ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC มุ่งหวังให้ประชากรอาเซียนมีาภาพความเป็นอยุ่ที่ดี มีความมั่นคงทางสังคม มีการพัฒนาในทุกๆ ด้าน และมีสังคมแบบเอื้ออาทร โดยจะมีแผนงานสร้างความร่วมมือ 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม สทิะิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน การลดช่องว่างทางการพัฒนา
หมวด D 1 ว่าด้วย กาจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกโดยปราศจากผลกระทบต่อหลักการแข่งขันและการพัฒนาเณาฐกิจและสังคมโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักความเท่าเทียม ยือดหยุ่น มีประสทิธิภาพ และหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างโดยสะท้อนถึงสภาพการพัฒนาทางเสณาฐกิจและสังคมของประเทศแตกต่างกัน
มาตรการ
- เพิ่มพูนความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพรือปรับปรุงและเสริมสร้างศักยภาพ ในระดับประเทศและภูมิภาคในการจัดการประเด็นและพันธกรณีที่เกี่ยวข้องกับความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม โดยการวิจัยระดับภูมิภาค การส่งเสริมความตระกนักรับรู้ โครงการส่งเสริมขีดความสามารถและตัวเลือกนโยบายที่มีข้อมูลครบถ้วน
- ส่งเสริมการประสานในการดำเนิงานกับ MEAs ที่เกี่ยวข้องโดยผ่านการกระชับความร่วมมือระดับภุมิภคในกาจัดการมาตรการต่างๆ ที่เีก่ยวข้องกับ MEAs ว่าด้วยเรื่องชั้นบรรยากาศ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สารทำลายชั้นโอโซน และ MEAs ว่าด้วยเรื่องสารเคมีและของเสียที่เป้นสารเคมี
- ส่งเสริมความเข้าใจ/และท่าทีร่วมของอาเซียนใน MEAs และ
- การนำการจัดการแบบภาพรวมไปใช้ในกสรเสริมสร้างควาร่วมมือระดับภุมิภาคด้านสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยข้องรวมถึงนักธุรกิจ นักวิชาการ องค์กรเอกชน และภาคประชาสังคมmnre.stage.symetr.com/th/ascc/d1/
ความตกลงพหุภาคีทางด้านสิ่งแวดล้อม Multilateral Environment Agreement : MEAs
เป็นความตกลงระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างความร่วมมือระดับสากลเพื่อการปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยอาเศัยความรวมมือของประเทศภาคีในการสอดส่องดูแลความประพฤติของประเทศภาคีอื่นๆ
กระแสการต้าโลในปัจจุบันมีแนวโน้มเชื่อมโยงเรื่องสิ่งแวดล้อมกับการต้ามากขึ้นเนื่องจากความตกลงพหุภาคีด้านส่ิงแวดล้อมส่วนใหญ่ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสทิธิภาพ จึงทำให้มีความพยายามที่จะเชื่อมโยงเรื่องการต้าระหว่างประเทศกับการแก้ไัญหาสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยบังคับให้ความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมมีประสทิะภาพมากยิ่งขึ้นยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่มักจะกำหนดมาตรฐานสินค้าที่เข้มงวดโดยเชื่อมโยงไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งพยายามผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนาอืนๆ ปรับเปลี่ยนมาใช้มตรการในระดับที่ใกล้เคียงกัน นโยบายดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยว่าเป้ฯการกำหนดมาตการโดยมีวัตถประส่งค์เพื่อรักาสิ่งแวดล้อมหรือเป็นการกำหนดโดยแอบแฝงไว้ซึ่งากรดีกันทงงการต้าซึ่งขัดต่อหลักการต้าเสรี ความตกลงพหุภาคีทางด้านส่ิงแวดล้อมที่สำคัญๆ ที่มีผลกระทบต่อการต้า ได้แก่
1 อนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ United Nation Framework Convention on Climate Change : UNFCCC มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2537 เพื่อรักษาระดับความหนแน่นของก๊าซเรือนกระจกที่สะสมอยู่ในบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรยต่อโลก โดยจะต้องดำเนินการให้อยู่ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้ระบบนิเวศน์มีเวลาเพียงพอในการปรับตัวและให้เกิดความแน่ใจว่าการผลิตอาหาร ตลอดจนการพัฒนาเศรษบกิจจะไม่ถูกกระทบกระเทือน ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2535 และเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ โดยสมบูรณ์แล้วเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 มาตรการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ UNFCCC ไม่จำกัด/ควบคุมการค้าแต่มาตรการของประเทศภาคีอาจกระทบต่อการค้าได้
2 พิธีสารเกี่ยวโต Kyoto Protocol มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 วัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (ตามภาคผนวก1) ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปะกอบด้วย คาร์บอนไดอกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซต์ และซัลเฟอร์ เฮกซะฟลูออไรด์ ก๊าซในกลุ่มไฮโดรฟลูโอโรคาร์บอน และก๊าซในกลุ่มเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน เข้าสู่บรรยากาศโลกโดยตั้งเป้าหมายให้ต่ำกว่าปริมาณก๊าซที่ปล่อยในปี 2533 ร้อยละ 5 โดยเฉลี่ยให้ได้ในปี 2555 ปัจจุบันประเทศไทยให้สัตยาบันเมือวันที่ 28 สิงหาคม 2545 มาตรการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศภาคีในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วดำเนินการลดปริมาณารปล่อยก๊าซเรือนกระจกจึงส่งผลต่อการเพ่ิมต้นทุนการผลิต, กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ที่อนุญาตให้ประเทศพัฒนาแล้วสมารถดำเนินการร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาจส่งผลต่อการลงทุนในกิจกรรมต่างๆ และก่อให้เกิดตลาดการต้าเครดิตที่เกิดจากการดำเนินโครงการด้วย
3 พิธีการมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน The Montreal Protocol on Substances that Deplet the Ozone Layer มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2532 วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการผลิต การใช้ การจำกัด กาลด หรือยกเลิกใช้สารเคมีที่ทำลายโอโซนในชัี้นบรรยากาศสตารโตสเฟียร์ เป็นข้อตกลงที่ต่อเนื่องจากอนุสัญญาเวียนนา ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าร่วมเป้นภาคีโดยให้สัตยาบันเมือวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้วันที่ 5 ตุลาคม 2532 มาตรการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ข้อจำกัดการปล่อยสารที่ทำลายชั้นบรรยากาศ ซึงสารเคมีที่สามารถทอแทนได้มีสิทธิบัตรในหลายประเทศ ทำให้มีราคาแพง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศกำลังพัฒนาไม่อาจใช้สารทดแทนนี้ในการผลิตเครืองปรับอากาศและตู้เย็นได้เพราะเป้นการเพิ่มต้อนทุนการผลิต, ห้ามการนำเข้าแลสงออกสารเคมีต้องห้ามจากประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคี ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างประเทศภาคีและนอกภาคี
ด้านสารเคมี
4. อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายและการกำจัดของเสียอันตรายข้ามแดน The Basel Convention on The Control of Transboundary Movements of Hazardous Wasted and their Disposal มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2435 จุดประสงค์ เพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบติดตามการเกิดและการเคลื่อนย้าย "กากของเสียอันตราย" โดยกำหนดกลไกในการใช้การแจ้ง และการรับรองการแจ้งล่วงหน้า เกี่ยวกับการนำเข้า หรือการสงออกของเสียอันตรายซึ่งจะครอบคลุมถึง "ขยะอุตสาหกรรม" ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาโดยสมบูรณ์แล้วเมืองันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 และมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2541 มาตรการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ มาตรการเกี่ยว
กับการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามประเทศทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า โดยห้ามประเทศภาคีค้าของเสียอัจรายกับประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคี, มีข้อห้ามการส่งออกสินค้าที่ไม่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อมจนกว่าประเทศผุ้นำเข้าสามารถจะจัดการกับการนำเข้านั้นได้, มาตรการห้ามปล่อยของเสียอันตรายจากเขตการต้าที่ผิดกฎหมายและการปล่อยในที่ที่ไม่เหมาะสม, รัฐมีสิทธิที่จะห้ามการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายและของเสียอื่นๆ ในพื้นที่ของตน, มาตรการภาษี ในการนำกลับเข้ามาใหม่ ถ้าของเสียนั้นไม่สามารถกำจัดได้ในสภาวะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
5. อนุสัญยารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในกาต้าระหว่างประเทศ Rotterdam Convention the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemical and Pesticides in Internatural Trade : PIC มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2541 วัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการนำเข้าและส่งออกสารเคมีอันตรายต้องห้าม หรือจำกัดการใช้อย่างเข้มงวดและสูตรผสมของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงเพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของ
สารเคมี และเพื่อส่งเสริมการใช้สารเคมีอย่างไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2545 และมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 มาตรการที่อาจมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ คือ การจำหน่ายสารเคมีอันตรายส่งไปยังประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรทางการค้า, มาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการนำเข้าและส่งออกสารเคมีในกลุ่มประเทศภาคีอนุสัญญา, หลักการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตราย และสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการค้าระหว่างประเทศ
ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
6. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชวภาพ The Convention on Biological Diversity : CBD มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 วัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 2) เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และ 3) เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จาการใช้ทรัพยากรพัธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม ปัจจุบัน ประเทศไทยลงนามรับรองอนุสัญญาฯ แล้วเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ กรุงริโอ เดอจาเนโร ประเทศบราซิล และให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ โดยสมบูรณ์แล้วเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547 มาตรการที่อาจมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วยมาตรการเกี่ยวกับการต้าจะปรากฎในร่างพธีสารว่าด้วยความปลดภัยทางชวภาพ ซึ่งจะครอบคลุมการเคลื่อนย้าย ดูแลและการใช้สารเคมีที่ได้ผ่านกระบวนการทางชีวภาพที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของส่ิงมีชีวิต ทุกชนิดโดยผุ้ส่งออกต้องได้รับความยินยอมจากผุ้นำเข้าตามกระบวนการที่กำหนด, การใช้ Precautionary Approach ในการพิจารณา
7 อนุัญญาไซเตสว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Floras : CITES มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 วัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยกรธรรมชาติป้องกันการต้าพืช สัตว์คุ้มครอง เพื่อนำไปสู่การจัดการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกโดยสมบูรณ์แล้วเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2526 มาตรการที่อาจมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทสได้แก่ อนุสัญญาฯ ได้กำหนดกรอบปฏิบัติระหว่างประเทศเกี่ยวกับการส่งออกนำเข้า และนำผ่านชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะนูญพันธุ์ เพื่อให้แน่ใจว่าการค้าระหว่างประเทศจะไม่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงที่ชนิดพันธ์ุนั้นๆ จะสูญพันธ์, อนุญาตให้มีการต้ากับประเทสที่ไม่ใช่สมาชิก, กำหนดห้ามค้ากับประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักยุทธศาสตร์การเจรจาการค้า กรกฎา 2554 (Environmment_-_Overview.doc)
วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น