การแสวงหางานทำ การค้าหรือนโยบายของเจ้าอาณานิคม, กลุ่มคนเหล่านั้นมีความทรงจำร่วมเกี่ยวกัีบถิ่นกำเนิด, กลุ่มคนเหล่านั้นมีอุดมคติและพันธร่วมในการรักษา ฟื้นฟูสร้างความปลอดภัย ความมั่นคงแก่มาตุภูมิ, กลุ่มคนเหล่านั้นมีสำนึกร่วมและกระบวนการเคลื่อนไหวเพื่อกลับมาตุภูมิ, กลุ่มคนเหล่านั้นมีสำนึกความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้มข้น และสำนึกดังกล่าวได้รับการธำรงไว้ข้ามกาลเวลา, กลุ่มคนเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ุไม่ราบรื่นกับสังคมของประเทศที่ตนอาศัยอยุ่ในปัจจุบัน, กลุ่มคนเหล่านั้นมีควาเห้ฯอกเห็นใจและมีความเป็นปึกแผ่นหรือความสมานฉันท์กับคนพลัดถิ่นชาติพันู์เดียวกันในอีกประเทศฅ กลุ่มคนเหล่านั้นอาจจะมีชีวิตที่เฉพาะสร้างสรรค์ และมั่งคั่งในประเทศพักพิงที่มีขันติธรรมต่อความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม
           คุณลักษระร่วมตามนิยามดังกล่าวนี้โคเฮ็นเสนอว่าไม่จำเป้นต้องพบครบทุกประการในชุมชนคนพลัดถิ่นหนึ่งๆ คำว่า คนพลัพถิ่น จึงเป็นคำกลางๆ ที่ใช้เรียกกับคนที่อยุ่ข้ามพรมแดนประเทศแม่ของตน โดยนิยามดังกลาวนี้ทำให้เห็นกลุ่มคนพลัดถิ่นในประเทศไทยที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
           - ชุมชนคนพลัดถืิ่นที่เกดจกการบีบบังคับหรือตกเป็นเหบยื่อ เช่น ชาวเขมรลี้ภัยสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศ กลุ่มกะเหรี่ยง ที่อยู่ในค่ายตมแนวชายแดนไทย- พท่ามากกว่า 30 ปี เป็นต้น
            ชุมชนพลัดถ่ินที่เกิดจากกิจกรรมการต้า เช่น ชาวอินเดีย ชาวจีนในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่เดินทางมาหนีร้อนมาเพื่อแสวงหาดอกาสทางการต้าในดินแดนใหม่ๆ
            - นักท่องเที่ยวในประเทศไทย สถิติสำนักงานตรวจคนเชข้าเมืองและกรมการท่องเทียวรายงานว่า ในปี 2555 มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในประทเศไทยมากว่า 22 ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในไทย 10 อันดับแรกในต้นปี 2556 ได้แก่ จีน มาเลเซีย รัสเซีย ญี่ปุ่น เกาหบลี อินเดีย สหราชอาณาจักร อเมริกา ออสเตรเลียปละเยอรมนี ได้จำนวนนี้มีนัำท่องเที่ยวจาภูมิภาคอาเซียนมาเที่ยวประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 24 จัดเป็น 1 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด โดยมีมาเลเซย ลาว และสิงคโปร์มาเที่ยวมากที่สุดตามลำดับ จะเห็นว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาประเทศไทยมิใช้แต่ชาตอที่พูดภาษาอังกฤษอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมมากขึ้นนอกจากนี้ ยังมีผุ้ที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการนักท่องเที่ยว เช่น ร้านขายของที่ระลึก ร้านตัดเสื้อ ร้านอาหาร ดรงแรม ที่พัก เป็นต้น ที่มีพนักงานต้อนรับเป็นชาวต่างชาติที่หน้าตาดูเหมือนมาจากเอเชียใต้ แต่เมื่อสอบถามไปจะได้คำตอบว่าส่วนใหญ่เป็นชาวพม่าเชื่อสายเนปาลีที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่อง ซึ่งพบได้ทั่วไปตามสถานที่ท่องเทียวชายทะเลที่มีช่อเสียงของไทย จึงเกิดคำถามว่าแล้วคนไทยทำอะไรบ้างในภาคการท่องเที่ยว...
             กระสแโลกาภิวัตน์ในภาษาและวัฒนธรรม กรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยดังกล่าวข้างต้นได้แสดงให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนที่จำเป็นต้องพิจารณาถึงหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการแตกหักขาดตอน ระหว่างเรื่องของเศรษบกิจ ภาษา วัฒนธรรม และการเมืองการปกครองในลักษณะของการไหลเวียน ในมิติชาติพันธุ์ในรูปของนักท่องเทียว ผุ้อพยพ คนพลัดถิ่น และแรงงานข้ามชาติ ในมิติของมนุษย์ ในมิติของเทคโนโลยี ในมิติของเงินผ่านตลาดทุน ตลาดหุ้น ตลาดสินค้า ในมิติตของสื่อ และในมิติตของอุดมการณ์ เช่น ประชาธิปไตย ที่ซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทุกมิติ และมีผลกระทบต่ออาเซียนตามกรอบแนวคิดของอัปปาดูโร(1990) ดังกล่าว..(บทความ  "ภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนในยุคโลกาภิวัตน์ : ความท้าทายของประเทศไทย, โสภนา ศรีจำปา)
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...