"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสสัมมทภาณืพิเศษ" ศ.ตร.วาสิลิโอส อี เอฟเทอนาคิส" นายกสมาคมเวิลด์ไดดัก และสมาคใไดดักต้า แห่งประเศเยอรมนี กูรูด้านการศึกษาระัับโลก ถึงประเด็นและทิศทางของการศึกษาในปัจจุบัน
เบื้องต้น "ศ.ตร.วาสิลิโอส อี เอฟเทอนาคิส" หล่าวว่าสถานกาณณ์การศึกษาทั่วโลกในปัจจุบันต้องเผชิญกับส่ิงที่ท้าทาย โดยในช่วงเวลา 40 ปี ที่ผ่านมาถือว่ามีคบวามแตกต่างกับปัจจุบันเป็นอย่งมากโดยเฉพาะเรื่องความต้องการของเด็ก ทำใหต้องเกิดการปฏิรูปาการศึกษาทั่งระบบ เพื่อรับกับการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
"สิ่งที่จะต้องทำในการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย ปรเด็นหลักก ๆ คือการปฏิวัติทฤษฎีการศึกษาระบบการสอนและดิจิทัล ซึ่งในเรื่องของการปฏิวัติทฤษฎีการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของเด็ก การมองว่าเด็กต้องเป็นศูนย์กลาง และระบบที่เป็นตัวกำหนดการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งวิธีคิดแบบเดิมนี้ถือว่าใช้ไม่ได้"
ทฤษฎีใหม่ของการศึกษานับจากนี้ไป คือต้องเปลี่ยนวิธีคิดและเน้นให้การศึกษามีความสัมพันะ์กับสังคมรอบตัว ทั้งการสัมผัส สื่อสาร และติดต่อระหว่างกัน ตัวอย่างเช่น ภาษา ต้องทำให้เกิดการติดต่อระหว่งบุคคลที่ 3 ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการแสดงความคิดเห็นและถกเถียงระหว่งเพื่อนในชั้นเรียน ฉะนั้น ความรุ้ที่เกิดขึ้นจะป็นการข้ามกันไปข้ามกันมา ทัเ้งระหว่างครู นักเรียน และผุ้ปกครอง ซึ่งจากรายงาน Co-Construction ของนิวซีแลนด์ ระบุว่า วิธีการใหม่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรุ้สูงมาก
Worlddidac Asia |
ทั้งนี้ "ศ.ดร.วาสิลิโอส อี เอฟเทอนาคิส" กลาวเพิมเติมว่า เมื่อวิะีการเปลี่ยน ทั้งวิธีการเรียน วิธีการสอน จะทำให้ทั้งเด็ก และครูตื่นตัวอยุ่เสมอ แต่ส่ิงสำญต้องทำให้เกิดบรรยากาศการมัส่วนร่วมในชั้นเรียน ทั้งการถกประเด็นการแสดงความคิดเห็น เพ่อการกระตุ้นการเรียนรุ้ในอีกทางหนึ่ง
"วิธีการสอนใหม่ต้องมีการแบ่งอายุ เพศ วัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการกำหนดรายละเอียดที่มีความแตกต่างกัน ซึงการแบ่งแยกนี้จะทำให้เกิดการกำหนดวิธีกาเรรยนรู้ของแต่ละบุคคล โดยทฤษฎีใหม่จะเนนความสามารถในด้านเด่ินของเด็กมากขึ้น เพราะมนุษย์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงจุดด้อยได้"
ฉะนั้น จะต้องพัฒนาจุดเด่นให้ดีขึ้น เข้มแข็งขึ้น ที่สำคัญแนวทางนี้จะเื้อใเห้เกิดการเรียนรุึ่ให้กับคนทุกกลุ่ม สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกาา แม้ว่าการเรียนรุ้ซึ่งกันและกันของคคนจะเป็น่ิงสำคัญ แต่ประเด็นของเรื่องดิจิทัล และเทคโนโลยีก็ถือเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู่เนื่องจากเทคโนดลยีปัจจุบันสามารถบันทึกข้อมุลสถิติของพัฒนาการการเรียนรู้ได้ ซึ่งสามารถนำข้อมุลเห่านั้นมาวิเคราะห์ เพื่อการสร้างรูปแบบของการเรียนรู้ได้
"ศ.ดร.วาสิลิโอส อี เอฟเทอนาคิส" กล่่าวเพิ่มเติมอีกวา นอกจาก 3 ประเด็นที่จะต้องทำในการปฏิรูปการศึกษาแล้ว ประเด็นเรืองของความเท่าเทียมและการเข้าถึงทางการศึกษา ยังเป็นประเด็นท้าทายของรัฐบาลและนักการศึกษาทั่วโลก ทั้งเรื่องของประสิทธิภาพและคุณภาพของการเตรียมนักเรียนให้พร้อม เป็นบุคลากรที่มีความสามารถสำหรับดลกและเศรษบกิจของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการยกระดับความสำคัญของอาชีวศึกษาที่ไม่ใช่เพียงเป็นเรื่องชของการเพ่ิมศักยภาพทางการสอน แต่ตวมถึงการสร้างการยอมรับศักดิ์ศรีและบทบาทสู่สายตาสาะารณชน
"สำหรับประเทศไทยและประเทศในอาเซียนถือว่ามีปัฐหาคลายกันในประเด็นของอาชีวศึกาาทั้งเรื่องการไม่เป้นที่ยอมรับเท่าที่ควรในสังคม การขาดแคลนครู อาจารย์ที่มีคุณภาพและเครื่องมือการสอนที่เหมาะสมที่สำคัญคือเรื่องของกรอบความคิด โดยเฉพาะเด็กนักเรียนที่เรียนดีที่มักจะเลือกเรีวนสายสามัญมากกว่าที่จะสนใจอาชีวศึกษา ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ควรเปลี่ยแปลงไป"
อย่างไรก็ตาม ประเทศในอาเซียนต่างตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ดีอยู่แล้ว ดังนั้น การเตรียมความพร้อมทีจะนำเรื่องอาชีวศึกาาให้เป็นหนึ่งในสาระสำคัญ เพื่อรับความเปลี่ยนแปลงของประชาคมอาเซียนที่เปิดกว้างของตลดาแรววาน จึงเกิดความพยายามที่จะทำให้มีการยอมรับสถานภาพของนักศึกษาอย่างเท่าเทียมกันในกลุ่มประเทศอาเซียน
"ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคื อประเทศไทยและลาว ซึ่งได้ทำงานร่วมกันในเรื่องของอาชีวศึกษา โยทำความตกลงในการเป็นโรงเรียนเครือขายกันของสองประเทศใเรื่องของอาชีวะ ซึ่งรัฐบาลลาวให้ความสำคัญเรื่องอาชีวศึกษาเป็นอย่งดี โดยมีการกำหนดวบประมาณที่เพิ่มขึ้น ละมีการให้เงินเดือนแก่นักเรียนที่พร้อมจะทำงานในขณะที่ศึกษาอยุ่ด้วย
"ศ.ดร.วาสิลิโส อี เอฟเทอนาคิส" กล่าวอีกว่าเรื่องปัญหาของคุณภาพของครู และเทคนิคการสอนของกลุ่มประเทศอาเซียนนับว่าเป้นประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งเด่วย รวมไปถึงการสอนและอุปกรณ์การเรียนทีมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงโอกาสฝึกงานที่ดี ซึงรัฐลาลทุกประเทศควรไให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น
ส่วนอุปสรรคของการพัฒนาด้านการศึกษา คือการขอดแคลนสถิติ และข้อมุล ที่แม่นยำ และทันเหตุการณ์ โดยเฉพาะเรื่องการลงทุนทางเทคโนดลยีและอุปกรณ์การเรียนการสอน ซึงประเทศในอาเซียนอย่าง สิงคโปร์ ถือเป็นผุถ้นำในเรื่องการลงทุนในอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างเห็นได้ชัดและสำหรับประเทศไทยมีความพยายามในการลงทุนในเรื่องนี้มากขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้ สมาคมเวิลด์ไดดัก และไดดักต้านับเป็นสมาคมที่มีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสอนและการเรียน ซึงในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรมสนับสนุนและพัฒนาระบบการศึกษาสากล ทั้งงานไดดกต้า งานแสดงวัสดุ อุปกรณ์สื่อเทคโนโลยี การเรียนการสอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เมืองโคโลญจ์ ประเทศเยอรมนี และงานเวิลด์ไดดัก เอเชีย ที่ฮ่องกง (2016)
- www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1453357879
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น