ได้มีการประชุมหารือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือด้านการศึกษา โดยการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ การพัฒนาหลักสูตรอาเวยน การโอนหนวยกิตในระดับอุดมศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยของประเทศสมาชิกอาเซียนที่อยุ่ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเวียนโดยจะมีการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการศึกษาเป็นประจำทุกปี การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการศึกษา และการประชุมกับประเทศบวกสาม รวมถึงการประชุมในกรอบของซีมีโอด้วย
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุดสอาเซยนด้านการศึกษา ครั้งที่ 6 ในปี 2555 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ การติดตามความคืบหน้าและการดำเนินโครงการต่างๆ การพัฒนาและความคือบหน้าด้านการโอนหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา ภายใต้กรอบของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเวยน
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับรองแผนงานด้านการศึกษา 5 ปี ซึ่งเปฯแนวทงความร่วมมืออาเซียนด้านการศึกษา มีสาระสำคัญ 5 ประการ คือ
1. การร่วมมือกันสร้างความตระหนักรู้
2. การเพ่ิมการเข้าถึงการศึกษาในระดับประถมและมัะยมศึกาษาที่มีคุณภาพ
3. การยกระดับคุณภาพการศึกาา เพิ่มมาตรฐานการศึกษา สงเสริมการเรียนรู้ตลอดชีงวิต และารพัฒนาาขาอาชีพ
4. การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านการข้ามแดนและความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการศึกษา
5. การสนับสนุนองค์กรเฉพาะสาขาอื่นๆ
ในส่วนของไทย กระทรวงศึกษาธิการเป็นหนวยงานหลักในการประสานงานด้านการศึกษากับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในระดับเจ้าหน้าที่อวุโสและระดับรัฐมนจรีด้านการศึกษาอาเซียน และมีโครงการต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้อาเซียน อาทิ เช่น โครงการโรงเรียน สปิริต ออฟ อาเซียน โครงการ อาเซียน โฟกัส สคูล โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน และการจัดทำหนังสือ คู่มือเกี่ยวกับอาเวียน ทั้งนี้จากการประสานกับประทรวงศึกษาธิการทราบว่า รมว.ศธ. ได้กำหนด 22 นโยบายหลักด้านการศึกษา (ซึ่งเป็นผลจากการประชุมหน่วยงานภายในของกระทรวงศึกษาธิการ ในปี 2555)
นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านการศึกษาที่สำคัญยังอยุ่ภายใต้กรอบความร่วมมือขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีมีโอ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือด้านต่างๆ กับอาเซียนด้วย โดยศูนย์ภูมิภาคซมีโอด้านอุดมศึกษาและการพัฒนา ตั้งอยุ่ทีประเทศไทยและทำหน้าที่ในกาส่งเสริมความร่วมมือระดับอุดมศึกษาและจัดการอบรม วิจัยที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของภุมิภาค ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ ซึ่งมีการสอนและฝึกอบรมหลักสุตรด้านโบาณคดีและประเพณีของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 7 รัฐมนตรีศึกษาฯ ของอินโดนีเซยนในฐานเจ้าภาพจัดการประชุม และประธาน ASED ได้จัดพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีณ พ้อมกับเชิญนาย เดวิด คารเดน เอกอัครราชทุตสหรัฐฯ ประจำอาเซียน และ แอนโทนี่ มิลเลอร์ รองปลัดกระทรวงศึกษาสหรัฐฯ เข้ารวมพิธีเปิดตัวคู่มือการจัดทำหลักสูตรอาเซียน อย่างเป็นทางการ ซึ่งคู่มอืดังกล่าวได้ยกร่างขึ้นภายใต้การสนับสนุของ USAID และคณะทำงานของประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันพิจารณา มีการปรับปรุงแก้ไขจนเป้นผลสำเร็จ
สาระสำคัญ 5 ประการของคู่มือการจัดทำหลักสูตรอาเซียน คือ 1 เรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน 2 คุณต่าของอัตลักษณ์และความหลากหลาย 3 ความเชื่อมโยงของโลกและท้องถ่ิน 4 การ่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม 5 ความร่วมมือกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยือ และได้ยกตัวอย่างเนื้อหาวิชาที่จะบรรจุเรืองอาเซียนไว้ ได้แก่ วิชาประวัติศาสตร์และสังคม วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ จริยธรรม ภาษา ศิลปะ สุขศึกษา เทคโนโลยี เป็นต้น
นอกจากนี้ ในระดับอุดมศึกาา มีความคืบหน้าในส่วนของการดำเนินงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน ที่สำคัญคือ โครงการระบบการโอนหน่วยกิต ขณะนี้ มีสาขาวิชาที่นักศึกษาสามรถเลือกลงเรียนใระบบการโอนหน่วยกิตในมหาวิทยลัยที่เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลับยอาเวียนไ้ จำนวน 12,270 สาขาวิชา ผู้สมัครในปี 2554-2555 สมัครออนไลน์จำนวน 232 คน สมัครและได้รับการเสนอชือผ่านมหาวิทยาลัยใเครือข่ายฯ จำนวน 137 คน ได้เข้าร่วมดครงการและได้ทุนสนับสนุน จำนวน 51 คน...http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20121218-095816-729162.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น