วันเสาร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560

Environmental policy : ASCC

           ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มีเป้าหมายที่จะทำใ้หประชาชนเกิดความตรกหนักรู้ถึงความเป้นประชาคมอาเซียนให้มีความคุ้นเคยต่อกันและรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้ประชาชนในรัฐภาคีอาเซียนมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  โดยแสดวงหารอัตลักษณ์ร่วมมกัน เพื่อที่จะสร้างสังคแห่งการแบ่งปันและใส่ใจระหว่างกัน รวมทั้งทำให้ความเป้นอยู่ของประชาชนคลอดจนสวัสดการต่างๆ ดีขึ้นด้วย
            ความร่วมมืออาเซียนถูกดำเนินการโดยรัฐบาลในยุคสมัยต่างๆ และค่อนข้างขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางจากภาคประชาช เนื่อจากอาเซียนยังมีกลไกที่ไม่ใคร่จะชัดเจนนัก ในการเปิดโอกาศให้ภาคประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วม ดังนั้น นโยบายต่างๆ แม้แต่กฎบัตรอาเวียนที่กำหนดขึ้นมาก็มาจากการกำหนดจากรัฐบาลของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งสิ้น
            ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เน้นให้ความสำคัญในประเด็นของทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนทำให้เกิดความกลมเกลียวในหมู่ประชาชนอาเซียนwww.siamintelligence.com/asean-socio-cultural-community-ascc-blueprint/
              พิมพ์เขียน (Blue Print) ของประชาคมสังคมและวัฒนาธรรมอาเซียน มี ลักษณะสำคัญ 6 ประการ คือ
              - เพื่อให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
              - เพื่อให้มีการคุ้มครองและให้สวัสดิการทางสังคม
              - เพื่อให้เกิดการรักษาสิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
              - เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
              - เพื่อให้สร้างอัตลักษณ์แห่งอาเซียน และ
              - เพื่อลดช่องว่างทางพัฒนา
             โดยในลักษณะสำคัญด้านส่ิงแวดล้อม หรือในหมวด D ข้อย่อย
              D6 การทำการประสานกันเรื่องนโยบายด้านส่ิงแวดล้อมและฐานข้อมูล มีป้าหมายเชิงกลยุทธ : ส่งเสริมความพยายามที่เหมาะสมที่จะประสานนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูลที่ละขั้นโดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมระดับชาติของรัฐสมาชิก เืพ่อสนับสนุนการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและเป้าประสงค์ด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค
         

  มาตรการ
              i. มุ่งไปสู่การดำเนินการตามเกณฑ์สิบสามข้อ อันดับแรก ด้านสิ่งแวดล้อม และดำเนินความพยายามที่จะสร้างหลักประกันเรื่องการประสานในระดับภูมิภาคในเรื่องของการวัด การควบคุมและการรายงาน ภายในปี 2558
              ii. มุ่งมั่นในเรื่องการประสานเรื่องมาตรฐานและ กระบวนการประเมินให้สอดคล้องสำหรับการดำเนินการและโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ภายในปี 2558
              iii. สานต่อการจัดทำรายงานสภาวะด้านสิ่งแวดล้อมตรงตามกำหนดเวลาเพ่ื่อประกอบการจัดทำนโยบายและการจัดการเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
              iv. ส่งเสริมแนวปฏิบัติทางด้านส่ิงแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการจัดการเรื่องสีเขียวในรัฐสมาชิกและพัฒนายุทธศาสตร์ระดับภูมมิภาคสำหรับอาเซียน ภายในปี 2558 และ
              v. ส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคในเรื่องการประเมินยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการขนาดใหญ่และกิจกรรมอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมในภูมิภาคmnre.stage.symetr.com/th/ascc/d6/
              การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2558 สร้างความตื่นตัวให้กับภาครัฐและภาคเอกชนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทางเศราบกิจ สังคม การเมืองและความมั่นคง นักวิชาการหลายท่านได้คาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในประเทศสมาชิกอาเซียน 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ เช่น การพัฒนาระบบขนส่ง โลจิสติกส์และพลังงาน 2. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านกฎระเบียบและกฎหมาย ซึ่งต้องมีการแก้ไขให้เป็นไปตามพันธกรณีของประเทศสมาชิกที่มีอยู่ภายใต้กรอบอาเวียนและต้องกำหนดข้อยอมรบรวมกันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อให้เป้าหมายของการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียนประสบความสำเร็จมากที่สุด
             การเปลี่ยนแปลงที่ 2 ด้าน ส่งผลดีต่อการขยายตัวของการต้า การบริการ และการลงทุนของอาเซียน แต่อาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตและการบิโภคมากขึ้นซึ่งจะก่อใหเ้กิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติต่ออาเซียนในระยะยาว แม้ว่าประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หนึ่งในเสาหลักของประชาคมอาเวียนได้กำหนดให้ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในคุณลักษณะสำคัญของการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และรายงานการประเมินผลครึ่งแผนของแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หนึ่งในเสาหลักของประชาคมอาเซียนได้กำหนดให้ความยั่งยืนด้านส่ิงแวดล้อม เป็นหนึ่งในลักษณะสำคัญของการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และรายงานการประเมินผลครั้งแผนของแผนการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอวซียน ชี้ไให้เห็นว่าประเทศสมาชิกอาเซียนมีระดับความก้าวหน้าตามแผนของอาเซียนในการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นที่น่าอใจ โดย ดัชนีความก้าวหน้าด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศสมาชิกอาเว๊ยนมีการขยับขึ้อย่างต่อเนื่องทุกปี
              แต่หากพิจารณาตัวชัีวัดตามแผนดังกล่าวพบว่า ยุทธศาสตร์ในการบรรลุความยังยืนด้านสิ่งแวดล้อมเน้น "ส่งเสริม"การรักษาสิ่งแวดล้อม และ "ตอบสนอง" ต่อปัญหาส่ิงแวดล้อมมากว่าการกำหนดตัวชี้วัดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม อาทิ การกำหนดคุณภาพแหล่งน้ำสาธารณะ วิธีการจัดการขยะและของเสียอันตราย และสัดส่งนการปล่อยกา๊ซคาณืบอนฯ ซึ่งเป้นมาตการในการป้องกันปัญหาส่ิงแวลลอ้มและสร้าวความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
             นอกจากนี้ เมื่อสำรวจสถานภาพทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมใน
ประเทศสมาชิกอาเซียนพบว่า พื้นที่ป่าไม้ของอาเวียนลดลงจากร้อยละ 55 ในปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 42.7 ในปี 2550 ด้านทรัพยากรดินเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของดินจากการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมและการปนเปื้อนของสรพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพื่ชและปุ๋ยเคม และมีการบุกรุกพื้นที่ป่าซึ่งนำมาสู่ปัญหารการชะล้างพังทลายของหน้าดินและภัยพิบัติทางธรรมชาิตในที่สุ ทั้งนี อาเซียนเป้ฯภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสุงถึงร้อยละ 20 ของโลก แต่พันธุ์พืขชและสิ่งมีชีวิตในประทศสมาชิกอาเซียน ได้แก มาเลเซีย อินโดนีเซียน และฟิลิปปินส์ กลับถูกคุกคามเป็นจำนวนมากที่สุดตลาดจนปัญหาหมอกควันซึ่งเป้นปัญหาข้ามชาติของประเทศสมาชิกอาเซียน
           
แม้ว่าอาเซียนจะบรรลุ "ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลุพิษจากหมอกควัน"ตั้งแต่ปี 2545 แต่อินโดนีเซียซึีงเป็นแปล่งกำเนิดหมอกควันข้ามพรมแดนที่สำคัญกลัยให้สัตยาัน ความตกลงดังกล่าวเมือปี 255ึ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความลังเลของอินโดนีเซียนในการจัดการปัญหาหมอกควันอย่างจริงจัง เมื่อพิจารณากฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายภายในประเทศสมชิกที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพบว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนมีระดับความครอบคลุมและความเข้มงดดของกฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาิตและส่ิงแวดล้อมที่แตกต่างกัน
              โดยบรูไนไม่ได้กำหนดกรอบกำหมายด้านส่ิงแวดล้อมไว้โดยตรง แต่ข้อกำหนดด้านแวดล้อมจะปรากฎในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศราฐกิจ
               กัมพูชากำหนดกรอบแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมไว้ในรัฐธรรมนูญและกำหนดหน้าที่ของรัฐบาลในการปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งมีการประกาศใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ อาทิ กฎหมายที่ดินและกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ธรรมชาติ
             สปป.ลาว ประกาศใช้กฎหมายและข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม และกำหนดการประเมินผลกระทืบด้านส่ิงแวดล้อมก่อนการดำเนินกิจกรรมทางเศราบกิจบางประเภท เมียนมามีกฎมหายควบคุมโรงงาน กฎหมายด้านสุขอนามัยของสาธารณชน กฎหมายป่าไม้ การอนุรักษ์สัตว์ป่า กฎหมายเหมืองแร่ และกอรบนโยบายด้านส่ิงแวดล้อม
            เมียนมามีกฎหมายควบคุมโรงงาน กฎหมายด้านสุขอนามัยของสาธารณชน กฎหมายป่าไม้ การอนุรักษ์สัตว์ป่า กฎหมายเหมืองแร่ และกอรบนโยบายด้านส่ิงแวดล้อม
            สิงคโปร์ มีรัฐบัญญัติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมสูงถึง 30 ฉบับ ซึ่งครอบคลุมการควบคุมมลภาวะทางน้ำ อากาศ การเคลื่อยย้ายขยะมีพิษ การจราจร การวางแผนและการจัดการการใช้พื้นที่ การควบคุทการก่อสร้าง การอนุรักษณ์ทรัพยากรธรรมชาติและครอบคลุมถึงการสาธารณสุข
             ในส่วนประเทศไทยมีการกำหนดนโยบายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหลายฉบับ รวมทั้งมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาำแหล่งน้ำเืพ่อการอุปโภคบริโภคและน้ำทิ้งจากอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม มาตรฐานคุณภาพอากาศ ระดับเสี่ยง และสารพิษพร้อมทั้งกำหนดการควบคุมมลภาวะด้านต่างๆ
              กลไกของกฎหมายภายในประเทศสมชิกอาเซียนที่กล่าวมาข้าต้นแสดงห้เห็นว่าประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพากรธรรมชาิตและสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดน้อยกว่า เช่น สปป.ลาว และเมียนมา ย่อมส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรฒของทรัพยากรธรรมชาติและปริมาณมลพิษ โดยรวมของภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้น อาเซียนจึงควรเร่งพัฒนาความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่จริงจังและมผลเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบติมากกว่ายุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมเดิมที่เน้นการสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีผลผูกและการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ปลายเหตุwww.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3645&filename=index
           
             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...