วันศุกร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2561
Exchange rate
ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
1) the fisher effect
"อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงิน ของแต่ละประเทศ จะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง บวกด้วยอตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ"
นักเศรษฐศาสตร์ เออร์วิง ฟิชเชอร์ ใด้เสอนแนวคิดนี้ขึ้น เพื่อใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อของสองประเทศ โดยมีหลักการว่ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินในตลาดเงินของแต่ละประเทศนั้น จะประกอบด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่นักลงทุนต้องการบวกด้วยอัราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในตลาดเงินของประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ หลักการของทฤษำีสามารถสแดงความสัมพันะ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ดังนี้นี้
อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเกิดขึ้น = อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่นักลงทุนต้องการ + อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินจะเเปรผันโดยตรงตามอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะเป็นในแต่ละประเทศ ดังนั้น ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงจึงควรมัีอัตราดองกเบี้ยทีี่เป้ฯตัวเงินสุงกว่าอีกประเทศหนึ่งที่มีอัตราเงนเฟ้อต่ำกว่าดดดยเปรียบเที่ยบ
เมื่อพิจารณาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกับอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ ช่วง ปี พ.ศ. 2546-2550 แล้วดดยสภาพรวมจะเห้นว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา ประเทศกลุ่มยูโรโซน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีระดับอัตราดอกเบี้ยอ้างอ้ิงที่เพ่ิมสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราเงินเฟ้อที่เพ่ิมขึ้น อาทิเช่น อัตราดอกเบี้ยองประเทศไทยที่การปรับเพ่ิมขึ้น และอัตราเงินเฟ้อมีการปรับเพ่ิมขั้น อย่างไรก็ตามแม้วววาระดับอัตราเงินเฟ้อของประเทศจินมีการกรับเพ่ิมขึ้น หากแต่ระดับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงขปงระเทศจีนและอินเดียที่เกิดขึ้นอยุ่ในอัตราดคงที่ ทั้งนี้เพนื่องมาตสากนโยบายการตรึงระดับอัตราดอกเบี้ยของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า อัตราดอกเบี้ยที่เป้นตัวเงินจะแปรผันโดยตรงตามอัตรา เงินเฟ้อ สอดคอ้งกับหลัการ
2) The International Fisher Effect
การเชื่อมโยงทฤษฎี the fisher effect กับทฤษำีอำนาจซื้เสมอภาคแบบเปรียบเทียบโดยอาศัยควมแตกต่างของอัตราเงินเฟ้อระหว่างสองประเทศเป็นตัวกล่าง เป็นที่มาของทฤษฎี The International Fisher Effect ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยและอัตาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยหลักากรของทฤษฎีนี้กล่าวไว้ว่า
"ความแตกต่างของอัตราดอกเบียที่เป้นตัวเงิน ในตลาดเงินสองประเทศ จะเท่ากับเปอร์เซ็ฯต์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสองสกุลั้น แต่มีเครื่องหมายหรือทิศทางตรงกันข้าม"
จากทฤษฎี เงินตราสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ย ต่ำกว่าโดยเรปีบเทียบจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลที่มีอัตราดอกเบี้ยสุงกว่าเนื่องจากในมุมมองนักลงทุนแล้ว หากสกุลเงินของประเทศที่ไปทำการลงทุนไว้มีแนวโน้มอ่อนค่าลง นักลงทุนยินยอมเรียกร้องการชดเชยผลขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยเงินตราในรูปของดัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าดดยเปรียบเทียบ เพื่อให้ได้รับอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงเท่ากับการไปลงทุนในประเทศที่มีแนวโน้มว่าค่าเงินจะแข็งขึ้น..อาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นปจััยที่อธิบายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศส่งผบลต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเงินบทสอดคล้องกับหลัการของ The International Fisher Effect
3) ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสมอภาค The Interest Rate Parity
ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสอมภาคกล่าวไว้ว่า "เปอร์เซ็นต์ความแกตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสองประเทศ จะเท่ากับเปอร์เซ็นต์ส่วนเพ่ิมหรือส่วนลด ของอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของเงินสองสกุลนั้น แต่มีเครื่องหมายหรือทิศทางตรงกันข้าม"
ดังนั้น ทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสมอภาคจึงอธิบายความสัมพันะ์ของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสองประเทศกับอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของเงินสองสกุลนั้น โดยมีข้อสมมติฐานเพ่ิมเติมว่าการเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างเสรีไม่มีต้นทุนในการทำธุตกรรม ไม่มีภาษี และไม่มีความเสี่ยงทางการเงินจากหลักการของทฤษฎีอัตราดอกเบี้ยเสมอภาคดังกล่าวข้องต้น
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่นแปงในราคาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
1. ทฤษกีความเสมอภาคของดอกเบีย แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีผลต่อการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกสกุลหนึ่ง โดยผลตอบแทนที่ได้จากเงินทุนในรูปบัญชีเงินฝากจะขึ้นอยู่กับปัจจัยสองปัจจัย คือ อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยน IRP เป็นการเปรียบเทียบบัญชีเงินฝากในรูปเงินสกุลสองสกุล ที่หากปัจจัยด้านดอกเบี้ยทำให้ผลตอบแทนในรูปของบัญชีเงินฝากนั้นแตกต่างกันแล้ว จะทำให้เกิดการไหลของเวินทุนสกุลหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนน้อยไปยังอีกสกุลหนึ่งที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าอยางมาก จนกระทั่งผลตอบแทนตระหว่างเงินสองสกุลจะเท่ากัน ดดยค่าเงินสกุลที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าจะอ่อนค่าลงจนเข้าสู่ระดับที่มีความเสมอภาคของอัตราดอกเบีย นั่นเอง ซึงทฤษณีอยู่ภายใต้ข้อสมมติว่าไม่มีการพิจารณาเรื่องต้นทุนในกา่รทำธุรกรรม และสินทัรพย์นั้นมีความเสี่ยงและสภาพคล่องในระดับเดียวกัน
ที่ ทฤษฎีนี้ ไม่เป็นความจริง ก็คือระดับที่อัตราผลตอบแทนที่ได้รับในรูปเงินบาทไม่เท่ากับอัตราผลตอบแทนที่ได้รับในรูปเงินดอลลาร์
หากอัตราดอกเบียประเทศเพิ่มสูงขึ้นทำให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รัีบในรูปเงินบาทมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่ได้รับในรูเงินดอลลาร์ นักลงทุนจะเคลื่อนายเงินลงทุนมายังประเทสไทย โดยขายเงินดอลลาร์แล้วซื้อเงินบาท เพื่อลงทุนในไทย และเมื่อมีปริมาณเงินลุงทุนไหลเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้ค่าเงินบาทในวันนี้ (E) แข็งค่าขึ้น จากการที่ผุ้ถือเงินอดลลร์ก้ต้องการซื้อเงินบาท ในขณธที่
ผุ้ถือเงินบาทไม่ต้องการขาย หรือตลาดมอุปสงค์ส่วนเกินในเงินบาทนั่นเอง ค่าเงินบาทในวันนี้ก็จะปรับตัวแข็งขึ้ และในอนาคตคนต้องขายเงินบาทออกมาเพื่อทำกำไรจึงทไให้ค่าเงินบาทที่คาดการณ์ในอนาคตอ่อนค่าลงทำให้ เทอม มีค่ามากขึ้น อีักทั้งปรมาณเงินที่ไหลเข้ามาทำให้ปริมาณเงินบาทในระบบเศราฐกิจเพิ่มขึ้นส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินบาทลอลง ในที่สุด เรียกวาเ็นระดับที่ทำให้ ทฤษฎีความเสมอภาคของดอกเบี้ย เป็นความจริง เป็นระดับที่ตลาอเข้าสู่จุดดุลยภาพซึ่งเป็นสภาพที่ผุ้ซื้อ-ขายไม่มีแรงจูงใจที่จะปรับเปลี่ยนปริมาณเงินสกุลที่ถืออยู่ในมืออีกต่อไป
เช่นเดียวกันกับ หากอัตราผลตอบแทนเร่ิมต้นที่ได้รับในรูปเงินดอลลาร์ มากกว่ าอัตราผลตอบแทนที่ได้รับในเงินบาท ก็จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจากรูปเงินบาท ไปยังรูปเงินสกุลดอลลาร์มากขึ้นๆ และทำให้อัตราแลกเปลี่ยนในรูปเงินบาทอ่อนค่าลง เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และทำให้ผลตอบแทนที่ได้รับระหว่างเงินสองสกุลไม่แตกต่างกัน เข้าสุระดับ ทฤษฎีความเสมอภาคของดอกเบี้ย นั่นเอง
การปรับตัวของปัตราแลกเปลี่ยนตามกลไกตลาด
ในบัญชีดุลการชำระเงิน ของประเทศ เป็นการบันทึกรายการรายรับ-รายจ่ายที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางเศราฐกิจของประชากรในประเทศและต่างประเทศ ภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งจะประกอบไปด้วยปัญชีที่สำคัญสามบัญชี ได้แก่ บัญชีเดินสะพัด ปัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย และบัญชีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
- บัญชีเดินสะพัน จะบันทึกธุตกรรมด้าน การนำเข้า-ส่งออก สินค้าและบริการ บันทึการรับและจ่ายในส่วนของรายได้ เช่น ค่าจ้าง เงินเดือนหรือผลตอบแทนต่างๆ และบันทึกส่วนเงินโอนและบริจาค
- บัญชีเงินทุนและการเงิน บันทึกธุตกรรมการซื้อขายและโอนสินทรัพย์ในสองประเทส รวมทั้งบันทึกการโอนสิทธิสินทรัพย์ภาวรที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิตด้วย
สุดท้ายบัญขีทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นบัญชีบันทึกสินทรัพย์ต่างประเทศที่ธนาคารหลางควบคุมอยู่ เช่น ทองคำ หรือสินทรัพย์ในูปเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น โดยธนาคารกลางจะเก็บเงินทุนสำรองของประเทศไว้ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ดำเนินนโยบายต่างๆ เช่นแทรกแซงตลอดอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
จากสมการบัญชีรายได้ประชาชาติ Y=C+I+G+(X-M) ดุลบัญชีเดินสะพันก็คือ X-M หรือมูลค่าการส่งออก หักด้วยมูลค่าการนำเข้า ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของดุลบัญคการชำระเงิน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดุลบัญชีเดินสะพัด ย่อมส่งผลต่อรายได้ปรชาชาติและภาวะเศราฐกิจของประเทสด้วย ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทในตลาด
ตลดาปริวรรตเงินตรามีลักษณะเป็นอุปสงค์สืบเนื่อง กับตลาดสินค้านำเข้าส่งออกและตลาดสินทรัพย์ ซึ่งจะเป็นไปตามกลไกราคาหรือขึ้นอยู่กับอุปสค์และอุปทานั้นเอง กล่าวคือเมื่อมูลค่าการส่งออกลดลงหรือมูลค่าการนำเข้ามากขึ้นส่งผลให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุล หรือมูลค่าการนำเข้ามีมากกว่ามูลค่าการส่งออก หมายึวามว่าเสณาฐกิจมีความต้องการเงินตราต่างประเทศมากกว่าความต้องการเงินบาท ก็อาจส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลง ตรงข้ามกัน เมื่อมูลค่ากาส่งออกเพิ่มขึ้นหรือมุลค่าการนำเข้าลดลงส่งผลให้บัญชีเดินสะพัดเกินดุล หรือมุลค่าการส่งออกมีมากกว่มุลค่าการนำเข้า หมายึถงามว่าเศรษฐกิจมีความต้องการเงินตราต่างประเทศน้อยกว่างความต้องการเงินบา ก็สงผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นได้เช่นกัน
นอกจากนี้ดุลการชำระเงินที่เปลี่ยนแปลงไปจนกระทบต่ออัตราแลกเปลียนยังเป็นผลมาจากอีก 2 บัญชีด้วยคือ ส่วนของบัญชีเงินทุนหากมีการลงทุนทั้งทางตรงหรือทางอ้อมเข้ามาในประเทศมากๆ หรือเงินไหลเข้าดดยสุทธิเป็นบวก ก็จะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินในเงินบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็.ค่าขึ้นได้ ในทางกลับกันหากเงินไหลออกจากประเทศไปจนทำให้เงินไหลเข้าดดยสุทธิติลบ ก็จะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินในเงินบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนคาลงได้เช่นกัน และในส่วนของบัญชีเงินทุนสำรองระหว่งประเทศก็ขึ้นอยุ่กับการเินดุลหรือขาดดุลของบัญชีสองบัญชีแรก รวมถึงกรกำหนดนดยบายอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางด้วย ซึ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกัน ดุลการชำระเงินที่เปลี่ยนแลปงไปก็ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนไม่เหมือนกัน ดดยระบบอัตราแลกเปลี่ยนมีดังนี้คือ
1) อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ รัฐบาลหรือธนาคารกลางจะสามารถเข้าแทรกแซงให้ค่าเงินเป็นไปตามที่กำหนดได้ดดยใช้เงินทุนสำรองที่มีอยู่ในบัญชีเงินสำรองระหว่างประเทศเข้าควบคุมตลาดดังนั้นอัตราแลกเปลียนจะไม่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในดุลการชำระเงิน
2) อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว รัฐบาบหรือธนาคากลาง จะไม่เข้าไปแทรกแซงระบบตลาด อัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลง ไปตามปริมาณอุสงค์อุปทานของเงิน ซึ่งทำให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงในดุลการชำระเงินได้มาก
3) อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ เป็นการปล่อยให้อัตราแลกเปลี่นเป็นไปตามกลไกตลาด ตามปริมาณอุสงค์อุปทานของเงินสกุลนั้นๆ แต่ธนาคารกลางอาจเข้าแทรกแซงบ้างเมือ่มีการเก็งกำไรค่าเงิน หรอื อัตราแลกเปลี่ยนมีคึวามผันผวนมากเกินไป โดยการแทรกแซงก็ เช่น ใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมการไหลเข้าออกของเงินทุน เป็นต้น ซึ่งระบบนี้จะสามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงใบัญชีดุลการชำระเงินได้ดีในระดับหนึ่ง
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ จะเป็นเครื่องมือบ่งชี้สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันว่าเสณาฐกิจมีสภาพคล่องมากเพียงใด หากดุลภาพการชำระเงินเกินดุล อาจทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพ่ิมขึ้นจากการที่ประเทสมีรรายรับมากว่ารายจ่ายเสณาฐกิจมีสภาพคล่องดี ก็จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบอตาแลกเปลี่ยนบอยตัวนั้นแข็งค่าขึ้นได แต่หากดุลการชำระเงินขาดดุลก้อาจเป็นปัญหาสภาพคล่องทางเศรษฐกิจได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลด้วย แต่รัฐก็ต้องมีมาตการเข้ามาควบคุมดุแลการเกินดุลและขาดดุลของดุลการชำระเงินให้ดี เพราะมัน่งผลต่อระบบเศรษฐฏิจของประเทศและอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดด้วย....
บางส่วนจาก วิทยานิพนธ์ เรื่อง "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลียนแปลงอัตราแลกเปลียนระหว่างเงินบาทต่อเงินยูโร" โดยฉัตรมงคล ระวังเหตุ, 2547.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Official vote counting...(3)
แม้คะแนนอย่างเป็นทางการจะยังไม่ออกมา แต่แฮร์ริสก็ยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยืนกรานว่าการต่อสู้ จะดำเนินต่อไป รองป...
-
องค์ประกอบของโยนิโสมนสิการ ลักษณะการคิดแบบโยนิโสมนสิการมี 10 ประการ สรุปได้ดังนี้ครับ สืบสาวเหตุปัจจัย แยกแยะส่วนประกอบ สามัญลักษณ...
-
อาจกล่าวได้ว่า สงครามครูเสดเป็นความพยายามครั้งรแกๆ ของยุโรป และเป้นสำเร็จโดยรวมในความพยายามที่จะค้นหาตัวเองภายใต้วัฒนธรรมท่เป็...
-
วรรณกรรมในสมัยยุโรปกลาง จะแต่งเป็นภาษาละติน แบ่งเป็นวรรณกรรมทางศาสนา และ วรรณกรรมทางโลก วรรณกรรมทางศาสนา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น