วันพฤหัสบดีที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Shino-Tibet Languese

              ตระกุลภาษาจีน-ทิเบต เป็นตระกูลของภาษาที่รวมภาษาจีนและตระกุลภาษาย่อยทิเบต-พม่า มี
สมาชิกทั้งสิ้น 250 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาในเอเชียตะวันออกมีจำนวนผู้พูดเป็นอันดับสองของโลกตองจากภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะร่วมกันคือมีเสียงวรรณยุกต์
             การจำแนกของ เจมส์ มอทิซอฟฟ์ กลุ่มภาษาจีน ประกอบด้วย ภาษาจีนกลาง ภาษาหวู่ ภาษาเซี่ยงไฮ้ ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาผิง ภาษาหมิ่น ภาษาไต้หวัน ภาษาเซียง ภาษาฮากกา ภาษากั้น
             กลุ่มทิเบต-พม่า กลุ่มภามารูปัน ได้แก่ กลุ่มกูกี-ฉิ่น-นาดา กลุ่มอเบอร์-มิรี-ดาปลา กลุ่มโบโร-กาโร, กลุ่มหิมาลัย ได้แก่ กลุ่มมหา-กิรันตรี (รวมภาษาเนวารี ภาษามาคัร และภาษาไร) กลุ่มทิเบต-กิเนารี (รวมภาษาทิเบต ภาษาเลปชาป, กลุ่มเกวียง, กลุ่มจิงโป-นุง-ลุย ได้แก่ภาาาจิงโป ภาษานุง ภาษาลัย, กลุ่มพม่า-โลโล-นาซี,ฅ กลุ่มภาษากะเหรี่ยง, กลุ่มบาอีก และยังมีการจำแนกในแบบอื่นอีก..
              สมมติฐานจีน-ทิเบต เหตุผลที่จัดภาษาจีนเข้าเป็นกลุ่มย่อยของตระกุลภาาายอยทิเบต-พม่า เพราะมีความสัมพันธ์กันระหว่างภาษาจีนกบภาษาทิเบต เช่น ลักษณะคุ่ขนานระหว่างภาษาจีนโดบราณกับภาษาทิเชตสมัยใหม่ และมีรากศัพท์ที่คล้ายคลึงกันอย่างไรก็ตามสมมติฐานนี้มีข้อโต้แย้งคือ ความชัดเจนของรากศัพท์คล้ายคลึงกันระหว่างภาษาจีนกับภาษากลุ่มทิเบตยังไม่ชัดเจนพอ และจากการสร้างภาษาทิเบต-พม่าดั้งเดิมโดยใช้ข้อมูลจากวรรณคดีภาษาทิเบตและพม่า และข้อมูลจากภาษาจิ่งโปและภาษาไมโซ พบว่าภาาาจีนมีลักษณะที่จะเป็นภาษาลูกหลานของภาษาทิเบต-พม่าดั้งเดิมน้อย สมมติฐานนี้จึงยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
              กลุ่มภาษาจีน เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่างๆ ว่าเป็นภาษาเดียวโดยทั่วไปแล้วภาาาพุดในกลุ่มภาษาจีนเปนภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่อง เสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เที่ยบได้กับ ควมแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 -12 กลุ่มขึ้นอยุ่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป้ฯที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพุดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง"
           
ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพุดเป็นภาาาแม่มากที่สุดสำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาาาฮั่น ซึ่งยุ่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดารินเป็นภาาาทางการของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางกาของประเทศสิงคโปร์ (ร่วกับ ภาาา อังกฤษ ภาษามาลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วกั ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนหลางตุ้งเป้ฯภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส)
              นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ข้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และอักษรจีนตัวย่อ
              ภาษาพูดของจีน ทั้งภาษาและสำเนียงภาษจีนต่างกันในประเทศจีน โดยพิ้นฐาน เราอาจแบ่งกลุ่มภาษาจีนออกเป็น 7 กลุ่มใหญ่ๆ ตามจำนวนประชากรที่พูดได้ ดังนี้
              จีนกลาง หรือภาษาฮั่น หรือแมนดาริน หรือสำเนียงทางเหนือ, ง่อ ในมณฑลเจียงซู, กว้างตุ้ง, ฮกเกี่ยน ในมณฑลผูเจี้ยน หรือฮกเกี่้ยน, เชียง, แคะ หรือ ฮักกา, กั้น นอกจากนี้ นักภาษาศาสตร์ยังได้แบ่งกลุ่มภาาาจีนออกมาจากกลุ่มใหญ่ข้าบนอีก 3 ประเภท ได้แก่ จิ้น แยกมาจาก แมนดาริน, ฮุยแยกมาจาก อู๋ และผิง แยกมาจาก กวางตุ้ง
              กลุ่มภาษาทิเบต เป็นกลุ่มของภาษาที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ที่พูดดยชาวทิเบตที่อยู่ในบริเวณเอเชียกลางติดต่อกบเอเชียใต้ ได้แก่ ที่ราบสุงทิเบต ภาคเหนือของอินเดียวในบัลติสถาน ลาตัก เนปาล สิกขิม และภูฎาน ส่วนใหญ่ใช้ในการเขียนงานทางศาสนาโดยฌแพาะศาสนาพุทธ
              ด้วยเหตุผลทางกรเมือง สำเนียงของภาษาทิเบตกลาง (รวมทั้งลาซา) คาม และอัมโดในจีน ถือเป็นภาษาทิเบตเพียงภาษาเดียว ในขณะที่ภาษาซองคา ภาษาสิกขิม ภาษา ภาษาเศรปา และภาษาลาดัก ถือเป็นภาษาเอกเทศต่างหาก แม้ว่าผู้พูดภาษาดังกล่าวจะถือตนว่าเป้นชาวทิเบตด้วย ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาซองคาและภาษาเศรปามีความใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสำเนียงลาซามากกว่าสำเนียงคามและอัมโด
           
  มีผู้พูดกลุ่มภาษาทิเบตทั้งหมดราว 6 ล้านคน ภาษาทิเบตสำเนียงลาามีผุ้พูดประมาณ 150,000 คนที่เป็นผู้ลี้ภัยในอินเดียและประเทศอื่นๆ ภาษาทิเบตใช้พุดโยชนกลุ่มน้อยในทิเบตที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวทิเบตมากกว่า ศตวรรษ แต่ไม่สามารถรักษาภาษาและวัฒนธรรมของตนไว้ได้ ชาวเกวียงในคามนั้น รัฐบาลจีนจัดให้เป็นชาวทิเบตแต่ภาษาเกวียงอิกไม่ใช้กลุ่มภาษาทิเบต แม้จะอยู่ในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า
              ภาษาทิเบตคลาสสิก ไม่ใช้ภาษาที่ีมีวรรณยุกต์ แต่บางสำเนียง เช่น ทิเบตกลางและคาม ได้พัฒนาเสียงวรรณยุกต์ขึ้น ส่วนสำเนียงอัมโดและลาดัก และภาษาลบัลติไ่มีวรรณยุกต์ ลักษณะของภาษาทิเบตในปัจจุบันเป็นแบบรูปดำติดต่อแม้ว่าจะไม่พบลักษณะนี้ในภาษาทิเบตคลาสสิก
               การแบ่งตามวิธีของ Bradly ภาษาในกลุ่มนี้ ได้แก่ ภาษาลาดัก หรือภาษาทิเชตตะวันตกโบราณ รวมทั้งภาษาบัลติและภาษาปูริก ไม่มีวรรณยุกต์, กลุ่มภาษาทิเบตกลาง มีวรรณยุกต์, ภาษาทิเบตตะวันตกสมัยใหม่ พบในลาดักและบริเวณใกล้เคียง, ภาษาดบุส-อู พบใน งารี อู-จั้ง และแนวชายแดนทางด้านเหนือของเนปาล, ภาษาทิเบตเหนือ พบทางใต้ของมณฑลชิงไห่, ภาษาคาม มีวรรณยุกต์ ใช้พูดในมณฑลชิงไห่ คามโด เสฉวนและยูนนาน, ภาษาอัมโด ไมมีวรรณยุกต์ ใช้พูดในชิงไห่ กันซู และเสฉวน..
              ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า เป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ใช้พูดในเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งพม่า ทิเบต ภาคเหนือของไทย ภาคกลางของจีน ภาคเหนือของเนปาล ภูฎาน อินเดีย และปากีสถาน
              ภาษากลุ่มนี้มี 350 ภาษา ภาษาพม่ามีผู้พูดมากที่สุด (ประมาณ 32 ล้านคน) มีผุ้พูดภาษาทิเบตทุกสำเสียงอีกราว 8 ล้านคน นักภาษาศาสตร์บางคนเช่น จอร์จ แวน เดรียม เสนอให้จัดตระกูลทิเบต-พม่าขึ้นเป็นตระกูลใหญ่ และให้กลุ่มภาษาจีนมาเป็นกลุ่มย่อยแทนแต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง... th.wikipedia.org/wiki/ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า
           
             
           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...