Social unity of EU

         
...ความรุ่งเรืองของยุโรปจะเกิดได้หใม่นั้นก็ต้องอาศัยความพร้อมใจของประเทศสมาชิกในการผลักดันนโยบายและการปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ การอยุ่อย่างเอกเทศเช่นเดิมต้องเผชิญกับการแข่งขันสุงทั้งในหมุ่ชาติยุโรปเองและกับชาติอื่นๆ จึงไม่เดื้อต่ผลประโยชน์างเษรษฐกิจ การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือบูรณาการเป็นสหภาพระดับถุมิภาคจึงเป็นทางเลือกที่น่าจะทำให้สถานะดีกว่าการที่ต่างคนต่างอยุ่ ที่น่าสั่งเกตคือ การร่วมมือกนทางเศราฐกิจครั้งนี้แตกต่างจากความร่วมมือต่างๆ ที่เคยมีมาเพราะตามสนธิสัญญามาสตริชต์ สหภาพยุโรปมีลักษณะเป็นงค์การเหนือรัฐ ไร้พรมแกนประเทศขวางกั้นในองค์กร ประเทศสมาชิกจึงต้องสละอำนาจอธิปไตยส่วนหนึ่งและยินยอมให้นโยบายหรือมาตรการของสหภาพฯ สามารถบังคัยใช้ในดินแดนของตนได้...
         อย่างไรก็ดี การท่จะให้เกิดความรู้สึกร่วมมือร่วมใจหรือการยินยอมให้บังคับใช้มาตรการข้ามชาติโดยฝืนความรู้สึกน้อยที่สุ ก็จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการที่ทำให้ประเทศสมาชิกรู้สึกถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเป็นประชาคมเดียวกัน หรือความเป็นยุโรปด้วยกัน ด้วยเหตุนี้เอง เพื่อบรรลุความเป็นสไภาพทางเสณาฐกจและทางการเมือง จึงจำต้องอาศัยมาตการทางสังคมบางประการเกื้อหนุนด้วยหากประเทศสมาชิกขาดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันแล้ว การดำเนินงานของสหภาพยุโรปในลักษณะองค์กรเหนือรัฐจะเป็นไปอย่างยากลำบากทุกขั้นตอนความมั่่งคั่งทางเศณาฐกิจและความเป็นผุ้นำในเวทีดลกจะกลายเป็นเป้าหมายที่ห่างไกลออกไปอีก
        บทความนี้ เสนอข้อสังเกตุบางประการเกี่ยวกับความเป็นยุโรป เพื่อบ่งชี้ว่าเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นปัญหาได้กลายเป็นปัญาและทางออกที่เป็นอยู่ในขณะนี้ก็เป็นเพียงการพยายามลดความรู้สึกชาตินิยมหรือความรู้สึกว่าตนเป็นชาว ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี ฯลฯ ของพลเมืองในประเทศสมาชิก เพื่อให้รู้สึกวว่าอย่างน้อยก็เป็นชาวยุโรปด้วยในขณะเดียวกัน
       
 อุปสรรคในการสร้างสำนึกของ "ความเป็นยุโรป" ร่วมกันอันเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการรวมตัวทางเศณาฐกิจและการเมืองนั้น ในที่นี้จะพิจารณา 2 ประเด็น ใหญ่ซึ่งมีความเกี่ยวพันกัน นันคือ ปัญหาที่วาอะไรคือเอกลักษณ์ของความเป็นยุโรป และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เพี่ิมขึ้นในยุโรปปัจจับุันได้ทำให้ปัญหาเรื่องเอกลักษณ์ซับซ้อนมากขึ้นเพียงไร มีผลกระทบอย่างไรต่อการพิจารณารับสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป
           สำหรับคนนอกทวีปยุโรปแล้ว การที่ชาวอังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวิส ฯลฯ จะกล่าวอ้างว่าเป็นชาวยุโรปนั้นไม่เห็นเป็นเื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใดแต่ปรากฎว่า ชาวยุโรปจำนวนมาก ลังเลที่จะกล่าวเช่นนั้น นักวิชาการบางคนถึงกับระบุว่า ที่เรียกกันว่าชาวยุโรปนั้นผิดทั้งเพ เพราะมีแต่ชาวฝรั่งเศสเยอรมน อิตาลี ต่างหาก" เจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปเองบางคนยังบอกว่าครั้งที่รู้สึกว่าเป็นชาวยุโรปก็เมื่อคราวต้องไปพำนักในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเท่านั้นย่ิงน้อยคนที่จะเอ่ยว่าตนเป็นชาวยุโรปก่อนปละเป็นพลเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่งด้วยตามหลง ย่ิงคนอังกฤษแล้วแทบจะพูดอย่างเดียวว่าตนเป็นชาว อังกฤษ ไม่เอ่ยถึงยุโรปเลยด้วยซ้ำ สาเหตุที่ป็นเช่นนั้นก้เพราะเอกลักษณ์หรือลัษณะเฉพาะที่บ่งชี้ว่าเป็นยุโรปที่จะกระตุ้นเตือนใจให้ผู้คนตระหนักว่ามีอยู่ร่วมกน หรือเป็นพวกเดียวกันนั้น จริงๆ แล้วมีหรือไม่
           เมื่อจะพิจารณาหาคำตอบนี้ ก็เกิดคำถามข้อหนึ่งขึ้นมาก่อนนั่นคือ ที่เรียกกันว่า "ยุโรป" นั่นหมายถึง อะไร มีขอบเขตแค่ไหน เราสามารถใส่คุณศัพท์ให้สิ่งนั้นสิ่งน้ว่าเป็นยุโรป ได้กระนั้นหรือถ้าเรายังตอบไม่ได้ชัดเจนว่ายุโรปแยกออกจากเอเชีย ณ ที่ใด ที่ทุกวันนี้เรียกว่ายุโรปนั้นสืบมาตั้งแต่ครั้งนักเดินเรือชาวกรีกโลราณที่ล่องเรือจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนขึ้ไปตามทะเลอีเจีนย และเรียกดินแดนฝั่งซ้ายวายุโรป ฝั่งขวาว่าเอเชีย แต่หารู้ไม่ว่าดินแดนสองฝั่งทะเลนั้นบรรจบเป็นผืนเดียวกันทั้งเหนือขึ้นไป บางคนจึงกล่าว่า ยุโรปเป็นพียงคาบสมุทรหนึ่งของยูเรเซีย ไม่สมควรเรียกว่าทวีป บ้างก็บอกแต่เพียงว่าถ้าเดินทางมุ่งไปทิศตะวันออกมากขึ้น คามเป็นยุโรปก็จะลดลงเรื่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าเส้นแบ่งเด็ดขาดระหว่งเอเชียกับยุโรปอยู่ตรงไหน ก็อาจจะเป็นอย่างที่นักสังคมศาสตร์อเมริกันกลาวถึงความเป็น "รัฐ" ว่าเป้นเพียงประชาคมตามที่จินตนาการ ว่ามีขนาดและลักษณะอย่างไรเท่าน้้น
            ก่อนหน้านี้ ประเด็นเส้นแบ่งเขตระหวางยุโรปกับเอเชียไม่จำต้องนำมาขบคิด แต่ปัจจุบัน สงครามเย็นได้สิ้นสุดลงและสไภาพโซเวียตก็ล่มสลายแล้ว ยุโรปไม่ได้หายถึงยุโรปตะวันตกเท่านั้น ขณะนี้สหภาพยุโรปมีสมาชิก 15 ประเทศ แต่มีประเทศในเขตที่เรียกกันว่าเป้นยุโรปกลาง และยุโรปตะวนออกของสมัครเข้าร่วมองค์การด้วยอี 10 ประเทศ และดินแดนอื่นๆ อีก 4 ประเทศ ซึ่งทำให้ประเด็นขอบเขตของยุโรปเป้นปัญหาขึ้นมา ประเด็น "เอกลักษณ์" ของยุโรปจึงกลายเป็นคำถามขึ้นด้วย
         
มีผุ้ที่พยายามจะให้คำจำกัดความ "ยุโรป" ว่าเป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดเจน เชื่อมร้อยกันด้วยค่านิยมที่คล้ายคลึงกัน และมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมซึ่งแตกต่างจากกลุ่มวัฒนธรรมอื่น ผู้สนับสนุนการตีความด้านนี้ถือว่ายุโรปคือดินแดนที่สืบมรดก จากอารยธรรมกรีก-โรมัน ศาสนาคริสต์ ความคิดของยุค การเชื่อในวิทยาศาสตร์ เหตุผล ความก้าวหน้าและควมคิดประชาธิปไตย ทั้งหมดนี้ถือเป็นหัวใจของยุโรปที่เป็นมรดกร่วมกัน แต่คำจำกัดความนี้จะถูกแย้งได้เพราะบางประเทศก็สามารถกล่อ้างว่าตนสืบมรดกดังที่ว่านั้นเช่นกัน ดดยเฉาพะสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ดินแดนที่ยอมรับกันว่าอยู่ในยุโรปอย่างสเปน อิตาลีและกรซน้น ถ้าเอาคุณสมบัติประชาธิปไตยไปทดสอบ จะ่กล่าวได้กระนั้นหรือว่าช่วงที่สเปนปกครองโดยจอมพลฟรงโก อิตาลีภายใต้มุสโสลินี และกรซโดยคณะทหารนั้นได้หยุดภาวะการเป็นยุโรปลงชั่วคราว
           ..ขณะที่ความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญๆ ของความเป็นยุโรปดำเนินไปผุ้บริหารอียูก็เพิ่มการดำเนินงานรวมตัวของสหภาพมากขึ้น เกิดคำถามเร่งด่วนขึ้นใหม่ว่าใครจะอยู่ "ภายใน" และ "ภายนอก" ของสหภาพฯบ้าง เราจะหมายความว่า
             ประเทศที่อยู่ "ภายนอก" มีความเป็นยุโรปนหด้อยกว่าประเทศที่อยู่ "ภายใน" สหภาพฯได้หรือไม่โดยทั่วไปแล้ว ประเทศยุโรปปัจจุบันที่มีมากว่า 35 ประเทศตามแนวพรมแดนสมมติที่ลากผ่านเทือกเขายูราล ลงสู่ทะเลสาบแคสเปี่ยนและตามแนวเทือกเขาคอเคซัสสู่ทะเลดำออกช่องแคบบอสฟอรัสสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากนั้นออกช่องแคบจิบรอลตาร์สุ่มหาสมุทรแอตแลนติกนั้น แตกต่างกันทางด้านพัฒนาการทางการเมือง เสราฐกิจและวัฒนธรรมซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อกความรู้สึกที่ว่าเป็นกลุ่ม
ประชาคมเดียวกัน ประการสำคัญข้อหนึ่ง คือ ความไม่เท่าเทียมกันในพัฒนาการทางการเมืองและเสณษบกิจซึ่งทให้มีการแบ่งยุโรปออกเป็นประเทศแกน และประเทศชายชอบ ประเภทแรกนั้นมีนัยนัยบ่งถึงความทันสมัยทางเสณาฐกิจ ความเป็นปราธิปไตยและเสถียรภาพทางการเมือง ส่วนประเภทหลังบ่งว่าเป็นประเทศที่ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ในภาวะเปลี่ยนผ่าน ความไร้เสถียรภาพมีระดับสูงต่ำคละกันไป
         
ประเทศแกนจึงไม่ค่อยเต็มใจที่จะรับสมาชิกใหม่ที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมืองยังล้าหลังอยู่มากปัจจัุบันพลเมืองในสหภาพยุโรปมีประมาณ 370 ล้านคน ประชากรเพียงร้อยละ 5.3 อยู่ในภาคการเกษตรส่วนประเทศที่มีฐานะการคลังดีที่สุดที่กำลังขอสมัครเป็นสมาชิก คือ สโลวิเนีย ก็ยังคงยากจนกว่าโปรตุเกส ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพฯ ปัจจุบันต่างจากประเทศยุโปรกลางและยุโรปตะวันออกมาก ขณที่ประเทศแกนตั้งข้อรังเกียจประเทศชายขอบ ประเทศชายขอบกลับแสดงความต้องการเข้ารวมสมัครสโมสรเพราะคำว่า "ยุโรป" บ่งถงความทันสมัยและความเป็นประชาธิปไตย" ยิ่งจะมีการรวมตัวทางการเงิน ประเทศแกนจึงย่ิงหนักใจกับความล้าหลังทั้งของประเทศที่เป็นสมาชิกอยู่และประเทศที่กำลังขอสมัครเข้าร่วม รายได้ของชาวโปรตุเกสและ กรีก เป็นเพียง 1 ใน 8 ของรายได้ที่พลเมืองในนครใหญๆ ของประเทศแกนได้รับอยู่และกลับย่ิงแย่ไปกว่านั้นอีกในกรณีของแอลเนียและโรมาเนีย ควมแตกต่างทางด้านมาตฐานการครองชีพ ความแข้งแกร่งของสกุลเงินและค่าจ้างแรงงานขึ้นต่ำต่อชั่วโมง ทำให้เกิดความลังเลที่จะใช้เงินสกุลยุโรปเป็นเงินสกุลกลางของยุโรป ความไม่เท่าเที่ยมกันนี้ทำให้ยุโรปใต้ต่างกับยุโรปเหนือ และยิงมากขึ้นระหว่างผลดีกับผลเสียในการสร้างประชาคมที่สมาชิกมีความเท่าเทียมกัน
             นอกจากระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ต่างกันแล้ว ควาแตกต่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรมก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ประเทศในยุดรปรู้สึกแปลกแยกต่อกัน ปัจจัยสำคัญๆ ได้แก่ ภาษา เชื้อชาติ ศาสนา และวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ประเทศสมาชิกบางประเทสจึงไม่ปรารถนาการรวมตัวอย่างสมบูรณ์และเกรงว่าวัฒนธรรมของประเทศตนจะถูกกระทบหรือสูญสลาย
           ในเรื่องอุปสรรคทางด้านภาษนั้น ภาษายุโรปแบ่งออกเป็น 3 ตระกูล ใหญ่ โดยปกติดินแดนที่ขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกันทางวัฒนธรรมนั้นพลเมืองจะรู้สึกใหล้ชิดหรือสนิทใจกบคนที่พูดภาษาถ่ินเดียวกัน แต่ดินแดนยุโรปนั้นไม่มีภาษากลางและ(ุ้นำของสหภาพยุโรปก้ไม่มีความคิดที่จะให้มีถึงแม้จะช่วยทำให้การประสานงานต่างๆ สะดวกขึ้นและช่วยทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันก็ตาม...
         
 เมื่อยุโรปไม่มีวามเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางด้านภาษา เชื้อชาติ ศาสนา ประวัติศาสตร์ ประเพณีและค่านิยม ทัศนคติของประชาชนในแต่ละประเทจึงแตกต่างกันไปด้วย เหตุกาณ์ทีเกิดขึ้นบนท้องถนนในชีวิตประจำวันที่กรุงปารีส ลอนดอน มิลาน แม้จะคล้ายคลึงกันแต่ก็ไม่เหมือนกันอยู่ดี เพราะกติกาและประสบการณ์ของแต่ละท้องถ่ินต่างกัน การตีความบางเรื่องจึงต่างกันไปด้วย..
          ปัญหาอัตลักษณ์ทางสังคมของยุโรปไม่ได้เกิดจากความแตกต่างระหว่างกันเ่านั้น แต่เกิดจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมในแต่ละประเทศสมาชิกเองด้วย แทบจะไม่มีประเทศใดในยุโรปเลยที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางด้านเชื้อชติและเผ่าพันะู์และแต่ละเชื้อชาติก็บอกว่าตนเป็ "ชาติ" ที่มีความเฉพาะ ไม่เหมือนกลุ่มเชื้อชาติอื่นๆ" เมื่อประเทศยูโกสลาเวียสลายใน ค.ศ. 1991 พลเมืองก็แสดงองค์ประกอบทาสังคมที่หลากหลายมาก
         การเคลื่อนย้ายของประชากรก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งของความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมยุโรป การเคลื่อนย้ายเนื่องจากการปลดปล่อยอาณานิคมของโลกตะวันตกให้เป็นอิสระ ความต้องการแรงงานในยุโรป สงครามและความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศโลกที่สาม เมื่อหลังไหลไปมากๆ อังกฤษเป็นประเทศแรกที่เร่ิมควบคุมการอพยพโดยการออกกฎหมาย ซึ่งประเทศแกนอื่นๆ ก็ทำตาม ต่อมารัฐบาลของอังกฤษก็เลิการให้สัญชาติแก่คนที่ไม่มีพรรพบุรุษเกี่ยวข้องกับอังกฤษ
          แม้ในโครงสร้างสังคมของยุโรปเปบียยนไป มีคนหลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์เข้าไปอยู่อศัยอมากขึ้นหลังสงครามดลก แต่ผุ้นำของอียูก้เล็งว่าการสร้างเอกลักษณืของสหภาพฯ ขึ้นโดยเฉาพะ จะทำให้ประเทศสมชิกรูสึกใหล้ชิดกันย่ิงขึ้น และจะนำไปสู่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของยุโรปได้ในที่สุดด้วยเหตุนี้จึงมีการออกมาตรการต่างๆ ขึ้นมาสนองวัตถุประสค์ดังกล่าว ซึ่งมี ๒ แนวทาง แนวทางแรก เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนในสหภาพฯ ไปมาหาสู่กันได้อย่างคล่อตัว รวมทั้งการำปทำงานในประเทศสมาชิกด้วยกัน.. แนวทางที่สอง คือ การสนับสนุนการแลกเปลียนทางวัฒนธรรมและการสร้างสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นยุโรปขึ้นมาเพื่อพลเมืองจะได้รู้สึกสนิทใจมากขึ้นในการกล่าว่าตนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของประชาคมยุโรป
          ในส่วนของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการสร้างอัตลักษณ์ของยุโรป มีการกำหนดนโยบายหลายประการ โดยเฉพาะทางด้านการศึกาาเพื่อบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้ตระหนักเรื่องความเป็นยุโรปมากขึ้นปัจจุบันมีแผนงานต่างๆ กว่า สองพันห้าร้อยแผนงาน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศสมาชิก ผุ้บริหารสหภาพยุโรปพอใจที่สามารถสอนเยาวชนยุโรปให้เข้าใจความซับซ้อนในสังคมยุคใหม่และนำตนให้หลุดพนจากอุสรรคที่ทำให้ไม่เข้าใจกันโดยการยอมรับและเคารพความหลากหลายไม่ใ่การปฏิเสธความแตกต่างจากตนแบบคนรุ่นก่อน
       
นอกจากทางด้านการศึกษาแล้ว โครงการทางด้านวัฒนธรรม ก็มุ่งสนับสนุกิจกรรมวัฒนธรรมร่วมกันของประเทศสมาชิกโครงการต่างๆ สนับสนุนการร่วมมือของอุตสาหกรรมโสตทัสนูปกรณ์ในยุโรป และสนับสนุนงานมรดกทางวัฒนธรรม.....

            - บทความ "สหภาพยุโรปกับการแสดงหาเอกภาพทางสังคม" โดย ผศ.ดร.ชาคริต ชุ่มวัฒนะ
         

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)