วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Bahasa : Interview ( Hilang Bahasa, Hilang Bangsa, Hilang Bangsa Hilang Agama)

            หลังจากความรุนแรงปะุทขึ้น เมื่อสิบกว่าปีก่อน มีการณรงค์ในหมู่คนท้องถ่ินให้เกิดการฟื้นฟูภาษามลายูและตัวอักษรยาวี พร้อมกับการรณรงค์เผยแพร่มลายูปาตานีให้แพร่หลาย ผู้สนับสนุนภาษามลายูมักล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า Hilang Bahasa, Hilang Bangsa, Hilang Bangsa Hilang Agama ถอดความได้ว่า "ชนใดไร้ภาษา ชนนั้นสิ้นเชื้อชาติ เมื่อสิ้นเชื่อชาติ ย่อมสิ้นศานา
             ทวีพร คุ้มเมธา ผุ้สือขาวประชาไท รายงานการใช้ภาษาและอัตลักษณ์มลาูกับความขัดแย้งและความรุนแรงเกี่ยวพันในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยสัมภาษณ์ อาณา ชินทาโร (Hara Shintaro) ผู้เชี่ยวชาญภาษามลายูและนักวิจารณ์การเมืองในภาคใต้ ชินทาโรเป้นนักวิชาการชาวญี่ป่นุที่อาศัยอยุ่ภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2542 และสอนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีเป็นเวลาหลายปี ในปัจจุบันเป็นนักวิชาการอิสระด้านมลายูศึกษา เขานิยามตัวเองว่าเป็นคนนอกที่อยู่ "ภายใน" ชุมชนปาตานี
             ประชาไท เป็นหนังสือพิมพ์ ออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2547 โดย จอน อึ้งภากรณ์ นำเสนอข่าวสารทั่วไป โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสังคม การเมือง สิทธิมนุษยชน บทสัมภาษณ์และข้อเขียนของนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว องค์กรสิทธิ และองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้อำนวยการปัจจุบันคือ จีรนุช เปรมชัยพร บรรณาธิการคตือ ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
             ประชาไท เป็นเว็บไซต์ที่มีผุ้เข้าชมจากประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 3,889 (ปี 2557) จากการจัดอันดับโดยอเล็กซา..
             เว็บบอร์ดประชาไท เป็นพื้นที่แยกต่างหากจกหนังสือพิมพ์ประชาไท ที่เปิดเพื่อให้สาธารณะแลกเปลี่ยนกันเรื่องสังคมและการเมือง เว็บบอร์ดประชาไทปิดตัวลงเมือ 31 กรกฎาคม 2553 โดยจรีนุช เปรมชัยพร ให้เหตุผลในจดหมายถึงผุ้อ่านและสมาชิกเว็บบอร์ดว่าเป็นเพราะสถานการณ์การจับกุมผู้โพสต์แสดงความคิดเห็นในพื้นที่ออนไลน์เกิดขึ้นอย่างต่อนเนื่องในช่วงดังกล่าว ทั้งนี้เป็นข่าวและไม่เป็นข่าวจากข้อกล่าวหา "เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ" ด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎหมาอาญามาตรา 112...th.wikipedia.org/wiki/ประชาไท
           
ทวีพร : คุณเห็นว่าสถานการณืของภาษามลายูในปาตานีในปัจจุบันเป็นอย่างไร ?
ชินทาโร : ในด้านคุณภาพ ผมของอะิบายว่า ขณะนี้แทบจะไม่มีเจ้าของภาษามลายูปาตานีที่สามารถสนทนาเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาไทย ทั้งในรูปแบบของการยืมคำหรือวลร กรเปลี่ยนรหัสภาษา Code-Switching หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนภาษา Language Shift
           นี้คือความจริงที่ขมขื่นมาก แต่ที่สำคัญคือ ภาษามลายูปาตานีอ่อนแอ ผมอธิบายว่า ภาษามลายูปาตานีเข้าชั้นผุ้ป่วยไอซียู จำนวนผุ้พุดภาษามลายูปาตานีกำลังลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองและคลังคำก็ลดลงด้วย เพราะคำเดิมถูกแทนที่ด้วยคำยืมจากภาษาไทยจำนวนมาก จนกระทั่งการสนทนาระหว่างผู้ใช้ภาษามลายูปาตานีกับภาษามลายูแบบมาเลเซียหรืออินโดนีเซียนั้นเข้าใจกันยากแล้ว จำนวนผุ้ที่ไม่สามารถเขียนหรืออ่านภาษามลายูปาตานีเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ และสังเกตได้ว่ามีการใช้อักษรไทยเป้นตัวเขียนภาษามลายูปาตานีในสื่อสังคมออนไลน์อย่างชัดเจน
ทวีพร :     ภาคประชาสังคมอภิปรายเรื่องการส่งเสริมกรใช้ตัวอักษรยาวี ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เฉพาะในปาตานีบางคนลอกว่าคนปาตานีควรละทิ้งตัวอักษรและนำตัวอักษรรูมี (อักษณโรมัน) มาใช้ เืพ่อให้ทันกับโลกมลายูทีเหลือ คุณคิดอย่างไร ?
ชินทาโร : ผมสนับสนุนการใช้อักษรยาวีเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง ประการแรก ประสบการณ์ในอดีตของ ชาวมลายูปาตานีแตกต่างจากผุ้พุดภาษามลายูในประเทศมาเลเซียหรือประเทศอินโดนีเซีย เช่น เขาใช้ตังอักษรโรมันอย่างเป้นทางการเมืองประเทสเป็นเอกราช แต่ชาวมลายูปาตานีไม่เคยมีการจัดระบบการเรียนรู้อักษรโรมันอย่างเป็นระบบ ในทางตรงกันข้ามอักษรยาวีเป็นที่แพร่หลายและใช้ในสถาบันการศึกษาตามขนบจารีตในพื้นที่ เช่น ในโรงเรียนตาดีกา และโรงเรียนปอเนาะ
         
มวีพร คุ้มเมธา
ดังนั้น การใช้ระบบกาเรขเียนใหม่หรือระบบการเชียนที่ใช้ตัวอักษรต่างประเทศ เช่น อักษรโรมันหรือระบบการเขียนด้วยอักษรไทยที่มีคนคิดขึ้นมา (ซึ่งผมต่อต้านโดยสิ้นเชิง)  ไม่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติเท่ากับการส่งเสริมอักษรยาวี ซึ่งอย่งน้อยคนส่วนมากในพื้นที่ยังอ่านได้ เมื่อเรามีระบบการเขียนที่ใช้กันในวิถีปฏิบัติแล้ว และเราจะนำสิ่งอื่นเข้ามาเพื่ออะไร
            นอกจากนี้ อักษรยาวียังมีคุณค่าทางวัฒนธรรมบางอย่างผูกพันกับอัตลักษณ์มลายูปาตรนีอักษรยาวีได้สูญเสียสถานะของการเป้ฯระบบการเขียนหลักในส่วนอื่นๆ ของโลกมลายู แม้ในประเทศมาเเซียที่เคยใช้อักษรยาวีกันอย่างแพร่หลาย ในขณะนี้ปาตานีคือสถานที่เดียวในโลกมลายู ซึ่งภาษามลายูเขียนด้วยอักษรยาวีมีสถานะเด่นกว่าภาษามลายูเขียนด้วยอักษรโรมัน
ทวีพร :      คุณคิดว่าความพยายาสนับสนุนอัตลักษณ์มลายูของรัฐไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ?
ชินทาโร :  ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แต่ก็เหมือนกับนโยบายที่ดีอื่นๆ คือไม่ได้นำไปปฏฺิบัติอย่างทั่วถึง
                   ศูนย์อำนวนการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) โดยเฉพาะสมัยที่พันตำรวจเอก เอกทวี สอดส่อง เป็นเลขา ศอ.บต. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษามลายู รวมทั้งการจัดตังสถาบันภาาามลายูแห่งประเทไทย บางคนอธิบายว่าสภานี้เทียบเท่าสถาบันภาษาและวรรณคดรแห่งชาติมาเลเซีย ด้านหนึ่งก็จริง แต่เราไม่ควรมองข้ามความจริงที่ว่าสถาบันภาษามลายูประเทศมาเลเซียมีการคุ้มครองทางกฎหมายสามชั้น คือสถานะของภาษามลายูเ็นภาษาประจำชาติ ซึ่งบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ มีพระราชบัญญัติภาษาซึ่งกำหนดว่าหน่วยงานภาครัฐทุกแห่งจะต้องใช้าษามลายู และพระราชบัญญัติสถาบันภาษาและวรรณคดีแห่งชาติมาเลเซีย เป็ฯกฎหมายรองรับสถานะของตัวสถาบันเอง ในประเทศไทยสภาภาษามลายูแห่งประเทศไทยไม่มีฐานทงกฎหมายใดๆ รองรับนอกจากนี้ ก็ควรจะเน้น่าการดำเนินการด้านภาษามลายูในประเทศไทยยังอยู่ในระดับผิวเผินมาก ในแง่ของป้ายในหน่วยงานภาครัฐจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่มีป้ายภาษามลายู ป้ายภาษามลายูที่มีอยู่เฉพาะด้านหน้าอาคารแต่ไม่ไม่ป้ายภายในอาคาร
ทวีพร : สถานการณ์ภาษามลายูในประเทศอื่นๆ เป็นอย่างไร และได้รับผลกระทบจากการเป็นอาณานิคมอย่างไร ?
ชินทาโร : เนื่องจากมาเลเซียและอินโดนีเซียได้รับเอกราช ภาษามลายู (มาเลเซีย) และภาษาอินโดนีเซียได้รับเลือกให้เป็นภาษาประจำชาติ ภาษามลายูมีสถานะชัดเจนระบุไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศทั้งสอง จากนั้นรัฐบาลของทั้งสองประเทศก็ส่งเสริมภาษาอย่างแข็งขัน ด้วยนโยบายภาษาเชิงสร้างสรรค์และการวางแผนภาษา กระบวนการนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับภาษา เช่น ภาษามลายูซึ่งขาดโอาสในการพัฒนาในช่วงเวลาล่าอาณานิคมที่ผ่านมานับร้อยๆ ปี เพราะภายใต้อาณานิคม ภาษาพื้นถิ่นไม่ได้รับสถานะทางการใดๆ ภายใต้การบริหารของเจ้าอาณานิคมหรือในการศึกษาาชั้นูงซึ่งยังครอบงำโดยเจ้าอณานิคม
                เมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ เช่นภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาไทยที่ขาดประสบการณือาณานิคม (มแ้ว่าญี่ปุ่นถูกครอบครองโดยสหรัฐอเมริกาเป็นเวลาห้าปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ) ภาษาได้ับการพัฒนาเรื่อยๆ และสามารถนำมาใช้ในทางปฏิบัติได้ทุกสาขา รวมทั้งกิจการภาครัฐ การศึกษาชั้นสูงขึ้นและอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องให้รัฐบาลตั้งใจพัฒนาภาษา แต่ในโลกของชาวมลายู ทุกตารางนิ้ยของแผ่นดินอยู่ภายใต้อาณานิคม ภาษาพื้นถ่ินทุกภาษาถูกตัดโอกาสในการพัฒนา สถานการณ์เปลี่ยนไปต่อเมื่อประเทศเป็นเอกราช และหนึ่งในภาษาท้องถิ่น (ในบริบทนี้คือภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย) ได้รับการยอมรับเป็นภาษาราชการของประเทศการรับรู้นี้จะนำไปสู่สถานะของภาษาที่มีการรับรองในรัฐธรรมนูญ พร้อมกับการพัฒนาและสนับสนุนจากรัฐในรูปแบบของการวางแผนภาษา ภาษาอินโดนีเซียได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จที่สุด้านการวางแผนภาษา จนปัจจุบันเป็นภาษาที่สามาถใช้งานได้จริงเต็มรูปแบบในทุกด้าน เมื่อเทียบกับภาษามลายูที่มีความเข็มแข็ง ภาษามลายูปาตานียังอ่นแอกว่ามาก การใช้ภาษาและคุณภาพภาษากำลังอยู่ในขาลง
ทวีพร : ภาษามลายูมีความสำคัญต่ออัตลักษณ์ปาตานีอย่างไร ?
ชินทาโร : สำหรับคนบางคน ภาษาอาจมิใช้เครื่องบ่งชี้อัตลักษณ์ที่สำคัญที่สุดเสมอไป ในบางสังคมค่อนข้าใช้ภาษาเดียว เช่น ในประเทศญี่ปุ่นหรือสังคมไทย ภาษากระแสหลักคอืภาษาที่โดดเด่น มีความแข็งแรง และเป็นภาษาที่ใช้กันโดยไม่มีการตั้งคำถาม
                 แต่ในโลกมลายู ซึ่งมีการใช้ภาษาแบบพหุภาษา มีผุ้ใช้ภาษาได้หลายภาษาจำนวนมาก ภาษามลายูอยู่ร่วมกันกับภาษาอื่นๆ รวมทั้งภาษาของเจ้าอาณานิคม ในอีกแง่หนึ่ง การสื่อสารในโลกมลายูได้รับประทโยชน์จากการพัฒนาของภาษามลายู เนื่องจากภาษามลายูซึมซับคำยืมจำนวนมากจากภาษาต่างประเทศ รวมทั้งตระกูลภาษาสามชั้นที่สำคัญๆ ที่สุด คือ ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ และภาษายุโรป (โดยเฉพาะภาษาอักงฤษ และในกรณีของอินโดนีเซีย คือภาษาดัตช์)
                 อย่างไรก็ตาม อิทธิพลจากภาษาเจ้าอาณานิคมและการจัดระบบการนำคนนอกเข้าในพื้นที่ โดยเฉพาะคนจีนและอินเดียในยุคอาณานิคม คุกคามสถานะของภาษาพท้นถ่ินในโลกมลายู โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษามลายู การล่มสลายของภาษามลายูจากที่เคยเป็นภาษาทางการของรัฐสุลต่านมลายูในหมู่เกาะและคาบสมุทร จนกลายเป็นเพียงแค่หนึ่งในภาษาพื้นถ่ิน มีผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการพัฒนาของชาวมลายู กล่าวง่ายๆ คือในยุคอาณานิคม ภาาามลายูขาดโอกาสในการพัฒนาไปตามกลาเวลาที่ก้าวล่วงไป จนนักภาษาศาสตร์ชาวมลายู (ซึ่งบังเอิญเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของผม) กล่าวว่า ก่อนมาเลเซียเป็นเอกราช ภาษามลายูเป็นแค่ ภาษาตลาดหรือภาษาร้านน้ำชาที่ปราศจากสถานะใดๆ ทั้งในฐานะภาษาราชการหรือภาษาในสถาบันการศึกษาชั้นสูง"
                 ภายใต้สภานการณ์เช่นนี้ ผมเชื่อว่า มันเป็นธรรมชาติมากที่ภาษามลายูซึ่งชัดเจนว่าถูกคุกคามจากคนภายนอก/เจ้าอาณานิคม จะถูกถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ทางอัตลักษณ์ที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของชาวมลายู และคอนเซปต์นี้ก็สามารถนำไปใช้กับคนมลายูปาตานีได้
                 ที่เป็นเช่นนี้เพราะสถานการณ์เฉพาะในประเทศไทย ชุมชนที่พุดภาษามลายูสามารถหายไปในบางกรณีซึ่งแตกต่างจากส่วนอื่นๆในโลกมลายู ยกตัวอย่างเช่น จังหวัดสตูลเป็นพื้นที่ของผุ้พูดภาษามลายูประมาณหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา แต่ในขณะนี้จะมีเพียงหมู่บ้านที่อยู่ติดกับมาเาเลเซียที่ยังคงพูดภาษามลายู (ในรูปภาษามลายูด้วยสำเนียงสตูล) ชุมชนพื้นเมืองที่พุดภาษามายูในเมืองสงขลา ตามเอกสารที่เจ้าหน้าที่ดัตช์บันทึกไว้ ระบุว่าสงขลามีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นถ่ินที่มีภาษามลายูที่ดี (ดีจนเจ้าหน้าที่ดัตช์ตัดสินใจที่จะศึกษาภาษามลายูที่สงขลา) แต่ภาษามลายูก็สูญหายไปจากสงขลาเป็นเวลานานแล้ว
ทวีพร : มีข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมภาษามลายูในปาตานีอย่างไรบ้าง?
ฮารา ชินทาโร
ชินทาโร : การหายไปของาภาษามลายูไม่ได้เป็นฝันร้ายที่ยังห่างไกลของผุ้คลั่งไคล้ภาษาศาสตร์ แต่เกิดขึ้นในความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่เนื่องจากความจริงที่ว่าภาษามลายูไม่มีสถานะทางกฎหมายไดๆ ในประเทศไทย
                  ที่กล่าวมานี้ไม่ได้หมายความว่า ต้องท้าทายสถานะของภาษาไทย ในฐานะภาษาประจำชาติภาษาเดียว (ซึ่งผมเองก็เคารพข้อนี้เต็มที่) ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะส่งเสริมภาษาใดๆ ย่อมยังคงอยู่ในระดับตื้นเชิน ตราบใดที่ภาษานั้นไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยระบบกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีภาษาอื่นใดี่ไม่ใช่ภาษาไทยได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นภาษาราชการร่วมในท้องถิ่นในปาตานี ถ้าจะทำให้บรรลุได้ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายบางอย่างให้เกิดขึ้นด้วย ต้องเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายเชิงลึกเพื่อส่งเสริมภาษามลายูในปาตานีได้อย่างมประสิทธิภาพ
                  อย่างไรก็ตาม ทัศนคติและการตั้งธงไว้ก่อนของเจ้าหน้าที่ไทยยังเป็นอุปสรรคเสมอๆ ข้อจำกัดในปัจจุบันเกี่ยวกับเสรีภาพในการพูดทำให้สถานการณ์ร้ายแรงมากขึ้น ถ้ามีคนเสนอว่า ควรให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการในท้องถ่ิน ผู้พุดอาจถูกตีตราว่าเป็นผู้เข้าข้างกลุ่มติดอาวธ และอาจจะถูกล่าวหาว่าเป็นภัยคุกคามต่อคตวามม่นคงของชาติ ในระยะยสั้นนี้ อย่าง้อยในด้านหนึ่งรัฐไทยได้สร้างเ่งื่อนไขความขัดแย้งเสียเอง
                  ถ้าเราต้องการส่งเสริมภาษามลายูจริงจังควรเร่ิมดำเนินการขึ้นตอนจ่างๆ ี่จะต้องทำทันที อย่างไรก็ตาม คนในท้องถิ่นส่วนใหญ่มีความสุขแคเพียงการตำหนิรัฐไทยและนโยบายเชิงรุกและปราบปราม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอดีต) ต่อการสูญเสียอัตลักษณ์มลายู รวมทั้งภาษามลายู แต่ยังไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ก่อผลใดๆ นอกจากการเล่ินเกมหาแพะรับบาป ในขณะที่ตัวเองแทบไม่ได้ทำอะไรที่จะส่งเสริมคุณภาพของภาษามลายูในพื้นที่ในทางปฏิบัติ
                 รัฐไทยควรจะฉลาดพอที่จะตระหนักว่าปัญหาภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของตัวตนคนมลายูปาตานี หากรัฐพยายามอย่างจริงใจในการแก้ปัญหานี้ รัฐสามารถลดหนึ่งในเงื่อนไขสำหรับการต่อสู้ของกลุ่มติดอาวุธได้หนึ่งเงื่อนไขเป็นอย่างน้อยprachatai.com/journal/2016/07/66854
                  
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...