Austro-Asiatic languages : MON-KHMER II

            กลุ่มเหนือ...
            ภาษากาสี เป็นภาษากลุ่มออสโตรเอเชียติกใช้พูดในรัฐ เมฆาลัย ประเทศอินเดีย อยู่ในสาขามอญ-เขมร และใกล้เคียงกับภาษากลุ่มมุนดาทีเป็นภาษาตระกูลออสโตรเชียติกที่มีผู้พูดในอินเดียกลาง มีผู้พูด กว่าเก้าแสนคน ในรัฐเมฆาลัย ซึ่งคือหนึ่งในรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีเขตติดต่อกับประเทศบังคลาเทศทางทิศใต้และตะวันตก และรัฐอัสสัมทางทิศเหนือและตะวันออก ในปัจจุบันหนึ่งในสามของรัฐบังคงปกคลุมไปด้วยป่าไม้ นอกจานี้แล้ว รัฐเมฆาลัยยังถือเป็นสถานที่ๆ ฝนตกชุกที่สุดในโลกและเปนสถานที ๆ ชื้นแฉะที่สุดในโลกด้วย
          มีผุ้พูดบางส่วนในหุบเขาตามแนวชายแดนอินเดีย ภาษากาสีมีเรื่องเล่าพื้นบ้านมากมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของชื่อต่างๆ ของภูเขาแม่น้ำ สัตว์และอื่นๆ
          ระบบการเขียนในอดีตภาษากาสีไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง วิลเลี่ยม แครี่ ดัดแปลงอักษระบงกาลีมาใช้เขียนเมื่อ พ.ศ. 2356-2381 มีหนังสือที่เขียนด้วยอักษรนี้จำนวนมาก โทมัส โจนส์ มิชชันนารีชาวเวลส์ เขียนภาษานีด้วยอักษรละติน เมื่อ พ.ศ. 2384 โดยการออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาเวลส์ จากจุดนี้จึวมีการพัฒนาอักษรละตินสำหรับภาษากาสีเองขึ้นมา th.wikipedia.org/wiki/ภาษากาสี
          ปะหล่อง เป็นชนกลุ่มน้อยพวกหนึ่งนับเป็นหนึ่งใน 56 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนนอกจานี้ยังมีชาวปะหล่องอาศัยอยู่ในประเทศพมาและบางส่วนที่อพยพเข้ามาประเทศไทย ชาวปะหล่อง พูดภาษาปะหล่อง ซึ่งแบ่งแยกย่อยออกไปอีก อาทิ
                     - ปะหล่องรูไม หรือภาษาปะหล่องเงิน มีผุ้พูดกว่าแสนสามหมื่นคน พบในพม่าและชายแดนจีนพม่า ทางตะวนตกของยูนนาน ในเขตปกครองตนเองเต๋อหง และตามแนวชายแดนพม่า
                     - ปะหล่องปาเล หรือประหล่องเงินมีผู้พูดกว่าสองแสนห้าหมื่นคนทางตอนใต้ของรัฐแาน และในจีน ห้าพันคน ในยูนนานตะวันตก ส่วนใหญ่พูดภาษาไทลื้อ ภาษาจิ่งโปหรือภาษาจีนได้ด้วย ในไทยพบ ห้าพนคนใกล้เคียงกับภาษาปะหล่องชเว ภาษาปะหล่องรูไม
                      - ปะหล่องชเว หรือภาษาปะหล่องทองพบในพม่า กว่าหนึ่งแสนสี่หมื่นคนทงภาคเหนือของรัฐฉาน และในจีน สองพันคน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของยูนนาน th.wikipedia.org/wiki/ปะหล่อง
             กลุ่มภาษาขมุ หรือ ภาษากำมุ มีผุ้พูดกว่าห้าแสนคน พบในลาง สามแสนแปดหมื่นคน กระจายอยู่ทางเหนือของหลวงพระบาง ห้วพัน พงสาลี เวียงจันทน์ สายะบุรี น้ำทา ปากแบง และหวยทราย สำเนียงในแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน พบในจีน หนึ่งพันหกร้อยคน ในสิบสองปันนา ในประเทศไทย สามหมื่อนกว่าคน ที่จ. เชียงราย น่าน พะเยา ละกระจายตัวอยู่ในจังหวัดอื่นๆ ในภาคตะวันตก ภาคกลางและภาคอีสานพบในเวียดนามห้าหมื่นหกพันคน และอาจจะมีในพม่า
                    ระบบเสียง มีพยัญชนะ 17 เป็นตัวสะกดได้ 15 เสียง สระ 22 เสียง เป็นสระเี่ยว 19 เสียง สระประสม 3 เสียง มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวไม่มีเสียงวรรณยุกต์แต่มีลักษระน้ำเสียง 2 แบบ คือ เสียงทุ้มใหญ่กับเสียงเบาแหลม
                    ไวยกรณื เป็นภาษาที่มีแนวโน้มเป็นภาาที่มีพยางค์เดียวมากขึ้นเช่นเดียวกับภาษาเวียดนาม คำกริยาไม่ผันตามกลาล โดยทั่วไปไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงเพศหรือ พหูพจน์ ยกเว้นคำสรรพนาม มีการลงอุปสรรค(คำหน้า) และอาคม (คำกลาง) บ้างแต่จัดเป็นระบบไม่ได้ชัดเจนนัก การเรียงประโยคเป็นปบบ ประธาน-กริยา-กรรม
               
  คำสรรพนามแทนบุคคลมีรูปเป็นเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ซึ่งตรงกับคำว่า อันที่ คนที่ ตัวที่ ในภาษาไทย ภาาขมุจะใช้ว่ากัมหนือนัม มีการใช้คำสันธานน้อย ดดยมากใช้ประโยคเรียงต่อกันเฉยๆ คำบุพบทมีไม่กี่คำ ที่ใช้มากคือ ตา หมายถึง ด้าน ที่จาก ข้างใน และคำว่า ลองที่หมายถึงแถง บริเวณ
                  ระบบเขียน ภาษาขมุไม่มีระบบการเขียนเป็นของตนเอง ในวงวิชาการใช้สัทอักษร ในประเทศไทยมีการนำอักษรไทยไปเขียนภาษาขมุ เขียนด้วยอักษรด้วตาในจีนth.wikipedia.org/wiki/ภาษาขมุ
           ภาษาม้ง อยุ่ในตระกูลแม้ว เย้า หรือม้ง-เมี่ยน ใช้กันในชาวม้งในเเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนของจีนจัดเป็นภาษาคำโดด โดยหนึ่งคำมีเสียงพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ ไม่มีเสียงตัวสะกด มีวรรณยุกต์สนธิหรือการปสมกันของเสียงวรรณยุต์เมื่อนำคำมาเรียงต่อกันเป็นประโยค ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาษาม้งเขียว หรือ ม้งจั๊ว ภาษาม้งขาว หรือ ม้งเด๊อว
           ไวยากรณ์ การเรียงคำเป็นแบบประธาน-กริยา กรรม เช่น เด๋เตาะหม่(หมากัดแมว) ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงกาล แต่ใช้การเติมคำบอกกาลเช่นเดียวกับภาษาไทย อดีตเติมคำว่าเหลอะไว้ท้ายประโยค เช่น เด๋เตาะหมีเหลอะ (หมาจะกัดแมว) ประโยคคำถามเติมคำว่าปั่วหรือหลอเข้าในประโยค คำว่าหลอนิยมวางไว้ท้ายประโยค ส่วนคำว่าปั่วนิยมวางไว้หน้ากริยา เช่นเด๋เตาะหมีหลอ หรือ เ่๋ปั่วเตาะหมี (หมากัดแมวหรือ)
           ภาษาม้งมีการฝช้คำลัษณะนาใโดยจะเรียงคำแบบ จำนวนนับ-ลักษณนาม-นาม เช่น อ๊อตู่แหน่ง (สอง-ตัว-ม้า) คำลักษณะนามที่ำคัญคื อตู่ใช้กับส่ิงมีชีวติทั้งสัตว์และต้นไม้ ส่วนคนนั้นใช้ เล่ง เช่น อ๊อเล่ง (คนสองคน) ตร๊า ใช้กับเครื่องมือ เครื่องใช้ อาวุธ ได ใช้กับส่ิงที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนๆ แส้ฮ ใช้กับส่ิงที่เป็นเส้นยาวหรือเวลานนานๆ ลู้ใช้กับคำนามทั้วไป จ๋อใช้กับคำนามที่มีมากว่าหนึ่ง เช่น จ๋อแหน่ง (ม้าหลายตัว)
          ระบบเขียนไม่มีอักษรเป็นของตนเอง มีผุ้สนใจภษาม้งพยายามประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้เขียน เช่น อักษรม้งอักษรพอลลาร์ด เมียว ที่เป็นที่นิยมแพร่หลายคืออักษรละตินใประเทสไทยบางคร้งเขียนด้วยอักษาไทย สำหรับการเขียนด้วยอักษรละตินมีพยัญชนะที่ใช้ทั้งหมด 26 ตัว วรรณยุกต์ มี 8 และสระมี 14 ตัว th.wikipedia.org/wiki/ภาษาม้ง
             กลุ่มใต้..
             ภาษามอญในพม่าและไทย เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญที่อาศัยอยุ่ในพม่าและไทย อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบอเชียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวออักษรปัลลวะ มี่ยังไม่ได้ดัแปลงให้เป็นอักษรมอญและได้พบลอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสุง เมืองลพบุรี ข้อคามที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสันนิษฐานวา จารึกในพุทธศตวรรษที่ 13 ราว พ.ศ. 1314 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ
            ภาษามอญ ในจารึกสมัยกลางเป็นทั้งภาษามอญและอักษรมอญ ประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา พม่ารับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่า เป็นครั้งแรกประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสี่เหลี่ยม คือ ตัวอักษรที่เรียกว่า อักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็ลงในระยะต่อมา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้แลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ซึ่งมัลักษณะกลม เกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงยนใบลาน
           ภาษามอญปัจจุบัน เป็นภาษาในระยะพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน นับเป็นระยะเวลาประมาณ 400 ปีเศษ ในยุคนี้เป็นจารึกในใบลาน มีฃลักษระกลม ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน..../th.wikipedia.org/wiki/ภาษามอญ
          กลุ่มภาษาอัสเลี่ยน ในภาคใต้ของไทยและมาเลเซีย อาทิ ภาษานามิ ของชาวซาไก, แต็นแอ็น ซึ่งจัดว่าเป็นภาษาที่ใกล้สูญพันธ์
          กลุ่มภาษานิโคบาร์ หมู่เกาะนิโคบาร์
          กลุ่มที่จำแนกไม่ได้.. ได้แก่ภาษาบูกัน บูซินซัว เอเมียฮัวและกวยอัวในจีน...
          

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)