ASEAN :The Basic Education

          สิงคโปร์ ด้วยวิสัยทัศน์และนโยบายการจัดการศึกษาของสิงคโปร์ที่โดดเด่นทำให้การศึกษาของสาธารณรัฐสิงคโปร์ก้าวรุดหน้าไปกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และยังเป็นประเทศที่มีการปรับปรุงนโยบายทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการใหม่ ๆ ของโลก
          ในปี พ.ศ. 2547 รัฐบาลนำโดยนายลี เชียน ลุง นายกรัฐมนตรีได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ด้านการศึกษาที่สอดคล้องไปกับวิสัยทัศน์ TSLN หรือที่รู้จักดันในวลี "Teach Less, Learn More"ที่เน้นการสอนให้น้อยลงแต่ให้นักเรียนเดิดการเรียนรู้มากขึ้น และนำไปสู่การปฏิบัติ นับเป้นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนจากที่เน้นปริมาณสู่การเรียนการสอนเป็นการเน้นคุณภาพการสอน โดยเชื่อว่า การสอนที่เน้นปริมาณไม่สามารถนำนักเรียนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ได้อย่างเพียงพอ ไม่สามารถจุดประกายความอยากรู้อยากเห็น กระบวนการสอนดังกล่าวนี้ ช่วยให้โรงเรียนและครูสามารถเข้าไปถึงแก่นของการเรียนการสอนว่า การสอนนี้สอนเพื่ออะไร สอนอะไร และสอนอย่างไร ด้วยกระบวนการสอนแบบ ที่กล่าวมา จะไม่เหน้นการเรียนการสอนและการวัดผลแบบเดียวเพื่อที่ใช้กับคนหมุ่มาก แต่เป็นการออกแบบการสอนและการวัดผลที่มีความแตกต่างตามความพร้อมและความสนใจของผุ้เรียน เพื่อให้เกิดผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีพ
           สิงคโปร์มีการจัดโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาออกเป็น 4 ระดับคือ
           - ระดับรัฐ รัฐบาลสิงคโปร์โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดนโยบายและวางแผนสู่การปฏิบัติใน 3 หน่วยงาน คือ Profressinal Wings เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านวิชาการ Policy Wings เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนโยบายการศึกษา และ Service Wings เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านงานบริการด้านการศึกษาต่างๆ โดยรัฐจะเป็นผุ้กำหนดหลักสูตรแกนกลาง ที่ใช้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นบฐานแก่ทุกโรงเรียน รวมถึงการดุแลเรื่องการสอบและการประเมินผลระดับชาติทั้ง 3 ระดับ คือ เมือจบชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และเตรียมอุดมศึกษาอีกด้วย
           - ระดับเขตพื้นที่การศึกาา ได้รับการมอบอำนาจให้มีหน้าที่ควบคุมดุแลกลุ่มโรงเรียน ที่อยุ่ในเขตเพื่อให้เป้นไปตามวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้น ว่าได้เกิดการทำงานร่วมมือกันอย่างดี มีการช่วยเหลือกันในกลุ่มอย่างดีหรือไม่ หัวหน้ากลุ่มได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นหรือไม่
           - ระดับกลุ่มโรงเรียน ที่เกิดจากการรวมกลุ่มหลายโรงเรรียนเข้าด้วยกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านวิชาการและทิศทางในการพัฒนาบริหารจัดการโรงเรียนปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่มทั้งสิ้น 28 กลุ่มครอบคลุมทุกโรงเรียนในประเทศ แต่ละกลุ่มมีโรงเรียนในเครือข่ายประมาณ 10-14 โรง บางกลุ่มก็ประกอบด้วยโรงเรียนระดับประถมศึกษาทั้งหมด บางกลุ่มก็ประกอบด้วยโรงเรียนหลายๆ ระดับมารวมกัน แต่ละกลุ่มจะมีการเลือกหัวหน้า จากผุ้บริหารโรงเรียนต่างๆ ที่มีประสบการณืทำหน้าที่ประสานงานและช่วยกำหนดทิศทงการบริหารจัดการให้แก่โรงเรยนในกุ่ม โดยรัฐได้จัดสรรงบประมาณรายปีโดยตรงให้แก่หัวหน้ากล่่มเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ พัฒนา ดูแล ช่วยเหลือ และแนะนำโรงเรียนในกลุ่ม รัฐบาลจับตามองความสามารถของหัวหน้กลุ่มว่ามีสมรนรถภภาพเช่นไร ใช้วบประมาณได้อย่งมีประสิทธิภาพหรือไม่ หากเป็นไปด้วยดีรัฐก็จะมองอำนาจความรับผิดชอบให้หัวหน้ากลุ่มมากขึ้น พร้อมให้อำนาจในการปกครองดูแลโรงเรียนของหัวหน้ากลุ่มเองได้อย่างมีอิสระกว่าโรงเรียนอื่นๆ
            - ระดับสถานศึกษา สถานศึกษาเป็นหน่วยงานย่อยที่สุดในการจัดการศึกษาที่มีระดับอิสระในการจัดการต่างกัน หากเป็นโรงเรียนแบบอิสระ และ โรงเรียนปกครองตนเอง จะมีอิสระในการดูแลเรื่องการบริหารจัดการบุคลากร การเงิน และวิชาการบางส่วน เช่น การเลือกแบบเรียน และปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผุ้เรียนมากกว่าโรงเรียนอื่นโดยโรงเรียนเหล่านี้จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมกาบริหารโรงเรรียนขึ้นโดยได้รับการอนุมัติจากการะทรวงศึกษาธิการก่อน
              อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาที่ได้มีการประกาศวิสัยทัศน์ทางการศึกษา รัฐบาลได้พยายามที่จะเปิดโอกาสให้โรงเรียนอื่นๆ มีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับความต้องการของนัเรียนมากยิ่งขึ้น
              บรูไนได้กระจายอำนาจการจัดการการศึกษา โดยเปลี่ยนจากการแบ่งอำนาจ สุ่ การมอบอำนาจ โดยมอบอำนาจตามประเภทของงาน คือการให้อำนาจความรับผิดชอบของหน่วยงานส่วนกลางไปยังโรงเรียน แต่ความรับผิดชอบสูงสุดยังอยู่ที่หน่วยงานส่วนลางเช่นการเสริมสร้างกำลงคนขึ้นอยู่กับผุ้นำในโรงเรียนและครูกระทรวงศึกษาธิการได้ให้อำนาจบางบริหารแก่ผุ้นำในโรงเรียนและครูผู้สอน มีการพัฒนาระบบเขตพื้นที่การศึกษาสำหรับระดับประถมศึกษา และระบบกลุ่มดรงเรียนสำหรับระดับมัธยม ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับดรงเรียนมากขึ้น รวมทั้งให้ผุ้นำโรงเรียนมีอำนาจในการจัดโครงสร้างสถานศึกษาการจัดโซนสำหรับระดับประถมศึกษาและจัดกลุ่มดรงเรียนระดับมัธยมศึกษาได้มีการแต่างตั้งผุ้นำและจัดต้้งเป็นคณะกรรมการทีมผุ้นำ เพื่อให้สาชิกได้ออกความคิดเห็น ข่าวสาร และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด มีการอภิปรายประเด็นต่างๆ เพื่อนำไปสู่แผนผฏิบัติการ ผุ้มีส่วนได้เสียของโรงเรียนมีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระดมสมอง และลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับปัญหาทางการศึกษา การปรับปรุงผลการดำเนินงานทั้งด้านวิชาการและไม่ใช่วิชาการ
             ฟิลิปปินส์ พระราชบัญญัติฉบับที่ 9155 เป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในประเทศฟิลิปปินส์กำหนด บทบาทและความรับผิดชอบ ของระดับการบริหาร ต่างๆ จากส่วนกลางไปถึงระดับโรงเรียน ด้วยพระราชบัญญัติฉบับนี้ชื่อของกรมวัฒนธรรมการศึกษาและกีฬา ถูกเปลี่ยเป็นกรมศึกษาธิการ และกำหนดบทบาทของสำนักงานในพื้นที่ต่างๆ
            ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าหน้าที่หลักของสำนักงานในพื้นที่ต่างๆ คือ การประกันคุณภาพ มีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของทุกโรงเรียนภายใต้อำนาจของตนและให้การสนับสนุด้านอื่นๆ แก่หน่วยงานระดับอภเภอและโรงเรียน ตามที่พระราชบัญัติการศึกษาแห่งชาติระบุ ครอบคลุมการศึกษาในเด็กปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษารวมทั้งระบบการเรียนรู้ทางเลือกสำหรับเด็กและเยาวชนที่ออกจากโรงเรียนและนักศึกษาผู้ใหญ่และรวมถึงการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ
            โดย พ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดรูปแบบเหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ในบริบทของการบริหารโดยใช้ดรงเรยนเป็นฐาน โดยกำหนด วัตถุประสงค์ "เพื่อสนับสนุนส่งเสริม ความคิดริเร่ม เพื่อการพัฒนาโรงเรียนและศูนย์การเรียนรูให้ประสบความสำเร็จ และยั่งยืน" โดยได้มีการกำหนดโครงสร้างของกรมศึกษาธิการกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่กระจายอำนาจใน 4 ระดับ จากระดับรัฐ ไปสู่ระดับเขต ระดับอำเภอ และระดับโรงเรียนโดยเป้นการกระจายอำจไปยังโรงเนรียน แต่ไม่ได้กล่าวถึงคณะกรรมการสภาโรงเรียน
           
กรมศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานภาครัฐพื้นฐานที่รับผิดชอบด้านการศึกษและการพัฒนาอัตรากำลังของชาติ ภารกิจของการพัฒนาหมายถึง การให้การศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพที่มีความเสมอภาคและทุกคนสามารถเข้ารับการศึกษาได้ มีการจัดตั้งมูลนิธิสำกรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้ทุกคนได้รับการบริการได้ทั่วไปอย่งดี ความรับผิดชอบเบื้องต้นของกรมนี้คือ ริเริ่ม การวางแผน การนำไปปฎิบัติ และประสานความร่วมมือในระดับนโยบาย ความช่วยเหลือในเบื้องต้น มาตรฐาน แผนงานจัดโปรแกรมและโครงการต่างๆ ในพื้นที่ที่เป้นการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ เป็นการบริหารสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งที่เป็นการศึกษาของรัฐและเอกชน ดูแลการจัดตั้งและบริหารจัดการ บำรุงรักษาให้ดีและเพียงพอ บูรณาการระบบการศึกษาเชื่อมโยงกับเป้าหมายของการพัฒนาชาติ
            การกระจายอำนาจบริหารการศึกษาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ใช้รูปแบบ SBM ซึ่งถูกนำมาใช้ใน 23 หัวเมือง ที่เข้าร่วมในระดับปรถมศึกษา ตามโครงการการศึกาษที่ 3 ในระดับประถมศึกษา ได้รับการสนับสนุน จากธนาคารโลก โครงการจัดหาเงินทุน สำหรับโรงเรียนโครงสร้งพื้นฐานของ การฝึกอบรมการพัฒนาหลักสูตรและตำราเรียน SMB เป็นการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาจากกรมศึกษาธิการไปยังสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษามีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ มีอิสระและความคล่องตัวในการตัดสินใจกรบริหารจัดการทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและการบิหารทั่วไป โดยมีคณะกรรมการสภาโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย ผุ้บริหาสถานศึกษ ตังแทนผุ้ปกครองและขุชน ตัวแทนครู ผุ้ทรงคุณวุฒิ มีส่วนร่วมกันบริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามความต้องการของผุ้รเียนและผุ้ปกครองให้มากที่สุด ทั้งนี้การบริหารจัการที่รับผิดชอบร่วมกันตามภาระงานของสถานศึกษานั้น จะทำให้เกิความเป็นเจ้าของและทำให้ผลการปฏิบัติงานของสถานศึกาาเป็นที่ยอมรับได้
          อินโดนีเซีย จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐวัยด้วยเป้หายหลักของการศึกษาปฐมวัยคือ การพัฒนาด้านร่างกายและจิตใจของนักเรยน เมื่อเด็กต้องกออกมาจากบ้านจากครอบครัวมาเข้าสังคมที่โรงเรียน การจัดการศึกษาระดับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของผุ้เรียนก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา เป็นการเตรียมการพัฒนาการขั้นพื้นฐาน พัฒนาทัศคติ ความรู้ ทักษะ และความคิดริเริ่มรูปแบบของการศึกษาปฐมวัยที่ได้ผลดี ได้แก่การจัดการศึกษาในโรงเรียนอนุบาล หรือสถานอบรมเด็กเล็ก และการเล่นเป้นกลุ่ม การเรียนในโรงเรยนอนุบาลถือเป้นสวนหนึ่งของการศึกษาในระบบ ขณะที่การเรียนรู้จากการเล่นเป็นกลุ่มนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษานอกระบบ การจัดการศึกษาปฐมวัยนี้เป็นการจัดการศึกษาให้กับเด็กอายุระหว่าง 4-6 ขวบ ระยะเวลาเรียน 1-2 ปี ขณะที่การเรียนรุ้โดย "การเล่ินเป็นกลุ่ม" จัดให้เด็กอายุ 3 ขวบ และต่ำกว่า 3 ขวบ
          ถ้าตามพระราชบัญญัติการศึกษาปี 2003 จะแบ่งระดบการศึกษาในโรงเรียนออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับเตรียมอุดมศึกษา การศึกาาระดับอุดมศึกษา
           การศึกษาขั้นพ้นฐานเป็นการศึกษาภาคบังคัยมี 3 ระดับ ได้แก่ โรงเรียนประถมศึกษา ให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน 6 ปี สำหรับนักเรียนอายุ 7-12 ปี, โรงเรียนมะธยมศึกษาตอนต้น จัดกาศึกษา 3 ปี สำหรับนักเรียนอายุ 13-15 ปี, โรงเรียนพิเศษจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาความผิดปกติทางด้น
ร่างกายและจิตใจ
            การศึกษาขั้นพื้นฐานมีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักรเียนให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็นสมาชิกของสังคม พลเมือง และมนุษยชาติโดยรวมทั้งสามาถศึกษาต่อได้ในระดับสุงต่อไป
            เวียดนาม ประเทศเวียดนามต้องการจะพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวเวยดนามให้ดีขึ้นทัดเทียมอารยประเทศและเพื่อแก้ไข ปรับปรุงจุดอ่อนของระบบการบริหารจัดการประเทศเวียดนามที่ใช้รูปแบบ โซเวียต โมเดล จึงได้ประกาศใช้นโยบาย Doi Moi Policy ในปี ค.ศ. 1986 และเร่ิมปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการต่างๆ ของเวียนดนามให้ดีขึ้น โดยในส่วนของระบบการจัดการศึกษา เวียดนามเร่ิมใช้กฎหมายการศึกษาฉบับแรก ในปี พ.ศ. 2533 เรียกว่า 1990 Law และปรับปรุงครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1998 (2551) ปัจจุบันเวียดนามใช้กฎหมาย การศึกษาฉบับ 2005 Law ซึ่งปรับปรุง เมื่อวันที่  กรกฎาคม 2553 (2010) อยู่ภายใต้หลัการและแนวคิด "Independent, Freedom and Happiness" แบ่งลักษณะของการจัดการศึกษาไว้ 4 ลักษณะ คือ
             1. การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมด้าน ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และศิลปะ ประกอบด้วยการเลี้ยงดูเด็ก สำหรับเด็กอายุ 3 เดือน- 6 ปี และอนุบาลสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี เป็นการศึกษาภาคลังคับที่เร่ิมต้น ตามกฎมหาย
              2. การศึกาาสามัญ แบ่งเป็นระดับต่างๆ ดังนี้
                   - ระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคลังคับ 5 ปี ชั้น 1-5 รับนักเรียนอายุ 6-11 ปี เพื่อพัฒนทักษะเพืนฐานของนักเรียน
                   - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือ ชั้น 6-9 กลุ่มนี้จะเรียนวิชาพื้นฐาน 13 วิชา
                   - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือชั้น 10-12 เป็นการศึกษาต่อเนืองจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่จะเจาะลึกและมีการสอบจบ ถ้าผ่านจะได้ใบประกาศ มีจุดประสค์เพื่อเตรียมนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย
            3. การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ มีเทียงเคยงทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย เป้นการศึกษาที่เน้นการประกอบอาชีพ แบ่งเป็น 2 ระดับ
            4. การศึกษาระดับอุดมศึกา แบ่งเป็นระดับอนุปริญญา และระดับปริญญา โดยระดับปรญญา เรียน 4 ปี  ระดับบัณฑิตศึกษา(ปริญญาโท) และระดับปริญญาเอก..
             ทั้งนี้ในการศึกาาสามัญ 12 ปี ของเวียดนามนั้นเวียดนามมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้มีวิญญาณในกความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ...

              - บางส่วนจาก บทความ เรื่อง "การจัดการการศึกษาในประชาคมอาเวียน และคู่เจรจา : สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และลาว : จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และนิวซีแลนด์
           

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)