วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Drug Matters

             ในบรรดาปัญหาของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นอกจากปัญหาการระบาดของโรค
ติดต่อร้ายแรง เช่น การติดเชื่อเอชไอวี โรเอดส์แล้ว ปัญหายาเสพติดยังเป้นอีกปัญหาหนึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงต่อประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมากเช่นกัน เนื่องจากยาเสพติดจะทำลายศักยภาพของประชาชนและเยาวชนอาเซียนและจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการพัฒนาในอนาคต หากพิจารณาลักษระและความเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดของประเทศต่างๆ ในอาเซียน  ซึ่งแบ่งเป็น
              ประเทศที่มีสถานะผุ้ผลิตยาเสพติด ได้แก่ เมียนมาร์ ซึ่งเป็นผุ้ผลิตฝิ่น เฮโรอีน ยาบ้า และไอซ์
              ประเทศที่มีสถานะเป็นทางผ่านยาเสพติด หรือเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดจากแหล่งผลิตในเมียนมาร์ไปยังประเทศอื่นๆ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพุชา เวียดนาม มาเลเซีย
           
ประเทศที่มีสถานะเป็นผุ้บริโภคหรือเป็นแหล่งแแพร่ระบาดยาเสพติด ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
              สาเหตุที่ไม่มีประเทศบรูไนและสิงคโปร์ ปรากฎในการจำแนกหลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เนื่องจากเป้นประเทศที่มีปัญหายาเสพติดน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเวียน แต่ก็ไม่ได้หมายคึวามว่าต่างก็เป็นประเทศที่ปลอดยาเสพติดอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากเมื่อศึกษาข้อมุลเกี่ยวกับลักษระของปัญหายาเสพติดหลักที่แพร่ระบาดในประศสมาชิกอาเซียน และการดำเนินงานของอาเซียนจะพบว่า
            - พ.ศ. 2519 มีการประกาศปฎิญญาอาเซียนว่าด้วยหลักการในการต่อต้านการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิด
            - พ.ศ.2541 มีการประกาศปฎิญญาว่าด้วยการปลอดยาเสพติดในอาเซียน พ.ศ. 2563
            - พ.ศ.2543 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห้นควรให้ร่นเวลาการปลอดยาเสพติดในอาเวียนจากปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2558
แอมเฟตามีน
            - พ.ศ. 2548 มีการยกร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อต่อต้านการลักลอบค้่ายาเสพติด
            - พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่อาวุโสอเาซียนด้านยาเสพติดให้การรับรองแผนปฏิบัติการอาเซียนเพื่อต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด
            - พ.ศ.2553 มีการกำหนดเกณฑ์วัดผลสำหรับการดำเนินงานการปราบปามการผลิตและการลักลอบลำเลียงยาเสพติด ได้แก่
                   การขจัดเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการผลิตยาเสพติด
                 
 การขจัดเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบลำเลียงยาเสพติด
                   การขจัดการลักลอบและการนำสารตั้งต้นไปใช้ในการผลิตยาเสพติด
                   การส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดนและการปฏิบัติการด้านการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
               เพื่อให้การปราบปรามการผลิตและการลักลอบวำเบียงยาเสพติดเกิดผลในทางปฏิบติ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ใช้ปฏิญญาว่าด้วยการปลอดยาเสพติดในอาเซียน พงศ. 2558 ซึ่งหมายถึง "การดำเนินกิจกรรมการควบคุมยาเสพติดที่ผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ พร้อมทั้งลดผลต่อเนื่องต่างๆ ในเชิงลยอันอาจเกิดขึ้นกับสังคม" เป็นกรอบความคิดหลัก และได้กำหนดกรอบทางยบุทธศาสตร์ไว้ 6 กรอบความร่วมือ ดังนี้
             1. กรอบความร่วมมือในด้านการลดอุปทานยาเสพติด คือการดำเนินการปราบปรามยาเสพติด ทั้งในด้านการข่าว การปราบปรามกลุ่มการต้ายาเสพติด การสกัดกั้นตามท่าอากาศยาน การยคึดทรัพย์สิน ฯลฯ
            2. กรอบความร่วมมือในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงชายแดน คือ การดำเนินงานในด้านการสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน การเสริมสร้างชุมชนตามแนวชายแดนในเข้มแข็ง การจัดระเบียบชายแดน ฯลฯ
            3. กรอบความร่วมมือการลดพื้นที่ปลูกพืชเสพติดด้วยการพัฒนาทางเลือก คือ การใช้แนวทางการพัฒนาทางเลือกตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาลดปัญหาการปลูกฝิ่น
           
4. กรอบความร่วมมือด้านการสร้างภุมิคุ้มกันป้องกันยาเสพติด คือการดำเนินการด้านการป้องกนยาเสพติดในกลุ่มี่กำนดเป็นเป้าหมายร่วม สกัดวงจรของผุ้เสพยาเสพติดรายใหม่ในกลุ่มประเทศอาเซียน
เมทแอมเฟตามีน
            5. กรอบความร่วมมือด้านการแด้ไขผุ้เสพยาเสพติด คือการดำเนินการด้านบำบัดรักษาผุ้เสพยาเสพติด การพัฒนาความพร้อมเมื่อเกิดเงื่อนไขการเคลื่อนย้ายประชากรในกลุ่มประเทศอาเซียน
            6. กรอบความร่วมมือด้านการพัฒนาวิชาการและการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาความร่วมมือในด้านการวิจัย วิชาการ การพัฒนาความร่วมมือด้านนิติวิทยาศาสตร์ต่างๆ ดังกล่าว จะเห็นว่าถ้าทุกประเทศในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนให้ความร่วมมือดำเนินการตามกลยุทธ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง จริงจัง และจริงใจ เชื่อได้ว่าปัญหายาเสพติดในประเทศอาเวียนน่าจะคลี่คลาย ลงได้ตามสมควร ถึงแม้ว่าอาจจะไม่บรรลุถึงเป้าหมายการเป็นอาเวียนปลอดยาเสพติด ภายใน พ.ศ. 2558 ดังที่กำหนดไว้ก็ตามwww.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=4203&filename=index
              ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความร่วมมือกันมากนานแล้วในเรื่องของปัญหายาเสพติด แต่ด้วยสถานกาดรณืของอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบยาเสพติดซึ่งเป้นปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น จำเป้นอย่งย่ิงที่ความร่วมมือในเรื่องนี้ต้องมีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
            อาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบยาเสพติดเป็นอาชญากรรมที่กระทำโดยองค์กรอาชญากรรม มีการทำงานแบบลับ มีกระบวนการซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมกวาดล้าง ด้วยเหตุนี้ในการดำเนินการด้านการสืบสนวนติดตามจึงต้องใช้เทคนิคการสืบสวนแบบพิเศษเข้ามาดำเนินการด้วย
             ในการประชุมสุดยอดผุ้นำอาเซียน ครั้งที่ 21 (2555) ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพุชา มีการับรองปฏิญญาร่วมของผุ้นำอาเวียน เพื่อให้เกิดการเป้นอาเวียนที่ปลอดยาเสพติดในปี 2015 (พ.ศ.2558) ซึ่งเป้นการเลื่อนกำหนดการปลอดยาเสพติดของอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ในการประกาศวิสัยทัศน์ของการเป็นเขตปลอดยาเสพติดอาเวียนภายในปี 2020 ( พ.ศ. 2563) ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดยิยามของ "ประชาคมที่ปลอดยาเสพติด" ว่าหมายถึง การที่สมาชิกอาเวียนสามารถควบคุมปัญหายาเสพติดได้อย่งมีประสทิธิภาพและประสบผลสำเร็จ โดยไม่สงผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตที่เป็นปกติสุขของสังคม
            ประเทศในอาเซียนที่ประสบปัญหาในเรื่องการเสพยาเสพติดในระดับรุนแรง ได้แก่ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ ไทย ในขณะที่ กัมพุชา ชาว มาเลเซีย และเวียดนาม ปัญหาการเสพยาเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับประเทศบรูไนและสิงคโปร์จัดเป็นประเทศที่มีปัญหายาเสพติดน้อย
            การป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบยาเสพติดโดยลำพังเฉพาะประเทศใดๆ จะกระทำได้ยากลำบากเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เนื่องจาก
           - ความหลากหลายของรูปแบบการกระทำผิด กล่าวคือมีการขนส่ง การลักลอบลำเลียงในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม ชเ่น การขนส่งทางทะเล ช่องทางไปรษณีย์ การปลอดแปลงเอกสารเพื่ให้ผ่านพิธีการศุลกากร
            - การกระทำผิดบนพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างประเทศ ผุ้ร่วมกระทำผิดมีมากกว่าหนึ่งเชื้อชาติ การว่าจ้าง มีกระบวนการที่ซับซ้อนโดยที่ผุ้รับจ้างไม่รู้ถึงผู้รับจ้างต้นทางที่แท้จริง
            - กระบวนการระหว่งประเทศในเรื่่องยาเสพติดที่ความล่าช้า เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องพยานหลักฐานและนโยบายของแต่ละประเทศในการให้ความร่วมมือค้นหาพยานหลักฐาน
            - ยังประสบปัญหารเรื่องขอบเขตอำนาจในการจับกุมและดำเนินคดีผุ้กระทำผิดข้ามพรมแดน
            ด้วยเตหุนี้เอง หากประเทศอาเซียนต้องการแก้ไขปัญหารอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบยาเสพติดอย่งจริงจังแล้ว จำเป้นจะต้องร่วมมือกันในการวางกรอบกฎหมายระหว่างประเทศให้มีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การจัดการกับปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติในรูปแบบยาเสพติดมีความคล่องตัวมากขึ้น เพื่อให้คาดหวังได้ว่าการเป็นอาเวียนที่ปลอดยาเสพติดใน พงศ. 2558 เป็นความฝันที่ใกล้ความจริงมากยิ่งขึ้นthailand.prd.go.th/1700/ewt/aseanthai/ewt_news.php?nid=4531&filename=index

           
            -

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...