ในอดีต การ "สงเคราะห์" อาจจะ่งผลดีทางอารมณ์ความรู้สึก ทั้ง "ผู้สงเคราะห์" และ "ผู้รับสงเคราะห์" เพราะนอกจากช่วงเวลาแวบเดียวของการรับการสงเคราะห์แล้ว ขีีวิตของ "ผู้รับสงเคราะห์" ไม่ได้พ้องพานเข้าำปเกี่ยวข้องอะไรกับ "ผู้สงเคราะห์" เลย ดังนั้น การเป็นคนไร้ศักดิ์สรีรอรับของบริจาคจึงเป้นเรื่งอที่รับได้ รวมทั้ง "ผู้รับการสงเคราะห์" ก็รูสึกได้ถึงวาระพิเศษที่ได้รับการสงเคราะห์
ที่สำคัญ ความสัมพันธ์ลักษณะนี้คือ ลักษณะเด่นหนึ่งในความเป็นไทย ที่ปลูกฝงกันมา ที่ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบบ "ผุ้ใหญ่-ผู้น้อย"
ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในชนบท ก่อให้เกิดการประกอบอาชีพในลักษณะใหม่ซึ่งทำให้มาตรฐานการดำรงชีวิตปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ความสามารถในการครอบครองสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป หากท่านผุ้อ่านได้มีโอากสไปเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้าหรือซูเปอร์มาเก็ตต่างจังหวัดจะพบเห็นถึงความสามารถในการคีอบครองสินค้าอุปโภค-บริโภคขยยตัวมากขึ้นอย่างมากมาย นีเป็นเหตุผลว่าทำไมห้างสรรพสินึ้า แลซูเปอร์มาร์เก็ตขยายตัวออกหัวเมืองไกลมากขึ้นตามลำดับ
ความเปลี่ยนแปลงทางเศราฐกิจนี้ ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างลึกซึ้งด้วย โดยเแาพอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบของการให้ความ"สงเคราะห์" ลักษณะเดิมกลายเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นและการรับของสงเคราะห์เป็นเรื่องของการไร้ซึ่งศักดิ์ศรีไป
หากสำรวจกันจริงๆ ในเขตพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเข้ามข้นนั้น หากมีพิธีการให้การสงเคราะห์ จะพบว่าจำนวนผุ้ที่เข้ารับการสงเคราะห์นั้นน้อยลง และมักจะเป็นการเกณฑ์หรือขอร้องจากเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ มากขึ้น แม้ว่าคนในพื้นที่นั้นอาจจะยังคงมีความยากจน หรือมีรายได้ไม่สูงมากนักก็ตาม ยกเว้นว่าในเขตห่างไกลมากๆ หรือในช่วงเวลาวิกฤติภัยธรรมชาติ การรับของแจกจึงไม่ใช่เรื่องพิเศษที่ควรจะรำลึกถึงบุญคุณผุ้ให้อีกต่อไป หากแต่เป็นเรื่องไร้ความหมายมากขึ้นๆ ที่สำคัญ นอกจากไร้ความมหายแล้ว ยังแฝงด้วยความรุ้สึกว่าถุกดูหมิ่นศักดิ์ศรีอีกด้วย
กล่าวไ้ว่ ความเปลี่ยนแปลวทางเศรษฐกิจ ได้ทำให้เปลี่ยนแปลงลักษณะของความยากจน จากคยาม "ยากจนสมบูรณ์" มาสู่ความ "ยากจนเชิงสัมพัทธ์" และความเปลี่่ยนแปลงนี้ได้ทำให้ความคิดทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ความ"ยากจนสมบูรณ์" ต้อการและยอมรับการสงเคราะห์แต่ความ "ยากจนเชิงสัมพันธ์" ต้อวการโอากสและความเท่าเที่ยมกัน
ในเขชตพื้นที่ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี ระบบอุปถัมภ์ในชนบทที่ครังหนึ่งเคยเ็นการจัดความสัมพันธ์ทงสังคมเชิงผู้ใหญ่ ผู้น้อยและเป็นเชิวสงเคราะห์ ก็ต้องปรับเปลี่ยนอย่างลึกซึ้ง จากเดิมที่สามารถเรียกร้องความจงรักภักีได้ยาวนาน ก็เป็นเพียงแลกเปลี่ยนความจงรักภักดีกันเป็นครั้งๆ ไป จนอาจจะกล่วได้ว่าได้สูญเสียลักษณุะสำคัญของระบบอุปถัมภ์ไปหมดแล้ว
ในขณะที่ความเจริญเติบโตทางเศราฐกิจผลักให้ประเทศไทยเข้าสู่กลุ่ม "ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง" ในนิยามของธนาคารโลก ขณะที่ผลประโยชน์ในภาคเกษตรตกอยู่กับพ่อค้าคนกลางและบิรษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมเกษตรมากกว่าเกษตรกรรายย่อย ส่งผลให้ประชาชนในชนบทดิ้นรนแสวงหารายได้ทางอื่นนอกภาคเกษตร ครหลายล้านคนย้ายเข้ามาทำงานในตัวเมือง มีรายได้จากการเกษตรน้อยลงอย่างต่อเนื่อง
ผศ.ดร. อภิชาติ สถิตนิรามัย จากคณธเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร ขยายความผลพวงของปรากฎการณ์นี้ที่มีต่อลักษณะของ "ระบบอุปถัมภ์" ในชนบทว่า
เมื่อเงินได้ส่วนใหญ่มาจากนอกภาคเกษตร สิ่งทนี้อย่งน้อยก็หมายความว่า แหล่งเงินได้ของชาวชนบทมีหลายแหล่งมากขึ้นรวมทั้งแหล่งเิงนกุ้ในระบบ เช่น กองทุนหมุ่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ก็เพ่ิมขึ้นด้วย ดังนั้นชาวชนบทจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพิงผุ้อุปถัมภ์ในภาคการเกษตรน้อยลบงด้วย ในอีกด้านหนึ่งนโยบายประชานิยมหลายแบบก็ทำให้ชาวชนบทไม่จำต้องพึ่งพิงผู้อุปถัมภ์ท้องถ่ินอีกต่อไป พุดอีกแบบคือ นโยบายประชานิยมทำหน้าที่แทนผุ้อุปถัมภ์ดั้งเดิม ในแง่นี้ ชาวชนบทส่วนใหญ่จึงหลายเป็นเสรชนที่หลุดออกจากเครือข่ายอุปถัมภ์แบบเดิมๆ แล้ว เขาไม่มีความจำเป็ฯใดๆ ที่จะต้องเชื่อฟังหัวคะแนนอีกต่อไป
นอกจากระดับ "ความยากจนสัมพันธ์" (ความเลื่อล้ำ) จะส่งผลต่อความรุ้สึกว่าภาวะนี้ "รับไม่ได้" มากกว่าในอดีตแล้ว บรรดา "คนจน" และคนเฉียดจน" ในไทย ของประชากรทั้งประเทศ หรือ 19.6 ล้านคน) ยังมีความไม่มั่นคงในชีวิตสูงกว่าครึ่งศตวรรษก่อน เนื่องจากการดำรงชีวติของพวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยระบบตลาดมากว่าเดิม
ย้อนหลังกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยยังมีป่าไม้ราว 17.1 ล้านไร่ หรือร้อยละ 53.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศสภาพแวดล้อมโดยรวมยังอุดมสมบูรณ์ คนในชนบทถึงแม้จะมีรายได้ต่ำก็ยังสามารถพึ่งพาธรรมชาติได้มาก ทั้งการหาอาหารและนำทรัพยากรมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน ทำให้อยู่ได้อย่งไม่ขัดสนถึงแม้จะมีเงินสดน้อยก็ตาม
ห้าทศวรรษหลังจากปี 2505 ประชากรไทยเพ่ิมขึ้นกว่า 2.3 เท่า ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปกว่าครึ่ง ไม่สามารถเป็นแหล่งยังชีพของผุ้คนได้เหมือนเคย ระบบเศราฐกิจเข้าสุ่ทุนนิยมอุตสาหกรรมและสังคมบริโภคนิยมอย่างเต็มตัว คนทุกระดับใช้จ่ายเพื่อการบริโภคมากขึ้น นอกจานี้คาครองชีพ (เงินเฟ้อ) ก็เพิ่มสูงขึ้นในเวลาเดียวกัน ส่งผลให้กำลังซื้อที่แท้จริงเพ่ิมขึ้นน้อยกว่ารายได้ที่เป็นตัวเงิน ทั้งหมดนี้หมายความว่า ถึงแม้คนไทยโดยเฉลี่ยจะมีรายไ้มากขึ้น "คนจน" และ "คนเฉียดจน" ก็น่าจะมีความไม่มัี่นคงในชีวิตสูงกว่าสมัยที่ปู่ย่าตายายของพวกเขายังเด็ก...
บางส่วนจาก "ความเหลื่อมล้ำ ฉบับพกพา", โดย สฤณี อาชวานันทกุล.
วันพุธที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น