Cross Cultural heritage

            ผมแปลแบบกำปั่นทุบดินว่า มรดกวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ผู้รู้ท่านใดมีความรู้ทางด้านภาษาช่วยท้วงติงมาด้วยครับ
              ปัจจุบันอาเซียนตั้งเป้าหมายว่าจะบรรลุการเป็นขตการต้าเสรีอาเซียนในปี ค.ศ. 2015 นอกจาปัญหาการขาดเสถียรภาพทางการเืองปละการขาดความเป็นประชาธิปไตยในประเทศสมาชิก และปัญหาเศรษฐกิจระดับโลกที่รุมเร้าแล้ว ปัญหาใหญ่ที่อาเซียนต้องกล่าวถึงและใส่ใอย่างจริงจังคือ เรื่องของพรมแดนและวัฒนธรรม
              การสร้างเขตการต้าเสรีไม่ได้เป็นเรื่องของเสราฐกิจเท่านั้น อียุเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการบูรณาการที่เร่ิมจากทางเสาฐกิจนั้น ต่อมาพัฒนาไปเกี่ยวพันกับภาส่วนอื่นๆ ของสังคมอย่งหลักเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นต้านสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการที่เรียกกันว่าspill-over ตามที่ซองค์ โมเน่ต์ และโรเบิร์ต ชูมาน นัการเมืองฝรั่งเศสที่กลายมาเป็นนัการเมืองของ "ยุโรปใหม่" เชื่อเช่นนั้น นอกจากนี้การเกิดและพัฒนาการของเขตการต้าเสรีนี้เองจะทำให้เขตแดนและปัญหาท่เกี่ยวเนื่องกับเขตแดน รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมมีมากขึ้นในที่นี้ขอกล่าวถึงบางประเด็นที่อาเซียนน่าจะให้ความใส่ใจเบื้องต้น
            - สงครามวัฒนธรรมตามมายาคติของความรักชาติ(แบบไม่สร้างสรรค์) ปัญหารการขาดความชอบธรรมของการบูรณาการระดับภูมิภาคเป็นปัญหาที่ทั้งอียูและอาเซียนต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งกระบวนการบุรณาการพัฒนาในระดับลึกมากขึ้นเท่าใดปัญหาดังกล่าวย่ิงเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว อียูพยายามแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการทำให้ชาวยุโรปเห็นว่าการบูรณาการทางเศราฐกิจและการเมืองนั้นเป็ฯผลประโยชน์ของตนโดยตรงและเห็นได้ชัดเจนจากสิ่งต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้อียูโชคดีทตงท่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความคิดชาตินิยมและความรักชาติอย่า้องการสร้างความเป็นหนึ่งให้กับชาติของตนด้วยการทำสงครามและทำลยล้างได้แสดงพิษสงเอาไว้จนผุ้คนเอือมระอา
               กรณีของประเทศสมาชิกอาเวียนไมได้เป็นเช่นนั้น ความคิดชาตินิยมและความรักชาินั้นเป็นทั้งการต่อสู้กับประเทศเจ้าอาณานิคมตะวันตกที่ทำให้ประเทศเหล่านี้มีความเป้นตัวตนและเป็นประเทศชาติ และที่สำคัญคือเป็นแหล่งที่มาของอำนา ของกลุ่มทางเศาฐกิจการเมืองของแต่ละประเทศจนไม่สามารถสละเครื่องมือสำคัญนี้ไปได้ ย่ิงไปกว่านั้นความรักชาตินี้ได้รับการปลูกฝังด้วยการเกลียดชังประเทศเพื่อบ้านผ่านความทรงจำร่วใในสังคมและแบบเรียน สงครามเย็นที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1950 จนถึงปลายทศวรรษ 1980 ที่ทำให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งขั้วระหว่างคอมมิวนิสต์กับเสรีนิยมย่ิงทำให้บางประเทศ เช่น ไทย เชื่อเข้าไปใหญ่ว่าประเทศเพื่อบ้านล้าหลังตเองนั้นเป็นพี่เบิ้มเจรญกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และรับเอาวะธีคิดแบบเจ้าอาณานิคมมาใข้ ด้วยการทำตัวเป็นเจ้าอาณานิคม้อยในกาติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย เช่น กรณีปราสาทพระวิหารเป็นสงครามวัฒนธรรมที่ถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองภายใของทั้งไทยและกัมพูชา แต่ส่วนกรณีของไทยนั้นเป็นชตินิยมไร้คลาสกว่าของกัมพูชาตรงที่ยังยึดมั่นถื่อมั่นว่าปราสามพระวิหารและดินแดนที่ตั้งนั้นเป็นของไทยในวาทกรรมชาตินิยมทั้งๆ ที่ปราสามแท่งนี้สมควรเรียกว่า "เปรี๊ยะวิฌฮีย" ตามชาวกัมพูชานับตั้งแต่ศาลโลกตัดสินให้เป็นของกัมพูชาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 แล้ว..
               
กรณีอียู เรื่องการสร้างเขตเศรษฐกิจเสรีและตลดร่วมยุโรปที่ทำให้เกิดการข้ามพรมแดนของทุน เรงงาน การบริการ และการค้า โดยเแพาะในส่วนที่ต้องการบูรณาการประเทสสมาชิกในยุโรปตะวนันออก เช่น โปแลนด์ให้เป็นส่วนหนึ่งของอียูนั้น อียูในฐานะองค์กรบูรณาการภูมิภาคกลายเป็นเอเย่นต์ของความเปลี่ยนแปลงด้วยการให้ทุนผ่านนโยบายภูมิภาค ที่ทำให้ประเทศสมาชิกดั้งเดิมอย่างเยอรมนีซึ่งมฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าต้องรอิร่ิมสร้างโครงการร่วมมือข้ามพรมแดน
                ในแง่นี้ สันติภาพและความก้าวหน้าของอาเวียนเป็นส่ิงที่ประเทสสมาชิกของอาเซียนต้องใส่ใมากว่าการใช้ชื่ออาเซียนเพื่อผลประทโยชน์และการยอมรับในประเทศด้วยการใช้ศิลป์วาทะแต่เพียงอย่งเดียวประเทศที่มีเศรษฐกิจดีกว่าและมีปัญหาชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศไทย อาต้องพิจารณาว่าจะเป็นเอเย่นต์ของความเปลี่ยนแปลงในการสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนกับประเทศเพื่อบ้านในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างไร
                นักวิชาการด้านมรดกวัฒนธรรมและมดกโลกเสนอสิ่งที่น่าสนใจว่า แรงจูงใและผลประโยชน์ที่ประเทสต่างๆ ได้รับจากการเสนอชื่อมรดกวัฒนธรรมเพื่อกระต้นการท่องเที่ยวและเศรากิจได้น้นเนื่องจกอียุเองดำเนินนโยบายหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดทิศทางดังกล่าวด้วยกระบวนการที่ทำให้มรดกวัฒนธรรมที่ติดกับกรอบของประวัติศาสตร์ชาติและความเป็นมรดกแห่งชาติ ให้มีความหมายและความสำคัญในฐานะมรดกยุโรปและมรดกโลก ซึ่งเป็นการท้าทายอาเซียนให้เร่งปรับตัวในการลงมือสร้างการบูรณาการอาเวียนบนพื้นฐานของวัฒนธรรมอย่างแท้จริง... (บทความ "มรดกวัฒนธรรมข้ามพรมแดนข้อคิดจากสหภาพยุโรปถึงอาเซียน, มรกต เจวินดา ไมรเออร์, คณะสังคมศาสตร์ ม.ศรีนคริทร์วิโรฒ)
             

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Chanson de Roland

City of God (St. Augustine)

Republik Indonesia I (The Kingdom)