1. ศึกษาเอกสาร ตำรางานวิจัยและเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซียน รวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ
2. ดำเนินการศึกษานโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซียนรวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
2.1 การศึกษาเฉพาะที่ เป็นการบรรยายถึงสภาวะทางการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซยน .โดยยังมิได้มีการนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศใด ๆ โดยมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้
2.1.1 ขั้นตอนที่ 1 การบรรยายหรือพรรณนา เป็นขั้นตอนการบรรยายเพื่อรวบรวมข้อมุลททางการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซียน โดยไม่ได้พิจารณาสภาพแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งจะพิจารณารวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย รายงานของหน่วยราชการ รายงานการประชุม หนังสือ วารสาร และเว็บไซต์ ฯลฯ
2.1.2 ขั้ตอนที่ 2 การตีความ เป็นขั้นตอนการตีความข้อมุลต่างๆ ที่บรรยายไว้ในขั้นตอนที่ 1 มาอธิบายโดยอาศัยความรุ้จากศาสตร์ แขนงอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางการศึกษาในแว่ประวัติศาสตร์ การเมืองาการปกครอง เศรษฐศาสตร์หรือในแง่สังคมและวัฒนธรรม เป็นต้น
2.2 การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ เป้นการนำข้อมูลเรื่องราวเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเวยนรวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ มาเปรียบเทียบและวิเคราะห์สรุปให้เห็นว่า นโยบาย การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศต่างๆ มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือแตกต่างกันอย่างไร และสิ่งใดเป็นปัจจัยทีให้นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีความคล้ายคลึงกัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากข้อ 2.1.1 และ 2.1.2 มาเทียบเคียง เพื่อตรียมการวิเคราะห์เปรียบเทียบในขั้นตอนต่อไปซึงมีกระบวนการ 4 ขั้นตอน ดังนี้
2.2.1 ขั้นตอนการบรรยาย เป้นขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซียน รวมทั้งสิ้น 10 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน
2.2.2 ขั้นตอนการแปลความ เป้นขั้นตอนการอธิบายข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาจากข้อที่ 2.2.1 โดยวิธีเชิงสหวิทยาการมาอธิบายองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อระบบการศึกษาของประเทศนั้นๆ
2.2.3 ขั้นตอนการเทียบเคียง เป็นขั้นตอนการจัดระบบข้อมูล กำหนดหลักเกณฑ์ และการตั้งสมมติฐานเพื่อวิเคราะห์ในเชิงเปรียบเทียบ
2.2.4 ขั้นตอนการเปรียบเทียบ เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์เปรียบเทียบ โดยนำประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเวียน รวมทั่งสิ้น 10 ประเทศมาเปรียบเทียบพร้อมๆ กัน เพื่อพิสูจน์สมมติฐานและทำการสรุปผลการศึกษา
1 การศึกษาเฉพาะที่ ขั้นตอนที่ 2 การตีความ อธิบายโดยกาศัยความรู้จากศาสตร์แขนงอื่นๆ มีการตีความข้อมูลต่างๆ ที่บรรยายไว้ในขั้นตอนที่ 1
การตีความข้อมูลทางการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซียน
- ประเทศไทย การจัดการศึกษามีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกาาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยและประเทศให้เจริญก้าวหน้า การจัดการศึกษาของไยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด โดยมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษบกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัมฯาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า
- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย การศึกษามีรากฐานจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2488 เมื่อได้ประกาศอิสรภาพจัดตั้งสาธารณรับ เพ่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐดังที่ปรากฎในหลักปัญจศีล ในการรวมศูนย์อำนาจ กับการคงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมตามความต้องการของกลุ่มชนที่หลากหฃลายในสังคมและความต้องการร่วมกัน ในการพัฒนาเศราบกิจและสังคมด้านต่างๆ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่าศาสนากับการจัดการศึกาานั้นเป้นลักษระเด่นเฉพาะของอิโดนีเซีย ในการักษาปฏิสัมพันะ์ระหว่างการศึกษากับศาสนาแบบดั้งเดิมของศาสนาอิสลามซึ่งกลายมาเป็นศาสนาอิสลามซึ่งกลายมาเป็นศาสนาของชนส่วนใหญ่ในประเทศ หลังจากสิ้นอาณาจักรมัชปาหิตในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีต่อรัฐชาติที่เกิดจากการปลดปล่อยตนเองจากลัทธิล่าอาณานิคม และเป้นรัฐชาติที่มีลักษระเป็น "พหุสังคมขนาดใหญ่" ด้านอาณาบริเวณทางภุมิศาสตร์ที่กระจายอย่างกวางขวาง ซึ่งพยายามปรับตัวอยุ่ในโลกยุปัจจุบัน
- สหพันธรัฐมาเลเซีย อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ พ.ศ. 2485-2500 เป็นเวลานานถึง 15 ปี ถึงแม้ว่าในปัจุบันมีการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผุ้นำด้านการบริหารของประเทศและมีสุลต่านต่างๆ ปกครองดูแลรัฐต่างๆ ยกเว้นเกาะปีนัง มะละก ซาบาร์ และซาราวัค โดยมีพระราชธิบดีเป็นประมุขของประเทศ แต่การอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศอังกฤษนานถึง 15 ปี ย่อมมีผลต่อความคิดเห็นการศึกษาและวิถีการดำเนินชีวิตของชาวมาเลเซีย ตังนั้นการจัดการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาจึงยังใช้ระเบียบแบบแผนของประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตาม มาเลเซยเป้นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษาจึงได้รับอิทธิพลของศาสนาอิสลาม
- สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ การจัดการศึกาาในอดีตเน้นการศึกษาในลักาณะไม่เป้นทางการแบบประเทศสเปนโดยปราศจากโครงสร้างที่ชัดเจนรองรับและขาดแคนระเบียบวิธีการต่างๆ ในการเรียนการสอน ตรอบจนมีการตรากฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาใน พ.ศ. 2406 ซึ่งอนุญาตให้มีการจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษาสำหรับเด็กชายและหญิงในเมืองต่างๆ ภายใต้การรับผิดชอบของรัฐบาลท้องถ่ิน กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ชาวฟิลิปปินส์ทุกคนไ้รับเสรีภาพในการเข้ารับการศึกษาโดยเสรีไม่เสียต่าใช้จ่ายใดๆ การสานตอแนวคิดและหลัการ่าด้วยเสรีภาพในการเข้ารับการศึกษาโดยเสรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นี้ยังคงสานต่อมาจนถึงปัจจุบัน
- สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป้ฯประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่ง ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่นแต่มีฐนะทางเศรษฐกิจดี เพราะมีพัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศกลางในการขายสินค้ามีท่าเรือขส่งสินค้าปลอดภาษี ทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ที่ท่าเรื่อน้ำลึกขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง มีประชากรน้อยจึงต้องพึ่งพาเรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการศึกาามาตั้งแต่เร่ิมได้ับอิสรภาพจากระบอบการปกครองแบบอาณานิคมของอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2508 ทุ่มเทการลงทุนในการจัดระบบการศึกาาและระดับประสิทธิภาพทางการศึกษาในทุกระดับในลักษณะที่พยายามสร้างความเป็นธรรมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองเพื่อป้องกันความแตกแยกในสังคม เพื่อให้สิงโปร์เป็นศูนย์กลางอุดมศึกษาระดับสากลแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
- รัฐบรูไนดารุสซาลาม เป็นประเทศซึงมีขนาดเล็กที่สุดทั้งในด้านขอบเขตทางภุมิศาสตร์และจำนวนประชากรแต่มีความมั่งคั่งด้วยระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีภายใต้การกำกับดูแลของรัฐและเป็นประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียนที่อยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเต็มรูปแบบ ในพ.ศ. 2449 บรูไนได้ลงนามในสนธิสัญญายินยอมอยู่เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษอย่างเต็มรูปแบบ เร่ิมมีระบบการศึกษาอย่างเป็ทางการใน พ.ศ. 2459 ด้วยการเปิดโรงเรียนภาษาพื้นเมืองมาเลย์ในเมืองหลวงคือ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน ด้วยข้อจำกัดในลักณะของการับเฉพาะเด็กนักเรียนชาย อายุระหว่าง 7-14 ปี บรูไนไม่มีการจัดทำแผนการพัฒนการศึกษาแห่งชาติ หากแต่ให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาประเทศระยะ 5 ปี ซึ่งในแผนพัฒนาประเทศฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2497 นั้น สาระที่เกี่ยวข้องเป็นการมุ่งเน้นสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จนเป็นที่มาของการจัดตั้งกระทรวงการศึกษาของประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2528 ได้มีการพัฒนานโยบายและระบบการศึกษาแห่งชาติในลักษณะที่อำนวยให้ประชาชนและผุ้ทีพำนักอาศัยอยู่ในประเทศบรูไนอย่างถาวรสามารถเข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนระดับประถมของรัฐโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
- สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป้นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของการต่อสุ้อันยาวนานเคยอยู่ายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ทำให้ได้ับวัฒนธรรมของฝรังเศสไว้หลายประการ จากการเป็นประเทศที่มีประชากรอยุ่กันอย่างหนาแน่น ผ่านการทำสงครามภายในประเทศเป็นเวลานาน ด้วยความแข็งตัวของระบบเศรษฐกิจแบบควบคุมอยู่ที่ศูนย์กลาง ทำให้เวียดนามต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวและเปลี่ยนจากระบบเศรษฐฏิจแบบควบคุมเข้มงวด มาเป็นระบบตลาดเพื่อก้าวพ้นจากปัญหาความยากจนและเพรือเพิ่มศักยภาพทางเศราฐกิจโดยมีการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญส่วนหนึ่งของประเทศ
- สาะารณรับประชาธิปไตยประชาชนลาว บริบททางการศึกษาไม่ว่าจะเป้ฯลักษระที่ตั้ง และสภาพภูมิศาสตร์ องค์ประกอบของประชากร สภาพทางเศราฐกิจและสังคมมีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของประเทศเป้นอย่างมาก นับตั้งแต่ที่ได้สถาปนาเป้นประเทศเอกราชใน พ.ศ. 2518 จากการปกครองของฝรั่งเศส ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่อยมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประถมศึกษา เทคนิคศึกาา และการรู้หนังสือของประชาชน ประชาชนมีอาชีพจำกัดและยากจน ประชากรประกอบดวยชนเผ่าต่างๆ มากกว่า 50 ชนเผ่า และมีความแตกต่างในเรื่องจารีตประเพณีและควมเชื่อถืออยู่อย่งกรจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ดังนั้น จึงทำให้การจัดการศึกษายากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจใหม่เป้ฯเศรษฐกิจการตลาด ทำให้เกิดความจำเป้นในการปฏิรูปหรือปรับเปลี่ยนแนวการจัดการศึกษาในทุกๆ ด้านเพราะจะต้องให้สอดคล้องกับระบบเศราฐกิจและสังคมของประเทศ
- สหภาพเมียนม่า ตั้งแต่ในสมยโบราณสังคมให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยก่อนการศึกษาในวัดเป็นส่ิงที่นิยมและทำให้อัตราการรู้หนังสือของประชาชนอยุ่ในระดับดี แต่เมื่อเข้าถึงสมัยการปกครองโดยอังดฤ อัตราการรู้หนังสือลดต่ำลงเนื่องจากผุ้ปกครองไม่ให้ความสใจมากนัก แต่ยังมีความพยายามในหมูผุ้รู้หนังสือโดยเฉพาะหลังจาก พ.ศ. 2491 ในแนวทางการส่งเสริมด้านการศึกษา เด็กต้องเข้าโรงเรียนซึ่งเป็นบริการที่รัฐมีให้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งนี้ เป้นไปตามกฎหมายกาศึกษาพื้นฐานและกฎหมายการศึกษาของสหภาพเมียนม่า ทั้งนี้ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การเรียนการสอนในวัดยังเป็นแหล่งความรู้สำคัญสำหรับประชาชนในพื้นที่ห่างไกล
- ราชอาณาจักรกัมพุชา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาตั้งแต่ได้รับเอกรชจากประเทศฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2496 ซึ่งจากการเปลียนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคม จึงนำไปสู่การปฏฺรูปการศึกษา รัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พงศ. 2536 ตามข้อตกลงปารีสได้ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาการศึกษามากขึ้น โดยมีความพยายามในการส่งเสริมการศึกาานอกระบบและการศึกษาภาคเอกชนในต่างจังหวัดเสมือนประเทศเสรีนิยมทั่วไป โดยกำหนดให้การศึกษาเป้นสวนหนึ่งของเป้าหายในการลดปัญหาความยากจนของประเทศเพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันทางเศราฐกิจของประเทศสู่ระดับสากลซึ่งมีทรัพยากรมนุษย์เป็นฐาน..
บทความ "นโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศในประชาคมอาเซียนโดยการใช้วธีกาศึกษาเปรียบเทียบเชิงสหวิทยาการของจอร์ช เบอร์เดย์", จุมพล ยงศร, วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช ปีที่ 24 , ฉบับที่ 1 ( ม.ค.-มิ.ย. 2554), หน้า43-58.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น