วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

ASEAN Environment

            กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม
            กลไกการดำเนินงานอาเวียนด้านสิ่งแวดล้อม
             ในปี พ.ศ. 2520 สิบปีหลังการก่อตั้งอาเซียน ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันริเร่ิมโคึรงการควาร่วมมือด้านส่ิงแวดล้อมขึ้นเป้ฯครั้งแรกโดยความช่วยเหลือของโครงการส่ิงแวดล้อมแห่งสประชาชาติ จัดทำโครงการอนุภูมิภาคด้านส่ิงแวดล้อม พร้อมกับจัดตั้งคณะผุ้เชี่ยวชาญอาเซียนด้านส่ิงแวดล้อม ภายใต้คณะกรรมการอาเวียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคนโลยี เป็นผุ้ดำเนินการโครงการ ASEP 1 ซึ่งระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2520-2524) หลังจากนั้นก็มีโครงการต่อเนื่องอีสองโครงการคือ ASEP II (พ.ศ.2525-2530)และ ASEP III (พ.ศ. 2531-2535)
            ในช่วงปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับรูปแบบคณะผุ้เชี่ยวชาญอาเซียนด้านส่ิงแวดล้อม(AEGE) โดยยกฐานะจากคณะผุ้เชี่ยวชาญเป็นคณะกรรมการ ซึ่งแยกออกจากคณะกรรมการด้านวิทยาศาสตร์ฯ เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านส่ิงแวดล้อม มีหน้าที่กำกับดูแลงานด้านสิ่งแวดล้อมโยเฉพาะ เสนอแนนโยบาย และประสานการจัดการสิ่งแวดล้อมของภุมิภาคอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างกันในอาเซียน อาเซียนกับภูมิภาคอื่นๆ และอาเซียนกับองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่อยุ่ภายใต้การกำกับดุแลของรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม โดยที่เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านส่ิงแวดล้อมจะรายงานการดำเนินงานและเสนอกิจกรรมและดครงการต่อที่ประชุมรัฐมนตรีทุกปี
           
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านส่ิงแวดล้อม เป็นการประชุมเพื่อพิจารณากำหนดนโยบาย และทบทวนข้อตัดสินใจต่างๆ รวมทั้งให้ความเห็นชอบต่อแผนงาน/โครงการต่างๆ จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การประชุมทางการซึ่งจะจัดขึ้นทุก 3 ปี โดยจะมีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพตามลำดับตัวอักษร และ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเกิดขึ้นจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 6 เมื่อ 25-26 เมษายน 2537 ณ บรูไนดารุสซาลาม เพื่อให้รัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมมีโอกาสพบปะ หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห้ฯและข้อเสนอแนะต่างไ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประจำในปีที่มไ่มีการประุมอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ในการปรชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมแต่ละครั้งยังมีการประชุมกรอบอาเซียน +3 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านส่ิงแวดล้อมของอาเซียนกับกับประเทศาธารณรับประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี และกรอบเอเชียตะวันออก หรือ อาเซียน + 6 โดยมีเตรือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐอินเดีย และนิวซีแลนด์ และปัจจุบันมีสมาชิกเพื่อขึนคือ สหรัฐอเมริกา และสหพันธรัฐรัสเซีย ในระดับปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนิน
โครงการ กจิกรรมตามนโยบาย แผน และแนวทางต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีซึ่งในปัจจุบันมีคณะทำงานทั้งหมด 7 คณะ คือ
            - คณะทำงานอาเซียน้ดานการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหมากหลายทางชีวภาพ ดดยมีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เป็นหน่วยงานกลางประสานงานดำเนินงาน
            - คณะทำงานอาเซียนด้านส่ิงแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง โดยมี กรมควบคุมมลพิษ เป็นหน่วยงานกลางประสานการดำเนิงาน
            - คณะทำงานอาเซียนด้านข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม โดยมี กรมควบคุมมลพิษ เป้ฯหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงาน
            - คณะทำงานอาเซียนด้านส่ิงแวดล้อมเมืองที่ยั่งยือน โดยมี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เป้ฯหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงาน
            - คณะทำงานอาเซียนด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมี กรมทรัพยากรน้ำ เป้ฯหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงาน
         
- คณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมี สำนักงานนธยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เป้ฯหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงาน
            - คะณทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เป้ฯหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงาน
            - คณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมี สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงาน
            - คณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา โดยมี กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป้ฯหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงาน
            นอกจากนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมยังีการดำเนินงานทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่ควบเกี่ยวกับการดำเนินงานของกระทรวงต่างๆ ได้แก่
            1. คณะกรรมการอาเซียนด้านวทิยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสมาชิกอาเซียน และมีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 9 สาขา มีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยประสานงานคณะอนุกรรมการอาเวียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล ซึ่งเป้นคณะอนุกรรมการระดับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบกำกับดูแล และประสานการดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลในภุมิภาคอาเซียน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคน 2549  ทั้งนี้มีการประชุม เมื่อปี 2555 ที่
เมือง เนปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์
          2. การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ โดยมีกระทรวงเกษตรและสหกรณืเป้นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก เพื่อกำหนดแนวทางในระดับนโยบายและทบทวนข้อตัดสินใจ และมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ และการประชุมคณะทำงานสาขาต่างๆ ทำหน้าที่ดูแลด้านวิชาการและด้านการปฏิบัติการ ทั้งนี้ กรมป่าไม้เป็นหน่วยประสานงานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านป่าไม้ ซึ่งมีคณะทำงานภายไต้ ASOF อีก 6 หน่วยงาน
         
 3. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ มีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก มีการตั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแร่ของอาเซียน เพื่อพิจารณา หารือ หรือกำหนดกรอบแผนปฏิบัติการ เร่งรัด/ติดตามการดำเนินงานของคณะทำงานด้านต่างๆ และพิจารณาให้ความเห็นชอบในโครงการความร่วมมือระหว่งประเทศสมาชิกอาเซียน ตลอดจนประเทศคู่เจรจาในด้านทรัพยากรแร่ และเป็นกลไกหลักที่สำคัญในประชาคมเศราฐกิจอาเซียน โดยมีคณะทำงานด้านต่างๆ ที่ทำหน้าที่เป้นหน่วยปฏิบัติงาน 4 ด้าน โดยมีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานกลางประสานการดำเนินงาน ดังนี้
                 - คณะทำงานด้านสารสนเทศและฐานข้อมูลแร่ ซึงกรมทรัพยากรธรณี ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน
                 - คณะทำงานด้านการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านแร่
                 - คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรแร่อย่างยั่งยืน
                 - คณะทำงานด้านการค้าและการลงทุนในทรัพยากรแร่oic.mnre.go.th/ewt_news.php?nid=486

           

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Official vote counting...(3)

                    แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป             รองป...