วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Group Cultural (ASEAN)

            ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของอาเซียน
            ในทางประวัติศาสตร์ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเแียงใต้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจาอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาในระดับที่แตกต่างกัน เช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากจีนเป็นส่วนใหญ่ โดยรวมกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถจำแนกออกเป็ส 3 กลุ่มวัฒนธรรมหลัก ตามลักษณะที่ตั้ง ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ด้งนี้
          - กลุ่มวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ไทย-ลาว-เขม-พม่า-เวียดนาม
            ลุ่มน้ำโขงเป็นที่อยุ่อาศัยของหลายชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกันหลายประเทศนับเป็นแปล่งอารยธรรมที่สำคัญซึ่งมีประเพณี ดนตรี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ทั้งที่มีความคล้ายคลึงและแตกต่าง ด้วยลักษณะทางภูมิาสตร์ที่ใกล้เคยงกัน รวมทั้งมีการไปหาสู่ มีการต้าขาย และกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกันอย่างสมำเสมอและต่อเนื่อง ส่งผลให้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ มีทั้งที่แสดงออกถึงลักษระเฉพาะของตนเอง ขณะที่มีความคล้ายคลึงในบางส่วนของการดำเนินวิุถีชีิวิต กล่าวได้ว่าไทย ลาว กัมพูชามีรากวัฒนธรรมเดียวกัน จึงมีความพ้องของวัฒนธรรมมากว่า พม่าและเวียดนามซึ่งได้รับอิทธิพลจากจีน ในที่นี้ ขอหยิบยกตัวอย่างมรดกร่วมทางวัฒนธรรม อาทิ
             การแสดงรามเกียรติ์ เป็นมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของอาเซยน ต้นเค้าของเรื่องรามเกี่ยติ์น่าจะมาจากเรื่อง รามายณะของอินเดีย ซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เรื่องรามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค ได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกล่ายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฎในหลายๆ ชาติ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกี่ยติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น
           
นาฎศิลป์และดนตรี การแสดงรำของ ไทย ลาว เขมรมีความคล้ายคลึงกัน รวมทั้ง เคืรองดนตรีที่ได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน แต่มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีของประเทศนั้นๆ ทั้งนี้ ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ และลักษระการประกอบอาชีพที่เป็นเกษตรกรรม ส่งผลต่อวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในแถบใกล้เคียงกัน
              ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย และเป็นประเพณีเก่าแก่ซึ่งสืงทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่า "ตรุษ" เป็นภาษาทมิฬ แปลว่า "การสิ้นปี"
           พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จเปลี่ยนทัศนคติ และความเชือไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเย็น ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีกาขอพรจากผุ้ใหญ่ การำลคกและกตัญญุต่อบรรพบุรุษที่ล่งลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพรีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข
            กลุ่มวัฒนธรรม มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ดารุสซาลาม สิงคโปร์
            เป็นกลุ่มประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม แต่ก็มีประชาชส่วนหนึ่งนับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และฮินดุด้วยสัดส่นที่แตกต่างกันไป ตังนั้น วัฒนธรรมประเพณี ศิลปะ การแสดง จะมีความคล้ายคลึงกัน ในขณะที่สิงคโปร์เป็นสังคมผสมผสานระหว่างจีน มาเลย์ อินเดีย ดังน้้น จึงมีความหลากหลายของวัฒนธรรม ตัวอย่างของมรดกวัฒนธรรมร่วมในกลุ่มนี้ ได้แก่
             การใช้ภาษา การแต่งกาย ชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลามจะแต่งกายคล้ายคลึงกัน เช่น กลุ่มคนภาคใต้ล่าง ประชาชนชาวมาเลเซีย อินโดนีเซีย
           
 การแสดงหนังตะลุง หรือ แวแยง ซึ่งหมายถึง ศิลปะการเชิดหนังหรือหุ่นเป็นสิ่งที่สแดงถึงวัฒนธรรมร่วมของประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น ไทย อินโดนีเซีย หนังตะลุงมีต้นกำเนิดมาจากเกาะทั่วไป หนังตะลุงจากทุกที่จะต่างกันอ้วยขนาดรูปร่างและรูปแบบ แต่จะมีความเหมือนกันคือจะทำจากหนังวัวและมีคันชัก และเล่นประกอบดนตรีเคืรองทองเหลืองเช่น ฆ้อง
            ขณะที่สิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งสวนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไ ปชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิม กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ ขณะที่ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น
             กลุ่มวัฒนธรรม ฟิลิปปินส์
             ถึงแม้ว่า ภูมิประเทศของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ จะมีความคล้ายคลึงกัแต่วัฒนธรรมของฟิลปปินส์เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะวัฒนธรรมฟิลิปปินส์ที่ได้รับอิทธิพลจากสเปน ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมมาเป็นะยะเวลานาน ในขณะเดียวกันก็ได้ปสานวัฒนธรรมพื้นเมือง ตัวอย่างของมรดกวัฒนธรรมกลุ่มนั้
             มีการใช้ภาษามากว่า 170 ภาษา นาฎศิลป์ดนตรี สเปนเป็นชาติตะวันชาติหนึ่งที่มายึดครองอินแดนในเอเชียเป็นระยะเวลายาวนาน ดดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์ และสเปนพยายามสร้างฟิลิปปินส์ ซึ่งมีชาวพื้นเมืองเดิมเป็นชาวเกาะที่นับถือศาสนาอิสลามให้เป็นตัวแทนของสเปนในภูมิภาคตะวันออก ด้วยเหตุนี้สเปนจึงนำเาอประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนศาสนาเข้ามาครอบคลุมชาวพ้นเมือง ศิลปะการแสดงตามแบบฉบับของสเปนจึงปรากฎขึ้นในดินแดนของประเทศฟิลิปปินส์และเมื่อชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์ได้มีการติดต่อกับชาวพื้นเมืองมลายูซึ่งนับถือศาสนาอิสลามด้วยกัน จึงทำให้นาฎศิลป์ได้แพร่ขยายเข้ามาในดินแดนมลายูด้วย การแต่งกาย ชุดแต่งกายประจำชาติของฟิลิปปินส์ ชายสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง หญิงแต่งชุดกระโปรงยาว สวมเสื้อแขนสั้นจับจีบ แล้วยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่าชุด ลาลินตาวัก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก
            ประเพณี ฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากสเปนและเม็กซิโก จะเห็นได้จากความเชื่อในศาสนาคาธอลิกงานประเพณีทางศาสนาในทุกปี ฟิลิปปินส์จะมีงานรื่นเริง เรียกว่า บาร์ริโอ เฟียสตาร์ เป็นการฉลองนักบุญของเมือง หมู่บ้านและเขตการปกครองต่างๆ มีการประกอบพิธีทางศาสนา การเดินขบวนในเมืองฉลองนักบุญ การจุดพลุไฟ การประกวดความงาม และการเต้นรำ รวมทั้งมีการตีไก่...
              - http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=4001&filename=aseanknowledge
             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...