วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Tone

          ภาษาเป็นสิ่งมหัสจรรย์ มันทำหน้าที่เป็นเครื่องมือให้มนุษย์ใช้สื่อสารระหว่างกันและกันภาษาทุกภาษามีโครงสร้าง โครงสร้างของภาษาประกอบขึ้นจาก เสียง คำวลี ประโยค และความหมาย โดยมีเสียงเป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดเสีีงในแต่ละภาาามีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน เช่น ทุกภาษามีเสียงสระ บางภาษาในประเทศแอฟริกาใช้เสียงเดาะลิ้นสื่อความหมายถึงกัน ในขณะที่บางภาษาไ่ใช้เสียงเดียวกันนี้สื่อความหมาย เป็นต้น
         เสียงวรรณยุกต์เป็นองค์ประกอบหนึ่งในโครงสร้างทางเสียง ซึงไม่ได้พบในทุกภาษา แต่พบมากในภาษาแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับได้ว่า เสียววรรณยุกต์เป็นเอกลักษณ์ทางภาษาอัโดเด่นของภูมิภาคนี้ นักภาษาศสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งยอมรับว่าดินแดนแถบนี้เป้นดินแดนี่มี่เสียงวรรณยุกต์เจริญงอกงามได้ดี..
               หลายภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เสียงวรรณยุกต์ในการจำแนกความหมายของคำ เช่น ภาาาไทย ภาษในตระกูลไท-กะได คำว่า "มา" มีระดับเสียงเป้ฯเสียงกลาว-ระดับ ส่วนคำว่า "หมา" มีระดับเสียงเป้นเสียงกลาง-ขึ้น ทั้งสองคำมีเสียงพยัญชนะ (m-) และเสียงสระ (-aa) ซึ่งไม่มีนัยสำคัต่อการจำแนกความหมายของคำทั้งสอง เนื่องจากทั้งสองคำมีเสียงพยัญชนะและเสียงสระเหมือนกันทุกประการ ตแ่เป็นเสียงกลาง-ระดับและเสียงกลาง-ขึ้น ที่ทำให้ความหมายของคำว่า "มา"  และ "หมา" แตกต่างกันเสียงวรรณยุกต์จึงมีความสำคัญต่อภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
            แนวคิดเรื่องกำเนิดและพัฒนาการของเสียงวรรณยกต์กล่าวถึงการเกิด เพื่ม หรือลดของเสียงวรรณยุกต์ด้วยอิทธิพลจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ซึ่งนักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ที่สนใจเรื่องกำเนิดและพัฒนาการองเสียงวรรณยุกต์ให้ความสำคัญกับการศึกษาปัจจัยภายในโดยมีส่วนน้อยที่ให้ความสนใจกับปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในคือการเปลี่ยนแปลงภายในของตัวของภาษา และปัจจัยกระบวนการกร่อนของพยางค์จากคำหลายพยางค์สู่การป็นคำพบางค์เดียว การเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะต้น การเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะท้าย และคุณสมบัติของสระ เป็นต้น
            การศึกษาเสียงวรรณยุกต์ากอดีตจนถึงปัจจุบันช่วยบอกความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติของคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต การสร้างแผนที่ภาษา เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาภาษาวัฒน
ธรรม และการท่องเที่ยว การศึกษาเรื่องเสียงวรรณยุกต์และที่มรที่ไปของเสียงวรรณยุกต์ยังมีประธยชน์ต่อการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ในสาขาวิทยาศาสตร์ รวมถึงการศึกษาการรู้จำเสียงในสาขาวิศวกรรมศาสตร์
             โครงสร้างทางเสียงในภาษาประกอบขึ้นจากเสียงเรยง และเสียงซ้อน เสียงเรียง ได้แก่ เสียงพยัญชนะ และเสียงสระ ส่วนเสียงซ้อน ได้แก่ การลงเสียงหนกเบา ทำนองเสียง เสียงวรรณยุกต์
              นักภาษาศาสตร์ พบวา ทุกภาษาในโลกนี้มีเสียงสระ ภาษาบางภาษามีเสียงพยัญชนะและการลงเสียงหนักเบา ส่วนทำนองเสียงและเสียงวรรณยุกต์ก็เช่นกัน จะพบไ้ในบางภาษเท่านั้นนักภาษาศาสตร์นิยมใช้เสียงในภาษาเหล่านี้เป้ฯเกณฑ์ใการจัดกลุมภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงวรรญุกต์ ซึ่งเป้นลักษณะโดดเด่นของภาษาที่มีทำนองเสียง ส่วนภาษามีวรรณยุกต์พบมาในเอเชียตะวันออกเแียงใต้ เช่น ภาษาไทย ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว ฯลฯ การใช้เสียงวรรณยุกต์จำแนกความหมายของคำจึงเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่ง ยกตัวอย่าง ภาษาไทย ซึ่งเสียงวรรณยุกต์มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์ในระดับคำ กล่าวคือ ภาษาไทยใช้ระดับเสียง สูง-ต่ำ และขึ้น-ลง เพื่อทำให้ความหมายของคำแตกต่างกัน
               ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาแนวคิดเรื่องกำเนิดและพัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์ส่วนมากเกิดขึ้นในภาษาแถบเอเชียตะวันออกเแียงใต้ ดดยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย มีอาณาบริเวณตั้งแต่อินเียตะวันออก ไปถึงทางใต้ของประเทศจีน และบริเวณระหว่งมหาสุทรอินเดียและมหาสุทรแปซิฟิก ดินแดนนี้มีความหลากหลายทาเชื้อชาติ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม รวมถึงภาษา ความหลกหลายทางภาษาในเอเชียตะวันออกเแียงใต้จึงเป้ฯที่สนใจของนักภาษาและภาษาศาสตร์ทั้งในอดีตและปัจจุบัอย่างมาก
            นักภาษาศาสตร์แบ่งภาษาในเอเชียตะวัอกเฉยงใต้ด้วยหลักเกณฑ์ทางภาาาศาสรตร์ได้เป็น 5 ตระกูลได้แก่
             1. ตระกูลไท-กะได ใช้พูดกันในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศพม่า ประเทศจีนตอนใต้ บางส่วนของประเทศอินเดีย เช่น ภาษาไทย  ภาษาลาว ภาษาัม
              2. ตระกูลจีน-ทิเบต ใช้พูดกันในเขตปกครองตนเองทิเบตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ประเทศเวียดนาม ประเทศปากีสภาน เชนภาษาจีน ภาษาพม่า
           
  3. ตระกูลแม้ว-เย้า หรือ ม้ง-เมี่ยน ใช้พุดกันในประเทศจีนตอนใต ประเทศเวียดนามตอนเหนือ ประเทศไทยตอนเหนือ เชนภาษาแม้ว ภาษาเย้าหรือภาษาเมี่ยน
              4. ตระกูลออสโตรเอเชียติก หรือ มอญ-เขมร ใช้พูดกันในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย เช่น ภาษาเวียดนาม ภาษาขมุ ภาษาในสาขาอัสเลียน
              5. ตระกุลออสโตรนีเซียน ใช้พูดกันมากในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศกัมพูชา ประเทศฟิลิปินส์ และหมู่เกาะในมหาสทุรแปซิฟิก เช่นภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลเซีย
              เมื่ใช้เกณฑ์สัทศาสตร์และสัทวิทยา หรือ เกณฑ์ทางเสียงภาษาใน 5 ตระกูลนี้มีฃักาณะ 3 แบบ คือ
             1ภาษามีวรรณยุกต์ หมายถึง ภาษาที่ใช้ระดับเสียงจำแนกความหมายของคำ
             2 ภาษามีลักาณน้ำเสียง หมายถึง ภาษาที่ใชลักาณะน้ำเสียงจำแนกความหมายของคำ ได้แก่ เสียงก้องธรรมดา เสียงก้องต่ำทุ้ม สัญลักษณ์ เสียงก้องเครียด ฯลฯ เช่น ภาษาว้า คำว่า "กีตาร์" กับ "ใหญ่"
             3. ภาษาไม่มีวรรณยุกต์และไม่มีลักาณะน้ำเสียง หมยถึง ภาษาที่มไ่ไ้ใช้ทังเสียงวรรณยุกต์หรือลักษระน้ำเสียงในการจำแนกควาหายของคำ
             ภาษาในตระกุลไท-กะได ตระกูลจีน-ทิเบต และตระกุลแม้ว-เย้า มีลักาณเด่น คื อเป้นภาษามีวรรณยุกต์ ภาาาในตระกุลออสโตรเอเชียติก หรือ มอญ - เขมร มีลักษณะเด่น คือ เ้นภาาามีลักษณะ น้ำเสียง ส่วนภาษาในตระกุลออสโตรนีเวียนมลกาณะเด่น คือ เป้นภาษาไม่มีวรรณยุกต์และไม่ลักษระน้ำเสียง
              ความหลากหลายของการม หรือ ไมีมีเสียงวรรณยุต์ภายในตระกุลเดียวกัน ทำให้นักภาษาสาสตร์เอเชียตะวันออกฌียงใต้จำนวนมากค้นคว้าและวิจัย เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับกำเนิและพัฒนาการ ของเสียงวรรณยุกต์
               นอกากลักษณะทางเสียง 3 แบบหลักที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่ การเป็นภาษาที่วรรณยุกต์ การเป็นภาษามีลักษณน้ำเสียง และการเป็นภาษาไม่มีวรรณยุกต์และไม่มีลักษณะน้ำเสียง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีภาษาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งนักภาษาศาตร์จัดเป้นลักษระทางเนียงแบบบ่อยในภาษามีัวรรณยุกต์ นั่นคือ ภาษาที่มีรูปแบบการลงเสียงหนักเบา เช่น ภาษามลายูถิ่นปัตตานี โดยลักษะของภาษาที่มีรูปแบบการลงเสียงหนักเบา หมายถึง พยางค์ที่ได้รับการลงเสียงหนักในภาษานั้นจะมีระดับเสียงสูง ส่วนพยางค์ที่ได้รับการลงเสียงเบาจะมีระดับเสียงต่ำ และรูปแบบการลงวเสียงหนักเบาที่แตกต่างกันนั้นจะมีนัยสำคัญทงภาษาศาสตร์ในการจำแนกความหายของคำสองคำ เช่น ตัวอย่งจากภษมลายูถิ่นปัตตานี
           ภาษามลายูถ่ินปัตตานี เป็นภาษาที่ใช้พูดกันมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส และยังมีภาษามลายูถิ่นที่ใช้พุดกันในอภเภอท่าอิฐ จังหวัดนนทบุรี ด้วยทีมีลักษณะภาาแบบนี้
            การกำเนิแนวคิเรื่องกำเนิและพัฒนาการของเสียงวรรณยุกต์ไปใช้ นักภาษาสษสตร์ได้ใช้ระเบยบวิธีวิจัยทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติศาสตร์ เชิงประวัติและเปรียบเทียบ และระเบียบวิธีวิจัยทางสัทศาสตร์ คือ กลสัทศาสตร์และโสตสัทศาสตร์ มาพิสูจน์แนวคิดนี้ อย่งไรก็ตาม แม้จะมีนักภาษาศาสตร์ทั่วโลกจำนวนมากสนใจศึกาาแนวคิดดังกล่าว กลับมีนักภาษาศาสตร์ในประเทศไทยจำนวนไม่มากนักที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากยังไม่เห็นประโยชน์ของการนำแนวคิดนี้ไปใช้
            ปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนว่าแนวคิดนี้สามรถนำไปใช้ในการสร้างแผนที่ภาษาซึ่งเป็นฐายข้อมุลสำคัญในการศึกษาภาษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การอพยพย้ายถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ และประวัติศาสตร์

                    - บางส่วนจาก "หนังสือภาษาศาสตร์เสียงวรรณยุกต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : กำเนิดและพัฒนาการ.
             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...