วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Malayu Land

              กลุ่มวัฒนธรรม มาเลเซีย-อินโดนีเซีย-บรูไน ดารุสซาลาม-สิงคโปร์
              เป็นกลุ่มประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถื่อศสนาอิสลาม แต่ก็มีประชาชนส่วนหนึ่งนับถื่อศาสนาพุทธ คริสต์ และฮินดุด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ดังนั้น วัฒนธรรมประเพณี ศิลปะ การแสดง จะมีความคล้ายคลึงกัน ในขณะที่สิงคโปร์เป็นสังคมผสมผสานระหว่างจีน-มาเลย์-อินเดีย ดังนั้น จึงมีคตวามหลากหลายของวัฒนธรรม
              ดินแดนคาบแหลมมลายู โดยเฉพาะปลายแหลมมลายูนั้นเป้นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ อาณาจักรศรีวิชัยมาก่อน บนเกาะสุมาตรานั้นเป็นที่ตั้งของเมืองปาเล็มบัง ซึงเมือหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย ได้ลี้ภัยหนีข้าศึก ต่อมาเมืองอาณาจักรศรีวิชัยหมดอำนาจลง จึงลี้ภัยไปอยู่ยังเกาะสิงหปุระหรือสิงคโปร์ในปัจจุบัน อาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา) จึงนำกำลังเข้ายึดเมืองไว้ได้
มะละกา
            เมืองมะละกามีตำนานเล่าว่า พระปรเมศวร หรือสุลต่าน อิสกันดาร์ซาห์ นั้นได้เสอด็จอพยพจากเมืองมูอาร์ เพื่อล่าสัตว์ โดยติดตามสุนัขล่าเนื้อของพระองค์ได้ไล่ตามกระจงได้ปรากฎว่ากระจงตัวนั้นหันกลับมาอย่างกะทันหัน เข้าต่อสุ้กับสุนัขล่าเนื้อของพระองค์แล้วดีดสุนัขจนหนี พระองค์จึงรัสว่า "ตรงนี้แหละเป้นสถานที่ดี ที่จะสร้างบ้านเมือง ด้วยเหตุที่กระจงมันังหันมาสู้กับสุนัขอย่างสุดฤทธิ์" พระปรเมศวรจึงให้ไพรพลของพระองค์ได้สร้างเมืองขึ้นตรงสถานแห่งนี้ และตั้งชื่อเมืองนี้ดามช่ื่อต้นไม้ที่พระองค์ใช้ยืนประทับอยู่คือ ต้นมะละกา ว่าเมื่องมะละกา..
           ต่อมามะละกาก็มีปัญหากับอาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา) และอาณาจักสยามต่างอ้างสิทธิในการครอบครองคาบสมุทรมลายูและดินแดนมะละกา มะละกาจึงยอมที่จะมีสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรสยาม ดดยส่งทาองคำ 40 ออนซื เป็นเครื่องบรรณาการและอาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา) เพื่อสงบสงคราม โดยมีการส่งข้าวมาให้เมืองมะละกา มะละกาจึงหาโอกาสฟื้นฟูเมืองต่อไป
            ต่อมาในปี พ.ศ. 1946 หยินซิง ขันที่ซึ่งเป็นทูตจากจีนนำผ้าไหมมายังมะละกา พระปรเมศวรจึงถือโอกาสขอความช่วยเหลือจาก พระเจ้าเซ็งสูหรือหยุงโล้ จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิง ให้ช่วยป้องกันมิให้อาณาจัการสยามรุกราน ในปี พ.ศ. 1948 ปรเมศวร จึงส่งทุตเมืองมะละกาไปติดตอกับจีน ครั้งนั้นจีนได้รับรองเมือง (เรือสินค้ายอมจ่ายค่าเดินทงผ่าน) ทำให้เมืองมมะละกาเป็นศุย์กลางการต้าขายที่สำคัญ ของคาบสมุทรมลายู เป็นเส้นทางเครื่องเทศจากหมู่เกาะโมลุกกะ ที่จะต้องแวดเมืองท่านี้ ก่อนจะเดินทางไปอินเดียและชวาdooasia.com/thaihistory/h007c005.shtml
           
ภาษามลายูเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมลายู อยู่ในตระกูลภาษามเลโย-โพลิเนเซียน หรือ ออสโตรเนเซียน เดิมที่ผุ้คนใช้ภาษามลายูจำนวนไม่มาก คือ เป็นภาษาของผุ้คนที่อาศัยอยุ่ในแถบคาบสทุรามลาย หมุ่เกาะเรียว และสุมาตราใช้กัน แต่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ว่า ภาาามลายู เป็นภาษาสื่อกลาง ในบริเวณหมู่เกาะมลายูมานานแล้ว อิสมาอิล หามิด สรุปไว้ว่า "ภาษามฃลายู" เร่ิมสร้างประวัติศาสตร์ให้กับตนเองมาตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรมลายูที่เมือง "ฌัมบี" ในสุมาตรา ซึ่งตามหลักฐานจีนบันทึกว่าราชกาณาจักรมลายูฌัมบีนีเคยส่งทูตสันทวไมตรีไปยังพระเจ้ากรุงจีน
               ในสมัยที่อาณาจักรศรีวิชันรุ่งเรืองนั้น ภาษามลายูเปนภาษาสื่อกลางในการสอนภาษาสันสกฤตและและสอนปรัชญาทางศาสนาพุทธ และเป็นภาาาสื่อกลางของผุ้คนซึ่งตั้งถิ่นฐานอาศยอยุ่ในบริเวณหมุ่เกาะมลายู ตลอดจนผู้คนต่างชาติที่ เช่น พวกพ่อค้าจากยุโรป และตะวันออกกลาง รวมทั้งพวกสัญจรไปมาจากอินเดียและจีนด้วย
               ภาษามลายูในยุคต้นนั้นได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียและลัทธิฮินดุมาประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าศาสนาฮินดูได้ผนวกเข้าไปในสังคมของหมุ่เกาะมลายูตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรมลายูฮินดู ราวคริตศตวรรษที่ 1 และเจริญรุ่งรืองมากที่สุดในราว คริตศตวรรษที่ 4 วัฒณธรรมอินเดียจึงมีอิทธิพลและมีบทบาทต่อวิถีชีวติของชนชาติในอาณาบริเวณหมู่เกาะมลายู ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ ที่เป็นฮินดูนี้มาก อีกประการคือชนชั้นปกครองนี้นิยมใช้ภาาาสันสกฤตในชีวิตประจำวัน และภาษาสันสกฤตเป็นภาษาคัมภร์พระเวทย์ที่ผุ้นับถื่อศาสนาฮินดูต้องศึกษา จึงทำให้ภาษาสันสกฤตถูกนำไปใช้ในชวิตประจำวันของผู้คนเหล่านั้นอย่างแพร่หลาย และมีอิทธิพลต่อความเปลี่ยนแปลงของบทบาทภาษามลายูต่อมา.. หลังจากตกอยู่ภายใต้การปกครองของชวา ด้วยคุณลักษณะของภาษามลายูที่ง่ายแก่การนำไปใช้ มีโครงสร้างง่ายๆ ไม่สลับซับซ้อนมากจนเกินไป มีความสะดวกและสามารถนำไปปรับใช้กับภาษาอื่นๆ ได้ดีกว่า จึงทำให้ภาษามลายูมีบทบาทในสังคมของชนชาติที่อาศัยอยุ่ในบริเวณหมุ่เกาะมลายู แลเพียงเวลาอันสั้นเท่านั้น ภาษามลายูสามารถมีบทบาทเหนือกว่าภาษาชวาและภาษาบาตัก
                http://bahasatsu.blogspot.com/2009/06/sejarah-bahasa-melayu.html
อาณาจักรศรีวิชัย
  เมื่ออำนาจของมัชปาหิตเสื่อมลงอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียก็เสื่อมลง ชนชาติต่างๆ ในหมุ่เกาะมลายูในช่วงนี้อยู่ภายใต้อิทธิพลของกษัตริย์มลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่อาณาจักรมลายูที่ศุนยกลางอยู่ที่เมืองมะละกา ตั้งแต่คริสตวรรษที่13 นั้น ภาษามลายู เจริญรุ่งเรืองมากที่สุด และในระยะนี้เองที่ศาสนาอิสลามได้แผ่ขยายเข้าสู่สังคมของชนชาตในบริเวณคาบสมทุรมลายูอย่างรวดเร็ว จนสามารุเข้าไปแทนทีอิทธิพลของวัฒนธรรมฮินดู-พุทธได้สำเร็จ ผลจากการเข้ามาของศาสนาอิสลามในช่วงนี้ทำให้มีการใช้อักษรอาหรับ (อักษรที่เขียนในพระมหาคัมภีร์กุรอาน) ในการเขียนภาษามลายู ที่เรียกว่า "อักษรยาวี" พร้อมกันนั้นก็รับเอาคำภาษาอาหรับที่ให้ความหมายทางธรรมเนียมอิสลามด้วย และมีที่สำคัญยิ่งคือเป็นช่วงที่ภาษามลายูได้วิวัฒนาการเข้าสู่ระดับภาษาแห่งวรรณกรรม และมีความเป็นภาษาศิลป์(วรรณกรรมมลายูเรพ่มมีการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกหลังคริสตวรรษที่ 14)
               ความสัมพันธ์ของโลกมลายูและโลกอาหรับ
               ด้านวัฒนธรรม ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามามีบทบาทในแหลมมลายูปลายศตวรรษที่ 13 นั้น ภูมิภาคแห่งนี้ตกอยุ่ใต้อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ มาก่อน ปัจจุบันร่อยรอยอิทธิพลของศาสนาเหล่านั้นยังพอม่ให้เห็นอยู่มาก ผลจากการเข้ามาของศาสนอิสลามนั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแผลงของสังคมมลายูในหลายๆ ด้าน เช่นการตั้งชื่อของชาวมุสลิม ส่วนใหญ่ใช้ชื่อภาษาอาหรับ อันเป็นชื่อของบรรดาศาสนทูต ของพรเจ้า หรือบุคคลที่มีชื่อเสีย กาแต่งกายก็เช่นเดียวกน ได้รับอทธิพลมาจากอาหรับ เช่นชุดโตป (ชุดยาว) สำหรับผุ้ชาย และชุดญบะฮ์ (ชุดยาว) สำหรับผุ้หญิง
          ในด้านความเชื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงจากความเชื่อในสิ่งศักดิ์ิทธิ บูชาบรรพบุรุษและภูตผี ปีศาจ มาสู่การศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว และที่สำคัญประการหนึ่งของอิทธิพลศาสนาอิสลามต่อโลกมลายู คือ ภาษาอาหรับ อันเป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม ภาษามลายูจึงหยิบยืมตัวอักษรอาหรับและพัฒนากลายเป็นตัวเขียนอักษรยาวี ซึ่งถูกนำมาใช้อย่งกว้างขวางในแหลมมลายู
          ความสัมพันธ์ทางด้านภาษา ภาษาอาหรับมีอิทธพลมากในโลกมลายู อันเนื่องมาจากอิทธิพลทางศาสนาดังที่กล่าวมาข้างต้น
ต้นมะละกา หรือ มะขามป้อม
           อักษรยาวี ภาษามลายูที่ตัวภาษา หรือเนื้อภาษาเท่านั้น ไม่มีตัวเขียนเป็นของตัวเอง จึงต้องอาศยตัวเขียนของภาษาอื่น ในปัจจุบันึงพบว่ามีตัวเขียน หือลักษณะอักษรอยู่ องชนิดคือ ลักษณะที่เป็นอักษรโรมัน เรียกว่า แบบรูมี และลักษณะที่เรียกว่าแบบยาวี  คำยืมจากภาษาอาหับ มีอย่างกว้างขวาง ชาวมลายูสวนใหญ่ไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่ แต่สามารถอ่านภาษาอาหรับที่เป็นภาษาคัมภีร์อัลกุรอ่าน และเอกสารที่เกี่ยวกับศาสนาได้ นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์ทางภาษาทางด้านวรรณกรรม และวรรณคดีอีกด้วยhttp://www.islammore.com/view/1175
               
 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มลายุตกอยุ่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ นั้นยังใช้ภาษามลายูในการติดต่อราชการ สำหรับพวกเจ้าหน้าที่ต่างชาติที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ดังกล่าวนี้ก็มีการบังคับให้เรียนและจะต้องสอบวิชาาภาษามลายูให้ผ่านก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งด้วย เจ้าหน้าที่เหล่านี้บางคนได้กลายเป็นนักวิชาการและผุ้เชียวชาญทางด้านภาษมลายูในเวลต่อมา
            หลังสงครามโลกครั้งีที่ 2 เมื่อเจ้าหน้าที่อังกฤษที่มาจาฝ่ายทหารเข้ามาเป็น "เจ้า" ปกครองแผ่นดินซึ่งปรากฎว่าไม่เพียงแต่ภาษามลายูเท่านั้นที่ถูกทำลาย หากวิถีของผุ้คนในประเทศก็ถุกทำลายด้วยเช่นกัน ภาษามลายูในสมัยั้นมีฐานเป็นเพียงภาษาของชนชั้นต่ำ และใช้เป็นภาษาในการเรียนการสอนเฉพาะในโรงเรียนระดับต้น และโรงเรียนอาหรับส่วนพวกชนชั้นสูงจะใช้ภาษาอังกฤษ และแม้แต่ในรัฐต่างๆ ที่อยู่ในสหพันธรัฐ ก็ใช้ภาาอังกฤษในการติดต่องานราชการด้วยงานวรรณกรรมที่เขียนขึ้นในช่วงนี้จึงเป้ฯผลงายของพวกปัญญาชนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนมลายู หรือโรงเรียนอาหรับ
              ในสมันนี้เองภาษามลายุจึงเริ่มมีความสัมพันธ์กับภาษาของชาติตะวันตก โดยมีการยืมคำโปรตุเกส ฮอลันดา และอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีการรับเอาภาาาจีน ทมิฬ อาหรับและเปอร์เซียอีกด้วย...http://bahasatsu.blogspot.com/2009/06/sejarah-bahasa-melayu.html
             






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...