Thai Idrntity in History 2

           ในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่มีผุ้ที่สร้างอัตลักษณ์ไทยมาแล้วดังต่อไปนี้
           อัตลักษณ์ไทยที่พะบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวทรงใช้ในการปกครองบ้านเมือง
           สายชล สัตยานุรักษณ์ ได้เสนอว่าในการปกครองบ้านเมืองไทย (สยาม) พระบาทสมเด็นพระจอมเหล้าเจ้าอยุ่หัวทรงใช้อัตลักษณ์ไทยที่สำคัญอยู่ 4 ลักษณะคือ
           - การยอมโอนอ่อผ่อนปรม (ตามความต้องการของจักรวรรดินิยมตะวัรตก เพื่อรักาาเอกราชทาด้านการเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม)
           - ทรงใช้อัตลักษณ์ที่พ่อขุรรามคำแหงทรงจาตึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1 มาสร้างใหม่ในด้านความรักในอิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ และสมภาพ (อัตลักษณในไตรภูมิภูกละเลยไป)
           - อัตลักษณ์ของผุ้ปกครองตามแบบ "ธรรมราช" คือ ราชาหรือพระเจ้าแผ่นดินท่ช้หลักทศพิธราชธรรมในกรครองตนมี 10 ประการ ได้แก่ ทาน, ศีล, บริจาค, อาชชวะ(ความซื่อตรง), มัททวะ(ความอ่อนโยน, ตบะ, อักโกธะ, อวิหิงสา(ความไม่เบียดเบียน, ขันติ และอวิโรธะ(ความไมคลาดจากธรรม) และใช้หลักจักรวรรดิวัตรในการปกครองประเทศ
            แต่หลังจากรับอารยธรรมตะวันตกหลายด้าน ทำให้เสียอัตลักษณ์เดมบางด้านเปลี่ยนไป เช่น อัตลักาณ์ในด้านการแต่งกาย สถาปัตยกรรม และโดยเฉพาะนด้านการศึกษาโดยนำระบบการศึกษา และอค์ความรู้แบบตะวันตกมาเป้นแบบอย่าง เป็นต้น
            อัตลักษณ์ไทยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเหล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการปกครองประเทศ
             สายชล สัตยานุรักษ์ ได้เสอว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวเป้ฯพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงประสบความสำเร็จในการสร้างพระราชอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดทั่วพระราชอาณาจักร เพราะสร้างสัญลักษณ์ที่ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นศุนย์กลางของรัฐ พระองค์ทรงเน้นความสำคัญของอัตลักษณ์พระมหากษัตริย์ และอัตลักษณ์ข้าราชการเป็นพิเศษ พระองค์ทรงเน้นสถานะของพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีพระราชอำนาจเด็ดขาดสูงสุดเหนือ "สยามเหนือ สยามไใต้ สยามกลาง..ลาวประเทศ ..มลายูประเทศ "ดังเห็นได้ชัดจากสัญลักษณ์บนผืนธง "บรมราชธวัชมหาสยามมินทร์ "ตามพระราชบัญญัติว่า ด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ.110 (พ.ศ.2434 และทรงเน้นอัตลักษณ์ของข้าราชการในฐานะผุ้มีเกี่ยรติยศอันเกิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งจะต้องปฏิบัติราชการอันเป้นหน้าที่ของตนด้วยความจงรักภักดี
         
เสถียร ลายลักษณ์ และคณะ ได้กล่าวว่า พระบาทมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวทรงพิจารณาเห็นควรมสำคัญขอการที่จะต้องมีระบบราชการและมีข้ราชการเป็นกลไกสำคัญของพระองค์ในการขยายอำาจในการปกครองและการจัดการทรัพยากรทำให้มีปัญหาว่า จะทำอย่างไรให้ระบบราชการและข้าราชการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพของระบบราชการขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นอย่งมา จึงต้องทรงสร้างข้าราชการที่ปฏิบัติหนาที่ด้วยความซื่อสัตย์ และจงรักภักดี วิธีสร้างข้าราชการที่มีอัตลักาณ์ดังกล่าว พระองค์ทรงกระทำด้วยการสร้างเกี่ยรติยศและอภิสิทธิ์แก่ข้าราชการ เช่น ทรงตราพระราชบัญญัติ ปกครอง ท้องถิ่น ข้าราชการกำหนดเครื่องแบบข้าราชการเน้นสถานะลดหลั่นของข้าราชการให้เด่นชัด พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพื่อเป็นเกี่ยรติ์แก่ข้าราชการ เป็นต้น
          อัตลักษณ์ชองข้าราชการไทย
           สมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัติวงศ์ และสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ให้ความหมายอัตลักษณ์ของข้าราชการไทย ในทรรศนะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่ ข้าราชการเป้นกลุ่มบุคคลที่มีเกี่ยติ มีสถานภาพสูงกว่าคนทั่วไปในฐานะข้าทูลละอองธุลีพระบาท ข้าราชการถูกเน้นให้มีหน้าที่ปกิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์ และจงรักภักดี การทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้าราชการมีเกี่ยรติยศ ข้าราชการทหารถูกสร้างให้ภาคภูมิใจในการทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้ารชการมีเกี่ยรติยศ ข้าราชการทหารถูกร้างให้ภาคภุมิใจในการทำหน้าที่อย่างสูง เพราะมหน้าที่ป้องกันรักษอิสรภาพของ้านเกิดเมืองนอน
          อัตลักษณ์ของพระมหากษัตริย์
          เสถียร ลายลักาณ์ และคณะ ไ้ศึกษาเรื่องอัตลักษณ์ของพระมหากัตริย์ว่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวทรงพยายามสร้างให้พระมหากษัตรยิืมีความสำคัญสูงสุด ทรงเสริมสร้างพระราชอำนาจและพระเกียรติยศของพระมหากษัริย์ทั้งใน ความสัพันธ์กับข้าราชการและราษฎร ทรงทำให้เวลาในรอบนหึ่งปีเคลื่อนไปโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางเพ่ิมวัดสำคัญใหม่ๆ ที่เกี่ยวของกับพระเกี่ยรติยศ และความจงรักภักดต่อพระมหากษัตริย์ เช่น "วันเฉลิมพระชนม์พรรษา" "วันถวายบังคมพระบรมรูปฯฐ เป็นต้น
         ภาพของพระมหากษัตรยิ์ในฐานะประมุขของประเทศทรงปกครองด้วยความเมตตา กรุณา และยุติธรรมโดยมีข้าราชการท่จงรักภักดี และมีความสามัคคีั่น ทำหน้าที่เป็นผุ้สนอง พระบรมราชโองการ
         ในด้านการยุติธรรม และความเป็นธรรมนั้น เสถียร ลายลักาณ์ และคณะ ได้กล่าวว่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวทรงเน้นภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ที่จรรโลงความยุติธรรมเป็นอย่งมาก ทรงทำให้เป็นปรากฎว่า นอกจากพระองค์จะทรงยึดหลัก ความยุติธรรม และความเป็นธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว ยงทรงเน้นให้ข้าราชการ ซึ่งเป็นข้าทู๔ลละอองธุลีพระบาทผุ้ปฏิบัติราชกิจต้องยึดถือย่างเคร่งครัด
         สายชล สัตยานุรักษณื ได้เสนอเกี่ยวกับอัตลักาณ์ของพระบาทสามาเด้๗พระจุลจอมเหล้าเจ้าอยุ่หัวว่ ทรงเน้นการแก่ปัญหาและการแรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าโดบใช้อำนาจรัฐทำให้กลไกอำนาจรัฐคือ ข้าราชการเป็นเงื่อนไขสำคัญของความสำเร็จ หรือ ความล้มเหลว

            - บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ "อัตลักษณ์ไทยที่ปรากฎในนโยบายต่างประเทศยุคปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก" โดย Lee Joeng yoon, ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหวิทยาลัยบูรพา บทที่ 2, 2552.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)