Tax

          ประเทศไทยนี่ภือว่าสัดส่วนรายได้จากภาษีตือ จีดีพี ยังต่ำมาก เมื่อเที่ยวกับรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร แต่ที่นี้ผมเข้าใจว่าเสียงบ่นเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มคนที่มีอยู่ไม่มากนัก เพราะฉะนั้นถ้าจะจัดเก็บเพิ่ม มันก็จะโดนคนส่วนใหญ่..
          ถ้าดูจากพัฒนาการขอโครงสร้างภาษีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชขัดๆ เลยว่า เราเสียภาษีกันน้อยเกินไป และไม่ใช่ลักษณะอัตราก้าวหน้า ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นแบบนั้น แล้วอีกประเด็นหนึ่งคื อถ้าหากไม่อยากเสียภาษีมากขึ้นก็ต้องไปกดดันรัฐบาลว่า อย่าเอาเงินไปใช้จ่ายเยอะ หรือทำในส่ิงที่ไม่จำเป็น เพราะรายจ่ายของรัฐบาลกับการเก็บภาษีมันมาคู่กันเสมอ
        ในความเป็นรัฐ ัฐบาลก็มีความชอบธรรในการเรี่ยไรเงินจากประชาชนเพื่อนำไปบริหารจัดการไม่ใช่หรือ ต้องพึคงระึกไว้ว่ รายได้หลักของรับบาลประมาณร้อยละ 90 มาจากการจัดเก็บภาษีจากพวกเราเอง ยิ่ง้าเราเรียกร้องให้รัฐบาลใช้จ่ายมากขึ้นเท่าไหร่ รัฐบาลก็จำเป็จะต้องเก็บภาษีเรามากขึ้นเท่านั้น ถ้ามองประเทศไทยในภาพรวม รัฐบาลก็คล้ายกับ เอเจนต์ คนหนึ่งที่เอาเิงนของพวกเราไปซื้อของแทนเราหรือไปจัดการอะไรบางอย่าง ขณะเพียวกัน กิจกรรมอะไรก็ตามถ้าเราทำกันเองได้ก็อาจจะประหยัดกว่าหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าที่รัฐบาลทำ
        มองในมุมที่ง่ายที่สุดอย่งเช่นอาหารการกิน ถ้าเราซื้อขายกันเองได้ อาจจะสะดวกกว่า รวดเร็วกว่าและได้อะไรที่เราต้องการมากว่า โดยที่เราอาจไม่จำเป็นต้องพึงรัฐบาล เพราะบางอย่างถ้าให้รัฐบาลทำแทนมนจะมีข้อเสียก็คือ ต้องผ่านระบบระเบียบขั้นตอนหลายขั้น เช่น ถ้าจะให้รัฐบาลซื้อข้าวแทนเราก็ต้องผ่านการอนุมัติจาก ครม. แล้ว ครม. จึงจะสั่งการให้หน่วยปฏิบัติไปหาข้าวให้เรามาจานหนึง ซึ่งมันส้ินเปลื่อง นียังไม่นับปัญหาเรื่องคอร์รัปชันอีก ซึ่งท้ายที่สุดเราอาจจะไม่ได้ของที่เราต้องการอย่างแท้จริง
         ในมุมองทางเศรษฐศาสตรื เราจึงต้องพยายามจำกัดหน้าที่ของรัฐบาลให้ทำอะไรเท่าที่จำเป็นเพราะเราไม่อยากให้เกิดการสิ้นเปลืองในระบบเศณาฐกิจมากนัก เและบทบาทหนึ่งที่เราคิดว่าเป็นหน้าที่ที่จำเป็นของรัฐบาลก็คื อการลดความเหลื่อล้ำ ถ้ารัฐบาลไม่ทำ เอกชนก็จะไม่มีแรงจูงใจที่จะทำด้วยัวเอง

          กลไกทางภาษีจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้อย่างไร...
          การลดความเหลื่อมล้ำในมุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์ เริ่มต้นง่ายๆ คือดูที่รายรับกับรายจ่าย ทุกคนในสังคมควรจะมีรายรับกับรายจ่ายในลักษณะที่ใกล้เียงกัน รัฐบาลสามารถเข้ามามีบทบาทหน้าที่นี้ได้โดยใช้เครื่องมือหลักๆ 2 ส่วนคือ หนึ่ง การใช้จ่ายตามโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 30 บาทฯ โครงการเรียนฟรี..ซึ่งจะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่รัฐบาลจะใช้ในการลดความเหลื่อมล้ำได้
          การลดความเหลื่อมล้ำโดยใช้ภาษี มีแนวคิดง่ายๆ คื อคนที่มีความสามารถในการใช้จต่าเพื่อการอุปโภคบริโภคมากกว่า ควรที่จะเสียภาษีในอัตราที่สุงกว่า ส่วนคนที่มีความสามารถในการใช้จ่ายน้อยกว่าก็ควรที่จะเสียภาษีในอัตรที่ต่ำกว่า
           หมายความว่าถ้าคนที่รวยมากๆ มีรายได้ปีหนึ่งเป็นล้าน เขาบริโภคเพียงพออยุ่แล้ว เพราะฉะนั้นเขาก็ต้องมีความสามารถในการจ่ายภาษีเยอะกว่าคนที่มีรายได้ทั้งปี แค่ ห้าหมื่น ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ตามสัดส่วนของรายได้ คนที่มีฐานะดีกว่าก็ควรจ่ายสัก 30-40 % ในขณะที่คนที่มีรายได้ต่ำมากๆ อาจจ่ายแค่ 0-10% ไปเลยก็ได้ หรือจ่ายแค่ภาษีมูลค่าเพ่ิม (VAT) 7% โครงสร้างแบบนี้มันจะทำหน้าที่ในการลดความเหลื่อมล้ำได้
           โครงสร้างภาษีของประเทศไทย หลักๆ มี 2 ประเภท ประเภอแรกคือ ภาษีเงินได้ ซึ่งเก็บจากคนที่มีรายได้หรือนิติบุคคล เช่น ดรงงานหรือกิจการที่มีรายได้โดยตรง แบบที่สองคือ ภาษีทางอ้อม ซึ่งจะจัดเก็บผานการอุปโภคบริโภคต่างๆ เช่น VAT
           ความแตกต่างของภาษีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็คือ ภาษีทางตรงมันหลักถภาระไปให้ใครไม่ได้ เพราะเป็นการจัดเก็บจากผู้ที่มีรายได้โดยตรง ส่วนภาษีทางอ้อมอย่างเช่น VAT แม้ในทางทฤษฎีรัฐบาลจะจัดเก็บจากธุรกิจที่ขายสินค้า แต่ในทางปฏิบัติผู้บริโภคกลับเป็นคนจ่าย เพราะภาษีในลักษณะนี้ผุ้ขายสินค้าสามารถผลักภาระไปให้ผุ้บริโภคได้โดยการขึ้นราคา ถ้าเก็บภาษีเพ่ิมเขาก็ขึ้นราคา "ฉะนั้น การลดความเหลื่อมล้ำด้วยภาษีทางตรงจะสามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่า แต่ภาษีทางอ้อมนี่ไม่ใช่เพราะถ้ายิ่งไปจัดเก็บกบสินค้าที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภค มันจะมีผลกระทบกับทุกคน ไม่ว่าคนรวยหรือคนจน..https://waymagazine.org/interview-pawin/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)